ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:AustinAnthonyson/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเภทการสื่อสารภายในองค์การ

การสื่อสารภายในองค์การสามารถแบ่งประเภทออกเป็น 4 ประเภท คือตามทิศ ทางการสื่อสาร ตามลักษณะของการใช้ ตามสัญลักษณ์ที่ใช้ในการสื่อสารและตามช่องทางเดิน ของข่าวสาร (เรวัตร สมบัติทิพย์. 2543:23)

1. จำแนกตามทิศทางการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

     1.1 การสื่อสารทางเดียว (One – Way Communication) หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารหรือผู้บังคับบัญชา ถ่ายทอดข่าวสารหรือคำสั่ง สู่ผู้รับสารหรือผู้ใต้บังคับบัญชามีลักษณะ เป็นเส้นตรง ไม่มีการย้อนกลับหรือดูปฏิกิริยาของผู้รับสารซึ่งการสื่อสารแบบนี้จะมีลักษณะ เป็นไปในรูปของนโยบายคำสั่งของผู้บริหารระดับสูงสู่ผู้ใต้บังคับบัญชาที่อาจจะผ่านสื่อใน ประกาศต่างๆหรือสื่อมวลชนเสนอข่าวสารสู่ประชาชนหรือรายงานข่าวสารขององค์การต่างๆ เป็นต้น ผู้ส่งสารมีบทบาทในฐานะเป็นผู้กระทำ(active) การถ่ายทอดสารและความคิดไปยัง ผู้รับสาร โดยมีความตั้งใจที่จะกระทำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและความคิดบางอย่างของ ผู้รับสารให้เป็นไปตามความต้องการของตน ผู้รับสารจึงอยู่ในสถานะของผู้ถูกบังคับให้รับสาร

   1.2 การสื่อสารสองทาง (Two – Way Communication) หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่ง สารและผู้รับสารสามารถส่งข่าวสาร และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันและกัน

2. จำแนกตามประเภทของการใช้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้

   2.1 การสื่อสารแบบเป็นทางการ (Formal Communication) หมายถึง การ ติดต่อสื่อสารที่มีระเบียบแบบแผน มีข้อกำหนดวางไว้ชัดเจน มักมีลักษณะที่คำนึงถึงบทบาท หน้าที่และตำแหน่งระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสารซึ่งจะมีลักษณะเป็นระเบียบแบบแผนชัดเจน อาจจะเป็นการสื่อสารที่มีลายลักษณ์อักษร เช่น ใบประกาศแจ้งนโยบายหรือผลก้าวหน้าของ องค์การ บันทึกต่างๆ หรืออาจจะเป็นการสื่อสารที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร เช่น การสั่งงาน โดยตรง หรือใช้โทรศัพท์สั่งงาน ตัวอย่างของการติดต่อสื่อสารแบบนี้ที่เห็นได้ชัด คือ การ ติดต่อสื่อสารในทางราชการที่ต้องการให้กระทำเป็นลายลักษณ์อักษร หรือเป็นระเบียบแบบ แผนและธรรมเนียมบริหารราชการเป็นส่วนใหญ่

  2.2 การสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) หมายถึง การ ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น โดยไม่พิจารณาถึงตำแหน่งในองค์การมีทั้ง จากเบื้องบนลงสู่เบื้อง ล่าง เบื้องล่างสู่เบื้องบนตามแนวนอน และข้ามสายงาน โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ทาง ตำแหน่งน้อยมาก เนื่องจากข่าวสารที่ไม่เป็นทางการและข่าวสารส่วนตัวเกิดขึ้นจากความ เกี่ยวพันระหว่างบุคคล ทิศทางของข่าวสารจึงไม่อาจคาดคะเนได้ (สมยศ นาวีการ. 2537:39)

3. จำแนกตามสัญลักษณ์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารแบ่งออก 2 แบบ 3.1 การสื่อสารแบบวัจนะ (Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารทั่ว ๆ ไปที่ อาศัยคำ (Word) หรือเลขจำนวน (Number) หรือการเน้น (Punctuation) เป็นสัญลักษณ์ของ ข่าวสารสัญลักษณ์นี้อาจเป็นในรูปภาษาพูด ภาษาเขียน หรือภาษาคณิตศาสตร์ก็ได้ เพื่อใช้ใน การสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจสามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ผู้รับได้รับข่าวสารตรงตามที่ ผู้ให้ข่าวสารต้องการ ดังนั้น การสื่อสารแบบวัจนะจึงเป็นการใช้ถ้อยคำวาจาหรือลายลักษณ์ อักษรที่มีลักษณะสามารถตีความได้โดยตรงหรือโดยอ้อม

       3.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Nonverbal Communication) เป็นการสื่อสารที่ใช้ สัญลักษณ์อย่างอื่นซึ่งไม่ใช่ภาษาพูดหรือภาษาเขียนในการสื่อสารแต่เป็นภาษาที่รับรู้และเข้าใจ กันในแต่ละสังคม

4. จำแนกตามช่องทางเดินของสาร แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

     4.1 การสื่อสารตามแนวดิ่งหรือการสื่อสารจากบนลงล่าง (Vertical Dimension or Hierarchical Effects, Downward Communication) ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ คือ การส่งข่าวสารจาก ตำแหน่งที่สูงกว่ามายังตำแหน่งที่ต่ำกว่า (สมยศ นาวีการ. 2527:21) เป็นลักษณะการเคลื่อนที่ ของข่าวสารไปตามสายการบังคับบัญชาจากผู้บังคับบัญชาลงไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา การสื่อสารแบบนี้เป็นไปในรูปการแจ้งนโยบายระเบียบ ข้อบังคับ คำเตือน คำสั่ง คำยืนยัน การซักซ้อมความเข้าใจ หรือการให้ข่าวเพื่อการปฏิบัติงาน โดยทั่วไปจะใช้ช่องทางการสื่อสาร ดังต่อไปนี้ คือ การสั่งงานตามลำดับชั้น โปสเตอร์และกระดานปิดประกาศ วารสารของบริษัท จดหมายถึงพนักงานโดยตรง คู่มือพนักงาน รายงานประจำปี ระบบการสื่อสารทางเครื่อง กระจายเสียง ข่าวสารที่ใส่ในซองเงินเดือน สหภาพแรงงาน และการประชุมกลุ่ม

    4.2 การติดต่อสื่อสารจากล่างขึ้นบน (Upward Communication) หมายถึง การส่ง ข่าวสารจากระดับต่ำกว่า (ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา) ไปยังระดับสูงกว่า (ผู้บังคับบัญชา) (สมยศ นาวีการ. 2527:23) เป็นลักษณะกลับกันกับแบบแรก คือผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ส่งข่าวสาร ย้อนกลับไปหาผู้ใต้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้รับการสื่อสารแบบนี้ ข่าวสารมักเป็นไปในรูปการ รายงานผลการปฏิบัติงาน อุปสรรคข้อขัดข้องในการปฏิบัติงานข้อเสนอแนะ การปรึกษาหารือ และการร้องทุกข์ เป็นต้น ช่องทางที่จะสื่อสารจะมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ การประชุมกลุ่ม การร้องทุกข์ การเรียกร้อง การปรึกษาหารือ การสัมภาษณ์พนักงานที่ออก

     4.3 การติดต่อสื่อสารในแนวนอน หรือแนวทะแยง (Horizontal Communication or Lateral Communication) หมายถึง ลักษณะการเดินทางของข่าวสารระหว่างผู้ตำแหน่งเสมอกัน หรือใกล้เคียงกันในสายงานเดียวกัน และข้ามสายงานโดยอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัว มักเป็น การขอคำแนะนำและข้อมูล เป็นการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ เป็นการติดต่อสื่อสารที่ ไม่ขึ้นอยู่กับสายการบังคับบัญชา เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็นกันระหว่าง ผู้ร่วมงานหรือระหว่างหน่วยงานที่อยู่ในองค์การเดียวกันเช่น การปรึกษาหารือระหว่างผู้บริหาร ระดับเดียวกันโดยทั่วไปจะมีการสื่อสาร เช่น การประชุมกลุ่มหนังสือเวียน และบันทึกโต้ตอบ การร่วมมือ การประสานงาน เป็นต้น

#อัางอิงจากวิจัยของคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิชาการประกันคุณภาพการศึกษา

llll