ผู้ใช้:Andreilerawn/มิว สเปซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด
ประเภทธุรกิจเอกชน
อุตสาหกรรมอวกาศ
ผู้ก่อตั้งจมส์ เย็นบำรุง[1]
บริการ
พนักงาน
30[4]
เว็บไซต์www.muspacecorp.com/th

บริษท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด ดำเนินกิจการภายใต้ชื่อ มิว สเปซ คอร์ป เป็นบริษัทในประเทศไทยซึ่งให้บริการด้านดาวเทียมบรอดแบนด์ และการเชื่อมต่อเคลื่อนที่[1] ก่อตั้งโดย เจมส์ เย็นบำรุง ในปีพ.ศ. 2560 ที่กรุงเทพฯ, ประเทศไทย, โดยมีเป้าหมายที่จะค้นคว้าวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี และแอปพลิเคชันด้านอวกาศเพื่อใช้ในพื้นที่ในเมือง และพื้นที่ห่างไกล[1][4]

เริ่มแรกมุ่งมั่นใจที่นำเทคโนโลยีดาวเทียมมาใช้กับโครงการเครือข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติ[3] ในปีพ.ศ. 2561 มิว สเปซ เริ่มดำเนินกิจการ และการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับอวกาศ  ในเดือนกรกฎาคม 2561 บริษัทได้ส่ง การทดลอง สภาพแทบจะไร้แรงโน้มถ่วง (ไมโคร กราวิตี้) ขึ้นไปยังอวกาศกับจรวดนิว เชพเพิร์ด ของบลู ออริจิน และในเดือนกันยายน 2561 ได้มีการเผยแพร่ภาพสามมิติของชุดอวกาศสำหรับนักบิวอวกาศ

ในปีพ.ศ. 2563 ถึง 2564 มิว สเปซ มีแผนที่จะส่งดาวเทียมสื่อสารของตนเอง โดยใช้จรวดนิว เกลนน์ ของบลู ออริจิน[5] และเสนอบริการทัวร์ท่องอวกาศให้แก่ลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค

มิว สเปซ ก่อตั้งโดย เจมส์ เย็นบำรุง ซึ่งมีความสนใจด้านอวกาศตั้งแต่เยาว์วัย[1] เขาเรียนจบด้านอากาศยาน และวิศวกรรมเครื่องกลที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, ลอสแอนเจลิส และได้เรียนรู้เกี่ยวกับระบบดาวเทียมในขณะที่ทำงานกับนอร์ทธรอป กรัมแมน ด้านระบบยานพาหนะไร้คนขับ[1] ต่อมาเจมส์กลับมาที่ประเทศไทยหลังจากที่ใช้ชีวิตในสหรัฐอเมริกามาหลายปี และก่อตั้ง มิว สเปซ ในปีพ.ศ. 2560[3] บริษัทตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และมีพนักงาน 30 คน

บริษัทเริ่มด้วยทุนจดทะเบียน 3 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ให้ใบอนุญาต 15 ปีแก่มิว สเปซ ในการให้บริการด้านดาวเทียมภายในประเทศ[4]

โครงการเทคโนโลยีต่างๆ[แก้]

ดาวเทียมสื่อสาร[แก้]

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติได้ให้ใบอนุญาตแก่มิว สเปซ จนถึงปีพ.ศ. 2575 สำหรับการดำเนินกิจการดาวเทียม และให้บริการในประเทศไทย[4] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 บริษัทลงนามสัญญาเช่าระบบดาวเทียมภาคพื้นดิน หรือ เทเลพอร์ต ของ แคท เทเลคอม ปัจจุบัน มิว สเปซ ใช้งานดาวเทียมของบริษัทเอสอีเอส เป็นการชั่วคราว เพื่อให้บริการบรอดแบนด์ในประเทศไทย ระหว่างการพัฒนาดาวเทียมของตัวเองจนถึงปีพ.ศ. 2563[5][6]

มิว สเปซ มีแผนที่จะส่งดาวเทียมสื่อสารโดยใช้จรวดนิว เกลนน์ ของบลู ออริจิน[5] โดยดาวเทียมดังกล่าวมีมูลค่าสูงถึง 150 ล้านดอลล่าสหรัฐ และมีอายุการใช้งานสูงถึง 15 ปี ใช้งานที่ช่วงวงโคจรพิกัด 50.5 องศาตะวันออก เพื่อให้บริการคลอบคลุมประเทศกัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, เมียนมา, เวียดนาม และไทย

อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT)[แก้]

มิว สเปซได้เริ่มพัฒนา สมาร์ท แอพพาเรลที่สามารถส่วมใส่ และบันทึกข้อมูลสุขภาพเพื่อใช้วินิจฉัยโรคทางการแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ตัวอย่างจะนำไปใช้ที่สถาบัน IoT ที่ไทยแลนด์ ดิจิทัล พาร์ค ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีพ.ศ. 2563[7] นอกจากนี้ มิว สเปซ ก็จะทำแล็บทดลองที่ทรู ดิจิทัล พาร์ค ที่กรุงเทพฯ, ประเทศไทยด้วย เพื่อใช้ค้นคว้าวิจัย และทำเป็นจุดแสดงผลิตภัณฑ์แก่ประชาชนทั่วไป

ทัวร์ท่องอวกาศ[แก้]

ในปีพ.ศ. 2564 บริษัทวางแผนที่จะให้บริการทัวร์ท่องอวกาศแก่ลูกค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค นอกจากนี้ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 มิว สเปซ ได้เผยแพร่ภาพชุดอวกาศสามมิติสำหรับลูกค้า เพื่อสวมใส่ในระหว่างการท่องอวกาศ

เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในโครงการอวกาศของบริษัท ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 มิว สเปซ ได้ส่งบรรจุภัณฑ์สำหรับการทดลองไปยังอวกาศกับจรวดนิว เชพเพิร์ดของบลู ออริจิน เพื่อจะทดลองปฏิกิริยาที่วัสดุต่างๆ กระทำในสภาพที่แทบจะไร้แรงโน้มถ่วง ซึ่งบรรจุภัณฑ์นั้นมีทั้งซิลิโคนสำหรับห้ามเลือดที่ใช้ในโรงพยาบาล, หลอดคาร์บอนนาโน และอาหารที่บรรจุอยู่ในถุงสุญญากาศ

ความร่วมมือ[แก้]

ถ้ำหลวง

ภารกิจช่วยเหลือที่ถ้ำหลวง[แก้]

มิว สเปซรวบรวมทีมวิศวกรเพื่อเข้าช่วยเหลือในภารกิจการกู้ภัยเด็ก 12 คน และโค้ชที่ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง ที่ประเทศไทย บริษัทได้ร่วมมือกับ กูเกิ้ล และเทคโนโลยีสภาพอากาศต่างๆ ที่คอยให้ข้อมูลการพยากรณ์สภาพอากาศแก่ทีมกู้ภัย

อีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งบริษัท บอริ่ง คอมพานี ก็ได้เสนอความช่วยเหลือ และแนะนำแผนการกู้ภัยของเขาผ่านทางทวิตเตอร์ กับเจมส์ เย็นบำรุง ผู้ก่อตั้งมิว สเปซ ต่อมาอีลอนได้บินมาที่ประเทศไทยด้วยเครื่องบินส่วนตัว และมอบเรือดำน้ำขนาดสำหรับเด็กที่ทีมวิศวกรของเขาได้พัฒนาขึ้นมาสำหรับภารกิจการกู้ภัยนี้ อย่างไรก็ตามหน่วยงานของไทยตัดสินใจที่จะไม่นำเรือดำน้ำนั้นมาใช้งาน

ดูสิ่งนี้ด้วย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

External links[แก้]

[[หมวดหมู่:บริษัทของไทย]] [[หมวดหมู่:Coordinates not on Wikidata]] [[หมวดหมู่:Pages with unreviewed translations]]