ผู้ใช้:Bankaiadinza

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การนับเวลา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2[แก้]

ย่อมาจากวิกิดีเดีย ครับ

สงครามโลกครั้งที่สองไม่สามารถกำหนดจุดเริ่มต้นอย่างชี้ชัดแน่นอนได้ เพราะเป็นการไม่ยุติธรรมต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง นักประวัติศาสตร์จึงเลือกหลายช่วงเวลาว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งนี้แตกต่างกันไปตามแนวคิดของตน ซึ่งได้แก่ เหตุการณ์ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย ในปี ค.ศ. 1931[1][2] อิตาลีรุกรานเอธิโอเปีย ในปี ค.ศ. 1935[3][4][5] ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของสันนิบาติชาติ[6] สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1937[7][8] เยอรมนีรุกรานโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1939 ซึ่งนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม[9][10][11] ญี่ปุ่นโจมตีที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ในปี ค.ศ. 1941 และเยอรมนีรุกรานสหภาพโซเวียต ในปี ค.ศ. 1941[11] และยังมีนักเขียนบางคนให้ความเห็นว่า สงครามโลกครั้งที่สองเป็นสงครามครั้งเดียวกันกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งด้วยซ้ำไป[12] (ใช้คำว่า "สงครามกลางเมืองยุโรป" หรือ "สงครามสามสิบปีครั้งที่สอง"[13][14]) อย่างไรก็ตาม ในตำราส่วนใหญ่มักถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 และยุติเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945

นอกเหนือจากนั้น สงครามโลกครั้งที่สองยังมีกำหนดเวลาสิ้นสุดแตกต่างกันเช่นกัน บ้างก็นับที่การประกาศสัญญาสงบศึกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 มากกว่าการยอมจำนนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945; บางประเทศในทวีปยุโรปยึดเอาวันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป (8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945) เป็นสำคัญ แต่ว่า สนธิสัญญาสันติภาพกับประเทศญี่ปุ่นก็ยังไม่ได้มีการลงนามจนกระทั่งปี ค.ศ. 1951[15]

Creadit : http://th.wikipedia.org [16]

  1. James Bradley, Ron Powers. Flags of Our Fathers, pg. 58
  2. Tucker, Spencer; Roberts, Priscilla Mary. Encyclopedia of World War II: A Political, Social, and Military History, pg. 771; note, however, that Tucker's own view is that 191 is most convenient; p. 9.
  3. Ben-Horin, Eliahu (1943). The Middle East: Crossroads of History, p. 169
  4. Taylor, Alan (1979). How Wars Begin, p. 124
  5. Yisreelit, Hevrah Mizrahit (1965). Asian and African Studies, p. 191
  6. Barker, A. J., The Rape of Ethiopia 1936, Ballantine Books (1971) pp. 131-132
  7. Chickering, Roger; Förster, Stig; Greiner, Bernd. A World at Total War: Global Conflict and the Politics of Destruction, 1937-1945, pg. 64
  8. Fiscus, James W. Critical Perspectives on World War II, pg. 44
  9. Kantowicz, Edward R. The Rage of Nations, pg. 346
  10. Greer, Gordon B. What Price Security?, pg. 28
  11. 11.0 11.1 น.อ. ปรีชา ศรีวาลัย, สงครามโลกครั้งที่ ๑-๒ และสงครามเกาหลี, สำนักพิมพ์โอเดียนสตาร์, หน้า 80
  12. เจริญ ไชยชนะ, สงครามโลกครั้งที่ ๒, สำนักพิมพ์เสริมวิทย์บรรณาธิการ, หน้า 2
  13. Canfora, Luciano; Jones, Simon (2006). Democracy in Europe: A History of an Ideology, p. 155
  14. Prin, Gwyn (2002). The Heart of War: On Power, Conflict and Obligation in the Twenty-First Century, p. 11
  15. Shiraishi, Masaya, Japanese relations with Vietnam, 1951-1987, SEAP Publications, 1990, ISBN 0-87727-122-4, page 4
  16. http://th.wikipedia.org