ผู้ใช้:Arunothai Arthit/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระธรรมคุณาภรณ์ (เจียร ปภสฺสโร ป.ธ.๗)[แก้]

อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร รูปที่ ๑๓

อดีตเจ้าสำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๔

อดีตอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๒

ประวัติ[แก้]

นามเดิม เจียร นามสกุล จำปาศรี เกิดเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๖ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู ณ บ้าน ตำบลลาดหลุมแก้ว อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายอิน และนางทิพย์ จำปาศรี มีอายุ ๑๑ ปี เรียนจบประถมศึกษาแล้ว ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบัวขวัญ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ พระครูนิโรธมุนี (กลับ)[1] วัดตำหนักเหนือ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ พำนักอยู่วัดบัวขวัญไม่นานนัก นายอิน โยมบิดาได้นำมาฝากกับพระมหาพูน สจฺจาสโภ (ทรัพย์สถิตย์กุล)[1] อดีตเจ้าคณะ ๔ ครั้นมีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ โดยมีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (นาค สุมนนาโค)[2] เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปลัดสุวัฒนศีลคุณ (นันท์ อินฺทโชติ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระศากยบุตติยวงศ์ (อยู่ ปุญฺญวฑฺฒโน)[3] เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ในสมัยเป็นสามเณร ท่านได้ปรารภเหตุลาสิกขา จึงได้ศึกษาแนวนางการเรียนมหาวิทยาลัย คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสามเณรผู้เป็นสหธรรมิก โดยมีควานสนใจในด้านกฎหมาย ปรัชญา และยังมีความรู้ความสามารถในภาษาอังกฤษ[4]  แต่โยมมารดา รวมถึงพระอุปัชฌาย์ ไม่อนุญาต โดยสามเณรผู้เป็นสหธรรมิกนั้นได้ลาสิกขาไป จนเรียนจบกฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจริญในหน้าที่การงานจนกระทั้งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา ในนามว่า “เฉลิม สถิตย์ทอง” [5] [2]


[1] ภายหลังพระมหาพูน ลาสิกขาไปมีครอบครัว ต่อมาได้กลับมาอุปสมบทใหม่อีกครั้ง โดยมีพระธรรมคุณาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูกาญจนยติกิจ วัดกระต่ายเต้น เป็นพระอาจารย์

[2] ภายหลังดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรองหิรัญยบัฏ ที่ พระพิมลธรรม (นาค สุมนนาโค)

[3] ภายหลังดำรงสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวิสุทธิญาณ[3]

[4] จากบันทึกส่วนตัว “วิชชาเบ็ดเตล็ด” เก็บรักษาไว้ที่คณะ ๘

[5] เสียชีวิตแล้ว

การศึกษา[แก้]

แผนกธรรม

พ.ศ. ๒๔๘๐ สอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม

แผนกบาลี

พ.ศ. ๒๔๗๔ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดมหาธาตุ

พ.ศ. ๒๔๗๕ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๔ ประโยค วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดมหาธาตุ

พ.ศ. ๒๔๗๖ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดมหาธาตุ

พ.ศ. ๒๔๘๑ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๖ ประโยค วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม

พ.ศ. ๒๔๘๗ สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๗ ประโยค วัดอรุณราชวราราม สำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม

งานด้านการปกครอง[แก้]

พ.ศ. ๒๔๘๗ เป็นกรรมการสงฆ์อำเภอบางกอกใหญ่ ในหน้าที่ศึกษาอำเภอ

พ.ศ. ๒๔๙๒ เป็นเจ้าคณะอำเภอบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี

พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นเจ้าคณะตำบลวัดอรุณ จังหวัดธนบุรี อีกตำแหน่ง

พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นกรรมการ ในคณะกรรมการพิจารณาคำร้องในคณะสงฆ์

พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นกรรมการพัฒนาวัด ส่วนภูมิภาค

พ.ศ. ๒๕๐๗ - พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นรองเจ้าคณะภาค ๑๖

พ.ศ. ๒๕๐๘ - พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นเจ้าคณะภาค ๑๖ (๒ สมัย)

พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นรองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดอรุณราชวราราม[1]

พ.ศ. ๒๕๑๓ วันที่ ๒ ธันวาคม เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส (ครั้งที่ ๑)

พ.ศ. ๒๕๒๑ วันที่ ๒๐ ตุลาคม เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส (ครั้งที่ ๒)

พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดอรุณราชวราราม


[1] วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๑


งานด้านการศึกษา[แก้]

พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นกรรมการจัดตั้งสำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม

พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดอรุณราชวราราม

พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นกรรมการตรวจประโยคธรรมสนามหลวง และบาลีสนามหลวง

พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นกรรมการนำประโยคบาลีไปเปิดสอบ

งานด้านการเผยแผ่[แก้]

ได้อบรมพระภิกษุสามเณรตามโอกาส และแสดงพระธรรมเทศนาทางวิทยุกระจายเสียงเป็นประจำ

งานด้านการสาธารณูปการ[แก้]

ได้เป็นกำลังช่วยเหลืองานซ่อมแซมพระอารามของเจ้าอาวาสโดยลำดับ

พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการโรงพยาบาลสงฆ์

พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นกรรมการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้ง

พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๒๑ ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอารามคือ

๑. ซ่อมแซมประตู เชิงชาย ใบระกา หางหงส์ของพระอุโบสถ สิ้นเงิน ๘๐,๐๐๐ บาทเศษ

๒. ซ่อมสะพาน สิ้นเงิน ๒๕,๐๐๐ บาทเศษ

๓. ซ่อมพระวิหาร สิ้นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

๔. ซ่อมกุฏิสงฆ์ สิ้นเงิน ๕๐,๐๐๐ บาทเศษ

๕. ซ่อมศาลาบำเพ็ญกุศล ๑ หลัง สิ้นเงิน ๒๕๐,๐๐๐ บาท

๖. ซ่อมแซมกุฏิสงฆ์คณะ ๗ สิ้นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท

๗. อวยการสร้างหอสมุดสมเด็จฯ สิ้นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท

๘. ซ่อมแซมช่อฟ้าพระอุโบสถ ตัวที่ ๒ สิ้นเงิน ๒๒,๐๐๐ บาท

๙. ซ่อมแซมพระระเบียงพระอุโบสถ สิ้นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท

๑๐. อำนวยการสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลอีก ๑ หลัง พร้อมอุปกรณ์ สิ้นเงิน ๑๒๑,๓๔๗ บาท

๑๑. ได้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินของวัดจนสมบูรณ์

พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๔ ขณะดำรงดำแหน่งเจ้าอาวาส

๑. ซ่อมกุฏิคณะ ๓ หนึ่งหลัง

๒. ซ่อมผนัง ชุกชี และฐานพระในโบสถ์น้อย

๓. ซ่อมกุฏิคณะ ๑ หนึ่งหลัง

๔. ซ่อมกุฏิคณะ ๘ สองหลังแรก

๕. สร้างศาลาที่พักตำรวจหน้าวัด

๖. จัดทำสนาม ปลูกหญ้า-ต้นไม้ บริเวณหน้าวัด

๗. ซ่อมเขื่อน เทพื่นรอบลานต้นพระศรีมหาโพธิ์

๘. ซ่อมช่อฟ้า ใบระกาพระอุโบสถ และพระระเบียง

๙. ซ่อมกุฏิคณะ ๘ อีก ๒ แถว

งานพระวินัยธร-พระธรรมธร[แก้]

พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๙ เป็นพระวินัยธร ชั้นต้น ภาค ๑ เขต ๑ (๖ จังหวัด)

พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นกรรมการและเลขานุการ พิจารณาอธิกรณ์ที่ค้างปฏิบัติก่อนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕[4] ตามความใน (๗) ก. ข้อ ๓ แห่งกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๐๖)

งานพิเศษ[แก้]

เป็นคณะอนุกรรมการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องตลาดวัดจันทาราม

เป็นเจ้าหน้าที่ชำระเรื่องราวคณะสงฆ์อนัมนิกาย ที่มีเรื่องขัดแย้งกันภายในคณะ แทนสมเด็จฯ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช[1]

พ.ศ. ๒๕๐๙ วันที่ ๑๑ มิถุนายน ไปเยี่ยมดูแลการคณะสงฆ์ในสหพันธรัฐมาเลเซีย และสิงคโปร์ อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (ปุณฺณสิริมหาเถร) เป็นหัวหน้าคณะ


[1] สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ)

ลำดับสมณศักดิ์[แก้]

พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ที่ พระญาณสมโพธิ[5]

พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชโมลี ศรีปาวจนาภรณ์ ธรรมพาที ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [6]

พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพมุนี ศรีวิสุทธิศีลาจารย์ ญาณนายก ตรีปิฎกธาดา มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [7]

พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมคุณาภรณ์ สุนทรศีลาจาร ศาสนกิจวิธานธารี ตรีปิฎกวิภูสิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [8]


[1] ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 66, ตอนที่ 66 ง, 6 ธันวาคม 2492, หน้า 5,403

[2] ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ เล่ม 75, ตอนที่ 109, 23 ธันวาคม 2501, หน้า 3142

[3] ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 80, ตอนที่ 122 ง ฉบับพิเศษ, 27 ธันวาคม 2506, หน้า 1

[4] ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 91, ตอนที่ 229, 31 ธันวาคม 2517, หน้า 7

มรณภาพ[แก้]

พระธรรมคุณาภรณ์ ถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๔ ด้วยโรคหัวใจล้มเหลว สิริอายุได้ ๖๘ ปี ๔๗ พรรษา

  1. https://sites.google.com/site/wattumnoknoein/ladab-cea-xawas
  2. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/y22b01.pdf
  3. https://www.somdechsuk.org/node/44
  4. http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A401/%A401-20-9998-update.pdf
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2492/D/066/5403.PDF
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/D/109/3130.PDF
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2506/D/122/1.PDF
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/229/1.PDF