ผู้ใช้:Arboramo/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชาเขียวญี่ปุ่น ชาญี่ปุ่นที่ผลิตมากที่สุดนั้นคือเซนฉะ(煎茶)ที่พบได้มาก ชาเกรดสูงที่รู้จักกันมากคือเกียวคุโระ (玉露)และมัตฉะ (抹茶) โดยทั่วไปคนจะดื่มบันฉะ[番茶] และโฮจิฉะ(ほうじ茶)ซึ่งเป็นชาคั่ว

กระบวนการผลิตชา ชาทั่วไป เช่นเซนฉะ โฮจิฉะ บันฉะ แปลงที่ใช้ปลูกจะได้รับแสงอาทิตย์ตลอดระยะการปลูก และจะมีการเก็บเกี่ยวใบชาเมื่อครบกำหนด ก่อนจะนำไปผ่านกระบวนการอบไอน้ำอย่างรวดเร็วและนวดพร้อมทำให้แห้งื ส่วนชาอย่างโฮจิฉะจะถูกนำไปคั่วต่ออีกขั้นหนึ่ง ชาเกรดสูง เช่น เกียวขุโระและมัตฉะ ในแปลงที่ปลูกจะมีการคลุมต้นชา ปกติจะมีลักษณะเป็นตาข่ายไฟเบอร์สีดำ ทำเป็นสเลนไว้ด้านบน แต่กรรมวิธีโบราณที่ประณีตกว่าจะใช้ฟางแทนวัสดุสังเคราะห์ ชาที่ผลิตเกรดต่ำจะถูกเก็บโดยเครื่องมือตัด ในขณะที่ชาเกรดสูงจะใช้แรงงานคนเก็บเกี่ยว


ไร่ชาเขียวสำหรับมัตฉะและเกียวคุโระ

ชนิดของชาเขียวญี่ปุ่น[1] เซนฉะ ฟุคุมุชิชะ เกียวคุโระ มัทฉะ เมะชะ โคนะชะ คุคิชะ บันชะ เคียวบันฉะ โฮจิฉะ เกมไมฉะ ทามะเรียวคุฉะ ชานวดมือ

แหล่งที่ปลูก แหล่งทีปลูกชาญี่ปุ่นมีหลายจังหวัด ดังนี้ มิเอะ ไอจิ กิฟุ ชิงะ ชิซุโอกะ คานางาวะ ไซตามะ อิบาระกิ นาระ นิงาตะ เกียวโต โอกะยามะ ชิมาเนะ เอฮิเมะ ฟุุโอกะ ซากะ คุมาโมโต้ มิยาซากิ คาโกชิม่า

พัฒนาการของชาในญี่ปุ่น ในยุคโบราณพระที่ไปศึกษาพุทธศาสนาที่จีนได้นำมาปลูกในหลายๆจังหวัด รวมถึงเขตอุจิซึ่งไม่ใกล้จากกรุงเฮอันซึ่งเป็นเมืองหลวงในสมัยนั้นจนมีการส่งชาเข้าวังและผลิตเพื่อการค้า และนำไปสู่การพัฒนาการปลูกชาในญี่ปุ่น

ความนิยมในปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีการผลิตทั้งชาขวดและชาผงเพื่อความสะดวกทั้งในการเก็บและการใช้งาน เนื่องจากใบชาเขียวจะเปลี่ยนแปลงสภาพเมื่อสัมผัสกับอากาศกาศ แสง ความร้อน และความชื้น จึงทำให้ชาเขียวที่ผลิตจากใบชาอย่าง มัตฉะ เกียวขุโระ หรือ เซนฉะ มีต้นทุนที่สูงมากในการนำมาใช้เพื่อการค้า จริงได้มีการผลิตชาแบบผงที่รสและคุณภาพด้อยกว่าออกมาขายเพื่อลดต้นทุน และใช้ทดแทนใบชาแท้

  1. สารานุกรมชาฉบับสมบูรณ์ 2553 บูลสกาย บุ๊คส์