ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Calvin4070/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ท่าเทียบเรือท่องเที่ยวอ่าวฉลอง

ท่าเทียบเรือท่องเที่ยวอ่าวฉลอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต มีเนื้อที่ 7 ไร่ 1 งาน 60 ตารางวา การเดินทางจากตัวเมืองโดยรถยนต์เส้นทางหลวงหมายเลข 4021 ไปถึงห้าแยกฉลองเลี้ยวซ้ายเข้าท่าเทียบเรือท่องเที่ยวอ่าวฉลอง ระยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร

องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ดำเนินการก่อสร้างด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเล (OECF) ร่วมกับกรมการปกครองสมทบรงมเป็นเงิน 147,227,681.10 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้จังหวัดภูเก็ตมีท่าเทียบเรือที่สวยงาม ทันสมัย ทัดเทียมกับนานาประเทศ และเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจะต้องเดินทางไปตามเกาะต่างๆ โดยมีท่าเทียบเรือท่องเที่ยวอ่าวฉลอง เป็นศูนย์กลางในการเดินทางรวมทั้งเป็นการสร้างความเจริญให้แก่ท้องถิ่น และเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน

สิ่งก่อสร้างบริเวณท่าเทียบเรือท่องเที่ยวอ่าวฉลอง ประกอบด้วย

  1. สะพานท่าเทียบเรือคอนกรีตเสริมเหล็ก รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 3,000 คน/วัน
  2. สถานีบริการน้ำมัน และน้ำจืด ขนาด 1 x 4 เมตร จำนวน 1 ท่า
  3. อาคารพักคอย (ที่พักของนักท่องเที่ยว) ขนาด 17.2 x 20 เมตร พื้นที่ 344 ตร.ม.
  4. อาคารที่ทำการของท่าเทียบเรือ ขนาด 14 x 15 เมตร พื้นที่ 210 ตร.ม.
  5. ลานจอดรถ

การดำเนินงานบริหารจัดการท่าเทียบเรือท่องเที่ยวอ่าวฉลอง

  • ในช่วงแรก อบจ.ภูเก็ตได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีไซท์ เซ็นเตอร์ บริหารจัดการท่าเทียบเรือฯ มีกำหนดระยะเวลาการเช่า 3 ปี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2546 - สิงหาคม 2549 และขยายระยะเวลาการเช่าออกไปถึงเดือนพฤศจิกายน 2549
  • อบจ. ภูเก็ต ได้ว่าจ้างบริษัท โชคอารีย์ จำกัด บริหารจัดการท่าเทียบเรือฯ เพื่อให้บริการสาธารณะ แต่เนื่องจากบริษัทดังกล่าว ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามสัญญา อบจ.ภูเก็ตจึงยกเลิกสัญญาตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2551
  • อบจ. ภูเก็ต เริ่มบริหารจัดการเองตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2551 เป็นต้นมา โดยจัดเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมและควบคุมดูแลการใช้ท่เาทียบเรือฯ ประจำ ตั้งแต่เวลา 06.30 - 20.30 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ประกอบด้วย ผู้ควบคุมงาน พนักงานตรวจตั๋ว พนักงานขายตั๋ว พนักงานเก็บค่าธรรมเนียมการจอดรถ/เรือ พนักงานรักษาความสะอาด/ทำสวน พนักงานขับรถและดูแลรักษารถยนต์ที่ให้บริการ

การจัดเก็บค่าบริการในพื้นที่จากการใช้ท่าเทียบเรือ

  • รับ-ส่งผู้โดยสาร และขนถ่านสัมภาระจากต้นสะพาน ไปยังปลายสะพานท่าเทียบเรือฯ
  • สถานที่จอดรถ
  • ห้องน้ำ
  • การให้เช้าพื้นที่เพื่อจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินของทางราชการ ประกอบด้วย สถานีให้บริการน้ำมัน ร้านค้าจำหน่ายของที่ระลึก ร้านค้าจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม และตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการ

ผลการดำเนินงานถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน อบจ.ภูเก็ต สามารถเข้าไปจัดระเบียบในการใช้ท่าเรือได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง เนื่องจากพื้นที่ท่าเทียบเรือฯ เป็นพื้นที่เปิดที่คนในพื้นที่และประชาชนทั่วไปใช้เป็นทางสัญจรไปมาตั้งแต่ดั้งเดิม ในแต่ละวันจึงมีการเข้าออกของคนหลากหลายอาชีพเดินทางผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก

สภาพพื้นที่สิ่งปลูกสร้างโครงการท่าเทียบเรือสำราญกีฬา อ่าวฉลองแห่งใหม่

จากการที่กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือสำราญกีฬา พื้นที่อ่าวฉลอง จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างต่อเนื่องจากท่าเทียบเรือท่องเที่ยวอ่าวฉลองเดิม ประกอบด้วย

  1. งานก่อสร้างอาคาร คสล. 2 ชั้น เพื่อใช้เป็นอาคารอเนกประสงค์ขนาด 2,600 ตร.ม.
  2. งานก่อสร้างแผงกรองคลื่น ขนาดความยาวประมาณ 50 เมตร
  3. งานก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น (ทุ่นคอนกรีต) ขนาด 6.16 x 12.16 x 2.10 เมตร จำนวน 41 ทุ่น ความยาวเขื่อนรวม 580 เมตร
  4. งานขุดลอกรอบนอกแอ่งจอดเรือประมาณ 21,500 ลูกบาศก์เมตร (ก่อนการติดตั้งเขื่อนทุ่นลอยน้ำ)
  5. งานเครื่องหมายช่วยการเดินเรือ แสดงตำแหน่งทางเข้า-ออก แอ่งจอดเรือ และแนวเขื่อนกันคลื่น

วัตถุประสงค์โครงการ

  • ให้บริการตรวจลงตรา CIQ เรือเข้าออกประเทศไทย
  • บริการที่จอดพักเรือ
  • ฝึกอบรมการเดินเรือสำราญกีฬา
  • ฝึกอบรมด้านความปลอดภัย และ
  • จัดกิจกรรมกีฬาทางน้ำ

และสนับสนุนการให้บริการสถานีขนส่งทางน้ำแบบ One Stop Service โดยเห็นควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตเป็นผู้บริหารต่อไปเนื่องจากท่าเทียบเรืออ่าวฉลองเดิมองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตเป็นผู้บริหาร เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องเมื่อท่าเรือสำราญกีฬาฯ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2555

ดังนั้น เพื่อรองรับการบริหารจัดการตามภารกิจดังกล่าว ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตจึงต้องมีการเตรียมการเพื่อสนับสนุนการให้บริการการใช้ท่าเทียบเรือท่องเที่ยวอ่าวฉลองดังกล่าว

การจัดระบบ Phuket Yacht Checkpoint System หรือระบบบริหารจัดการจุดตรวจเข้าออกและควบคุมเรือยอช์ต

จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีเรือยอช์ตเข้ามาจอดเทียบท่าจำนวนมาก และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว จังหวัดจึงได้มอบหมายให้ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติสาขาภูเก็ต (SIPA) พัฒนาระบบ Phuket Yacht Checkpoint System หรือระบบบริหารจัดการจุดตรวจเข้าออกและควบคุมเรือยอช์ต เพื่อให้เจ้าของเรือและผู้โดยสารเรือสำราญกีฬา สามารถแจ้งการเข้าออกทางอินเตอร์เน็ตเป็นการล่วงหน้าได้ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยว เป็นการลดความซ้ำซ้อนในการใช้กระดาษสำหรับการกรอกแบบฟอร์ม เนื่องจากการแจ้งเข้าของเรือจะต้องแจ้งหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นแบบฟอร์มของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ด่านศุลกากร เจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต ซึ่งขณะนี้ระบบฯ อยู่ระหว่างการดำเนินการพัฒนา และเป็นช่วงทดลองใช้งานและจัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการ

สำหรับในขาออกของเรือยอช์ต ต้องกลับมาแจ้งการเดินทางกลับยัง "ท่าเทียบเรืออ่าวฉลอง" เช่นเดียวกับขาเข้า เพื่อเช็คสถิตินักท่องเที่ยวและปริมาณเรือยอช์ตที่เข้ามาภูเก็ต เป็นการทราบสถานะของนักท่องเที่ยว เพื่อนการดูแลรักษาความปลอดภัยนักท่องเที่ยวของเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงป้องกันและปราบปรามการนำเข้ายาเสพติดหรือสิ่งผิดกฎหมายอื่นๆ ที่ขนส่งมาทางทะเลด้วย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานท่าเทียบเรือ

  1. สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต
  2. ด่านศุลกากรภูเก็ต
  3. สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ต
  4. กองบังคับการตำรวจน้ำ
  5. กรมธนารักษ์

อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่ต้องดำเนินงานเกี่ยวกับท่าเทียบเรือ

  1. สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 สาขาภูเก็ต มีหน้าที่เกี่ยวกับ
    1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย กฎหมายว่าด้วยเรือไทย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันเรือโดนกัน กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวี และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้่รับมอบหมายในเขตที่อธิบดีกำหนด
    2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย