ผู้ใช้:Bhensook/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตำบลกมลา , KAMALA LOCALITY


Phuket map

ตำบลกมลาเป็นตำบลเล็กๆที่ตั้งอยู่ในหุบเขาที่มีอาณาเขตเชื่อมต่อกันระหว่างหาดสุรินทร์ แหลมสิงห์ (กมลา) และป่าตอง

พิกัดของตำบลกมลาอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ(จังหวัด)ภูเก็ต

มีทะเลอันดามันแสนสวย(ที่เป็นแหล่งอาหารและสร้างอาชีพทางน้ำให้กับประชากรของเรา)อยู่ทางตะวันตกของตำบล


ตำบลกมลามีหาดกมลาเป็นของขวัญจากพระเจ้าเป็นหาดทรายละเอียดมีลักษณะสีครีมทอดตัวยาวจากทิศเหนือลงมาทางใต้ และหาดมีลักษณะโค้งมนเล็กน้อยกำลังสวยเลยทีเดียว นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้ความคิดเห็นว่า หาดกมลามีความคล้ายคลึงกับหาดไมอามี่ของประเทศสหรัฐอเมริกากันเลยนะคะ (เรามีความเป็นเสมือนไมอามี่2)


กมลายังมีมีหาดเล็กๆอีกสองหาดที่อยู่ในตำบล หาดแรกมีชื่อแปลกๆและยังไม่มีใครทราบความหมายว่า "หาดลายิ"


หาดลายิเป็นหาดสั้นๆและมีแนวโขดหินแปลกตาเรียงรายอยู่เกือบตลอดทั้งหาด

ในอดีตนั้นเวลาน้ำทะเลลดชายหาดแห่งนี้สามารถลงไปเดินเล่นได้และจะเต็มไปด้วยแนวประการังน้ำตื้นที่ๆซึ่งเป็นที่อยู่ของปลาทราย ปลาสลิดหิน(ชาวบ้านเรียกปลาขี้ตัง) ปลานกแก้วและปลาการ์ตูนและปลาอื่นๆอีกมากมาย

และที่หาดลายินี้เป็นแหล่งหาหอยหาปูหาปลาของชาวบ้านในตำบลกมลากันมาช้านาน


หาดที่สองที่เชื่อมต่อกับหาดลายิชื่อว่า "หาดงั่ว"

หาดงั่วเป็นหาดที่สั้นกว่าหาดลายิเล็กน้อยเส้นทางลงสู่หาดต้องใช้ทางเส้นทางที่ผ่านที่ดินของเอกชน

และที่ปลายสุดของหาดนี้เป็นแหลมเล็กๆที่ๆคนในตำบลเรียกมันว่าแหลมสน


และหาดเล็กๆสองหาดนี้นั้นมีความสวยงามที่ผสมผสานกันระหว่างโขดหินรูปร่างแปลกตากับทรายชายหาดที่มีเม็ดทรายหยาบกว่าหาดกมลาขึ้นมาหน่อยแต่สะอาดไม่แพ้กันไว้เป็นสาธารณะสมบัติให้เราทุกๆคนได้ใช้สอยกันอย่างรู้คุณค่าของหาดสวยน้ำทะเลใสในตำบล (จะมาเพิ่มเติมอีกภาพหาดงั่วกับหาดลายิ)




กมลาเป็นตำบลที่มีตำนานที่น่าขบคิดด้วยนะคะ

น่าขบคิดในที่นี้คือสิ่งอันเป็นเรื่องราวที่บอกเล่าสืบต่อกันมานี้นั้นมีความน่าจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนค่ะ(แล้วจะเล่าให้อ่านกันนะ)


ตำบลกมลาแต่เดิม(กอ่นปี พ.ศ. ๒๕๒๐)ยังเป็นชุมที่มีประชากรไม่หนาแน่นมากนัก

มีครัวเรือนน้อยหลังไม่เหมือนในปัจจุบัน( ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙ )แต่ถึงน้อยก็เถอะที่นี่มีทั้งหมดถึง หกหมู่ด้วยกัน

และแต่ละหมู่ก็(อาจ)มีชื่อเป็นของตัวเองชื่อที่มิได้หมายความว่า อาทิ ชื่อว่า หมู่ ๑ หมู่ ๒ ,...อะไรแบบนี้

แต่ที่นี่จะมีชื่อเฉพาะที่มันสะท้อนว่าในอดีตกาลบรรพบุรุษของชาวกมลาใช้ภาษากันในลักษณะไหนและชื่อเหล่านั้นมีความหมายถึงหรือสื่อถึงอะไรบ้างนั่นล่ะค่ะ

อย่างหมู่ที่หนึ่ง(๑)ในตำบลกมลาประกอบด้วย บ้านบางหวาน บ้านเหนือ บ้านในทอน

หมู่ที่สอง(๒)ในตำบลกมลามีบ้านเดียวคือ บ้านใต้

ในหมู่ที่สาม(๓)ที่เชื่อมต่อกับหมู่ที่สี่นั้นประกอบด้วย บ้านโคกยาง(บางส่วน อีกบางส่วนอยู่ในหมู่ที่สี่แค่ข้ามฟากถนนไป) บ้านนอกเล ในสโตร์ บ้านนานอก และในหมู่ที่สามนี้มีสถานที่สำคัญของตำบลกมลารวมอยู่ด้วยหลายสถานด้วยกัน อาทิ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๓๖ ที่ซึ่งแต่เดิมชื่อโรงเรียนบ้านกมลา

และสาเหตุที่ต้องเปลี่ยนไปด้วยเหตุอันเนื่องด้วยโดรงเรียนบ้านกมลาเดิมนั้นได้รับความเสียหายจากเมื่อครั้งที่คลื่นยักษ์ซึนามิมาเยือนกมลาของเราเมื่อวันที่ 26 เดือนธันวาคมในปี 2001 นั้นเอง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ รัชกาลที่๙ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯและรับเข้าเป็นโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา



ตำบลกมลาเป็นตำบลที่มีประชากรส่วนมากนับถือศาสนาอิสลามนิกายสุ่นหนี่แต่ยังประกอบด้วยพี่น้องชาวพุทธมหายานอีกจำนวนเกือบกึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมดของตำบลและคริสเตียนรวมถึงลัทธิต่างๆอีกจำนวนหนึ่ง



เพิ่มเติมตรงนี้ด้วย สถานที่สำคัญในตำบลกมลา (อย่าลืมนำมาใส่)

อาทิ รร.กมลา (ราชประชานุเคราะห์ ๓๖ )

รร.บ้านหัวควน (ในหมู่ที่ ๕ ตอนนี้เป็นอะไร?)

สถานีอนามัยประจำตำบล (แพทย์ประจำอนามัยท่านแรกคือ?)

สถานีตำรวจ

วัด (หรือสำนักสงฆ์)

โบสถ์ (คริสเตียน)

และมัสยิดมีกี่แห่งใส่ภาพด้วยได้ก็จักดีทุกๆมัสยิดทุกๆนิกายของพี่น้องกมลา)



ตำบลกมลามีพื้นที่(ส่วนใหญ่?)เป็นที่ราบต่ำและลุ่มรวมถึงดอนรวมกันจนสมดุลย์

ทางทิศตะวันออกของตำบลเป็นแนวเทือกเขากมลาที่ทอดตัวยาวเป็นเสมือนส่วนที่ลึก(โค้ง)ที่สุดของตัวอักษร U ในภาษาอังกฤษ