ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Autumm/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Smartphone/Tablet Explosion[แก้]

Smartphone

เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีความสามารถที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากโทรศัพท์มือถือที่ใช้โทรเข้า-ออกทั่วๆไป สมาร์ทโฟนได้ถูกมองว่าเป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่ทำงานในลักษณะของโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยที่สามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือเข้าร่วมกับแอปพลิเคชันของโทรศัพท์เอง สมาร์ตโฟนสามารถให้ผู้ใช้งานติดตั้งโปรแกรมเสริมสำหรับเพิ่มความสามารถของโทรศัพท์ตัวเอง โดยรูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มของโทรศัพท์และระบบปฎิบัติการ คุณสมบัติของ Smartphone

  1. สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ แบบไร้สาย เช่น การเชื่อมต่อกับ คอมพิวเตอร์, PDA , โทรศัพท์เครื่องอื่น , ปริ้นเตอร์ และกล้องดิจิตอล ผ่านทาง อินฟาเรด , บลูทูธ และ Wi-Fi
  2. สามารถรองรับไฟล์ Multimedia ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ภาพ , ภาพเคลื่อนไหว (ไฟล์ประเภท .gif ) , ไฟล์เสียง ซึ่งก็จะมีหลากหลายรูปแบบ เช่น ไฟล์ wave , MP3 , Midi และยังสามารถรองรับภาพเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียง เช่น ไฟล์สกุล .3GP , .MP4 เป็นต้น

ตัวอย่างอุปกรณ์ต่อพ่วงที่ใช้กับ Smartphone

    • หูฟังบลูทูธ : หูฟังแบบไร้สายที่ใช้เทคโนโลยี บลูทูธ ในการสื่อสารโดยสามารถพูดคุยได้ โดยไม่จำเป็นต้องวางโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัวเรา ปกติจะสามารถใช้งานได้ในระยะ 10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของบลูทูธ
    • คีย์บอร์ด : แป้นพิมพ์ที่ช่วยในความสะดวกในการพิมพ์ข้อความ โดยเฉพาะอีเมลล์ ใข้แก้ปัญหาโทรศัพท์ที่มีหน้าจอเล็ก ไม่สะดวกในการพิมพ์ข้อความ
    • จอยสติ๊ค : ใช้สำหรับเล่นเกมบนมือถือ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการเล่นมากยิ่งขึ้น Android

โดยSmart Phone เองนั้นก็มีระบบปฏิบัติการหลักๆอยู่คือ

แอนดรอยด์

(อังกฤษ: android) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยGoogle และนำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ภายหลังถูกพัฒนาในนามของ Open Handset Alliance ทางGoogleได้เปิดให้นักพัฒนาสามารถแก้ไขโค้ดต่างๆ ด้วยภาษาจาวา และควบคุมอุปกรณ์ผ่านทางชุด Java libraries ที่กูเกิลพัฒนาขึ้นแอนดรอยด์ได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้ประกาศก่อตั้ง Open Handset Alliance กลุ่มบริษัทฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสาร 48 แห่ง ที่ร่วมมือกันเพื่อพัฒนา มาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์มือถือ ลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์นี้จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีโทรศัพท์เครื่อง แรกที่สามารถใช้งานระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้คือ HTC Dream ออกจำหน่ายเมื่อ 22 ตุลาคม 2551ความสามารถใหม่ของ แอนดรอยด์ 2.3 ที่เพิ่มขึ้นมาคือ Near field communication Android OS คืออะไร Android OS คือระบบปฏิบัติการบนมือถือ (Operating System)ระบบปฏิบัติการ Android ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยค่าย Google ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ OpenSourceจึงมีคนเริ่มดัดแปลงให้ใช้กับ Netbook ได้ด้วย

หากเป็น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows หรือ Linux เรา เรียกมันว่า ระบบปฏิบัติการนั้นว่า (OS) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ลง Windows ก็จะเปิดเครื่องเพื่อทำงานไม่ได้ โทรศัพท์มือถือ SmartPhone ก็เช่นเดียวกัน มันต้องการ OS ซึ่งใน iPhone นั้นบริษัทแอปเปิ้ลใช้ OS ที่ชื่อว่า iPhone OS ในขณะที่บริษัทกูเกิ้ล(Google) บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอที อีกรายก็ได้ซุ่มพัฒนา OS ที่มีชื่อว่า Android(แอนดรอยด์) OS ขึ้นมา

ความแตกต่างกันของ iPhone และ Android Phone ก็คือ iPhone มีผู้ผลิตรายเดียวคือแอปเปิ้ล จะไม่มีใครในโลกนี้ สามารถเอามือถือมาลง iPhone OS กลายเป็น iPhone มาขายได้อย่างแอปเปิ้ล ในขณะที่ Android (แอนดรอยด์) Phone นั้นใครๆก็เอาไปใช้ได้ เพราะกูเกิ้ลแจก Android OS ฟรี นอกจากใช้ได้แล้ว Google ยังให้เราสามารถเข้าไปแก้ไขดัดแปลง เจ้า Android ให้เป็นเวอร์ชั่นของเราได้อีกด้วยครับ ข้อดี VS ข้อเสีย ของ Android ข้อดีของ Android 1. ความเข้ากันได้ระหว่างมือถือกับระบบ : ด้วยความที่เป็นOpen-Source ทำให้ค่ายมือถือสามารถหาทางออกร่วมกันในแง่ข้อกำหนดขั้นต่ำที่จะใช้Android และด้วยความที่เป็น Open-Source จึงมีคนเริ่มดัดแปลงให้ใช้กับNetbook ได้ด้วย

2. ราคา : Open-Source ไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้ แถมยังเข้ากันได้กับตัวเครื่องเนื่องจากร่วมกันผลิต ดังนั้นต้นทุนผลิตจึงต่ำ และตัวแอนดรอยด์ (ไม่รวมราคาของเครื่องที่ใช้) ถูกกว่าos ของ iphone

3. เราสามารถพัฒนาเองโดยไม่ต้องส่งคืนไปให้ที่บริษัทแม่ในต่างประเทศ เหมือนเทคโนโลยีอื่นๆ ก่อนหน้านี้ เนื่องจากเป็นระบบเปิด จึงสามารถพัฒนาได้เอง ในส่วนของซอฟต์แวร์ภายในเครื่องนั้น 90% จากต่างประเทศและอีก10% เป็นของคนไทย โดยใช้ platform android ที่สามารถพัฒนาโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างแทบไม่มีขีดจำกัด ตัวพัฒนาโปรแกรมใน android(SDK) นั้นสามารถโหลดมาใช้ได้ฟรีๆ และไม่ได้มีข้อจำกัดเหมือน iphone ที่เวลาโอนถ่ายข้อมูลระหว่างโทรศัพท์กับคอมพิวเตอร์ต้องต่อสายและโอนข้อมูล ผ่านitune เท่านั้น

4. หากเทียบกับ iphone แล้ว Androidเน้นในเรื่องการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่หลากหลาย สามารถตกแต่งได้ตามใจชอบมากกว่า

5. สามารถใช้งานด้วยนิ้วได้สะดวกและลื่นไหล

6. สามารถทำงานได้เร็วกว่า windows mobile เร็วพอๆกับ iphone ในมาตรฐานราคา licences ที่เท่ากัน

ข้อเสียของ Android 1. เนื่องจากเป็นน้องใหม่ในตลาด โปรแกรมที่จะใช้ได้กับระบบยังไม่เยอะ มีโปรแกรมเสริมให้เลือกน้อย การพัฒนาอาจจะล่าช้ากว่า commercial software เมื่อระบบพัฒนาถึงจุดๆหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหากับผู้ใช เนื่องจากผู้ใช้คงไม่ได้อัพเกรดระบบซักเท่าไหร่นัก 2. Process : เราไม่สามารถปิดProcess เองได้ ถ้าเปิดโปรแกรมอะไรขึ้นมามันจะรันอยู่อย่างนั้นตลอดซึ่งจะทำให้เครื่องช้าลง เรื่อยๆ ต้องมาลงโปรแกรม Task Manager คอยปิด Process ทำให้ยุ่งยากมากขึ้น 3. เมื่อเทียบกับ WindowMobile ในแง่ความแพร่หลายของโปรแกรม, การใช้งานGPS และการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่เป็น Windowsแล้ว Android ยังสู้ไม่ได้อย่างแน่นอน อีกทั้งการใช้งานร่วมกับภาษาไทยยังไม่รู้ว่าจะทำได้ดีขนาดไหนอีกด้วย 4. ใช้งานยากเพราะเมนูซับซ้อน ต้องทำความเข้าใจก่อน 5. ต้องต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลาจึงจะใช้ฟังก์ชันได้เต็มที่


อุปกรณ์ที่ใช่ ระบบปฏิบัติการ Android แอนดรอยด์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ เน็ตบุ๊ก ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล วิวัฒนาการของ แอนดรอยด์ (Android)

       แอนดรอยด์ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ.2550 โดยบริษัท แอนดรอยด์ร่วมกับ Google จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 ได้มีการร่วมมือกันกว่า 30 บริษัทชั้นำเพื่อพัฒนาระบบ โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า OHA (Open Handset Alliance) โดยแบ่งออกเป็นเวอร์ชั่น และมีชื่อเรียกแต่ละเวอร์ชั่นเป็นชื่อขนมหวาน โดยเรียงลำดับตามตัวอักษร A-Zเรามาค่อยๆ ดูไปทีละเวอร์ชั่นของ แอนดรอยด์ว่ามีวิวัฒนาการเป็นอย่างไร แล้วปัจจุบัน มันไปถึงเวอร์ชั่นอะไรแล้ว
                         แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.0

ในรุ่นนี้ยังไม่มีชื่อเล่น (หากมีชื่อเล่น จะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A) ออกตัวเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2550

                                 แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.1

ในรุ่นนี้ยังไม่มีชื่อเล่น (หากมีชื่อเล่นจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร B ออกตัวเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 เป็นรุ่นที่พัฒนาแก้ไขบั๊ก (Bug) ของเวอร์ชั่นก่อนหน้าคือ เวอร์ชั่น 1.0 โดยในรุ่นนี้ได้มีการนำไปใช้งาน โดยติดตั้งอยู่ใน HTC Dream(G1)

                                 แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.5 

ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า คัพเค้ก (Cupcake) เปิดตัวเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2552 เป็นรุ่นที่ถูกนำมาผลิตเพื่อการค้าอย่างเต็มรูปแบบ และบริษัทที่นำมาใช้ในโทรศัพท์ของตนเองพร้อมขายทั่วโลกคือ Samsung โดยนำมาติดตั้งในเครื่อง Samsung i5700 Spica

                                 แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 1.6 

ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า โดนัท (Donut) ออกตัวเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2552 มีการปรับปรุงแก้ไขข้กบกพร่องของเวอร์ชั่น 1.5 มีโทรศัพท์หลายรุ่นที่ได้นำมาใช้ โดยแอนดรอยด์เวอร์ชั่นนี้สามารถจัดให้มีการอัพเกรดออนไลน์ (Over The Air : OTA)

                                 แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.0
ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า อีเคร์ (Eclair) แปลว่า ขนมหวานรูปยาวมีคริมข้างใน ออกตัวเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2552 โดยบริษัท Motorola ได้นำเวอร์ชั่นนี้ลงบนโทรศัพท์แบบสไลด์ ชื่อรุ่น Milestones ประเทศไทยได้นำมาวางขายผ่านเครือข่าย True
                                 แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.2
ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า โฟรโย่ (Froyo) แปลว่าโยเกิร์ตแช่แข็ง (Froyo - Frozen yogurt) ออกตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2553 โดยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชั่นนี้ได้ถูกติดตั้งในโทรศัพท์รุ่น Google Nuxus One ซึ่งบริษัท Google มอบหมายให้ทางบริษัท HTC เป็นโรงงานผลิต
                                 แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 2.3
ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า จิงเกอร์เบรด (Gingerbread) เจ้าขนมปังขิง ออกตัวเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2553 เป็นรุ่นที่ถือได้ว่ามีการนำมาใช้งานในโทรศัพท์มือถือมากที่สุดความสามารถที่เพิ่มเข้ามาในเวอร์ชั่นนี้จะพิเศษที่ระบบการสื่อสารแบบใหม่ชื่อเรียกว่า Near Field Communication (NFC) เป็นระบบการจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์ได้ โดยที่โทรศัพท์ต้องมีอุปกรณ์ที่รองรับระบบ NFC ด้วย เวอร์ชั่นนี้ได้ถูกลงบนโทรศัพท์ของ Google เช่นเดิม เป็นรุ่นที่ 2 ต่อจาก HTC Nexus One แต่ครั้งนี้ Google ให้บริษัท Samsung เป็นผู้ผลิตให้ และใช้ชื่อว่า Google Nexus S


                                 แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 3.0
ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า ฮันนี่คอม (Honeycomb) รังผึ้ง ออกตัวเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 ระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นนี้ถูกพัฒนาเพื่อใช้กับ Tablet โดยเฉพาะ ถูกติดตั้งในแท็บเล็ต Motorola ในรุ่น XOOM เป็นรุ่นแรก
                                แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 4.0
ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า ไอศรีมแซนวิช (ICS : Ice Cream Sandwich) ออกตัวเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2554 เวอร์ชั่นนี้จะสามารถใช้งานได้ทั้งในโทรศัพท์ และแท็บเล็ต ทำให้บริษัทผู้ผลิตเตรียมอัพเกรดอุปรณ์ของตนเองเพื่อให้สามารถใช้งานเวอร์ชั่นนี้ได้ โทรศัพท์รุ่นที่รับการติดตั้งระบปฏิบัติการเวอร์ชัั่นนี้ได้แก่ Google Galaxy Nexus และแท็บเล็ตเครื่องแรกที่ได้รับการอัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นนี้ได้แก่ Asus Transformer Prime span class='highlight red'>โดยแอนดรอยด์เวอร์ชันนี้ จะเป็นพระเอกสำหรับโครงการ OTPC ก็ว่าได้ เพราะเป็นระบบปฏิบัติการที่แท็บเล็ตในโครงการใช้งาน ทำไมต้องไอศรีมแซนวิช (ICS)
                               แอนดรอยด์ เวอร์ชั่น 4.1 

ในรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า เจลลี่บีน (JB : Jelly Bean) เวอร์ชั่นนี้จะเน้นเพิ่มความสามารถทางด้านความเร็วเป็นหลัก เพราะแอนดรอยด์ชอบโดนดูถูกเรื่องความ อืด ความช้า เมื่อเทียบกับ IOS ในเวอร์ชั่นนี้จึงเน้น ที่ความเร็วไหลลื่นให้ผู้ใช้ไม่มีสะดุด ด้วยเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า V-Sync adaptations และ triple buffering จะนำคุณเข้าสู่ประสบการณ์การเรนเดอร์หน้าจอระดับ 60 เฟรมต่อวินาที (FPS) โดยมีผลิตภัณฑ์ ของ Google ก็คือ แท็บเล็ต Nexus 7 ที่ผลิตโดยโรงงานของ Asus เป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกที่ได้นำ Jelly Bean เป็นระบบปฏิบัติการ หลังจาก Google ได้เปิดจำหน่าย Nexus 7 ไปแล้ว ถึงได้ทำการเปิดโค้ด (Source Code) ให้กับผู้ผลิตแบรนด์อื่นๆ ได้นำ Jelly Bean ไปใช้งาน ไปพัฒนาต่อไปเป็น lollipop vestion หรือ android 5.0 ต่อไปซึ่งบางรุ่นก็ได้ลงไปแล้วเรียบร้อย



แบล็คเบอร์รี่ (BlackBerry)

เป็นสมาร์ตโฟนและโทรศัพท์มือถือโดยบริษัทแบล็คเบอร์รี่จำกัด (BlackBerry Limited) หรือเดิมคือบริษัทรีเสิร์ชอินโมชั่น (Reserch in Motion Limited - RIM) จากประเทศแคนาดา แบล็คเบอร์รี่เครื่องแรกเริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2542 โดยมีลักษณะเป็นเพจเจอร์สองทาง แบล็คเบอร์รี่รุ่นล่าสุดคือ แซด 30, แซด 10, คิว 10 และ คิว 5 มีลักษณะส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น โดยส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ที่โด่งดังและเป็นที่นิยมที่สุดของแบล็คเบอร์รี่คือแป้นพิมพ์คิวเวอตี้ ขณะที่แบล็คเบอร์รี่รุ่นใหม่จะใช้ส่วนประสานงานผู้ใช้แบบหน้าจอสัมผัสและคีย์บอร์เสมือนดังเช่น ไอโฟน แบล็คเบอร์รี่ สามารถ่ายรูปและวิดีโอ รวมถึงเล่นเพลงได้ นอกจากนั้นยังตอบสนองการใช้งานด้านอีเมล์ เว็บเบราว์เซอร์ เมสเซนเจอร์ โดยเฉพาะ แบล็คเบอร์รี่ เมสเซนเจอร์ ซึ่งบริษัทแบล็คเบอรี่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ และเคยเป็นที่นิยมของผู้ใช้ทั่วโลก ในปีพ.ศ.2554 แบล็คเบอร์รี่ กินส่วนแบ่งตลาด โทรศัพท์มือถือ ทั่วโลกได้ 3% กลายเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถืออันดับ 6 ของโลก ระบบอินเทอร์เน็ตของแบล็คเบอร์รี่เปิดให้บริการใน 91 ประเทศ ภายใต้ผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 500 ราย ในเดือนกันยายน พ.ศ.2555 มีผู้ใช้แบล็คเบอร์รี่ถึง 80 ล้านเครื่องทั่วโลก ในปีพ.ศ.2554 ผู้คนกลุ่มประเทศแคริบเบียนและละตินอเมริกาใช้แบล็คเบอร์รี่มากที่สุด คิดเป็น 45% ของจำนวนเครื่องแบล็คเบอร์รี่ทั่วโลก ระบบปฏิบัติการ Blackberry หลายคนคงคุ้นชินและสนิทสนมกับระบบปฏิบัติการ Blackberry เป็นอย่างดี โดยระบบปฏิบัติการนี้เป็นระบบปฏิบัติการที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Research in Motion หรือ RIM ความสามารถหลักๆ คือรองรับการใช้งานองค์กร ในการรับส่งอีเมล์ในเชิงธุรกิจที่เน้นความปลอดภัยเป็นอย่างสูง แต่ระบบปฏิบัติการนี้จะสามารถใช้ได้เฉพาะกับเครื่องสมาร์ทโฟนค่าย Blackberry เท่านั้น แถมคุณสมบัติโดดเด่นก็เห็นจะเป็น Blackberry Messenger หรือ BBM ที่สาวดีว่าใช้แชทเม้าท์มอยกับเพื่อนสาว กุ๊กกิ๊กออดอ้อนหวานใจกันนั่นแหละ รุ่นของแบล็คเบอร์รี

  • ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี 10: รุ่นล่าสุด
    • แบล็คเบอร์รี แซด 30 : แบล็คเบอร์รี แซด 30
    • แบล็คเบอร์รี คิว 10 (พ.ศ.2556): แบล็คเบอร์รี คิว 10
    • แบล็คเบอร์รี คิว 5 (พ.ศ.2556): แบล็คเบอร์รี คิว 5
    • แบล็คเบอร์รี แซด 10 (พ.ศ.2556): แบล็คเบอร์รี แซด 10
    • แบล็คเบอร์รี แซด 30 (พ.ศ.2556)
    • แบล็คเบอร์รี พอร์ช ดีไซน์ (พ.ศ.2556):แบล็คเบอร์รี พอร์ช ดีไซน์ พี'9982
  • ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี 7:
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี โบลด์ (พ.ศ.2554): แบล็คเบอร์รี โบลด์ 9900/9930/9790
    • แบล็คเบอร์รี 9720 (พ.ศ.2556)
    • แบล็คเบอร์รี พอร์ช ดีไซน์ (พ.ศ.2555): แบล็คเบอร์รี พอร์ช ดีไซน์ พี'9981
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี ทอร์ช (พ.ศ.2554): แบล็คเบอร์รี ทอร์ช 9810
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี ทอร์ช (พ.ศ.2554): แบล็คเบอร์รี ทอร์ช 9850/9860
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ (พ.ศ.2554): แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 9350/9360/9370/9380
    • แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 9320/9220 (พ.ศ.2554)
  • ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี 6:
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี ทอร์ช (พ.ศ.2553): แบล็คเบอร์รี ทอร์ช 9800
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ (พ.ศ.2553): แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 9300/9330
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี เพิร์ล (พ.ศ.2553): แบล็คเบอร์รี เพิร์ล 3 จี 9100/9105
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี โบลด์ (พ.ศ.2553-2554): แบล็คเบอร์รี โบลด์ 9780/9788
  • ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี 5:
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี โบลด์ (พ.ศ.2551-2553): แบล็คเบอร์รี โบลด์ 9000/9700/9650
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี ทัวร์ (พ.ศ.2552): แบล็คเบอร์รี ทัวร์ 9630
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี สตอร์ม (พ.ศ.2552): แบล็คเบอร์รี สตอร์ม 2 (9520/9550)
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี สตอร์ม (พ.ศ.2551): แบล็คเบอร์รี สตอร์ม (9500/9530)
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ (พ.ศ.2553-2554): แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 8900 (8900/8910/8980)
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ (พ.ศ.2553): แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 8520/8530
  • ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอร์รี 4 และระบบปฏิบัติการก่อนหน้า:
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี 8800 (พ.ศ.2550): แบล็คเบอร์รี 8800/8820/8830
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี เพิร์ล (พ.ศ.2549): แบล็คเบอร์รี เพิร์ล 8100/8110/8120/8130
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี เพิร์ล ฟลิป (พ.ศ.2552): แบล็คเบอร์รี เพิร์ล ฟลิป 8220/8230
    • ตระกูลแบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ (พ.ศ.2550): แบล็คเบอร์รี เคิร์ฟ 8300 (8300/8310/8320/8330/8350i)
    • รุ่นเพจเจอร์สองทาง : 850, 857, 950, 957
    • ตระกูลจอขาว-ดำ พื้นฐานจาวา: 5000, 6000
    • ตระกูลจอสีรุ่นแรก: 7200, 7500, 7700
    • ตระกูลคีย์บอร์ดรุ่นแรก ชัวร์ไทป์ : 7100

IOS

ระบบปฎิบัติการ IOS มีชื่อเดิมว่า iPhone OS เริ่มต้นด้วยการเปิดตัวของ iPhone เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550  เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟนของแอปเปิล โดยเริ่มต้นพัฒนาสำหรับใช้ในโทรศัพท์ iPhone และได้พัฒนาต่อใช้สำหรับ iPot Touch และiPad

คุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ IOS

            หน้าจอหลัก (Home screen)เป็นส่วนแสดงข้อมูลที่ประกอบด้วย application ที่มีบนเครื่อง ซึ่ง Application เหล่านี้รองรับการทำงานในระบบปฏิบัติการiOS สามารถดาวน์โหลดหรือซื้อได้ที่ Apple’s store หรือผ่านเว็บไซต์ของแอปเปิลได้โดยตรง การใช้งานทำได้ง่ายและสะดวกเพียงนำนิ้วจิ้มหรือแตะไปที่รูปไอคอนที่ต้องการใช้งาน
            ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของไอโอเอสมีพื้นฐานแนวคิดมาจาก "การควบคุมโดยตรง" (direct manipulation) ด้วยการใช้มัลติทัช องค์ประกอบของการควบคุมก็คือการใช้นิ้วเลื่อน, สวิทช์ และปุ่ม เพื่อเป็นการควบคุมอุปกรณ์รวมถึงท่าทางอย่างอื่น เช่น การนำนิ้วมือ (มากกว่าสองนิ้ว) บีบเข้าหาศูนย์กลาง (swipe), แตะเบาๆ (tap)ซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายที่เจาะจงในบริบทต่างๆ ของไอโอเอสและถือเป็นการใช้งานแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบมัลติทัช ภายในอุปกรณ์ที่ติดตั้งไอโอเอสจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อใช้กับบางแอปพลิเคชันเพื่อตอบสนองการสั่นของอุปกรณ์ หรือการหมุนอุปกรณ์ที่คำนวณในรูปแบบสามมิติ
            แฟ้มข้อมูล (Folders)iOS 4 การแนะนำของระบบโฟลเดอร์ที่เรียบง่ายมา เมื่อใช้งานอยู่ในโหมด “กระตุก” ใด ๆ สองสามารถลากด้านบนของแต่ละอื่น ๆ เพื่อสร้างโฟลเดอร์และจากนั้นมาปพลิเคชันเพิ่มเติมสามารถเพิ่มลงในโฟลเดอร์โดยใช้ขั้นตอนเดียวกันได้ถึง 12 บน iPhone และ iPod touch และ 20 ใน iPad ชื่อสำหรับโฟลเดอร์ที่ถูกเลือกโดยอัตโนมัติตามประเภทของการใช้งานภายใน แต่ชื่อยังสามารถแก้ไขได้โดยผู้ใช้

การแจ้งเตือน (Notification)ใน iOS 5 ปรับปรุงคุณลักษณะการแจ้งเตือนที่ถูกออกแบบใหม่อย่างสมบูรณ์ เพื่อให้การทำงานรวดเร็วและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ง่ายขึ้น

รุ่น/เวอร์ชันของ IOS รุ่น เปิดตัวครั้งแรก รายละเอียดหลัก 1 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เปิดตัวพร้อมกับ iPhone 2G รุ่นแรก โดยใช้ชื่อว่า iPhone OS 2 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 3G และ iPod Touch ซึ่งเปิดตัวเป็นครั้งแรก ทั้งยังรองรับ App store เป็นครั้งแรก 3 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552 รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 3GS สามารถคัดลอกและวางข้อความ และส่ง MMS ได้ 4 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553 รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 4 เป็นรุ่นแรกที่ใช้ชื่อว่า iOS อย่างเป็นทางการ โดยใช้ชื่อว่า iOS 4 โดยเป็นเวอร์ชันแรกที่ iPhone รุ่นแรกไม่รองรับ ในรุ่นนี้รองรับฟังก์ชันมากมาย อาทิ Multitasking เป็นต้น และในรุ่น 4.2.1 เป็นรุ่นแรกที่เริ่มใช่งานใน ไอแพด ซึ่งเปิดตัวเป็นครั้งแรก 5 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554 รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 4S รุ่นนี้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบหน้าตาของฟังก์ชันพื้นฐาน และรองรับระบบต่างๆมากมาย อาทิ ไอคลาวด์ และ สิริ เป็นต้น 6 19 กันยายน พ.ศ. 2555 รองรับสำหรับการใช้งานใน iPhone 5 และไอพอดทัช รุ้นที่ 5 เปลี่ยนไปใช้ระบบแผนที่ของ TomTom, สามารถ Facetime ผ่านระบบเซลลูล่าร์, การถ่ายภาพแบบพาโนรามา, คีย์บอร์ดภาษาไทยแบบ 4 แถว, แอปพลิเคชันนาฬิกาสำหรับ iPad 7 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เปลี่ยนส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ใหม่ทั้งหมดให้เป็นแบบเรียบง่าย เพิ่มสถานีวิทยุไอจูนส์ ศูนย์การตั้งค่าด่วน บริการส่งไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ของแอปเปิลผ่านแอร์ดรอป และเสริมความสามารถของซีรี(อังกฤษ: Siri) หรือที่แผลงเป็น สิริ 8 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เพิ่มไอคลาวด์ไดรฟ์ การแจ้งเตือนแบบอินเตอร์แอกทีฟ การสนับสนุนแป้นพิมพ์จากผู้พัฒนาอื่นนอกเหนือแอปเปิล การแบ่งปันข้อมูลในอุปกรณ์ของแอปเปิลภายในครอบครัว และระบบการค้นหาใหม่ ข้อดีและข้อเสีย

ข้อดี คือ มี Application หลากหลาย มีบริการ App Store และโปรแกรม iTunes สนับสนุนการจัดการอุปกรณ์มีเมนูการใช้งาน รวดเร็วและเข้าใจง่าย โปรแกรม Web Browser (Safari) ตอบสนองได้รวดเร็ว ข้อเสีย คือ ผู้ใช้งานไม่สามารถออกแบบปรับเปลี่ยนหน้าจอได้ตามความต้องการ ไม่สามารถทํางานได้พร้อมๆ กันหลายอย่าง เช่น ไมสามารถฟังเพลงพร้อมเปิด Web Browser เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ ระบบปฏิบัติการซิมเบียน(Symbian OS)

ระบบปฏิบัติการ Symbian คือระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย และออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก ในการรับส่งข้อมูล เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำขนาดเล็ก และมีความปลอดภัยสูง ทำให้เหมาะที่จะนำมาใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ Mobile OS

	เนื่องจากเทคโนโลยีของโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ถูกพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและการแข่งขันที่สูง ทำให้ในระยะช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้นจึงเกิดการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และเพื่อช่วงชิงความเป็นเจ้าในการครองส่วนแบ่งทางการตลาด จึงทำให้ผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ พยามใส่คุณสมบัติต่าง ๆ เข้าไปในโทรศัพท์เคลื่อนที่ และสร้างความเป็นส่วนตัวให้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ใช้งาน สามารถปรับแต่งการตั้งค่าต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของตัวเองที่สุด และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า กลุ่มที่ต้องการใช้งานทางด้านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต การรับ - ส่ง อีเมล์ และ การใช้งานที่ใกล้เคียงกับอุปกรณ์ PDAจึงเกิดระบบปฏิบัติการ (Operating System) บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ขึ้น และในปัจจุบันระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ได้มี การใช้การ กันในกลุ่มผู้ผลิต โทรศัพท์เคลื่อนที่หลาย ๆ บริษัทได้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งมีระบบปฏิบัติการ ออกวางจำหน่าย โดยระบบปฏิบัติการ ที่นิยมใช้งาน อยู่ในปัจจุบันก็มีอยู่ 2ค่ายคือ ซิมเบียน (Symbian OS) และ   สมาท์โฟน (Smathphone) จากค่าย Microsoft


Symbian os ในโทรศัพท์หมายถึงอะไร ?

	มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนไม่น้อย ที่ยังมีความสงสัยอยู่ว่า โทรศัพท์มือถือที่มีระบบปฏิบัติการ Symbian OS กับโทรศัพท์มือถือแบบทั่วๆ ไปนั้น แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ทั้งในเรื่องการใช้งาน ประสิทธิภาพ หรือประโยชน์ที่ได้รับ 	    ซึ่ง Symbian OS ก็คือระบบปฏิบัติการชนิดหนึ่งที่ออกแบบมาสำหรับโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารไร้สายโดยเฉพาะ เป็นระบบปฏิบัติการที่เน้นการใช้งานที่ง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำขนาดเล็ก มีความปลอดภัยทางด้านข้อมูลสูง ซึ่งถ้าจะให้นึกภาพออกง่ายๆ ลองนึกถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ มันก็จะมีระบบปฏิบัติการ Windows OS หรือ Linux OS อยู่ เป็นลักษณะทำนองเดียวกัน

ระบบปฏิบัติการ (Operating System) คืออะไร ง่ายๆ ก็ให้นึกถึง Windows ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ดู ไม่ว่าจะเป็น XP, 2000, 98, 2003, ME หรืออื่นๆ และลองนึกถึงเครื่องเล่นเกมส์แบบพกพาเช่น game boy ดู จะเห็นว่ามันทำได้แค่เล่นเกมอย่างเดียวเท่านั้น จะให้มันทำงานอย่างอื่นให้คงไม่ได้ เปรียบเสมือนมือถือทั่วไปที่ไม่มีระบบปฏิบัติการสำหรับมือถือโดยเฉพาะ ทำงานได้ตามความสามารถหรือฟังก์ชันที่มีอยู่แต่เดิมเท่านั้น ประโยชน์ของ Symbain OS ก็คือจะช่วยให้โทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กๆ เครื่องหนึ่งมีความสามารถและความฉลาดมากกว่ามือถือทั่วไป จึงทำให้ถูกเรียกว่ามือถือ Smartphone โดยจะสามารถทำงานนอกเหนือจากการใช้โทรศัพท์ได้หลายอย่าง คล้ายกับการนำเครื่อง PDA หรือ Pocket PC มารวมกันกับโทรศัพท์มือถือนั่นเอง ซึ่งถ้ามือถือรุ่นใดไม่มีระบบปฏิบัติการ Symbian OS ก็จะทำงานได้ค่อนข้างจำกัดอยู่ที่คุณสมบัติเท่าที่ตัวเครื่องให้มา เน้นฟังก์ชันที่ควรจะมีสำหรับโทรศัพท์มือถือ ไม่มีความยืดหยุ่นในการติดตั้งโปรแกรมใช้งานเพิ่มเติมตามที่ต้องการได้อย่างเต็มที่

ระบบปฏิบัติการซิมเบียน (Symbian OS)เกิดขึ้นและพัฒนาอย่างไร

ระบบปฏิบัติการ Symbian คือระบบปฏิบัติการที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย และเป็นระบบปฏิบัติการ ที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้ในงานกับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก ในการรับส่งข้อมูล เป็นระบบที่ใช้งานง่าย ประหยัดพลังงาน ใช้หน่วยความจำที่มีขนาดเล็ก และมีความปลอดภัยสูง ทำให้เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน และอนาคต ระบบ Symbian เกิดขึ้นและมีพัฒนาการมาจากการที่เป็นบริษัทที่เป็นผู้นำในการผลิตซอฟท์แวร์ที่รองรับการสื่อสารแบบไร้สาย Symbian OS เกิดขึ้นในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1998 ซึ่งในขณะนั้นมีพันธมิตรร่วมกัน 4 รายใหญ่ คือ Ericsson, Nokia, Motorola,และ PSION ถัดมาในปี ค.ศ. 1999 Symbian ก็ได้พันธมิตรเพิ่มอีกคือ Panasonic และในปี 2000 ก็ได้มีการจับมือกับ Sony, Sanyo, Siemens
 โทรศัพท์เครื่องแรกที่มีการเปิดตัวโดยใช้ Symbian OS คือ Ericsson R380s เป็นโทรศัพท์ smart phone จากค่าย ericsson มีคุณสมบัติใหม่ ๆ มากมายในสมัยนั้นคือ มีการใช้งานจอแบบ Touch Screen มีระบบการSync. ข้อมูล PIM กับ Microsoft outlook หรือ Lotus note ได้ แต่จริง ๆ แล้วในสมัยนั้นไม่ใช่ ericsson ที่เป็นเจ้าแรกที่นำระบบปฏิบัติการมาใช้งานบนโทรศัพท์มือถือ โดยก่อนหน้านี้ Nokia ได้ทำมาก่อนแล้วในโทรศัพท์รุ่น nokia 9000 ซึ่งในตอนนั้น nokia ใช้ระบบปฏิบัติการ "Geos" ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์มือถือในยุคแรก ๆ แต่ระบบปฏิบัติการ ก็ประสบปัญหาในการใช้งานหลายอย่าง ในเรื่องการจัดการหน่วยความจำทำให้เครื่องเกิดการทำงานผิดพลาด (Hang) บ่อย ๆ และทำให้ข้อมูลของผู้ใช้งานหายไปทั้งหมด ซึ่งในรุ่นถัดมาของ nokia 9110 ก็ยังคงใช้ระบบปฏิบัติการ Geos แต่ก็ยังคงประสบปัญหาเช่นเดิม และในปี 2001 Nokia จึงเปลี่ยนระบบปฏิบัติการ จาก Geos มาเป็น Symbian และได้พัฒนา Communicator phone รุ่นใหม่คือ 9210 ออกวางจำหน่าย โดยระบบปฏิบัติการ Symbian ในรุ่นใหม่นี้ มีจุดเด่นคือเป็นระบบเปิด คุณสามารถที่จะนำโปรแกรมอื่น ๆ ที่เขียนขึ้นมาเพื่อใช้งานรองรับ symbian มาลงเพิ่มในเครื่องได้ และในวันนี้ nokia ก็ได้ออกโทรศัพท์ ที่ใช้เพลทฟอร์มใหม่ขึ้นมาใช้งานคือ " Series 60 Platform " เพื่อเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุค 2.5 G คือ nokia 7650 และ 3650 ออกวางจำหน่าย โดยใช้ระบบ ปฏิบัติการ symbian OS Geos

Symbian os ทำงานได้อย่างไร ? Symbian OS นั้นไม่ได้เป็นเพียงแค่ระบบปฏิบัติการเท่านั้น แต่ Symbian ยังเป็นระบบเปิดที่ให้ผู้อื่น สามารถพัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆ บนระบบปฏิบัติการ Symbian ได้ เรียกได้ว่าในอนาคตจะมีแอพพลิเคชั่นมากมายที่ถูกสร้างขึ้นบนระบบปฏิบัติการ Symbian และยังส่งผลให้เป็นตลาดผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตอีกด้วย

ประโยชน์ของระบบปฏิบัติการ Symbian OS 1. ใช้หน่วยความจำน้อย ทำให้มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2. โปรแกรม Application มีขนาดเล็ก ไม่เปลือง memory 3. เป็นระบบเปิด ทำให้นักพัฒนาโปรแกรม สามารถสร้างโปรแกรมหรือเกมส์ต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้งานกับ ระบบ Symbian ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้าน Software 4. รองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย ในรูปแบบใหม่ (Developing wireless service) 5. เป็นระบบที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ผลิตหลายเจ้าให้ความสนใจ จึงน่าจะมีการเติบโตยิ่งขึ้น

ข้อดีของระบบปฏิบัติการ Symbian OS 1.ใช้หน่วยความจำน้อย ทำให้มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.โปรแกรม Application มีขนาดเล็ก ไม่เปลือง memory 3.เป็นระบบเปิดทำให้นักพัฒนาโปรแกรมสามารถสร้างโปรแกรมหรือเกมส์ต่างๆ เพื่อนำมาใช้งานกับระบบ Symbian ทำให้เกิดการพัฒนาทางด้าน Software 4.รองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย ในรูปแบบใหม่ (Developing wireless service) 5.เป็นระบบที่ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีผู้ผลิตหลายเจ้าให้ความสนใจ จึงน่าจะมีการเติบโตยิ่งขึ้นโดย นายฉัตรดนัย ทิพยวรรณ

ข้อเสียของระบบปฏิบัติการ Symbian OS

 ปัญหาของซิมเบียนมีหลายเรื่องด้วยกันไม่ว่าจะเรื่องความเข้ากันได้ระหว่างซิมเบียนด้วยกันของทั้ง 3 เจ้า (NTT Docomo's Symbian MOAP, Nokia Symbian S60, Sony Ericsson's Symbian UIQ) ที่แย่กว่านั้น แม้แต่โปรแกรมบน S60 v3 ก็ไม่สามารถเอาไปทำงานบน S60 รุ่นเก่ากว่าได้
 ที่มาของปัญหาบทความกล่าวไว้ว่า ซิมเบียนมีข้อจำกัดหลายอย่างอันเนื่องมาจากการออกแบบสมัยยุคแรกเริ่ม (90s) ยุคที่หน่วยความจำและทรัพยากรบนตัวเครื่องมีจำกัด ซึ่งแตกต่างจากเทคโนโลยีปัจจุบันที่พัฒนาไปมากแล้ว ข้อจำกัดดังกล่าว   ได้แก่ - การรองรับ C++ แบบพิกงพิการ ระบบ exception handling ของตัวเองที่เป็นดาบสองคม โปรแกรมที่จัดการได้ไม่ดีอาจเป็นต้นเหตของปัญหาหน่วยความจำรั่วไหล นอกจากนี้ยังไม่สนับสนุน STL อันเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา C++ แอพลิเคชัน - การจัดการข้อมูลสายอักขระที่จำกัดและน่าสับสน ซิมเบียนไม่รองรับการใช้งานข้อมูลสายอักขระ (string) แบบทั่วๆ ไป นักพัฒนาต้องใช้สิ่งที่ซิมเบียนนำเสนอขึ้นแทน เรียกว่า 'descriptors' ที่เรียนรู้ยากและมีข้อจำกัดหลายอย่าง เพียงเพื่อจะประหยัดหน่วยความจำลงได้อีกนิดหน่อย ซึ่งอย่างที่บอกว่าปัจจุบันมันไม่ใช่เรื่องที่น่าหนักใจขนาดนั้น - IDE และสภาวะแวดล้อมในการพัฒนาที่ไม่ดีพอ การจะลง S60 SDK มีวิธีการที่ยุ่งยาก หากทำผิดขั้นตอนเพียงนิดเดียวก็พังเอาได้ง่ายๆ IDE ที่รองรับก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่นต้องใช้เฉพาะ VS.NET 2003 รุ่นเก่าเท่านั้น หรือต้องใช้ Carbide โปรแกรมเพื่อการค้าของโนเกียซึ่งก็ไม่ได้ดีเลิศอะไร


UBUNTU

เป็นระบบปฏิบัติการหรือ operating system หรือ OS คล้ายๆกับวินโดว์ เพียงแต่เป็นระบบที่วางตัวอยู่บนพื้นฐานของระบบที่เรียกว่า UNIX ที่มีความยืดหยุ่นสูง เพราะเป็นระบบเปิด คือให้ใครก็ได้สามารถพัฒนาปรับปรุงได้เองครับ ส่วน Ubuntu ก็เป็นชื่อของ OS ที่เป็น Linux นั่นแหละครับ ก็คล้ายๆกับ Redhat, slackware, SUSE พวกนี้ก็เป็น Linux เหมือนกันครับ แต่เป็นของแต่ละค่ายแต่ละบริษัทครับ ข้อดีของมันก็คือความเร็วครับและเป็นระบบ multiprogramming ด้วยครับทำงานได้หลายๆงานในเวลาเดียวกัน ทำให้เครื่องไม่อืดกินทรัพทยากรน้อยกว่าวินโดวน์ Ubuntu คือกลุ่มของคนที่พัฒนาระบบปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถนำไปใช้กับ เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นเครื่องแบบผู้ใช้งานทั่วไป (Client) หรือแบบเครื่องแม่ข่าย (Server) เหมาะกับผู้ใช้ตามบ้าน และโรงเรียนที่ไม่ต้องการมีค่าใช้จ่ายเรื่องซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ โดยมีการรวมเอาโปรแกรมประยุกต์ประเภทเวิร์ด หรือเพาเวอร์พอยต์ อินเทอร์เน็ต ไว้ด้วย ประวัติความเป็นมา Ubuntu เริ่มต้นความเป็นมาจากนักธุรกิจหนุ่มจากประเทศแอฟริกาใต้ ผู้ซึ่งมีวิสัยทัศน์และความคิดจะพัฒนา Softwareเพื่อให้ผู้คนที่ต้องการใช้ Software เพื่อตอบสนองงานต่างๆของตนเองได้โดยเข้าถึงตัว Software โดยไม่มีการกีดกันจากค่าใช้จ่ายของตัว Software ที่ส่วนมากมักจะแพงแสนแพง โดยใช้ Open Sourceเป็นสื่อกลางเพื่อผลักดันการพัฒนาตัว Software เหล่านี้เพื่อมวลชนโดยที่ปราศจากการแสวงหากำไรทางธุรกิจจากความสนใจที่มี Open Source ของ มาร์ค ชัดเติ้ลเวิร์ธ ( Mark Shuttleworth ) ทำให้เขาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา เดเบียน ลินุกซ์ ( Debain Linux ) สมยัยังที่ศึกษาอยู่ต่อมา Ubuntu ด้เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกในรูปแบบของมูลนิธิ Ubuntu ในปี พ.ศ.2547 ในปีถัดมา บริษัท “ Canonical ”ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อผลักดันโครงการ Free Software รวมถึง Open Source โดยอาศัยงบประมาณพัฒนา ขั้นต้นจากงบประมาณ 10 ล้านเหรียญ (US) และสิ่งที่ตรอกย้ำถึงความหนักแน่นในวิสัยทีศน์ของ มาร์ค ชัดเติ้ลเวิร์ธคือการตั้งชื่อว่า “ Ubuntu ” ซึ่งมีความหมายถึงการร่วมมือกันเพื่อผู้อื่น (Humanity for others) จากส่วนนี้ทำให้เรา รู้ว่าเขามีความมันคงทางปรัชญาและความตั้งใจจะพัฒนา Software Open Source เพื่อส่วนรวมโดยไม่ได้มีกสารแสวงหากำไรทางธุรกิจแต่อย่างใด ความเป็นมาของ Ubuntu กับระบบ Network เป็นมาอย่างไร

อูบุนตู (Ubuntu) เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others" อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 12.04 รหัส Precise Pangolin ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้

ความเป็นมาของ ubuntu Ubuntu เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยเริ่มจากการแยกตัวชั่วคราวออกมาทำจากโครงการ Debian GNU/Linux เมื่อเสร็จสิ้นคราวนั้นแล้วก็ได้มีการออกตัวใหม่ๆทุก 6 เดือน และมีการอับเดตระบบอยู่เรื่อยๆ Ubuntu เวอร์ชันใหม่ๆที่ออกมาก็ได้ใส่ GNOME เวอร์ชันล่าสุดเข้าไปด้วย โดยแผนการเปิดตัวทุกครั้งจะออกหลังจาก GNOME ออกหนึ่งเดือน ซึ่งตรงข้ามกับทางฝั่งที่แยกออกมาจาก Debian อื่นๆ เช่นพวก MEPIS, Xandros, Linspire, Progeny และ Libranet ทั้งหมดล้วนมีกรรมสิทธิ์ และไม่เปิดเผยCode ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในรูปแบบธุรกิจ Ubuntu เป็นตัวปิดฉากหลักการของ Debian และมีการใช้งานฟรีมากที่สุดในเวลานี้ โลโก้ของ Ubuntu ยังคงใช้รูปแบบเดิมตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ซึ่งสร้างโดย แอนดี้ ฟิสสิมอน ฟอนต์ได้รับการแจกมาจาก Lesser General Public License แล้วก็ได้มาเป็นโลโก้Ubuntu ส่วนประกอบต่างๆของUbuntu ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความไม่แน่นอนของ Debian โดยทั้งสองใช้ Debian's deb package format และ APT/Synaptic เป็นตัวจัดการการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆ ปัจจุบัน Ubuntu ได้รับเงินทุนจาก บริษัท Canonical ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ และ บริษัทCanonical ประกาศสร้าง Ubuntu Foundation และเริ่มให้ทุนสนับสนุน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จุดมุ่งหมายของการริเริ่มที่แน่นอนว่าจะสนับสนุนและพัฒนา เวอร์ชันต่อๆไปข้างหน้าของ Ubuntu แต่ในปี ค.ศ. 2006 จุดมุ่งหมายก็ได้หยุดลง นาย มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่จะได้เงินทุนฉุกเฉินจากความสัมพันธ์กับบริษัทCanonical คงจบลง ในช่วงเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มี Ubuntu Live 2007ขึ้น นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ประกาศว่า Ubuntu 8.04 (กำหนดการออกเดือนเมษายน ค.ศ. 2008) จะมีการสนับสนุน Long Term Support (LTS) เขาได้ดึงบริษัท Canonical มาเป็นคณะกรรมการในการออกเวอร์ชันการสนับสนุนLTSใหม่ๆทุกๆ 2 ปี รุ่นและเวอร์ชั้น