ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Autkajorn/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การเข้าออกรูปฌานที่ถูกวิธี[แก้]

ในหัวข้อนี้จะแสดงถึงการปฎิบัติเข้ารูปฌานที่ถูกวิธีโดยมีลำดับขั้นตอนตามลำดับ

รูปฌานในที่นี้หมายถึง การทำอารมณ์ใจ ไปตามลำดับรูปฌานตามลำดับ ซึ่งมี อยู่4 รูปฌานด้วยกัน คือ รูปฌานที่1 วิตกและวิจาร รูปฌานที่2 ปิติ รูปฌานที่3 สุข และรูปฌานที่4 อุเบกขา

วิธีการเข้ารูปฌาน มีลำดับขั้นดังนี้[แก้]

1.สมาทานศีล 8[แก้]

(เหตุที่ต้องสมาทานศีล 8 ทุกครั้งเพราะ รูปฌานต้องถือพรหมจรรย์เป็นหลัก สำหรับผู้มีศีล5 ต้องสมาทานศีล8 ทุกครั้ง ส่วนผู้ถือศีล8 ศีล10 ศีลปาฎิโมกข์ ไม่ต้องสมาทานศีล8 เพราะถือพรหมจรรย์อยู่แล้ว) โดยมีคำสมาทานศีล 8 ดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ(ว่า 3 จบ)

(ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลสควรแก่การกราบไหว้บูชา เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ฯ)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(แม้วาระที่ 2 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก แม้วาระที่ 2 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก แม้วาระที่ 2 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(แม้วาระที่ 3 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก แม้วาระที่ 3 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก แม้วาระที่ 3 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตผู้อื่น)

อทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของ ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้)

อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการประพฤติล่วงละเมิดพรหมจรรย์ )

มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการพูดคำไม่จริง )

สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการดื่มสุราและเครื่องดองของเมา อันเป็น ที่ตั้งแห่งความประมาทขาดสติ)

วิกาละโภชนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลากาล )

นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะ- มัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการฟ้อนรำ จากการขับร้อง จากการประโคม ดนตรี จากการดูการเล่นชนิดที่เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ และงดเว้นจากการทัดทรงสวมใส่ประดับตกแต่ง ด้วยพวงดอกไม้มาลา ของหอม เครื่องย้อมเครื่องทาผิวทั้งหลาย)

อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

(ข้าพเจ้าขอยึดถือเอาสิกขาบท คือตั้งใจงดเว้นจากการนั่งและนอนบนที่นอนสูงและที่นอนใหญ่ ซึ่งภายในยัดด้วยนุ่นหรือสำลี)

อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ (3 ครั้ง)

(ทั้งหมดนี้คือหัวข้อที่จะต้องศึกษาและปฏิบัติ 8 ประการ)

สีเลนะ สุคะติง ยันติ

(ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข)

สีเลนะ โภคะสัมปะทา

(ศีลเป็นปัจจัยให้มีโภคสมบัติ)

สีเลนะ นิพพุติง ยันติ

(ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน) ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ

2.ทำจิตให้เป็นสมาธิ[แก้]

นั่งตัวตรง ดำรงจิตมั่น ให้จับลมหายใจ ลมเข้า ลมออก จนรวมจิตเป็นสมาธิ

การที่จิตจะรวมเป็นสมาธิได้นั้น ใช้เวลาสั้น หรือยาว ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติ สามารถกำจัดนิวรณ์5 ได้รวดเร็วเพียงใด

3.เข้ารูปฌานตามลำดับ[แก้]

  • วิตก วิจาร

ให้ระลึกถึง ว่าตัวเราเคลื่อนที่ไปข้างหน้า 1ครั้ง แล้วหยุด(นี้คือ รูปฌานที่1 อย่างหยาบ)

ให้ระลึกถึง ว่าตัวเราเคลื่อนที่ลึกไปข้างหน้า อีก 1ครั้ง แล้วหยุด(นี้คือ รูปฌานที่1 อย่างกลาง)

ให้ระลึกถึง ว่าตัวเราเคลื่อนที่ลึกไปข้างหน้า อีก 1ครั้ง แล้วหยุด(นี้คือ รูปฌานที่1 อย่างละเอียด)

  • ปิติ

ให้ระลึกถึงอารมณ์ ปิติ หรือ ขนลุก 1 ครั้ง แล้วหยุด(นี้คือ รูปฌานที่2 อย่างหยาบ)

ให้ระลึกถึงอารมณ์ ปิติ อีก 1ครั้ง แต่มีกำลังมากกว่าเดิม(นี้คือรูปฌานที่2 อย่างกลาง)

ให้ระลึกถึงอารมณ์ ปิติ อีก 1ครั้ง ให้มีกำลังมากที่สุด(นี้คือรูปฌานที่2 อย่างละเอียด)

  • สุข

ให้ระลึกถึงอารมณ์ สุข 1ครั้ง แล้วหยุด(นี้คือ รูปฌานที่3 อย่างหยาบ)

ให้ระลึกถึงอารมณ์ สุขให้มีกำลังมากกว่าเดิม อีก 1 ครั้งแล้วหยุด(นี้คือ รูปฌานที่3 อย่างกลาง)

ให้ระลึกถึงอารมณ์ สุข ที่มีกำลังมากที่สุด 1ครั้ง แล้วหยุด(นี้คือ รูปฌานที่3 อย่างละเอียด)

  • อุเบกขา

ให้ระลึกถึงความนิ่งเฉย (นี้คือ รูปฌานที่4 โดยรูปฌานที่4 นี้ ไม่มีละเอียด กลาง หยาบ เป็นรูปฌานเดียว)

(การเข้าออกรูปฌานควรเข้าตามลำดับของรูปฌาน ถ้าไม่แน่ใจให้ ออกแล้วเข้ามาใหม่ตามลำดับให้ถูกต้อง)

การออกจากรูปฌาน[แก้]

1.ลดระดับรูปฌานลง ช้าๆ[แก้]

ให้ระลึกถึงว่าตัวเรากำลังตกลงจากที่สูงอย่างช้าๆ เหมือนใบไม้ที่ค่อยๆ หล่นลงบนพื้นดิน ระดับฌานจะค่อยๆ ลดกำลังลง จนหยุดอยู่กับที่ แสดงว่าเราอยู่ที่ฌานที่1 อย่างหยาบแล้ว

2.จับรูปกายเนื้อ[แก้]

โดยการกำหนดลมหายใจ เข้า-ออก จนรู้กว่าจะสึกว่ามีกายเนื้อ แล้วออกจากสมาธิ ลืมตา

3.ลาศีล8 (สำหรับผู้ถือศีล5 เท่านั้น)[แก้]

ให้ลาศีล 8 โดยกล่าวคำว่า "ขอให้ท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าเป็นปุตุชนคนธรรมดา นับแต่บัดนี้" (3 ครั้ง)

4.สมาทานศีล5[แก้]

โดยมีคำสมาทานดังนี้

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ฯ(ว่า 3 จบ)

(ขอนอบน้อมต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไกลจากกิเลสควรแก่การกราบไหว้บูชา เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง ฯ)

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก ข้าพเจ้าขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(แม้วาระที่ 2 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก แม้วาระที่ 2 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก แม้วาระที่ 2 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

(แม้วาระที่ 3 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก แม้วาระที่ 3 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก แม้วาระที่ 3 ข้าพเจ้าก็ขอยึดเอาพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก)

ปาณา ติปาตา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ

(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเองและไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า)

อทินนา ทาณา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ

(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก ,ฉ้อ ของผู้อื่นด้วยตนเอง และไม่ใช่ให้ผู้อื่นลัก ฉ้อ)

กาเม สุมิฉา จารา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ

(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม)

มุสา วาทา เวระมณี สิกขา ปะทังสะมาธิยามิ

(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดเท็จ คำไม่เป็นจริง และคำล่อลวง อำพรางผู้อื่น)

สุราเมระยะ มัชชะปะมา ทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สมาธิยามิ

(ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุรา เมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคล้ต่างๆ)

อิมานิ ปัญจสิกขา ปทานิ สมาธิยามิ(3 ครั้ง)

(ข้าพเจ้าขอทรงไว้ซึ่งศีลทั้งห้าประการด้วยจิตตั้งมั่น)(3 ครั้ง)

ศีเลนะสุขคติงยันติ

(ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ถึงความสุข) (ผู้ขอพึงรับ สาธุ )

ศีเลนะโภคะสัมปะทา

(ศีล นั้นจักเป็นเหตุให้ได้มาซึ่ง โภคทรัพย์) (ผู้ขอพึงรับ สาธุ )

ศีเลนะนิพพุติงยันติ

(และศีลนั้นยัง จะเป็นเหตุให้ได้ไปถึง นิพพาน คือความดับเย็นจากกิเลศ เครื่องเศร้าหมอง ทั้งปวง)

ตัสสมา ศีลัง วิโสทะเย

(ศีล จึงเป็นสิ่งที่วิเศษนักที่เธอทั้งหลายพึงยึดถือเป็นหลัก ประจำชีวิต ประจำจิตใจ ปฏิบัติ ให้ได้ ดังนี้ แล) (ผู้ขอพึงรับ สาธุ )

(การเข้า-ออก รูปฌานก็มีดังที่แสดงมานี้)