ผู้ใช้:Al.wannaporn/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การพัฒนาการคิดเชิงเหตุผลโดยการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองของเด็กปฐมวัย

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิด[แก้]

ปราณี อุปฮาด (2550) กล่าวสรุปความหมายของการคิดว่า การคิดเป็นกระบวนการทำงานในสมองเกี่ยวกับการแปลความหมายของข้อมูลที่ได้รับโดยอาศัยประสบการณ์เดิม และประสบการณ์ใหม่ แล้วแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมเพื่อจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายในการกระทำ การตัดสินใจ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ ดังนั้นจึงควรที่จะปลูกฝัง และส่งเสริมการคิดให้เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยเด็กปฐมวัยเพื่อให้เด็กเหล่านี้เจริญเติบโตเป็นเด็กที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาสังคมและประเทศชาติต่อไป

พัชรี กัลยา (2551) ได้กล่าวสรุปความหมายของการคิดว่า การคิด คือ กระบวนการทางสมองที่สัมพันธ์กับกระบวนการทำงานของจิตใจมนุษย์ในการแปลความหมายของข้อมูลที่ได้รับโดยอาศัยประสบการณ์เดิม และประสบการณ์ใหม่ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ตลอดจนแก้ไขปัญหารวมทั้งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้สิ่งต่างๆ

ชนาธิป บุปผามาศ (2553) สรุปความหมายของการคิดว่า การคิด หมายถึง กระบวนการทำงานของสมองที่มีความสัมพันธ์กับจิตใจมนุษย์ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ อาจจะเป็นการแก้ปัญหา แสวงหาคำตอบ การตัดสินใจ หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ซึ่งการคิดจะช่วยให้คนมีประสิทธิภาพ เป็นผู้ที่คิดอย่างมีเหตุผล สามารถแก้ปัญหาของตนเอง และสังคมได้อย่างเหมาะสม

สรุปได้ว่า ความหมายของการคิด คือ กระบวนการการทำงานของสมองที่สามารถสร้างความเจริญงอกงามขององค์ความรู้และผลิตผลทางปัญญา รวมถึงแก้ไขปัญหาจากความรู้สึก ความจำ และจินตนาการต่างๆ จากประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมที่เข้ามามีส่วนร่วมทำให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้นำไปสู่การกระทำ และการปรับตัวให้เข้ากับสังคม

ทฤษฎีพัฒนาการทางการคิดเชิงเหตุผล[แก้]

บรุนเนอร์ (Brunner,1963) เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญของบรุนเนอร์ มีดังนี้

1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก

2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ

3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้

4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้

5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ

         1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
         2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
         
         3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้

6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

ส่วนเพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้

1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น

2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ

         -	ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก
         -	ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก

3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี

4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิตซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่

         1.	ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น 
         2.	ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
         3.	ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย 
         4.	ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้ 
         5.	ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง 
         6.	ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะ ดังนี้

1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น

3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล

         จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย อยู่ในขั้นก่อนการปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรม และเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง สามารถแก้ปัญหาได้ โดยนำเหตุผลทั่วไปมาสรุปแก้ปัญหาโดยไม่มีการวิเคราะห์การคิดหาเหตุผลขึ้นอยู่กับสิ่งที่เด็กรับรู้และสัมผัสจากภายนอก ดังนั้น จึงควรที่จะพัฒนาเด็กให้มีการคิดเชิงเหตุผลตั้งแต่ระยะปฐมวัยด้วยวิธีการที่เหมาะสม

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลอง[แก้]

ความหมายของการจัดประสบการณ์

มีผู้ให้ความหมายของการจัดประสบการณ์ไว้แตกต่างกันดังนี้

กุลยา ตันติผลาชีวะ (2542) กล่าวว่า การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ความสำคัญของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สุวรรณา ไชยะธน (2548) กล่าวว่า การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ประสบการณ์ต่างๆ ของเด็กที่ได้รับทั้งภายในโรงเรียน และนอกโรงเรียน มุ่งสนองความต้องการของเด็ก เน้นประสบการณ์ที่มาจากสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็ก เด็กเป็นผู้ตัดสินใจทำโดยมีครูและผู้ที่เกี่ยวข้องคอยให้ความช่วยเหลือ และสนับสนุนในการทำกิจกรรมนั้นๆ โดยในการจัดประสบการณ์ต้องคำนึงถึงพัฒนาการ วุฒิภาวะ และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมุ่งส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก และในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

กล่าวโดยสรุป การจัดประสบการณ์ เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่ครูผู้ทำหน้าที่เป็นผู้สอนและเป็นกัลยาณมิตรของเด็กต้องจัดสภาพของการเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยทั้งภายนอก และภายในเพื่อให้เด็กปฐมวัยได้มีโอกาสสัมผัสและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์การเรียนรู้ อุปกรณ์การทำงานต่างๆ ด้วยการเล่น การลงมือปฏิบัติจริง

หลักการการจัดประสบการณ์

หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (2546, 39-40) ได้กำหนดหลักการจัดประสบการณ์ไว้ดังนี้

การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย 3-5 ปีนี้จะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จะจัดในรูปของการบูรณาการผ่านการเล่น เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทั้งด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา กิจกรรมที่จัดให้เด็กในแต่ละวันอาจใช้ชื่อเรียกต่างกันออกไป แต่ทั้งนี้ประสบการณ์สำคัญที่จัดจะต้องครอบคลุมประสบการณ์สำคัญที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โดยได้กำหนดเป็นหลักการไว้ 5 ข้อ คือ

1. จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กเป็นองค์รวมอย่างต่อเนื่อง

2. เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบททางสังคมที่เด็กอาศัยอยู่

3. จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกระบวนการและผลผลิต

4. จัดการประเมินพัฒนาให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์

5. ให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก

การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะการที่เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์จะทำให้เด็กได้ความรู้และความเข้าใจขึ้นภายในตัวของเด็ก ด้วยการให้โอกาสลงมือกระทำเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ด้วยวิธีการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อ ได้คิด แก้ปัญหา เกิดประสบการณ์ตรง ทำให้เด็กได้เข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้และวิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น และสามารถนำความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การปฏิบัติหรือปัญญาที่เกิดขึ้นภายในนี้ไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้อื่นได้ในสถานการณ์ที่ต่างออกไปนอกชั้นเรียน

แนวทางการจัดประสบการณ์ การที่เด็กได้เรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมที่หลากหลายช่วยให้เกิดการตกผลึกทางความคิด และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ความรู้ที่ได้ไม่ลบเลือนไปโดยง่าย การนำสาระการเรียนรู้และทักษะต่างๆ ที่ต้องการให้เด็กฝึกฝนมาเชื่อมโยงไว้ในการสอน การใช้แหล่งเรียนรู้รอบตัว สื่อมีความหลากหลายมีความเพียงพอกับความต้องการของเด็ก และการจัดกิจกรรมที่มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับกลุ่มเด็กและสภาพแวดล้อม โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด (พัฒนา ชัชพงศ์, 2530 : 140 - 142)

รูปแบบของการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

จากการศึกษาได้มีนักการศึกษาเสนอรูปแบบของการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กมีวิธีการมากมาย ดังนี้

ประภัสสรา (2544, online) ได้เสนอรูปแบบของการจัดประสบการณ์ ดังนี้

1. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนากระบวนการทางความคิดของผู้เรียน โดยผู้สอนจะป้อนคำถามในลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นคำถามที่ดี สามารถพัฒนาความคิดผู้เรียน ถามเพื่อให้ผู้เรียนใช้ความคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ สังเคราะห์ หรือ การประเมินค่าเพื่อจะตอบคำถามเหล่านั้น

2. วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method) เป็นวีการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า หรือปฏิบัติงานตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ ซึ่งผู้เรียนจะต้องฝึกกระบวนการทำงานอย่างมีขั้นตอน มีการวางแผนในการทำงานหรือการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จนการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อันเป็นประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้วีการสอนโครงงานสามารถสอนต่อเนื่องกับวีสอนแบบบูรณาการได้ ทั้งในรูปแบบบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาบูรณาการเพื่อทำโครงงาน

3. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive Method) กระบวนการที่ผู้สอนจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎ ทฤษฎี หลักเกณฑ์ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุปตามวัตถุประสงค์ในบทเรียน จากนั้นจึงให้ตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง หรืออาจให้ผู้เรียนฝึกการนำทฤษฎี หลักการ หลักเกณฑ์ กฎหรือข้อสรุปไปใช้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย หรืออาจเป็นหลักลักษณะให้ผู้เรียนหาหลักฐานเหตุผลมาพิสูจน์ยืนยันทฤษฎี กฎหรือข้อสรุปเหล่านั้น การจัดการเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ และมีความเข้าใจในกฎเกณฑ์ ทฤษฎี ข้อสรุปเหล่านั้นอย่างลึกซึ้ง การสอนแบบนี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นการสอนจากทฤษฎีหรือกฎไปสูตัวอย่างที่เป็นรายละเอียด

4. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Process) เป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้สืบค้น สืบเสาะ สำรวจ ตรวจสอบ และค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนเกิดความเข้าใจและรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย

5. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method) วิธีสอนแบบหน่วยเป็นวิธีการสอนที่นำเนื้อหาวิชาหลายวิชามาสัมพันธ์กัน โดยไม่กำหนดขอบเขตของวิชา แต่ยึดความมุ่งหมายของบทเรียนที่เรียกว่า “หน่วย” นักเรียนอาจเรียนหลายๆวิชาพร้อมๆกันไปตามความต้องการและความสามารถของนักเรียน

ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบหน่วย

1. เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเอง

2. เพื่อส่งเสริมการทำงานที่เป็นประชาธิปไตย ได้แก่ นักเรียนร่วมกันปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการปฏิบัติงานและแก้ปัญหาร่วมกัน

ขั้นตอนของวิธีการสอนแบบหน่วย

1. ขั้นนำเข้าสู่หน่วย ขั้นตอนนี้ครูเป็นผู้เร้าความสนใจของนักเรียนด้วยการนำหนังสือที่น่าสนใจหรือสนทนาพูดคุยหรือเล่าเรื่องหรืออภิปรายหรือพาไปทัศนศึกษา หรือชมนิทรรศการ หรือชมภาพยนตร์ หรือชมวีดีทัศน์ ฯลฯ

2. ขั้นนักเรียนและครูวางแผนร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรม เริ่มด้วยการกำหนดความมุ่งหมายทั่วไป ความมุ่งหมายเฉพาะ ช่วยกันตั้งปัญหาและแบ่งหัวข้อปัญหา กำหนดกิจกรรมของแต่ละปัญหากำหนดสื่อการสอนที่จะนำไปใช้แก้ปัญหา แล้วจัดแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเพื่อทำกิจกรรม และรายงานผลการปฏิบัติงาน

3. ขั้นลงมือทำงาน เริ่มต้นด้วยการสำรวจและรวบรวมความรู้ต่างๆจากห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร เอกสาร แบบเรียน ตำรา ร้านค้า ภาพยนตร์ ความสัมพันธ์กับวิชาต่างๆ เช่น ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ศิลปะ ฯลฯ

4. ขั้นเสนอกิจกรรม ได้แก่ การเสนอกิจกรรมด้วยการรายงานผลการปฏิบัติงานโดยวาจาหรือรายงานผลเป็นข้อเขียน การอภิปราย การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และการเสนอกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์แบบอื่นๆ

5. ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานตามขั้นตอน และจุดประสงค์ของหน่วยโดยพิจารณาความรู้เชิงวิชาการ เจตคติ และความสนใจต่างๆ รวมทั้งคุณสมบัติส่วนตัว เช่น คุณสมบัติด้านการเป็นผู้นำ ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย การแสดงความคิดเห็นต่อกลุ่ม และยอมรับฟังความคิดเห็นของกลุ่ม

6. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method) วิธีสอนแบบแสดงบทบาทเป็นวิธีสอนที่ใช้การแสดงบทบาทสมมุติ หรือการเทียบเคียงสถานการณ์ที่เป็นจริงมาเป็นเครื่องมือในการสอน โดยที่ครูสร้างสถานการณ์สมมุติและบทบาทขึ้นมาให้นักเรียนได้แสดงออกตามที่ตนคิดว่าควรจะเป็น การแสดงบทบาทอาจกระทำได้ทั้งทางด้านความรู้ความคิด และพฤติกรรมของผู้แสดง วิธีการนี้จะสร้างความเข้าใจและความรู้สึกให้เกิดกับนักเรียนได้ดี

7. วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method) เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนให้ความรู้ตามเนื้อหาสาระด้วยการเล่าอธิบายแสดงสาธิตโดยที่ผู้เรียนเป็นผู้ฟังเพียงอย่างเดียว อาจเปิดโอกาสให้ซักถามปัญหาได้บ้างในตอนท้ายของการบรรยาย

8. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method) วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง เป็นวิธีสอนที่ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนลงมือปฏิบัติหรือทำการทดลองค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดประสบการณ์ตรง วิธีสอนแบบปฏิบัติหรือการทดลองแตกต่างจากวิธีสอนแบบสาธิต คือ วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลองผู้เรียนเป็นผู้กระทำเพื่อพิสูจน์หรือค้นหาความรู้ด้วยตนเอง ส่วนวิธีสอนแบบสาธิตนั้นครูหรือนักเรียนเป็นผู้สาธิตกระบวนการและผลที่ได้รับจากการสาธิต เมื่อจบการสาธิตแล้วผู้เรียนต้องทำตามกระบวนการและวิธีการสาธิตนั้น

9. วิธีสอนแบบประสาทสัมผัส (Method of Sense Realism) เป็นวิธีสอนที่ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส John Amos Comenius ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธีการสอนแบบนี้ว่า การสอนทุกอย่างต้องใช้ประสาทสัมผัสเป็นสื่อ และการใช้ประสาทสัมผัสหลายๆ ทาง จะทำให้นักเรียนเกิดความจำและเข้าใจ เช่น การใช้รูปภาพซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจมากขึ้น

จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า กลวิธีการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ต้องคำนึงถึงหลักการ วัย และวุฒิภาวะ รวมถึงความต้องการความสนใจต่อเนื่องเป็นหลัก ในการพัฒนาความคิดได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับจุดประสงค์กับเรื่องที่จะสอน

การจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองที่ใช้ในการวิจัย

จากการศึกษาการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองสอดคล้องกับจุดประสงค์สอดคล้องการวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551) กล่าวว่าการทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนรู้ ด้วยการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์ตรงที่เป็นรูป ธรรม เน้นขั้นตอนการคิด การค้นคว้า การทดลอง และการสรุปผล จากการเรียนรู้การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างเป็นกระ บวนการจนพบความรู้ ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความจำเป็นในการแสวง หาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ มีพฤติกรรมที่แสดงถึงความสามารถหรือความชำนาญที่เกิดจากการปฏิบัติหรือฝึกฝนกระ บวนการคิดอย่างเป็นระบบ โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการรับรู้ การค้นหาความรู้และแก้ปัญหาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นทักษะเบื้องต้นที่มีความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อน และมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเหมาะสมกับเด็กในช่วงปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น และทักษะการพยากรณ์

ความสำคัญของการทดลองทางวิทยาศาสตร์

การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นความสามารถทางด้านสติปัญญาที่สามารถฝึกฝนให้กับเด็กปฐมวัยได้ด้วยการจัดประสบการณ์ให้เด็กได้โอกาสปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ดังที่ ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) กล่าวว่า พัฒนาการทางสติปัญญาเป็นผลมาจากการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เด็กจะเรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมก่อนเข้าสู่การเรียนรู้ที่เป็นนามธรรม และพัฒนาการทางสติปัญญาจะเป็นไปตามลำดับขั้น และสอดคล้องกับแนวคิดของ

จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ที่กล่าวว่า ประสบการณ์สำหรับเด็กเกิดขึ้นได้ต้องใช้ความคิดและการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ การทดลอง และการค้นพบด้วยตนเอง ดังนั้น รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึงพัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก โดยเฉพาะวุฒิภาวะ ความพร้อม และการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความสามารถทางสมองของเด็ก เป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาเป็นอันดับแรก สำหรับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หรือทักษะกระ บวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นความสามารถในการปฏิบัติและฝึกฝนกระบวนการคิดในการแสวงหาความรู้ ตลอดจนการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างคล่องแคล่วชำนาญ

ประโยชน์ของการทดลองทางวิทยาศาสตร์ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ช่วยสร้างลักษณะนิสัยการเรียนรู้อย่างมีกระบวนการ ส่งเสริมให้เด็กคิดอย่างมีระบบ และศึกษาสิ่งต่างๆด้วยการนำเอาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เป็นสิ่งกระตุ้นพัฒนาการเรียนรู้ และส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กรวมถึงสามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยในด้านต่างๆ ดังนี้

o ส่งเสริมพัฒนาการทางการคิดขั้นสูง เช่น การคิดวิจารณญาณ การคิดเชิงเหตุผล การคิดแก้ปัญหา

o ส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความสามารถในการค้นคว้า สืบสอบสิ่งต่างๆ

o ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เช่น ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น ทักษะการวัด ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น

o ช่วยตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก เจตคติต่อวิทยา ศาสตร์ และการเรียนรู้ด้วยการค้นพบ

o ช่วยให้เด็กเข้าใจวิธีการทำงานอย่างนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน และการสืบค้นของตัวเด็ก

o ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นตลอดจนการใช้คำถาม “อะไร” “ทำไม” และ “อย่างไร”

o ส่งเสริมให้เด็กพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล อย่างมีระบบตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์

o ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้เกี่ยวกับตนเอง และสิ่งต่างๆรอบตัวมากขึ้น

o ส่งเสริมให้เด็กมีความรับผิดชอบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

o ส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

o เป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา

o ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนกล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็น

o ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง ไม่เชื่อต่อคำบอกเล่าของคนอื่นง่ายๆ จนกว่าจะพิสูจน์ให้เห็นจริง

o ส่งเสริมให้เด็กเป็นคนมีจิตใจกว้างขวาง ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น

o ส่งเสริมให้เด็กสามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ รู้จักการเป็นผู้นำ ผู้ตาม รู้จักรอคอย แบ่งปันสิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนการช่วยเหลือทำงานร่วมกัน

o ส่งเสริมให้เด็กลดความกลัวต่อสิ่งต่างๆ เช่น กลัวความมืด กลัวเสียงฟ้าร้อง เป็นต้น

o ส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการใช้อวัยวะต่างๆของร่างกายในการทำงาน อีกทั้งทักษะในการใช้เครื่องมือในการทำงานต่างๆอีกด้วย

การจัดกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สามารถบูรณาการกิจกรรมทดลองไว้ในกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย เช่น เสริมประสบการณ์หรือกิจกรรมในวงกลม กิจกรรมสร้างสรรค์ เนื้อหาที่นำมาทด ลองจะยึดหน่วยหรือหัวเรื่องที่เด็กเรียนรู้เป็นหลัก เช่น

o การเรียนรู้ หน่วยน้ำ ครูจัดกิจกรรมการทดลองวิธีการกรองน้ำให้สะอาด เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้มโนทัศน์เกี่ยวกับเรื่องวิธีการทำให้น้ำสะอาด จากการทดลองวิธีการกรองน้ำ ครูอาจจัดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆเพื่อให้เด็กได้เลือกและค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการกรองน้ำ

o ส่วนการเรียนรู้ หน่วยผลไม้ อาจจัดกิจกรรมทดลองเพื่อพิสูจน์เกี่ยวกับส่วนประกอบของผลไม้ว่า ผลไม้แต่ละชนิดมีส่วน ประกอบเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยครูแบ่งกลุ่มเพื่อให้เด็กทดลองเป็นกลุ่ม และมีการเปรียบเทียบผลการพิสูจน์ของแต่ละกลุ่มได้ เช่น เงาะจะมีส่วนประกอบคือ เปลือก เนื้อ และมีเมล็ดเดียว สับปะรดประกอบด้วยเปลือก และเนื้อ ไม่มีเมล็ดแต่มีแกนอยู่ส่วนตรงกลาง แตงโมประกอบด้วยเปลือก เนื้อสีแดง และมีเมล็ดหลายเมล็ด

o สำหรับการบูรณาการการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในกิจกรรมสร้างสรรค์สามารถจัดให้กับเด็กได้ เช่น การเรียนรู้ หน่วยดอก ไม้ สามารถจัดกิจกรรมการทดลองสีจากดอกไม้ในการสร้างสรรค์งานทางศิลปะได้ เช่น ใช้สีแดงจากดอกกุหลาบ สีเหลืองจากดอกดาวเรือง สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เป็นต้น นอกจากครูจะบูรณาการกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ไว้ในกิจ กรรมประจำวันแล้ว ยังสามารถจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ไว้เป็นการเฉพาะและนำไปจัดเพื่อเป็นกิจกรรมเสริมในช่วงเวลาอื่นๆได้ เช่น จัดไว้ในมุมวิทยาศาสตร์ จัดในช่วงตอนพักกลางวันหรือช่วงก่อนเด็กกลับบ้าน ฯลฯ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่จัดให้กับเด็กที่ควรเป็นกิจกรรมบูรณาการด้วยการใช้สถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน เพื่อใช้ในการเรียนรู้ให้กับเด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเพื่อจะได้ตอบสนองต่อความต้องการในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยได้

จากข้อความที่กล่าวมาสรุปได้ว่า ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กครูมีบทบาทสำคัญโดยเฉพาะการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนาการคิดเชิงเหตุผล จึงได้จัดกิจกรรมทดลองทางวิทยาศาสตร์ให้เด็กอย่างน้อย 2 การทดลอง ต่อ 1 หน่วยการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาทางการคิดเชิงเหตุผลอย่างเต็มตามศักยภาพ

งานวิจัยในประเทศ และต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงเหตุผล[แก้]

จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงเหตุผลในประเทศ

จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงเหตุผลในประเทศ จากฐานข้อมูลห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 10 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2541-2550) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับปีที่ผลิตงานวิจัย กลุ่มที่ทำการศึกษา แบบการวิจัย เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และตัวแปรที่ศึกษา ดังนี้

วราภรณ์ นาคะสิริ (2546: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเปรียบเทียบการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปีที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้ทรายสี พบว่าการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยหลังการทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ โดยใช้ทรายสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม ศิลปสร้างสรรค์โดยใช้ทรายสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ปิยวรรณ สันชุมศรี (2547: 54) ได้ศึกษาความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเดอโบโน ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดอโบโนและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของเดอโบโนมีค่าเฉลี่ยความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

พัชรี โคตรสมบัติ (2550: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบจิตปัญญาที่มีต่อทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุ 5-6 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนประสานมิตร จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า ทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิตปัญญา โดยรวมและจำแนกรายด้านมีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองพบว่าแตกต่างอย่างนัยสำคัญทางสถิติ .05

พัชรี กัลยา (2551: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมศึกษามิติสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนหญิงอายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัย หลังจากการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา มิติสัมพันธ์โดยภาพรวมและจำแนกรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลอง พบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา มิติสัมพันธ์ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสูงขึ้น

ปริษา บุญมาศ (2551: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาทักษะการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เน้นการผสมสี กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุ 4-5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลสุดารักษ์ บางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน ผลการศึกษาพบว่าการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยหลังการทำ กิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เน้นการผสมสีสูงกว่าก่อนที่ทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เน้นการผสมสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

งานวิจัยต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงเหตุผล

จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงเหตุผลในต่างประเทศ 10 ปีย้อนหลัง (ค.ศ.2001-2010) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ขิน ฮา ละวอกเกอร์ไตน์ (จำนง วิบูลย์ศรี. 2536 ; อ้างอิงจาก Sinha and Walkerdine. 1975. Piagetian Research: Compilation and Commemtaer Vol.2) ได้ทำการทดลองเพื่อตรวจสอบ อิทธิพลของภาษาที่มีต่อการคิดเชิงเหตุผลเกี่ยวกับปริมาณคงที่ของของเหลว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เด็กอายุ 3 ปี 6 เดือน ถึง 7 ปี ในการทดลองครั้งนี้ใช้แบบทดสอบหลายชุดในบรรดาแบบทดสอบต่างๆ ที่นำมาใช้นั้นมีแบบทดสอบอยู่ชุดหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับคำตรงข้าม คือ คำว่ามาก/น้อย กระบวนการทดสอบชุดนี้คือ ผู้นำได้นำตุ๊กตาไม้ขนาดใหญ่ กับตุ๊กตาสุนัขขนาดเล็ก สุนัขตัวนี้ชอบดื่มน้ำน้อยๆ หลังจากนั้นก็ได้นำบีคเกอร์ขนาดมาตรฐานสำหรับใส่น้ำส้มคั้น มาวางข้างหน้าตุ๊กตาทั้งสองโดยให้บีคเกอร์สำหรับตุ๊กตาม้าบรรจุน้ำส้มคั้นมากกว่าตุ๊กตาสุนัขต่อมาผู้ทำการทดลองจะเทน้ำส้มคั้นจากบีคเกอร์สำหรับตุ๊กตาสุนัขลงหลอดทดลอง ซึ่งขนาดแคบและสูงกว่าในทำนองเดียวกันก็จะเทบีคเกอร์สำหรับม้าลงในบีคเกอร์ขนาดมาตรฐานอีกใบหนึ่งผลการทดลองปรากฎว่า ภาพที่ใช้ในการทดสอบให้เด็กเข้าใจสภาพข้อเท็จจริงมากกว่า สภาพตามที่เด็กเห็นในขณะนั้นผู้วิจัยสรุปว่าภาษาโดยทั่วไปมีส่วนช่วยให้เด็กเข้าใจหลักการเกี่ยวกับความคงที่ของสสารได้ง่ายขึ้น

วิลเลี่ยม และริไมล์ (กมลทิพย์ ต่อติด. 2544: อ้างอิงจาก Williams and Remires. 1979) ได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาอิทธิพลของภาษาที่มีต่อการคิดเชิงเหตุผลตามแนวทฤษฎีของเพียเจต์ เกี่ยวกับการคงที่ของสสารในเชิงปริมาณ น้ำหนักและปริมาตร โดยได้เปรียบเทียบเด็กที่มาจากครอบครัวซึ่งบิดามารดาประกอบอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผากับเด็กที่มาจากครอบครัวซึ่งบิดามารดาประกอบอาชีพอย่างอื่น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กเม็กซิกันอายุระหว่าง 6-9 ปี ในการเปรียบเทียบนั้นผู้วิจัยได้กำหนดให้เด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความเท่าเทียมกันทั้งในด้านอายุ เพศ ระดับการศึกษา และฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมผลการวิจัย พบว่าเด็กที่มาจากครอบครัวซึ่งบิดามารดาประกอบอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาสามารถเข้าใจความคงที่ในเชิงปริมาณของสสารประเภทอื่นๆ และเด็กที่มาจากครอบครัวซึ่งบิดามารดาประกอบอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาไม่สามารถจะตอบคำถามเรื่องราวความคงที่ในเชิงปริมาณของสสารประเภทอื่นได้ดีกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวซึ่งบิดามารดาประกอบอาชีพอย่างอื่น

เดนนี่ เชติโนกูล และเซลเซอร์ (จำนง วิบูลย์ศรี. 2536: 43-44; อ้างอิงจาก Denny Zeytinoglu and Seizer. 1977. Joumal of Experimental Child Psychology) ได้ทำการทดลองเพื่อฝึกเด็กอายุ 4 ปี ให้เข้าใจความคงที่ในเชิงปริมาณของสสารในการทดลองทั้งสองแบบนั้นผู้วิจัยได้ใช้ถ้อยคำสำหรับอธิบายหลักการต่างๆให้เด็กทราบ และก่อนทำการฝึกเด็กเหล่านั้นได้รับการทดสอบก่อนทุกคนหลังจากฝึกแล้วหนึ่งสัปดาห์ก็ทำการทดสอบหลังการฝึกอีกหนึ่งครั้งผลการทดสอบทั้งหมดปรากฏว่า เด็กที่ได้รับการอธิบายด้วยถ้อยคำสามารถที่จะเข้าใจความคงที่ในเชิงปริมาณของสสารได้ดีกว่าเด็กอื่นซึ่งไม่ได้รับการอธิบายด้วยถ้อยคำ

เดอมานูเอล (พัชรี โคตรสมบัติ. 2550; 19; อ้างอิงจาก Demanuele. 2001) ได้ทำการศึกษาการจัดหลักสูตรที่เน้นปรัชญาการคิดสำหรับเด็กอนุบาลและเด็กประถมศึกษา โดยมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายวิธีการสอนของครู ข้อสรุปเชิงทฤษฎี และการประเมินทักษะการสอนจากการศึกษาพบว่าหลักสูตรปรัชญา หลักสูตรระบบรูปแบบสมบูรณ์และสะท้อนให้เห็นว่าได้ใช้หลักการของจอห์นดิวอิ

จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคิดเชิงเหตุผลทั้ง ในประเทศ และต่างประเทศสรุปได้ว่า เด็กสามารถเกิดการคิดเชิงเหตุผลได้จากกิจกรรมต่างๆ ที่เด็กได้กระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ไม่ว่าจะเป็นการสนทนาเล่าเรื่องต่างๆ การทดลองทางวิทยาศาสตร์ การทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ และกิจกรรมอื่นอีกมากมาย ซึ่งสามารถส่งเสริมด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก

งานวิจัยในประเทศ และต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลอง[แก้]

งานวิจัยในประเทศที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลอง

จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองในประเทศ จากฐานข้อมูลห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 10 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2541-2550) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับปีที่ผลิตงานวิจัย กลุ่มที่ทำการศึกษา แบบการวิจัย เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และตัวแปรที่ศึกษา ดังนี้

ศรีนวล รัตนานันท์ (2545) ได้ศึกษาผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย โดยทำการทดลองกับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อายุระหว่าง 5-6 ปี จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติ พบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียน มีทักษะการสังเกตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์แบบปกติมีทักษะการสังเกตสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ลำดวน ปั่นสันเทียะ (2545) ได้ศึกษาผลการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยก่อนการจัดประสบการณ์และหลังการจัดประสบการณ์แบบโครงการที่มีต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเด็กปฐมวัยมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เฉลี่ยโดยรวมแยกตามทักษะหลังการจัดประสบการณ์แบบโครงการสูงกว่าการทดลอง

ลดาวรรณ ดีสม (2546) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 24 คน ผลการศึกษาพบว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพโดยรวมและจำแนกรายด้านอยู่ในระดับดีและเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ศศิมา พรหมรักษ์ (2546) ได้ศึกษาพฤติกรรมความร่วมมือของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ของบทเรียนชั้นอนุบาล 2 จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่าภายหลังได้รับการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมความร่วมมือเฉลี่ยโดยรวมและจำแนกรายด้าน ได้แก่ ด้านการช่วยเหลือ ด้านการเป็นผู้นำ ด้านความรับผิดชอบ แบะด้านแก้ปัญหา ความขัดแย้งสูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์

ณัฐชุดา สาครเจริญ (2548) ได้ศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่าหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยรวมและจำแนกรายทักษะอยู่ในระดับดี และเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองพบว่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ศศิพรรณ สำแดงเดช (2553) ได้ศึกษาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่าเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อจำแนกรายด้านแล้วพบว่า ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ด้านการสังเกต การจำแนก การสื่อสาร ทุกด้านสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

งานวิจัยต่างประเทศที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลอง

จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองต่างประเทศ จากฐานข้อมูลห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ 10 ปีย้อนหลัง (พ.ศ.2541-2550) โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับปีที่ผลิตงานวิจัย กลุ่มที่ทำการศึกษา แบบการวิจัย เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และตัวแปรที่ศึกษา ดังนี้

ริชาร์ด (สุวรรณ ขอบรูป. 2540: 62; อ้างอิงจาก Rihcard. 1992. Dissertation Abstracts International.) ได้ศึกษาและพัฒนารูปแบบกระบวนการทัศนศึกษาสำหรับการศึกษาในหน่วยสิ่งแวดล้อมให้นักเรียนมัธยมศึกษา โดยพัฒนารูปแบบการสอนที่ใช้ในการสอนหน่วยสิง่แวดล้อมให้แก่นักเรียนระดับมัธยมที่เน้นทางด้านชีววิทยา รูปแบบที่สร้างขึ้นได้บรรจุการทัศนศึกษานอกห้องเรียนเข้าไปด้วยเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้านเนื้อหาและมโนทัศน์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรวมไปถึงการจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มที่ทดลองได้เรียนโดยมีการทัศนศึกษา และการอภิปรายหลังการทัศนศึกษา อีกกลุ่มเป็นกลุ่มควบคุม มีการอภิปรายจากหนังสือตามแนวการสอนเดิม ทำการทดสอบกาอนและหลังการทดลอง โดยทำแบบทดสอบตามวัตถุประสงค์ พบว่าก่อนทดลองนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม มีความสามารถในระดับสติปัญญาและมีคะแนนความอยากรู้อยากเห็นในทางชีววิทยาและวิทยาศาสตร์ในสิ่งทั่วๆไปสูงขึ้นไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อทดสอบหลังการทดลองพบว่ากลุ่มที่ใช้รูปแบบที่มีการออก ทัศนศึกษานอกสถานที่มีความมั่นใจในการทำสิ่งต่างๆ ในชั้นเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกทัศนศึกษานอกห้องเรียนแสดงให้เห็นว่า ในด้านความมั่นใจมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนในด้านการใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบที่มีการทัศนศึกษานอกห้องเรียน มีคะแนนเพิ่มมากขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกทัศนศึกษานอกห้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญ

แอนเดอร์สัน (ณัฐชุดา สาครเจริญ. 2548: 30; อ้างอิงจาก Anderson. 1998) ได้ศึกษาผลจากการกระตุ้นการอ่านทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการอ่านเนื้อหาที่เด็กสนใจที่มีอิทธิพลต่อความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์ของเด็ก โดยทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในห้องเรียนต่างกัน การทดลองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเด็กจะได้รับกระตุ้นการอ่าน โดยวิธีการกระตุ้นให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็น และเกิดความสนใจในเนื้อหา กลุ่มที่สอนได้รับการฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและอ่านเนื้อหาจากเรื่องที่ตนสนใจเกิดความรู้ความคิดรวบยอดได้ดีกว่าเนื่องจากทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตต้องใช้ประสาทสัมผัสหลายๆด้านเพื่อให้ได้ความรู้ที่ได้มาแสดงให้เห็นถึงความสนใจในหัวเรื่องซึ่งช่วยส่งเสริมการสรุปความทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์และเป็นการเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง

จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์แบบการทดลอง เนื่องจากการทดลองเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของเด็ก ทำให้เด็กสนุกกับการค้นหา หรือคาดเดาคำตอบ ซึ่งส่งผลดีต่อการเรียนรู้ จึงมีการศึกษานำการจัดประสบการณ์แบบการทดลองมาเป็นสื่อ เพื่อใช้ในการส่งเสริมลักษณะที่พึงประสงค์ต่างๆให้กับเด็ก เช่น การคิดเชิงเหตุผล

แหล่งที่มา[แก้]

  • ปราณ อุปฮาด. หลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ทิชซิ่งเอ็ท จำกัด, 2550.
  • พัช กัลยา. ทฤษฎีหลักสูตร. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์, 2551.
  • นาธิป บุผามาด. การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2553.
  • Sina and Walkerdine. , editor. Process in the arts therapies. London: Jessica Kingsley, 1975.
  • Denny Zeytinoglu and Seizer Art therapy with children. Abbeygate Press: Isle of Palms, SC, 1977.
  • Williams and Remires. Art therapy. London: SAGE publications, 1979.
  • Rihcard. , editor. Process Of Think. London: Dara Matsley, 1992.
  • Andersan. Understanding children’s drawings. New York: The Guilford Press, 1998.
  • Demanuele. Creative Thinking. Ogahoma: The Landford News, 2001.