ผู้ใช้:Cartoonbuffie/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บั้งไฟกับความเชื่อทางศาสนา “บุญบั้งไฟ” เป็นหนึ่งในประเพณีของชาวอีสานที่มีการสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน โดยชาวบ้านจะมีความเชื่อว่ามีโลกมนุษย์ โลกเทวาดา และโลกบาดาล มนุษย์จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของเทวดา จะมีการรำผีฟ้าซึ่งถือว่าเป็นการแสดงความเคารพนับถือเทวดา เทวดา หรือ แถน (พญาแถน) ดังนั้นงานบุญบั้งไฟถือว่าเป็นการบูชาพญาแถน จึงนิยมจัดกันในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูที่เข้าสู่การทำนา เพื่อเป็นการเคารพและแสดงความจงรักภักดีเพื่อให้ฝนได้ตกต้องตามฤดูกาล บุญบั้งไฟมีตำนานที่ผูกพันกับนิทานพื้นบ้านอยู่สองเรื่อง คือ เรื่องท้าผาแดงและนางไอ่ กับเรื่องสงครามระหว่างพญาคันคากกับพญาแถน เป็นเรื่องที่กล่าวถึงที่มาของการเริ่มต้นยิงบั้งไฟ ที่เกิดจากพญาแถนผู้เป็นเทพบันดาลให้ฝนตก ที่เกิดความไม่พอใจชาวเมืองจึงบันดาลให้ฝนไม่ตกตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ทำให้ชาวบ้านเกิดความไม่พอใจจึงทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้เหล่าเทวดาไม่ได้ จึงถูกไล่ล่าจนหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่มีพญาคันคากอาศัยอยู่ (พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นคางคก) พญาคันคากก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ชาวเมืองจนเทวดาพ่ายแพ้ ทำให้พญาแถนได้ให้คำมั่นสัญญาว่า หากมนุษย์ยิงบั้งไฟขึ้นไปเตือนก็จะบันดาลฝนให้ตกลงมาทันที บุญบั้งไฟถือเป็นประเพณีที่สำคัญมากของชองอีสาน เนื่องจากชาวบ้านมีความเชื่อว่าหากชุมชนใดไม่ได้จัดงานบุญบั้งไฟแล้วอาจก่อให้เกิดภัยพิบัติตามมาแก่คนในชุมชน โดยก่อนที่จะจัดงานบุญบั้งไฟนั้นจะต้องมีการทำพิธีไหว้ศาลปู่ตา (ศาลผีบรรพบุรุษหรือเทพารักษ์) ของหมู่บ้านเสียก่อน ในการทำพิธีครั้งนี้ของเซ่นไหว้ที่ใช้ก็จะมี ไก่ ไข่ เกล้า หมาก พลู น้ำหวาน เป็นต้น ซึ่งผู้ที่ประกับพิธีครั้งนี้ก็คือผู้เฒ่าผู้แก่ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือกับพ่อจ้ำหรือหมอผีประจำหมู่บ้านในการเข้าประกอบพิธี นอกจากนั้นในงานบุญบั้งไฟยังได้แทรกประเพณีทางศาสนาเข้าไปด้วย เช่น การบวชและการฮดสงฆ์ (เป็นการยกย่องความดีแก่พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี) ในการทำบั้งไฟนั้นจะมีพระสงฆ์เข้าร่วมทำด้วย โดยจะมีชาวบ้านคอยช่วยเป็นลูกมือตกแต่งบั้งไฟให้มีความสวยงาน และในวันละเล่นประเพณีบั้งไฟหรือวันสุกดิบชาวบ้านก็จะมีการจัดขบวนไปยังศาลปู่ตาของหมู่บ้าน แล้วจัดบั้งไฟขนาดเล็กเพื่อเป็นการเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์และความสำเร็จในการทำนาของชาวบ้านในปีนั้นๆอีกด้วย ฉะนั้นบุญบั้งไฟจึงเป็นประเพณีที่ชาวอีสานให้ความสำคัญ เพราะเป็นประเพณีเสี่ยงทายอนาคตที่มีผลต่อความเชื่อและการดำเนินอาชีพของชาวบ้าน นอกจากความเชื่อแล้วงานบุญบั้งไฟยังเป็นประเพณีที่สนุกสนาน จัดขึ้นเพื่อความสามัคคีของคนในชุมชน และยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามของชาวอีสานเอาไว้เพื่อให้ลูกหลานได้สืบสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันด้วย

อ้างอิง 1. สมัย สุทธิธรรม, 2530, บุญบั้งไฟ, องค์การค้าของครุสภา, 13-55. 2. นิธี เอียวศรีวงศ์, 2536, ท่องเที่ยวบุญบั้งไฟในอิสาน, มติชน. 3. สิริวัฒน์ คำวันสา, 2552, นิทานเรื่องท้าวผาแดง-นางไอ่ และ ประเพณีบุญบั้งไฟ, กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.