ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Cavalry3/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติค่ายเปรมติณสูลานนท์

เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๓๗ กองทัพบกได้ออกคำสั่งให้เคลื่อนย้ายหน่วย “กองพันทหารม้าที่ ๑๔” จากที่ตั้งปกติถาวรบริเวณตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เข้าที่ตั้งปกติถาวรแห่งใหม่ ณ บริเวณตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ซึ่ง “กองพันทหารม้าที่ ๑๔” เป็นหน่วยแรกที่เคลื่อนย้ายหน่วยเข้ามาตั้งอยู่ ณ ค่ายแห่งนี้ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ พันโท ศิริชัย สิริบรรสพ ผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ ๑๔ ได้เข้าพบ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เพื่อขอหารือในการตั้งชื่อค่ายแห่งนี้ และต่อมา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามค่ายว่า “ค่ายเปรมติณสูลานนท์” เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๓๙ เพื่อเป็นเกียรติ แด่ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งเป็นปูชนียบุคคลของประเทศชาติ นับเป็นผู้นำทางการเมือง และทหารที่มีความสามารถ มีความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในคุณธรรม จงรักษ์ภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างใหญ่หลวง และเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๓ ได้กระทำพิธีเปิดค่ายเปรมติณสูลานนท์และหอเกียรติยศรัฐบุรุษ เนื่องในโอกาส พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ มีอายุครบ ๘๐ ปี

ค่ายเปรมติณสูลานนท์ มีที่ตั้ง เลขที่ ๑๖๖ หมู่ ๕ ต.บัวเงิน อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ จังหวัดขอนแก่น ห่างจากอำเภอน้ำพอง ประมาณ ๑๘ กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ ๕๐ กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ อาณาเขตติดกับพื้นที่ข้างเคียงมีดังนี้

ทิศเหนือ      ติดกับถนนทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๙ สาย น้ำพอง - กระนวน

ทิศใต้          ติดกับพื้นที่ฝูงบิง ๒๓๗ กองทัพอากาศ

ทิศตะวันตก  ติดกับพื้นที่ฝูงบิน ๒๓๗ กองทัพอากาศ

ทิศตะวันออก ติดกับบ้านหนองกุงขี้ควง ตำบลบัวเงิน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

และมีวัดที่ให้การอุปถัมภ์อยู่จำนวน ๑ แห่ง คือ วัดโพนทอง ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านหนองกุงขี้ควง, มีโรงเรียนที่อยู่ในความดูแลอีก ๑ แห่ง คือ โรงเรียนเปรมติณสูลานนท์ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านหนองกุงขี้ควงเช่นเดียวกัน

กองพลทหารม้าที่ ๓ จัดตั้งขึ้น ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ เป็นต้นมา โดยเป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพภาคที่ ๒ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ กองทัพภาคที่ ๒ มีหน่วย   กำลังรบระดับกองพล ที่มีขีดความสามารถในการป้องปรามในระดับยุทธศาสตร์ ตลอดจนมีขีดความสามารถ ในการปฏิบัติภารกิจการป้องกันประเทศ และภารกิจอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาได้มีคำสั่งจัดตั้งกรมทหารม้าที่ ๗ เมื่อวันที่  และ ปรับการบังคับบัญชาหน่วยทหารม้าในพื้นที่กองทัพภาคที่ ๒ โดยให้กรมทหารม้าที่ ๗ เป็นหน่วยขึ้นตรงของกองพลทหารม้าที่ ๓ และปรับโอนการบังคับบัญชาหน่วยทหารม้าในพื้นที่กองทัพภาคที่ ๒ ให้กับกองพลทหารม้าที่ ๓

การพัฒนาขีดความสามารถ ความพร้อมรบของหน่วย ๙ ด้าน ดังนี้

๑. ด้านการฝึก

- การฝึกตามวงรอบประจำปี อาทิ การฝึกทหารใหม่, การฝึกเป็นหน่วย หมู่ ตอน หมวด, การฝึกแก้ปัญหาที่บังคับการของหน่วยกองพัน

- การฝึกพิเศษ การแข่งขันชุดปฏิบัติการหน่วยทหารขนาดเล็ก

- การฝึกตามพระราโชบาย โดยหน่วยดำเนินการจัดการแข่งขันการฝึกทางทหารประกอบดนตรี “ราชวัลลภเริงระบำ” (Hop To The Bodies Slams)

- การฝึกพลประจำรถถังหลักแบบ ๖๐ (VT4) เพื่อเพิ่มทักษะให้แก่พลประจำรถเกิดความชำนาญในการใช้ยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย

- การฝึกผู้ชำนาญการทหารม้ารถถัง ๒๒ สถานี : เพื่อพัฒนาขีดความสามารถกำลังพลก่อนรับการฝึกทุกงานการฝึก

- การจัดการเรียนการสอนภายในหน่วย ( Unit School ) : นอกเหนือจากการจัดการฝึกตามวงรอบประจำปีแล้ว หน่วยได้ให้ความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนภายในหน่วยทหาร (Unit School) โดยมุ่งเน้นการทบทวนดำรงขีดความสามารถ และพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพล

๒. การใช้กำลัง

        การพิทักษ์และเทิดทูนสถาบัน : ดำเนินการจัดตั้ง กองอำนวยการ่วมถวายความปลอดภัยประจำพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระบรมวงศานุวงศ์ ในโอกาสเดินทางมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และ จังหวัดกาฬสินธุ์ และ หน่วยจัดกำลัง ๑ กองร้อยถวายความปลอดภัย จาก กองพันทหารม้าที่ ๘ กรมทหารม้าที่ ๗ สนับสนุน มณฑลทหารบกที่ ๒๑ ณ ตำหนักทิพย์พิมาน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

๓. ภารกิจการรักษาความมั่นคงภายในและการแก้ไขปัญหายาเสพติด จัดกำลังชุดปฏิบัติการโครงการสกัดกั้นและปราบปรามพื้นที่พิเศษ ในพื้นที่ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม และจัดกองบังคับการ ควบคุม ศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

๔. การปฏิบัติภารกิจสนับสนุนศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง จังหวัดกาฬสินธุ์ หน่วยจัดหมวดสารวัตรทหาร จัดตั้งจุดตรวจร่วม และชุดสายตรวจ ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

๕. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หน่วยจัดกำลังพลสนับสนุนโครงการส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดสิม – คุ้มเก่า รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ๕ อำเภอ ได้แก่ อำเภอเขาวง, อำเภอนาคู, อำเภอห้วยผึ้ง, อำเภอกุฉินารายณ์ และ อำเภอสมเด็จ ปัจจุบันมีประชาชนเข้าเป็นสมาชิก ทั้งสิ้น ๑๘๑ คน

๖. ภารกิจการพัฒนาประเทศและการช่วยเหลือประชาชน จัดตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองพลทหารม้าที่ ๓ รับผิดชอบการช่วยเหลือประชาชน ด้วยการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในโอกาสแรก หลังจากนั้นบูรณาการกำลังร่วมกับส่วนราชการในพื้นที่ เข้าบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ดังนี้

        พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๑๘ อำเภอ

        พื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน ๑๑ อำเภอ

        พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๓ อำเภอ 

๗. การดำเนินการโครงการอาชาบำบัด หน่วยดำเนินการ จำนวน ๓ พื้นที่ ได้แก่ ค่ายสุรนารี, ค่ายศรีพัชรินทร และค่ายเปรมติณสูลานนท์ เพื่อช่วยเหลือเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษ ร่วมกับโรงพยาบาลค่ายทหาร และศูนย์การศึกษาพิเศษในพื้นที่

๘. ภารกิจที่กองทัพภาคที่ 2 มอบหมาย เพิ่มเติม อาทิ การเตรียมนักกีฬายิงปืน, การวิจัยพัฒนาด้านนวัตกรรมทางทหาร : เพื่อพัฒนาขีดความสามารถกำลังพล และสร้างความชำนาญ ในการใช้ยุทโธปกรณ์ ลดงบประมาณของกองทัพบกในการฝึก และยืดอายุการใช้งาน เช่น โปรแกรมเครื่องช่วยฝึกพลประจำรถถังหลัก แบบ ๖๐ (VT4), เสาวิทยุแสวงเครื่อง และชุดป้องกันการตรวจจับรังสีความร้อน

๙. โครงการทหารพันธุ์ดี ค่ายเปรมติณสูลานนท์ มีเนื้อที่ จำนวน 212 ไร่ ซึ่งได้รับการออกแบบพื้นที่โดยศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ และกรมพัฒนาที่ดิน ตามหลักพืชศาสตร์และสอดคล้องกับลักษณะพื้นที่ เพื่อให้การบริหารจัดการพื้นทางการเกษตร การบริหารจัดการน้ำและการเลี้ยงสัตว์มีความสมบูรณ์ก่อเกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาr มีการสร้างถังกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตรที่เป็นบ่อคอนกรีต จำนวน 20 จุด สำหรับการกระจายให้ครอบคลุมพื้นที่การเพาะปลูก และมีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน การบุกเบิกพื้นที่จัดทำแปลงและระบบสาธารณูปโภคภายในโครงการฯ เริ่มแรกดำเนินการโดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้แต่งตั้งคณะทำงานสนับสนุนโครงการทหารพันธุ์ดี กองพลทหารม้าที่ 3