ผู้ใช้:AtappusB/ทดลองเขียน
สถาบันอุทยานการเรียนรู้ (ย่อว่า สอร. อังกฤษ Thailand Knowledge Park ; TK Park) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2547 เป็นหน่วยงานสร้างสรรค์แหล่งการเรียนรู้เพื่ออนาคตของ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. เปิดให้บริการแก่ประชาชนเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2548 เป็นที่รู้จักในนาม “ทีเคพาร์ค” (TK Park) ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ชั้น 8 อาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พื้นที่ 3,700 ตารางเมตร ได้รับการออกแบบให้เป็นสถานที่ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่ทันสมัย ผ่านสื่อการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ ดนตรี มัลติมีเดีย รวมถึงร่วมมือกับองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน
ความเป็นมา
[แก้]พ.ศ. 2547
[แก้]วันที่ 13 มกราคม 2547 รัฐบาลตระหนักถึงความจําเป็นในการพัฒนาคนไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ มติคณะรัฐมนตรี มีนโยบายในการเตรียมประเทศไทย ให้เป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge-based society)
วันที่ 4 พฤษภาคม 2547 สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ สบร. จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
วันที่ 18 มิถุนายน 2547 ออกประกาศคณะกรรมการบริหารสํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ที่ 4/2547 เรื่อง การจัดตั้งและการจัดการสํานักงานอุทยานการเรียนรู้ ซึ่งเป็นหน่วยงานเฉพาะด้านภายในสํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
พ.ศ. 2548
[แก้]วันที่ 24 มกราคม 2548 อุทยานการเรียนรู้เปิดบริการอย่างเป็นทางการ ในรูปแบบห้องสมุดมีชีวิต บนพื้นที่ 1,014 ตร.ม. ที่ชั้น 6 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ นับเป็นอุทยานการเรียนรู้ต้นแบบแห่งแรกของประเทศไทย ที่ดำเนินงานด้านการสร้างสรรค์แหล่งการเรียนรู้เพื่ออนาคต โดยเน้นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และการแสวงหาความรู้ในบรรยากาศการเรียนรู้ที่ทันสมัย
พ.ศ. 2549
[แก้]วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 อุทยานการเรียนรู้ ย้ายพื้นที่บริการ ไปยังชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ บนพื้นที่ 4,200 ตารางเมตร
พ.ศ. 2553
[แก้]วันที่ 23 กรกฏาคม - 11 ธันวาคม 2553 อุทยานการเรียนรู้ เปิดบริการ ห้องสมุดมีชีวิตขนาดย่อม Mini TK บนพื้นที่ 250 ตารางเมตร บริเวณ ชั้น G อาคารสำนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ เนื่องจากศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์จำต้องปิดบริการ จากเหตุอัคคีภัยสืบเนื่องจากสภานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น
พ.ศ. 2554
[แก้]วันที่ 4 มกราคม 2554 อุทยานการเรียนรู้ กลับมาเปิดให้บริการ ณ ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
พ.ศ. 2562
[แก้]วันที่ 29 สิงหาคม 2562 อุทยานการเรียนรู้ เปิดจุดบริการชั่วคราว TK Alive บนพื้นที่ 150 ตารางเมตร ด้านหน้าโซนจีเนียสแพลนเน็ท ชั้น 6 เนื่องจากพื้นที่บริเวณชั้น 8 ของศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ได้รับผลกระทบจากอัคคีภัย
วันที่ 16 กันยายน 2562 สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ เปลี่ยนชื่อเป็น "สถาบันอุทยานการเรียนรู้" ตามมติของคณะกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ในการประชุม ครั้งที่ 8/2562 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2562
แนวคิดการจัดตั้งและดำเนินการ
[แก้]สังคมแห่งการเรียนรู้คือกุญแจดอกสำคัญ ที่จะนำพาประเทศไทยไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ตลอดจนสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้คนในสังคม
อุทยานการเรียนรู้ TK Park ก่อตั้งขึ้นมาในฐานะ "ต้นแบบ" ของแหล่งเรียนรู้ มุ่งตอบโจทย์ความต้องการในการแสวงหาความรู้อย่างไม่มีขีดจำกัดของเยาวชนและประชาชนที่รักการอ่านและการเรียนรู้ทุกคน ในรูปแบบของ “ห้องสมุดมีชีวิต” ที่มีหนังสือและสื่อครบครัน กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ที่ "ต่อเนื่อง" "หลากหลาย" และ "โดนใจ" ส่งผลให้อุทยานการเรียนรู้ TK park เป็นส่วนสำคัญของประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีค่าของเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่จะมาร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานที่ผ่านมามีผู้เข้าใช้บริการแล้วกว่า 1,000,000 คน มีการให้บริการยืมหนังสือและสื่อการเรียนรู้กว่า 500,000 เล่มต่อปี โดยมีการปรับปรุงพื้นที่แบ่งโซนบริการต่างๆ ให้สามารถใช้สอยได้อย่างสะดวก เข้ากับทุกกลุ่มทุกวัยที่มาเข้าใช้บริการ โดยพื้นที่ทางเข้าออกแบบใหม่เพื่อสร้างสรรค์บรรยากาศของการเดินทาง ที่พร้อมพาทุกคนสู่โลกการเรียนรู้ บริการสมัครสมาชิกผ่านแอป MyTK เข้าออกพื้นที่และชำระเงินแบบไร้การสัมผัสด้วยการสแกน QR Code พร้อมจุดบริการที่เน้นการบริการตนเอง (Self Service) สมาชิกสามารถยืม คืน ต่ออายุการยืม ผ่านอุปกรณ์อัตโนมัติ ลดการสัมผัสใกล้ชิด พื้นที่สำหรับอ่านหนังสือที่ปรับปรุงใหม่ เพิ่มมุมนิตยสารให้กว้างมากขึ้น ปรับขนาดชั้นวางหนังสือให้เข้าถึงได้สะดวกขึ้น เพิ่มที่นั่งการอ่านแบบโต๊ะขนาดใหญ่ พร้อมไฟส่องสว่างประจำโต๊ะ และเสริมที่นั่งอ่านเดี่ยว เพื่อความเป็นส่วนตัว และมีห้องสมุดเด็ก ห้องสมุดดนตรี ห้องสมุดไอที พื้นที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ Book Wall & TK Cafe มุมใหม่ล่าสุด ที่เรียกได้ว่าเป็น Book Cafe ผสมผสานทั้งหนังสือ เครื่องดื่มและบรรยากาศได้อย่างลงตัว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นที่และการให้บริการทั้งหมดได้ทาง https://www.tkpark.or.th/
นอกเหนือจากการให้บริการอุทยานการเรียนรู้ในเชิงพื้นที่กายภาพแล้ว TK Park ยังสร้างพื้นที่การอ่านออนไลน์ TK Public Online Library โดยมีหนังสือให้เลือกอ่านผ่านแอปพลิเคชัน TK Read กว่า 30,000 เล่ม ซึ่งถือได้ว่าเป็นห้องสมุดสาธารณะออนไลน์ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของประเทศไทย และยังสามารถอ่าน ชม ฟัง และเรียนรู้ จากหนังสือและสื่อออนไลน์ภาษาอังกฤษผ่าน Libby, by Overdrive ฐานข้อมูลห้องสมุดออนไลน์ที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก https://www.tkpark.or.th/tha/library#digital-library
เครือข่าย
[แก้]อุทยานการเรียนรู้ TK Park ที่ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์เป็นเสมือนจุดเริ่มต้น ทั้งในแง่ของวิธีคิดของห้องสมุดมีชีวิตและวิธีการทำงาน มีวิสัยทัศน์ในการร่วมสร้างประเทศไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และมีวัตถุประสงค์ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เน้นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและแสวงหาความรู้ด้วยบรรยากาศที่ทันสมัย ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีนิสัยรักการอ่าน แสวงหาความรู้ และเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ตลอดชีวิต ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนมีโอกาสพัฒนา แลกเปลี่ยนและแสดงผลงานที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถสร้างนวัตกรรม ผลผลิตหรือชิ้นงานจากการผสมผสานด้านศิลปะ วัฒนธรรม ค่านิยมหรือวิถีชีวิต นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีรูปแบบที่หลากหลาย
ในการดำเนินงานอุทยานการเรียนรู้ส่วนกลางมีบทบาทและทำหน้าที่เป็นต้นแบบ เป็นแหล่งศึกษา วิจัยด้านห้องสมุดมีชีวิตและขยายผลไปยังเครือข่ายต่างๆ เพื่อแบ่งปันและกระจายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยและสอดคล้องกับความสนใจของเด็กและเยาวชนในทุกภูมิภาค จนนำไปสู่การขยายผลจากอุทยานการเรียนรู้ต้นแบบสู่อุทยานการเรียนรู้ระดับจังหวัด ล่าสุดได้ขยายเครือข่ายอุทยานการเรียนรู้เต็มรูปแบบ จำนวน 31 แห่งในพื้นที่ 24 จังหวัด และร่วมมือกับหน่วยงานภาคีพัฒนาแหล่งเรียนรู้ระดับชุมชน รวมกว่า 300 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์เรียนรู้ในระดับตำบล 200 แห่ง ห้องสมุดมีชีวิตในโรงเรียน รวม 76 แห่งใน 76 จังหวัด และห้องสมุดมีชีวิตในค่ายทหาร 20 แห่ง
สถาบันอุทยานการเรียนรู้มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้แห่งอนาคต ตั้งเป้าดึงเทคโนโลยีในการให้บริการ และผลักดันให้เกิดเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทย
นี่คือหน้าทดลองเขียนของ AtappusB หน้าทดลองเขียนเป็นหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้มีไว้ทดลองเขียนหรือไว้พัฒนาหน้าต่าง ๆ แต่นี่ไม่ใช่หน้าบทความสารานุกรม ทดลองเขียนได้ที่นี่ หน้าทดลองเขียนอื่น ๆ: หน้าทดลองเขียนหลัก |