ผู้ใช้:22circle/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติหน่วย มณฑลทหารบกที่ 22[แก้]

รายนามผู้บังคับบัญชา  ตั้งแต่อดีต จนถึง ปัจจุบัน[แก้]

                ๑. พลตรี แสร์      น้อยเศรษฐ์   ผบ.มทบ.๖   ก.ค.๒๔๙๓ - ธ.ค.๒๔๙๖

                ๒. พลตรี เชื่อม    ปายะนันท์   ผบ.มทบ.๖   ธ.ค.๒๔๙๖ - ก.ย.๒๔๙๗

                ๓. พลตรี อาบ     โทณานนท์   (พลเอก)    ผบ.มทบ.๖    ก.ย.๒๔๙๖ - ธ.ค.๒๔๙๘

                ๔. พลตรี เต็ม     หอมเศรษฐี  (พลเอก)    ผบ.มทบ.๖   ธ.ค.๒๔๙๘ - ธ.ค.๒๔๙๙

                ๕. พลตรี พิศิษฐ์  ฉายเหมือนวงศ์  (พลเอก)  ผบ.มทบ.๖   ม.ค.๒๕๐๐ -  ธ.ค.๒๕๐๐

                ๖. พลตรี สอด     รัตยันตรกร  ผบ.มทบ.๖  ธ.ค.๒๕๐๐ -  ธ.ค.๒๕๐๑

                ๗. พลตรี เฉลียว   เพ็ชรโยธิน  ผบ.มทบ.๖  ธ.ค.๒๕๐๑ - ธ.ค.๒๕๐๓

                ๘. พลตรี พื้น       อัคถะโยธิน  ผบ.มทบ.๖   ธ.ค.๒๕๐๓ - ธ.ค.๒๕๐๕

                ๙. พลตรี จำลอง   สิงหะ  (พลโท)  ผบ.มทบ.๖   ธ.ค.๒๕๐๕ - ต.ค.๒๕๐๖

                ๑๐. พลตรี ถวัลย์   ศรีเพ็ญ   ผบ.มทบ.๖    ต.ค.๒๕๐๖ - มิ.ย.๒๕๐๘

                ๑๑. พลตรี ยงค์     รอดโพธิ์ทอง (พลโท) ผบ.มทบ.๖  มิ.ย.๒๕๐๘ - ม.ค.๒๕๑๔

                ๑๒. พลตรี จุมพล  ทองทาบ   ผบ.มทบ.๖   ม.ค.๒๕๑๔ - ก.ย.๒๕๑๖

                ๑๓. พลตรี เฉลิม   อรัณยกานนท์  ผบ.มทบ.๖   ต.ค.๒๕๑๖ - ก.ย.๒๕๑๘

                ๑๔. พลตรี ประคัลภ์   เครือคงคา  ผบ.มทบ.๖   ต.ค.๒๕๑๘ - ก.ย.๒๕๑๙

                ๑๕. พลตรี ประยูร   พลอยมุกดา  ผบ.มทบ.๖   ต.ค.๒๕๑๙ - ก.ย.๒๕๒๑

                ๑๖. พลตรี อุทัย     พงศ์สุพัฒน์  ผบ.มทบ.๖   ต.ค.๒๕๒๑ - ก.ย.๒๕๒๔

                ๑๗. พลตรี ยรรยง   หงษ์ศรีทอง   ผบ.มทบ.๖   ต.ค.๒๕๒๔ - ก.ย.๒๕๒๘

                ๑๘. พลตรี วชิรพล   พลเวียง   ผบ.มทบ.๖   ต.ค.๒๕๒๘ - ก.ย.๒๕๒๙

                ๑๙. พลตรี บุญเปรียบ   เกิดชูชื่น   ผบ.มทบ.๖   ต.ค.๒๕๒๙ - ต.ค.๒๕๓๒

                ๒๐. พลตรี ชูศักดิ์  เวชช์ประเสริฐ   ผบ.มทบ.๖,ผบ.มทบ.๒๒   ต.ค.๒๕๓๒ - ก.ย.๒๕๓๕

                ๒๑. พลตรี ธมวุช   กองจันทร์ดี   ผบ.มทบ.๒๒    ต.ค.๒๕๓๕ - ก.ย.๒๕๓๗

                ๒๒. พลตรี นิคม    ยศสุนทร  ผบ.มทบ.๒๒   ต.ค.๒๕๓๗ - ต.ค.๒๕๔๐

                ๒๓. พลตรี พิบูลย์  วิเชียรวรรณ   ผบ.มทบ.๒๒  ต.ค.๒๕๔๐ - ต.ค.๒๕๔๑

                ๒๔. พลตรี ทนง    ไวว่อง     ผบ.มทบ.๒๒    ต.ค.๒๕๔๑  -  ต.ต.๒๕๔๒

                ๒๕. พลตรี ประธาน   ขีดขิน    ผบ.มทบ.๒๒ ต.ค.๒๕๔๒  -  ต.ค.๒๕๔๓

                ๒๖. พลตรี วีรวุธ       ส่งสาย    ผบ.มทบ.๒๒ ต.ค.๒๕๔๓  - มี.ค.๒๕๔๗

                ๒๗. พลตรี วิโรจน์     ชนะสิทธิ์  ผบ.มทบ.๒๒  เม.ย.๒๕๔๗ – ก.ย.๒๕๔๘

                ๒๘. พลตรี ไตรศักดิ์   อินทรรัสมี ผบ.มทบ.๒๒  ต.ค.๒๕๔๘ – เม.ย.๒๕๕๐

                ๒๙. พล.ต.จีระศักดิ์  ชมประสพ  ผบ.มทบ.๒๒ เม.ย.๒๕๕๐ - ก.ย.๒๕๕๒

                ๓๐. พล.ต.ชยันต์  หวยสูงเนิน   ผบ.มทบ.๒๒ ต.ค.๒๕๕๐ - ก.ย.๒๕๕๔

                ๓๑. พล.ต.วีระภัทรพล  บุญย์เชี่ยว ผบ.มทบ.๒๒  ต.ค.๒๕๕๔ - ก.ย.๒๕๕๖

                ๓๒. พล.ต.วิษณุ   ไตรภูมิ ผบ.มทบ.๒๒  ก.ย.๒๕๕๖ - ก.ย.๒๕๕๗

                ๓๓. พล.ต.นิรุทธ   เกตุสิริ  ผบ.มทบ.๒๒  ต.ค.๒๕๕๗ - ก.ย.๒๕๕๘

                ๓๔. พล.ต.อชิร์ฉัตร   โรจนะภิรมย์ ผบ.มทบ.๒๒  ต.ค.๒๕๕๘ - ก.ย.๒๕๖๐

                ๓๕. พล.ต.อรรถ    สิงหัษฐิต ผบ.มทบ.๒๒  ต.ค.๒๕๖๐ - ก.ย.๒๕๖๒

                ๓๖. พล.ต.รณกร   ปานกุล ผบ.มทบ.๒๒  ต.ค.๒๕๖๒ – มี.ค.๒๕๖๓

                ๓๗. พล.ต.สรชัช สุทธิสนธิ์ ผบ.มทบ.๒๒ เม.ย.๖๓ – ปัจจุบัน

วันสถาปนาหน่วย

                  มณฑลทหารบกที่  22   ได้กำหนดให้ วันที่  18  พฤษภาคม 2493 เป็นวันสถาปนาหน่วย ซึ่งในวันดังกล่าวเป็นวันที่หน่วย  กองบังคับการกองพันที่  3  จังหวัดอุบลราชธานี   ได้ยกฐานะขึ้นเป็นหน่วย มณฑลทหารบกที่ 6 และเป็น มณฑลทหารบกที่ 22  ในเวลาต่อมา

ประวัติความเป็นมาของหน่วย[แก้]

ที่ตั้งหน่วย   ตั้งอยู่ในค่ายสรรพสิทธิประสงค์ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

ประวัติความเป็นมาของหน่วยมณฑลทหารบกที่ ๒๒[แก้]

                ๑. มณฑลทหารบกที่ ๒๒  มีนามหน่วยว่า มณฑลทหารบกที่ ๖ แต่เดิมเรียกว่า “ มณฑลลาวกาว ” สมัยที่ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ในปี พ.ศ.๒๔๓๔ ด้วยเหตุผลทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ   ให้เปลี่ยนแปลงการจัดการปกครอง   ดินแดนทางหัวเมืองฝ่ายลาวตะวันออก ที่ได้กำหนดไว้ในปี พ.ศ.๒๔๓๓  โดยให้กรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นข้าหลวงใหญ่ไปตั้งรักษาการณ์อยู่ที่เมืองจำปาศักดิ์และให้เรียกว่า “ข้าหลวงเมืองลาวกาว”โดยให้รวมหัวเมืองเอก ๒๑ หัวเมือง คือเมืองนครจำปาศักดิ์  เชียงแตง  แสนปาง สีทันดร สาละวัน     อัตปือ คำทองใหญ่ สุรินทร์ สังขะ ขุขันธุ์ เดชอุดม  ศรีสะเกษ  อุบลราชธานี ยโสธร  เขมราฐ กมลาสัย  กาฬสินธุ์  ภูเล่นช้าง มหาสารคาม  สุวรรณภูมิ  และเมืองร้อยเอ็ด   กับมีเมืองโท  ตรีจัตวา       ที่เป็นเมืองขึ้นของหัวเมืองเอกเหล่านี้อีก ๔๓ เมือง ให้อยู่ในบังคับบัญชาของข้าหลวงใหญ่เมืองลาวกาว

                พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้เสด็จฯพร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ประมาณ  ๒๐๐ คน พร้อมด้วยอาวุธยุทธภัณฑ์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น ออกจากรุงเทพมหานคร เมื่อ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๓๔ โดยเสด็จไปทางปราจีนบุรีอรัญประเทศศรีโสภณสุรินทร์ ถึงเมืองอุบลราชธานี   เมื่อ ๔   กุมภาพันธ์  ๒๔๓๕ ขบวนเสด็จคราวนั้นล่าช้ามากเพราะต้องเกณฑ์เอาไพร่พลและยานพาหนะ  จากเมืองต่างๆ   ส่งต่อกันไปเป็นระยะอย่างไรก็ดี  แม้ว่าจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ   ให้กรมหลวงพิชิตปรีชากร เสด็จฯประทับที่เมืองจำปาศักดิ์   แต่เมื่อเสด็จถึงเมืองอุบลราชธานีแล้ว    กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ก็ประทับอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี  ตลอดเวลาที่ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์ ฯ และได้ทรงดำเนินการปรับปรุงบ้านเมืองหลายประการ    เป็นต้นว่าปรับปรุงการปกครอง  ปรับปรุงการเกษตรกรรม   ปรับปรุงการเก็บภาษีอากร ฯลฯ

                 ที่เกี่ยวการทหารนั้นกรมหลวงพิชิตปรีชากร ทรงมีความเห็นว่ากองทหารใน หัวเมืองลาวกาวที่ได้จัดตั้งขึ้นที่เมืองนครจำปาศักดิ์  และเมืองอุบลราชธานี  ในปี  พ.ศ. ๒๔๓๑ ในสมัยรัชกาล  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์  พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีทหารอยู่ประมาณ ๖๐๐  คน แต่เป็นกองทหารที่ไม่ได้ปลดประจำการหรือผลัดเปลี่ยนออกไปทำมาหากินเลย  ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายท้อแท้        อยากกลับบ้านของตน เพื่อเป็นการสนองพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ที่ทรงต้องการให้จัดคนในหัวเมืองเป็นทหารประจำการ โดยเฉพาะในท้องที่ มณฑลลาวกาว เพราะสถานการณ์ไม่เป็นที่น่าไว้วางใจนักทั้งๆ ที่ในเวลานั้นยังไม่มีการประกาศใช้  พระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารแต่ประการใดแต่เพื่อสนอง    พระบรมราโชบาย    และเพื่อความปลอดภัยแก่ประเทศชาติ    กรมหลวงพิชิตปรีชากรจึงได้ทรงประกาศให้มีการเกณฑ์ทหารในท้องที่มณฑลลาวกาว โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นทหารให้ กำนัน นายบ้าน ในเขตแขวงต่างๆ ตรวจนับจำนวนลูกบ้านของตนที่อยู่ในวัยฉกรรจ์ อยู่ระหว่าง  ๑๕ - ๓๕ ปี รูปร่างสูงไม่ต่ำกว่า  ๓  ศอก  ๘ นิ้ว ( ๑๘๐ ซม. )  วัดรอบอกได้ไม่น้อยกว่า  ๑ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว (๙๐ ซม.) และต้องเป็นคนที่มีครอบครัวแล้วชายฉกรรจ์ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการฝึกหัด ให้เป็นทหารหลวงมีเงินเดือน  เบี้ยเลี้ยง และเลื่อนยศ  ให้อยู่รับราชการมีกำหนด ๓  ปี  เมื่อครบกำหนดแล้วจะได้รับหนังสือสำคัญเป็นหลักฐานและมีสิทธิพิเศษ ดังนี้


                ๑. ไม่ต้องถูกเกณฑ์เข้ารับราชการใดๆ 

                ๒. ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียส่วย

                ๓. ไม่ต้องมีมูลนาย นอกจากนายทหารและกรมยุทธนาธิการ

                ๔. เมื่อต้องคดีใดๆ นายทหารจะเป็นผู้ช่วยเหลือเหมือนเช่นกำลังรับราชการอยู่

                ๕. บุคคลที่รับราชการทหารแล้วมีความดีความชอบ ขยันขันแข็ง หรือมีฝีมือในการยิงปืนแม่นยำ จะได้เลื่อนยศศักดิ์ขึ้นไปเลื่อยๆ จนถึงนายทัพและท้าวพระยา ตามความสามารถ

          ส่วนบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร  มีดังนี้

                ๑. ชาวต่างประเทศ ซึ่งไม่นับว่าเป็นพลเมืองไทย

                ๒. ศิษย์วัดและสามเณรที่มีอายุไม่เกิน  ๒๑ ปี ถ้าสามเณรรูปใดอายุเกิน ๒๑ ปี ยังไม่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ก็ให้นับเป็นชายฉกรรจ์

                ๓. พระภิกษุที่อุปสมบทในพระพุทธศาสนา

          การประกาศใช้ในหลักเกณฑ์   ในการเกณฑ์ทหารของ   กรมหลวงพิชิตปรีชากร    เมื่อวันที่

๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๓๕  นับว่าเป็นสิ่งที่แปลกใหม่ในกิจการทหาร เพราะระยะเวลานั้นยังไม่มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหารในท้องที่ใด  ๆ  เลยและเป็นการประกาศหลักเกณฑ์ในการเกณฑ์ทหารหลังจากที่ได้จัดตั้งกระทรวงกลาโหมขึ้น   เป็นเวลาเพียงเดือนเดียวเท่านั้น   สิ่งที่แตกต่างที่สำคัญของการจัดการทางทหาร ที่  กรมหลวงพิชิตปรีชากร  ได้จัดตั้งขึ้นคือ ทหารที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาฝึกหัดรับราชการทหารนี้    มีเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงประจำซึ่งแตกต่างไปจากการจัดตั้งกองทหารที่ได้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๑ เพราะผู้ที่จะเข้ารับการฝึกหัดเป็นทหารในเวลานั้น จะเป็นพวกลูกหรือหลานทาสเป็นส่วนมาก จึงมักถูกเหยียดหยามว่า เป็นคนไม่มีถิ่นฐาน ไม่มีความกล้า และเป็นคนจรจัด

                ในด้านการจัดเลี้ยงทหารนั้น ที่เมืองอุบลราชธานี เคยจ่ายวันละ  ๑ อัฐต่อ  ๑  คน ส่วนที่เมืองนครจำปาศักดิ์ ได้เบิกมาจากการเฉลี่ยจากราษฎร   กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้โปรดให้ยกเลิกธรรมเนียมเดิมนั้นเสียโดยการให้ยืมเงินหลวงมาใช้จ่ายในการเลี้ยงทหารวันละ ๔ อัฐต่อทหาร๑ คนเท่ากันทุกเมืองเงินที่ทรงให้นำมาใช้ในการเลี้ยงทหารนี้เป็นเงินส่วยที่ดั่งค้างมาแต่ก่อนจึงไม่สิ้นเปลืองงบประมาณของทางราชการแต่ประกาศใด

                สำหรับโครงการในการฝึกทหารของ กรมหลวงพิชิตปรีชากรนั้น จะทรงจัดการฝึกทหาร จำนวน ๘๐๐  คน  โดยการจำหน่ายเก่าออกไป ๓๓๐ คน แล้วเรียกเข้ามารับการฝึกใหม่อีก ๔๘๐ คน พวกที่ปลดออกไปจากประจำการก็จะเป็นทหารกองหนุนแล้วจะเรียกมาฝึกใหม่ให้ครบ  ๘๐๐ คน  อยู่เสมอส่วนนายทหารและนายสิบที่จะทำการฝึกทหารใหม่นี้ ได้ทรงขอจาก กรุงเทพฯวิธีการจัดการทางทหารของ กรมหลวงพิชิตปรีชากรนี้ได้รับความเห็นใจและเห็นชอบจากที่ประชุมเสนาบดีที่ กรุงเทพฯ   เป็นอย่างดีในการประชุมเสนาบดี   เมื่อวันที่    ๑๐   กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ประชุมลงความเห็นว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร  ได้เสด็จไปจัดราชการต่างพระเนตรพระกรรณในท้องที่ห่างไกลจึงสมควรสนับสนุนตามที่พระองค์ทรงดำริไว้

                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัยในการจัดการทหาร ของกรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นอย่างมากโดยเฉพาะการประกาศให้เจ้านาย ท้าวพระยา เจ้าเมือง และกรมการเมือง งดเกณฑ์เสบียงอาหารจากราษฎรไปเลี้ยงข้าหลวงและการที่ข้าหลวงเกณฑ์ไพร่ไปใช้สอย  พระองค์ได้ทรงรับสั่งกับ  กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยว่า   กรมหลวงพิชิตปรีชากร ทำดีนักน่าสรรเสริญ และแสดงความไว้วางพระทัยเป็นอย่างมาก

              อย่างไรก็ดีการจัดการทหารในมณฑลลาวกาว ก็ยังไม่บรรลุผลสำเร็จมากนักแม้จะมีโครงการน่าจะปฏิบัติได้ทั้งนี้คงเป็นเพราะเวลาไม่มีมากนักประการหนึ่ง    และอีกประการหนึ่งก็เป็นช่วงเวลาที่ไทยกำลังจะเกิดการพิพาษกับฝรั่งเศส      ซึ่งต่อมาอีกไม่นานคือ  ในต้นปี  พ.ศ. ๒๔๓๖   ไทยก็ทำสงครามกับฝรั่งเศส เกี่ยวกับดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ที่เรียกว่า “ วิกฤตกาล ร.ศ.๑๑๒ ” การสงครามคราวนี้ต้องประสบปัญหาในการป้องกันชายแดน เป็นอย่างมากความจริงแล้ว   กรมหลวงพิชิตปรีชากร คงจะคาดการณ์ไว้แล้วว่า การสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศส  ทางชายแดนด้านหัวเมืองลาวกาว   คงจะเกิดขึ้นในเวลาไม่ช้าเป็นแน่ เพราะ    กรมหลวงพิชิตปรีชากร   ได้ทรงขอกำลังกองทัพมาป้องกันชายแดน  และฝึกทหารหัวเมืองลาวกาว   ตั้งแต่ ปี  พ.ศ.๒๔๓๕   แต่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว  ก็ไม่ทรงเห็นด้วยเพราะเกรงว่าจะทำให้ฝ่ายฝรั่งเศส เกิดการไหวตัวและอีกประการหนึ่งทหารที่ไปจากกรุงเทพฯ เมื่อไปอยู่ต่างถิ่นก็จะเกิดการเจ็บป่วยล้มตาย จึงทรงให้ กรมหลวงพิชิตปรีชากร  จัดคนในท้องถิ่นเป็นทหารประจำการขึ้น ส่วนอาวุธถ้าต้องการเท่าใดเมื่อใด  ก็จะจัดส่งไปให้แต่พอถึงเดือน  พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๕  ก็ได้จัดส่งข้าหลวงคุมอาวุธปืนขึ้นไปเพิ่มเติมตามคำของของ   กรมหลวงพิชิตปรีชากร

                ลักษณะการเช่นนี้   เมื่อเกิดสงครามระหว่างไทยกับฝรั่งเศส   ตามชายแดนมณฑลลาวกาว ด้านตะวันออกในต้นปี  พ.ศ.๒๔๓๖  ที่เรียกว่า “  วิกฤตกาล ร.ศ.๑๑๒ ”  กองทหารของกรมหลวงพิชิตปรีชากร  จึงไม่สามารถป้องกันชายแดนได้ดีเท่าที่ควรไพร่พื้นเมืองที่เกณฑ์มาเป็นทหารขาดประสิทธิภาพในการรบ ประกอบกับขาดแคลนอาวุธอีกด้วย

                เมื่อเหตุการณ์รุนแรงขึ้น  ในต้นปี   พ.ศ.๒๔๓๖  รัฐบาลจึงได้ส่งกำลังกองทัพจาก กรุงเทพฯ     ขึ้นไปสนับสนุน กองทัพที่ทางกรุงเทพฯ  ส่งไปสนับสนุนในครั้งนั้นมีดังนี้

                ๑. พระยาศรีณรงค์วิไชย  (นิล)  เป็นแม่ทัพคุมทหารออกไปอุบลราชธานี กำหนดเดินทางใน   วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๖

                ๒. พระยาฤทธิเดชะ (แขก) และ หมื่นศรีบริรักษ์ คุมทหารออกไปเมืองอุบลราชธานี กำหนดเดินทาง ในวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖

                ๓. พระพิเรนทรเทพ ( สาย ) เป็นแม่ทัพยกไปเมืองอุบลราชธานี กำหนดออกเดินทาง ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๖

                ๔. พระฤทธิรงค์นรเฉท (สุข ชูโต)  คุมกองทัพไปตั้งที่ศรีโสภณ

                ๕. พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์   เสด็จออกไปเมืองนครราชสีมา    เพื่อเกณฑ์กำลังคนและเสบียงอาหารไว้ช่วยเหลือหัวเมืองลาวกาวและลาวพวน ฯลฯ

                อย่างไรก็ตาม แม้ฝ่ายไทยเราจะพยายามอย่างยิ่งที่จะป้องกัน  พระราชอาณาเขต ให้ปลอดภัย   จากการรุกรานของต่างชาติ  แต่เนื่องจากไทยเรามีกำลังน้อยและอาวุธยุทโธปกรณ์ไม่พร้อม จึงไม่สามารถต้านทานมหาอำนาจอย่างฝรั่งเศส ได้ในที่สุดไทยเราก็ยอมทำสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศส  เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ ซึ่งเป็นวันที่ทำให้ไทยต้องยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส และมีข้อเสียเปรียบหลายประการ

                การจัดการทางทหารในสมัยที่ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ภายหลัง   วิกฤตกาล ร.ศ.๑๑๒  แล้วรัฐบาลไทยก็ได้มีการปรับปรุงการทหารของชาติเป็นการใหญ่  ตามความจริงแล้ว ความพยายามที่จะปรับปรุงการทหาร  ได้เริ่มมาแล้วตั้งแต่ก่อนการประกาศตั้งกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่  ๑  เมษายน  พ.ศ.๒๔๓๕    แต่หลังจากตั้งกระทรวงกลาโหมขึ้นแล้วก็เกิดแนวความคิดที่จะปรับปรุงการทหารหัวเมืองขึ้นอย่างแท้จริง  ดังจะเห็นได้แนวพระราชดำริของ   สมเด็จเจ้า

ฟ้ากรมพระภานุพันธุวงศ์วรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ  เกี่ยวกับการปรับปรุงการทหารในมณฑลและหัวเมืองต่างๆ  เพื่อให้เหมาะสมกับการสมัยที่ได้กราบบังคมทูล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   เมื่อวันที่  ๒๒  พฤศจิกายน    ร.ศ.๑๑๑   (พ.ศ.๒๔๓๕)   นั้น จะมีข้อความเกี่ยวกับการจัดการทหารในมณฑลลาวกาว  ไว้ด้วยว่า

                “ - - - - - - - เมืองนครจำปาศักดิ์กับทั้งเขตลาวกาว  จะมี  พลทหาร  ๒๐๐  คน เวลานี้กองทหาร     ยังยุ่งทับถมซับซ้อนกันอยู่มากคือทหารเก่าที่ไปเมืองอุบลแต่เดิมบ้างทหารที่ไปกับพระยาอำมาตย์บ้างทหารใหม่ที่ไปกับ   กรมหลวงพิชิต    บ้างจะต้องจัดให้ลงอัตราและแยกย้ายไปรักษาราชการคิดทั้งเมืองอุบลในเขตลาวกาว ด้วยจึงรวมกันเป็น ๒๐๐ คน เป็นกำหนด - - - - - ”

                ซึ่งต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ก็ได้ทรงมีพระราชกระแสเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “ - - - - - ให้เธอปรึกษากรมหมื่นดำรงราชานุภาพ   ในการทหารที่จะใช้ในหัวเมืองมหาดไทยชั้นในเสียก่อน    แต่คงจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากความคิดนี้มากนัก อนุญาตให้เธอจัดการที่ว่านั้น - - -   ”    

                หลังจากนั้น  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระภานุพันธุวงศ์วรเดช   ก็ได้ทำรายงานกราบบังคมทูลเกี่ยวกับ เรื่อง  การจัดทหารในหัวเมืองอีกครั้งหนึ่ง  ในวันที่  ๒  กุมภาพันธ์  ร.ศ.๑๑๑   ซึ่งพร้อมกันนี้ก็ได้กำหนดจำนวนทหารที่จำเป็นต้องมีในมณฑลหัวเมืองต่างๆในปี ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)ไว้ด้วยเช่น เขตกรุงเก่า ให้มีนายทหารและพลทหารรวมกัน  ๒๔๐  นาย   มณฑลลาวพวน  มีนายทหาร และพลทหารรวมกัน  ๒๔๕  นาย  สำหรับกองทหารประจำเมืองอุบลราชธานี ที่เรียกว่า “  กองทหารไปราชการประจำเมืองประเทศราชประจำเขตร์ที่ ๑๐ ลาวกาว  ”  นั้น มีจำนวนนายทหารและพลทหาร  ดังนี้

                        นายพันตรี            เป็นผู้บังคับการ       ๑  นาย

                        นายร้อยเอก                                    ๒  นาย

                        นายร้อยโท                                      ๔  นาย

                        นายร้อยตรี                                      ๓  นาย

                        จ่า                                                ๓  นาย

                        นายสิบเอก                                      ๖  นาย

                        นายสิบโท                                       ๕  นาย

                        นายสิบตรี                                       ๑๖ นาย

                        เสมียนพนักงาน                                ๒  นาย

                        ช่าง                                               ๑ นาย

                        พลแตร                                          ๒  นาย

                        พลทหาร                                        ๒๐๐  นาย

                        รวมทั้งสิ้น                                       ๒๔๕  นาย

                อย่างไรก็ดี ในช่วงปี ร.ศ.๑๑๒ นี้แม้ว่า  กรมยุทธนาธิการ จะมีแนวความคิดที่จะปรับปรุงกิจการทหารในมณฑลลาวกาว ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยถูกต้องตามแบบแผน แต่ก็ไม่บรรลุผลสำเร็จในทางปฏิบัตินักทั้งนี้ก็เพราะเกิดวิกฤตกาล ร.ศ.๑๑๒ อันเป็นผลทำให้ความพยายามที่จะปรับปรุงกิจการทหารในมณฑลลาวกาว  ต้องชะงักไป


                หลังจาก   วิกฤตกาล ร.ศ.๑๑๒  แล้ว  พระบรมราโชบายเกี่ยวกับการปรับปรุงกิจการทหาร

หัวเมืองในมณฑลต่างๆ ก็ปรากฏชัดเจนขึ้นอีก ดังจะเห็นได้จากพระราชหัตถเลขาที่มีไปถึง  กรมหลวงดำรงราชานุภาพ   และ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัติวงศ์   เกี่ยวกับการจัดการทหารในหัวเมือง  เมื่อ ๒๘ มกราคม ร.ศ.๑๑๔ ดังมีข้อความบางตอนว่า

                “ - - - - ด้วยอาไศรยเหตุผลในราชการซึ่งเกี่ยวข้อง   ต่อต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปครั้งนี้ เห็นว่าสมควรที่จะจัดการรักษาพระราชอาณาเขต บอกกำหนดน้ำตกเจ้าพระยา     ด้วยกำลังทหารเป็นสมควรเพื่อจะได้ป้องกันความไม่พอใจของคนบางเหล่า   เห็นว่ากองทหารใน   มณฑลนครราชสีห์มา  ควรจะตั้งขึ้นก่อน  ถ้าจัดใน มณฑลปราจิณและ  มณฑลพิศณุโลกย์ ได้ด้วยยิ่งดี แต่ไม่สมควรที่จะให้กองใหญ่ออกไป ตั้งอยู่ใกล้ยี่สิบกิโลเมเตอร์ให้ตั้งอยู่ในมณฑลฤาหัวเมืองที่สมควร  ถ้ามีทหารพวกหนึ่งพวกใดถืออาวุธล่วงหน้าเข้ามาใน       พระราชอาณาเขตรต้องให้ต่อสู้    ถ้าไม่ต่อสู้จะเป็นว่าเมืองเราหามีกำลังที่จะรักษาบ้านเมือง    การอันนี้เห็นว่าถึงเวลาที่ควรจะจัดได้แล้วแต่อย่าให้เป็นตึงตังเฉพาะเรื่องให้เป็นการจัดบ้านเมืองตามปกติเพื่อป้องกันการซึ่ง        จะก่อเหตุได้ง่าย - - - ”

                จากพระราชหัตถเลขาดังกล่าว   พอที่จะเห็นได้ว่าแม้จะมีพระราชประสงค์   จะให้ปรับปรุงการทหารหัวเมืองในมณฑลต่างๆให้มีความพร้อมที่จะป้องกันประเทศชาติได้  แต่ก็ไม่ได้มีพระราชประสงค์      ที่จะจัดการปรับปรุง กองทหารในมณฑลลาวกาวที่เมืองอุบลราชธานี  เลยทั้งนี้ก็คงจะเป็นเพราะทรงเกรงว่าจะเป็นการละเมิดสัญญาที่ไทยทำไว้กับฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม  พ.ศ. ๒๔๓๖ ที่ไม่ให้ไทยจัดตั้งกองทหารใน บริเวณ  ๒๕  กิโลเมตร     จากชายแดนหรือแม้จะไม่เป็นการละเมิดสัญญาโดยตรง    แต่ก็จะเป็นการสร้างความระแวงให้แก่ฝรั่งเศสได้

                อย่างไรก็ดี กว่าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ จะได้กราบถวายความเห็นเกี่ยวกับการจัดการทหารในหัวเมืองต่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ก็เป็นเวลาล่วงเลยมาปีเศษ   คือได้นำรายงานความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว  กราบถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์

ร.ศ. ๑๑๕  (พ.ศ.๒๔๓๙)  ในรายงานความเห็นเกี่ยวกับ    การจัดการทหารหัวเมืองดังกล่าว   นอกจากจะกล่าวถึงวิธีการจัดการทหารในมณฑลนครราชสีมา  มณฑลปราจีน  และมณฑลพิษณุโลก   อย่างละเอียดทั้งในด้านวิธีการ  จัดและอัตรากำลัง   การเกณฑ์คนเข้ารับราชการทหารกำหนดเวลาในการเข้ารับราชการทหาร   และกำหนดจำนวนพลทหารในท้องที่มณฑลดังกล่าว  แล้วยังได้เสนอพระดำริเกี่ยวกับการจัดการทหารในมณฑลลาวกาวไว้ด้วยว่า

                “ - - - - มณฑลลาวกาวในทุกวันนี้มีทหารนครราชสีห์มา  ประจำอยู่ ๔๐๐ คน คนพวกนี้ซึ่งพระยาประสิทธิศัลการ ขอให้ส่งกลับนครราชสีห์มา  เป็นการจำเป็นที่จะต้องส่งกลับเพื่อเป็นทางบำรุงน้ำใจทหาร       ที่จะจัดขึ้นใหม่ในมณฑลนครราชสีห์มาและคนพวกนี้สมควรที่จะกลับเพราะต้องไปประจำอยู่   ไม่มีการผลัดเปลี่ยนถึงสามปีแล้วส่วนในมณฑลลาวกาวต่อไปนั้นควรจัดเป็นโปลิศเสียเหมือนกับใช้คนใน มณฑลนั้นเอง   การนี้เกือบจะเป็นการแน่ใจว่า ทำได้เป็นแท้เพราะได้ทราบจาก พระศรีณรงค์วิไชยว่าลาวพื้นเมืองนั้น  ได้เก็บฝึกหัด เป็นทหารไว้โดยเรียบร้อยแล้ว  และ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์  ได้ทรงพระดำริห์ที่จะใช้   วิธีเกณฑ์คนเข้ารับราชการให้ทั่วมณฑลด้วยกฎหมายสำหรับการนั้นก็ได้ทรงยกร่างแล้วเมื่อคนเมืองนครราชสีห์ มาออกไปรับราชการ จึงได้ปล่อยทหารลาวที่รับราชการอยู่นั้นให้ไปทำมาหากิน เพราะเหตุดังนี้จึงเป็นที่หวังว่าเป็นไปตามที่คาดหมายจะได้ทูลหาฤาด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ต่อไป - - - - ”


                จากพระราชดำริที่ยกมากล่าวอ้างนี้จะเห็นได้ว่า แม้ว่าผู้รับผิดชอบในการจัดการทหารทุกท่านจะเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ในการจัดการทหารในมณฑลอีสาน  แต่ก็ด้วยเหตุผลในทางการเมืองระหว่างประเทศ    และสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ร.ศ.๑๑๒ นั้นเองที่เป็นผลให้การจัดการทหารในมณฑลอีสานที่ประจำอยู่เมืองอุบลราชธานี ไม่ได้รับการทำนุบำรุงให้เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร เพราะถ้าหากมีการเคลื่อนไหวในการปรับปรุงกิจการทหารมณฑลอีสานที่เมืองอุบลราชธานี แล้วก็คงจะเป็นผลให้สัมพันธภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศส  ซึ่งไม่ค่อยจะดีอยู่แล้วต้องเลวร้ายลงไปอีก

                ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง  กองทหารมณฑลอีสาน ที่ประจำอยู่เมืองอุบลราชธานี จึงมีปริมาณไม่มากและประสิทธิภาพก็ไม่ค่อยจะดีนักดังจะเห็นได้ว่าอีก ๓ – ๔ ปี ต่อมาเมื่อเกิดกบฎผู้มีบุญหรือที่เรียกว่าผีบาปผีบุญ   เมื่อปลายปี   พ.ศ. ๒๔๔๔  ถึงต้นปี   พ.ศ.  ๒๔๔๕ นั้น  จำเป็นต้องใช้และอาวุธยุทโธปกรณ์ ในการปราบปรามพอสมควร แต่ทหารในมณฑลอีสานที่เรียกว่า มณฑลทหารราบที่ ๖ นั้น ก็มีจำนวนไม่มากพอคือ  มีทหารที่ไปจากกรุงเทพฯประจำอยู่  ๒๐๐ คน รวมกับทหารพื้นเมืองอีกจำนวนหนึ่งแต่รวมทั้งหมดก็ไม่ถึง ๕๐๐ คนนอกจากมีจำนวนน้อยแล้วประสิทธิภาพ   ของทหารเหล่านั้นไม่ค่อยจะดีนักประกอบกับการขาดแคลนอาวุธยุทโธปกรณ์     กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์   จึงจำเป็นต้องขอกำลังทหารจากเมืองนครราชสีมา  มาช่วยปราบปราม

                หลังจาก   การปราบปรามกบฏผีบุญเสร็จสิ้นลง    ไปแล้วแนวความคิดจะจัดการปรับปรุง

กิจการทหารในมณฑลอีสานก็ปรากฏชัดเจนขึ้นอีกโดยพันโทหลวงสุรศักดิ์ประสิทธิ์   ผู้บังคับการมณฑลทหารราบที่  ๖  มณฑลอีสาน  ซึ่งตั้งประจำอยู่เมืองอุบลราชธานี  ก็ได้ทำรายงานเกี่ยวกับกิจการทหารของมณฑลพร้อมทั้งสรุปข้อบกพร่องปัญหาอุปสรรคต่างๆ  เสนอต่อ  กรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช   ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ   

เมื่อ  ๒๒   มีนาคม    ๒๔๔๕   มีใจความสำคัญพอสรุปได้ว่า

                ๑. นายสิบ    และพลทหารบางส่วนเป็นคนที่ไปจากกรุงเทพ ฯ  และ  นครราชสีมานั้นเรียกร้องที่จะกลับภูมิลำเนาเดิม  เพราะได้อยู่รับราชการนานกว่า  ๑๐ ปีแล้ว

                ๒. ปริมาณของทหารมีไม่เพียงพอ  แก่ความต้องการ เพราะคนที่จะได้รับการคัดเลือกเข้ารับราชการทหารในมณฑลอีสานนั้นมี ๓ ประเภท  คือคนที่ลักลอบเล่นการพนัน คนที่ไม่มีเงินเสียส่วย

และคนที่มีใจสมัครและบุคคล  ๓ จำพวกนี้ ก็คัดเลือกเอาแต่ชายฉกรรจ์ ดังนั้นในแต่ละปีจึงได้จำนวนทหารเพียงเล็กน้อยเช่นในปี พ.ศ.๒๔๔๔ ได้เพียง ๑๔๔ คนและ ในปี พ.ศ.๒๔๔๕ ก็ได้เพียง ๑๕๔ คนเท่านั้น

                เมื่อกรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช ได้รับรายงานดังกล่าวแล้วจึงมีพระดำริว่า ควรที่จะจัดการปรับปรุงกิจการทหารในมณฑลอีสานเป็นอย่างยิ่ง   และทรงเห็นว่าเรื่องการทหารในมณฑลอีสานนี้จะทิ้งเนิ่นช้าไปไม่ได้   คงเป็นที่เสื่อมเสียทางราชการเป็นแน่แท้    และถ้าจะทิ้งให้เป็นเช่นเป็นอยู่คงจะไม่สู้มีประโยชน์อันใด

                อย่างไรก็ดี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบเรื่องดังกล่าวแล้วก็ทรงมีพระราชดำริว่า  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการปรับปรุงกิจการทหารในมณฑลอีสาน   แต่การจัดนี้ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะเป็นมณฑลปลายพระราชอาณาเขต    และติดต่อกับดินแดนของฝรั่งเศส   อาจเกิดเรื่องราวใหญ่โตขึ้นอีก ดังพระราชหัตถเลขาที่มีไปถึง กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ตอนที่หนึ่งว่า

                “ - - -  เรื่องทหารในมณฑลอีสานนี้ ที่ไม่มีไม่ได้เป็นแน่แล้ว เพราะเหตุผลว่าจำเป็นที่จะต้องใช้

มีกระร่องกระแร่งก็ไม่ได้เพราะล่อแหลม    จัดตึงตังนักก็ไม่ได้จะเป็นที่สะดุ้งสะเทือน   ทั้งคนในเมืองและนอกเมืองขอให้เธอพิจารณาเลียบเลียงดูกับการที่จะจัดในมณฑลพายัพแลหารือดูกับกรมขุนสรรพสิทธิ์ แต่ต้องชี้แจงความจำเป็นให้เข้าใจ   บางที่อยู่ในท้องที่จะเห็นที่ซึ่งจะแก้ไขปลอดโปร่งไปอย่างไรได้บ้าง -  - - - ”


                กรมหลวงดำรงราชานุภาพ  เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยก็ทรงเห็นด้วยกับแนวพระราชดำริ

เป็นอย่างยิ่ง  พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลที่สำคัญที่จำเป็นจะต้อง    มีการจัดการทหารในมณฑลอีสานไว้ด้วยว่า

                ประการแรกมณฑลอีสานเป็นมณฑลปลายพระราชอาณาเขต มีความจำเป็นที่จะป้องกัน

พระราชอาณาเขตด้วยกำลังทหาร หรือแม้ว่าจะไม่กล่าวถึงศัตรูภายนอก แต่ก็จำเป็นต้องมีไว้เพื่อปราบปรามความวุ่นวายภายใน เช่น กรณีเกิดกบฎผู้มีบุญ เป็นต้น

                ประการที่สอง แม้ว่าการจัดการทหารในมณฑลอีสานจะมีข้อบกพร่องอยู่มาก แต่ก็ได้ชื่อว่า

มีกองทหารตั้งอยู่แล้ว หากมีการยุบเลิกเวลาจะจัดตั้งขึ้นใหม่ก็คงก่อให้เกิดความขัดแย้งกับฝรั่งเศสที่จะกล่าวหาว่า เราตระเตรียมกำลังกองทัพเพื่อจะรบกับเขา

                สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ    ในการจัดการทหารในท้องที่มณฑลอีสาน เช่นจำนวนทหารไม่เพียงพอ  คนที่ได้รับเลือกเข้ามารับราชการทหารเป็นคนไม่มีประสิทธิภาพนั้น   กรมหลวง

ดำรงราชานุภาพได้เสนอว่าควรแก้ไขโดยวิธีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารที่โปรดเกล้าฯ ให้ร่างขึ้นเพื่อทดลองประกาศใช้ในมณฑลนครราชสีมา มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลพิษณุโลก  แต่เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดจากฝ่ายฝรั่งเศส   ก็ใช้วิธีเกณฑ์เอาเพียงเล็กน้อย   เพื่อทดแทนทหารที่กลับเมืองนครราชสีมา  ก่อนแล้วเกณฑ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อฝึกหัดได้ผลแล้วปลดเป็นกองหนุนผลัดเปลี่ยนกันไป

                แม้ว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงเห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าว แต่ก็ทรงมี

พระราชกระแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว “  ต้องให้เข้าใจว่าอย่าให้เป็นพระราชบัญญัติ   โด่งดัง ซึ่งฝรั่งเศส    จะถือเป็นเรื่องใหญ่ ”

                หลังจากนั้นแล้ว กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ก็ได้สรุปแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  แนวดำริของกรมหมื่นนครไชยศรีสุรเดช  ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ และความเห็น    นายพันโทหลวงสุรศักดิ์ประสิทธิ์ พร้อมทั้งความเห็นประกอบของ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ส่งให้  กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์และพร้อมกันนั้นก็ได้ส่งร่าง พระบรมราชโองการเกี่ยวกับ การปรับปรุงการทหารในมณฑลอีสาน    ไปให้ทรงทราบด้วยแต่ในร่าง พระบรมราชโองการ ฯ นี้ยังไม่ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหารโดยแท้จริง แต่เป็นการประกาศรับจ้างผู้ที่จะสมัครเข้ารับราชการทหารโดยกำหนดเอาชายฉกรรจ์ ที่มีอายุระหว่าง  ๑๘ - ๒๕ ปี ให้ค่าจ้างเดือนละ ๑๑ บาท และมีการให้ข้อยกเว้นต่างๆ เป็นพิเศษอีกด้วย

                กรมขุนสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอีสาน ได้ทรงมีความเห็นเกี่ยวกับการจัดการทหารในมณฑลอีสานไว้ ดังมีข้อความพอสรุปได้ว่า

                ๑. การที่ทหารที่มาจากนครราชสีมาเรียกร้องจะกลับนั้นก็มีอยู่บ้าง แต่ส่วนมากก็เป็นที่เกียจคร้าน ไม่ประสงค์ที่จะปฏิบัติราชการต่อไป

                ๒. การประกาศ ใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารในท้องที่ มณฑลอีสานคงทำได้ลำบากเพราะการจัดทำทะเบียน  เลิก ไพร่ ไม่เป็นที่เรียบร้อย

                ๓. ความบกพร่องของผู้บังคับบัญชา  ก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้การทหารในมณฑลอีสาน

ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรดังที่ว่า - - - - “ ส่วนผู้บังคับบัญชาเหล่านั้น ก็เปื่อยเกือบไม่เป็นภาษาคนเอาจริงๆ ”

                ๔. การที่จะจ้างคนเข้าเป็นทหาร เดือนละ  ๑๑  บาท ต่อคนนั้นทางมณฑลไม่สามารถที่จะจัดทำได้เพราะเก็บภาษีได้น้อยมาก

                ๕. การจัดหาคนเข้าเป็นทหารนั้น คิดว่าจะลองให้เที่ยวว่าจ้างเอามาอย่างตำรวจภูธร เพราะได้ไม่ยากเลย


                แม้ว่าผู้รับผิดชอบในการจัดการทหาร ในมณฑลอีสานทั้งหมดจะเห็นพ้องต้องกันว่าจำเป็น

อย่างยิ่งที่จะปรับปรุงการทหารในมณฑลอีสานให้เป็นที่เรียบร้อย มั่นคงและมีประสิทธิภาพแต่ก็ไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติเลย   เพราะหลังปี   พ.ศ. ๒๔๔๕   แล้วรัฐบาลได้ยกฐานะกองทหารที่ประจำอยู่มณฑลต่าง ๆ  ขึ้นเป็นกรมบัญชาการทหารบกเป็นจำนวนมาก   เช่น มณฑลกรุงเทพ ฯ   มณฑลนครราชสีมา   มณฑลนครสวรรค์  มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีน  เป็นต้นแต่กิจการทหารในมณฑลอีสานก็ไม่ได้ปรับปรุงให้เจริญก้าวหน้าแต่ประการใดเพียงแต่ให้รวมการบังคับบัญชาไว้กับกรมบัญชาการทหารบกที่มณฑลนครราชสีมา  โดยไม่ได้แยกจัดตั้งเป็น   กรมเอกเทศตลอดรัชสมัย   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทั้งนี้คงเป็นเพราะเหตุผลสำคัญที่ปรากฏในพระราช ดำริที่ว่า - -  “ ล่อแหลมจัดตึงตังนักก็ไม่ได้จะเป็นที่สะดุ้งสะเทือนคนทั้งในเมืองและนอกเมือง - -  ” ดังที่ได้บอกกล่าวอ้างแล้วนั่นเอง

                สำหรับ การประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารก็เช่นกัน แม้จะมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะทหารเป็น การทดลองในมณฑลนครราชสีมา  มณฑลพิษณุโลก   มณฑลนครสวรรค์

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลดี  และสองปีต่อมาก็ได้มีการประกาศใช้  พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร ร.ศ.๑๒๔ ( พ.ศ. ๒๔๔๘ )  เมื่อวันที่  ๒๙ สิงหาคม  ๒๔๔๘ ก็ได้ประกาศใช้บังคับในท้องที่สี่มณฑล   คือ   มณฑลนครราชสีมา   มณฑลพิษณุโลก   มณฑลนครสวรรค์    และมณฑลราชบุรีเท่านั้นต่อมา  ปี  พ.ศ. ๒๔๔๙ ก็มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะ  เกณฑ์ทหารบังคับเพิ่มเติมในท้องที่มณฑลกรุงเก่า และมณฑลนครไชยศรี ส่วนในมณฑลอีสานนั้นหา   ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารไม่  จนตลอดรัชสมัยของพระองค์     ทั้งนี้ก็คงเป็นเพราะแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารในมณฑลอีสานว่า  “ - - - - ต้องให้เข้าใจว่าอย่าให้เป็นพระราชบัญญัติโด่งดัง ซึ่งฝรั่งเศสจะถือเป็นเรื่องใหญ่ - - - ” ที่ได้ยกกล่าวอ้างไว้แล้วนั้นเอง

                ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ พอสรุปได้ว่าการจัดการทหารใน  มณฑลอีสานในสมัยที่พระเจ้า

บรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ทรงเป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลอีสานนี้ไม่บังเกิดผลสำเร็จในทางปฏิบัติมากนัก     แม้ผู้รับผิดชอบในการจัดการทหารทุกท่านจะพยายามที่จะจัดให้เป็นผลสำเร็จให้ได้ ซึ่งทั้งนี้คงเป็นเพราะปัญหาทางการเมืองเป็นสำคัญ เพราะหลังวิกฤตกาล ร.ศ.๑๑๒ นั้น ไทยได้รับบทเรียนที่มีราคาแพงมาก การที่ฝ่ายเราคิดจะทำอะไรลงไปจึงจำเป็นต้องพิจารณาให้จงหนัก เพราะถ้าหากเกิดพลาดพลั้งขึ้นอีกก็จะเป็นผลแก่ประเทศชาติอย่างมาก

                เมื่อการจัดการทหาร   ในมณฑลอีสานมีปัญหาและอุปสรรคนานับประการโดยเฉพาะปัญหาทางด้านการเมืองระหว่างประเทศกับฝ่ายฝรั่งเศสเช่นนี้ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์  ข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์       และกรมหลวงดำรงราชนุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย   จึงพยายามหาทางหลีกเลี่ยงเท่าที่จะทำได้ ซึ่งในที่สุดก็เห็นพ้องต้องกันว่า   ควรจะจัดการปรับปรุงกิจการตำรวจ ซึ่งต่อมาก็ได้มีการประกาศใช้   “  ข้อบังคับการเรียกคนเข้ารับราชการเป็นตำรวจภูธร  ”  แทนการเกณฑ์ทหารในมณฑลอีสานเมื่อวันที่  ๑๕   กุมภาพันธ์   ๑๒๖   ซึ่งเป็นผลให้กิจการตำรวจใน  มณฑลอีสานก้าวหน้าขึ้นพอสมควร และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความสงบเรียบร้อย   และปราบปรามโจรผู้ร้ายได้ดียิ่งขึ้น

                หลังจากที่  พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์  ได้เสด็จกลับกรุงเทพ

มหานคร เพื่อทรงรับตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง  เมื่อต้นเดือน พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๓ แล้วอีกไม่กี่เดือนต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต เมื่อ๒๓ ตุลาคม ๒๔๕๓ พระราชโอรสได้ครอบครองราชสมบัติต่อมา ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นรัชกาลที่ ๖  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


                การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ  ในรัชสมัยของ   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เกี่ยวกับ  มณฑลอีสานก็คือ  ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า   ให้แยกมณฑลอีสานออกเป็นมณฑลอุบลราชธานี  และมณฑลร้อยเอ็ด เมื่อวันที่  ๙ เมษายน ร.ศ.๑๓๑  (พ.ศ. ๒๔๔๕ ) โดยกำหนดให้เมืองอุบลราชธานี  เมืองขุขันธ์  เมืองสุรินทร์ รวมอยู่ในมณฑลอุบลราชธานี  ส่วนเมืองร้อยเอ็ด    เมืองมหาสารคาม และเมืองกาฬสินธุ์  รวมเป็นมณฑลร้อยเอ็ด  ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลที่ว่ามณฑลอีสานเป็นมณฑลที่มี  พื้นที่กว้างขวางและมีจำนวนพลเมืองมากกว่ามณฑลอื่นๆ จึงเป็นการยากที่จะจัดการปกครองให้ทั่วถึงโดยเรียบร้อยเช่นมณฑลอื่นๆ ได้

                ในด้านกิจการทหารนั้น ก็ได้เปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน คือกรมทหารราบที่ ๖ มณฑลอีสานแต่เดิมไปเปลี่ยนมาเป็น   กรมทหารราบที่  ๑๐ ในปลายรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว นั้นก็ได้เปลี่ยนสภาพเป็นกองพลที่ ๑๐  ซึ่งเป็นกองพลอิสระ  ไม่ต้องขึ้นกับกรมบัญชาการทหารบกที่มณฑลนครราชสีมา และมีผู้บัญชาการกองพลเป็นผู้บังคับบัญชาเช่นเดียวกับมณฑลอื่นๆ

                สำหรับการเกณฑ์ทหารในมณฑลอุบลราชธานี   นั้นเพื่อที่จะให้การจัดการทหารในมณฑลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับมณฑลอื่น ๆ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารในมณฑลอุบลราชธานี  พร้อม  กับมณฑลอุดร   ร้อยเอ็ด    และพายัพ    เมื่อวันที่   ๑๘   กันยายน   พ.ศ. ๒๔๕๘   โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  ๑ เมษายน    พ.ศ. ๒๔๕๘   เป็นต้นไปก็เป็นอันว่าการเกณฑ์ทหาร  ในท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี   ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในปี   พ.ศ. ๒๔๕๘    และต่อมารัฐบาลก็สามารถประกาศ   ใช้พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารได้ครบทุกมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร  ในปี พ.ศ.๒๔๕๙

                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว    มณฑลอุบลราชธานี ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งคือ   มีการยุบมณฑลอุบลราชธานี ขึ้นไปรวมกับมณฑลนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๘  ในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการทหาร  นั้นก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือในเดือน เมษายน พ.ศ.๒๔๘๐ ( นับเป็นเดือนแรกของปีในช่วงเวลานั้น ) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงกิจการทหารในมณฑลต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะทางเศรษฐกิจที่ตกต่ำและงบประมาณที่  กระทรวงกลาโหมได้รับ  จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ  ให้ยุบ กองบัญชาการกองพลทหารบกที่ ๑๐  ประจำมณฑลอุบลราชธานี  และให้ไปรวมกับ กองบัญชาการ กองพลทหารบกที่  ๕   ที่มณฑลนครราชสีมา  และพร้อมกันนั้นก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้าย พลตรีพระยาประเสริฐสงคราม ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๑๐ ไปเป็น ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๕ ที่เมืองนครราชสีมา ด้วย

                พร้อมกันนั้นก็ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนฐานะของ กองพลที่๑๐ ที่จังหวัดอุบลราชธานี ลงเป็น “กองบังคับการกองพันที่ ๓ ” และในปลายปี  พ.ศ.๒๔๗๐  ก็ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ  ให้ย้าย   นายพันโท

พระศรีพิไชยบริบูรณ์  ( เหมือน  อินทรกำแหง ) ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ ๙ มาเป็น ผู้บังคับกองพันที่  ๓   สังกัดกรมทหารราบที่ ๕ ที่จังหวัดอุบลราชธานี  อีกด้วย

                ในปี  พ.ศ.๒๔๗๑ ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่งคือได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยน   “  กองบังคับการกรมทหารราบที่  ๕ กองพลที่ ๕  ” ให้เป็น  “ กองบังคับการกรมทหารราบที่  ๕ กองพลที่  ๓ ”   แต่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ก็คงเป็นกองพันทหารราบที่ ๓ เช่นเดิมแลใน ปี พ.ศ. ๒๔๗๑    นี้เองก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญประการหนึ่งของกิจการทหารที่จังหวัดอุบลราชธานี คือได้มีการย้ายที่ตั้ง  กองพันทหารราบที่  ๓   ที่ตั้งอยู่บริเวณทุ่งศรีเมือง ( บริเวณศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ในปัจจุบันนี้ )


ซึ่งเป็นที่ตั้งกองทหารมาแต่เดิมนั้นไปตั้งอยู่ที่เนินทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของที่ว่าการอำเภอวารินชำราบ   (ที่ตั้ง มทบ.๖ ในปัจจุบัน)  ทั้งนี้ก็เพราะบ้านเมืองเจริญขึ้นประชาชนพลเมืองเพิ่มมากขึ้น สถานที่ราชการก็มากขึ้น ที่ตั้งกองทหารเดิมจึงคับแคบ ไม่เพียงพอกับความจำเป็นที่จะต้องขยายกิจการทหาร    ให้กว้างขวางในอนาคตต่อมาในปี  พ.ศ.๒๔๗๒ กระทรวงกลาโหมก็ได้ย้าย  นายพันโท พระศรีพิไชยบริบุรณ์  ผู้บังคับการกองพันที่ ๓   กรมทหารราบที่ ๕   (จังหวัดอุบลราชธานี) ไปเป็นสารวัตรใหญ่ทหาร

                ในที่สุดหลังจากนั้น กองบังคับการกองพันที่ ๓ ที่จังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้มีการยกฐานะขึ้นเป็น “ มณฑลทหารบกที่ ๖ ”  เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๓ จนถึงปัจจุบันนี้ในช่วงที่เป็น มณฑลทหารบกที่  ๖ นี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือในปี  พ.ศ.๒๕๐๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน

(รัชกาลที่ ๙ ) ได้ทรงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนาม ค่ายมณฑลทหารบกที่ ๖ ว่า “ ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ ” (อ่านว่า : ค่าย – สัน – พะ – สิด – ทิ – ประสงค์ ) ตามคำสั่ง กองทัพบก ( เฉพาะ )  ที่ ๑๒๗/๒๑  ลง  ๓ พ.ย.๒๑  อัตราเฉพาะกิจ (อฉก.)  หมายเลข  ๕๖๐๐

                ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๓ มณฑลทหารบกที่ ๖ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น “มณฑลทหารบกที่ ๒๒”  ตามคำสั่งกองทัพบก  (เฉพาะ) ที่ ๑๒/๓๓  ลง  ๑๖ ม.ค. ๓๓ ใช้อัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ หมายเลข ๕๑ - ๒๐๑ ลง  ๕ สิงหาคม ๒๕๓๑ ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

                ประวัติความเป็นมาของค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จัดตั้งขึ้น ณ ที่ตั้งปัจจุบันนี้ในปี พ.ศ. 2471

                    1. ปี 2431 สมัยสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการจัดตั้งกองทหารที่เมืองอุบลราชธานี และเมืองจำปาศักดิ์ มีกำลังพลประมาณ 600 นาย เรียกว่า มณฑลลาวกาว

                    ๒. ปี 2436 (รศ.112) พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ (ข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์) จัดตั้งกองทหารเพื่อป้องกันประเทศ บริเวณทุ่งศรีเมือง (ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี) ขึ้งตรงต่อ

มณฑลอิสาน

                   3. ปี 2445 แยกหน่วยออกจาก มณฑลอิสาน เป็น มณฑลอุบลราชธานี โดยมี เมืองสุรินทร์เมืองขุขันธ์ รวมอยู่ด้วย

                   ๔. ปี 2468  สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลง คือ ยุบ

มณฑลอุบลราชธานี ขึ้นไปรวมกับ มณฑลนครราชสีมา คงเหลือ   ทหารประจำ ณ เมืองอุบลราชธานี   คือ       กองพลที่ 10  และให้ยุบ กองบัญชาการกองพลที่ 10 ประจำมณฑลอุบลราชธานี     ไปรวมกับ กองบัญชาการกองพลทหารที่ 5 ที่ มณฑลนครราชสีมา

                   ๕.ปี 2470  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดกล้า ฯ ให้เปลี่ยนฐานะของ กองพลที่ 10 ที่เหลืออยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ลงเป็น   “ กองบังคับการกองพันที่ 3”  ขึ้นตรงต่อ กรมทหารราบที่ 5 โดยมี พันโท พระศรีพิไชยบริบูรณ์ (เหมือน อินทรคำแหง) เป็นผู้บังคับกองพัน

                   ๖.ปี 2471 กองบังคับการกองพันที่ 3 ได้ย้ายที่ตั้งจาก ทุ่งศรีเมือง (ศาลากลางจังหวัด อุบลราชธานีในปัจจุบัน) มาตั้ง ณ ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอวารินชำราบหรือรียกว่า “ค่ายทหารวาริน”

                   ๗.ปี 2493  กองบังคับการกองพันที่ 3 ได้ยกฐานะเป็น มณฑลทหารบกที่ 6

                   8.ปี 2507   พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลเดช ฯ ทรงพระราชทานนาม ค่าย

มณฑลทหารบกที่ 6 ว่า “ค่ายสรรพสิทธิประสงค์” เพื่อเป็นอนุสรแด่ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวง

สรรพสิทธิประสงค์

                   9. ปี 2533  ได้เปลี่ยนนามหน่วยจาก มณฑลทหารบกที่ 6 มาเป็น มณฑลทหารบกที่ 22 เพื่อให้สอดคล้องกับ แผนการจัดหน่วยของกองทัพบก ตาม อจย. 51 – 201 ลง 5 สิงหาคม 2531

กล่าวทั่วไป

ของค่ายสรรพสิทธิประสงค์ และ หน่วย มทบ.๒๒

                  จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดเก่าแก่มีประวัติความเป็นมาช้านาน จากหลักฐานทางโบราณคดี แสดงว่าเคยมีมนุษย์อยู่อาศัยมา ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ยุดแรกๆ คือ ประมาณ ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยดำรงชีวิตในรูปแบบของการล่าสัตว์แล้วพัฒนาขึ้นมาสู่สังคมเกษตรกรรมเมื่อ ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ ปี ที่ผ่านมาส่วนการตั้งชุมชนได้เริ่มมีในสมัยประวัติศาสตร์ราว พ.ศ. ๑๒ – ๑๔ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบทวาราวดี ควบคู่ไปกับแบบเขมรโบราณ

                  จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๒๒ ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พระเจ้าตากสินมหาราช) โดยประเทศลาวได้เกิดสงครามภายในเจ้าลาวบางคนได้หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พร้อมด้วยครอบครัว และผู้คนจำนวนหนึ่งทั้งนี้มาตั้งบ้านเมืองอยู่บริเวณริมแม่น้ำมูลที่เรียกว่า “ดงอู่ผึ้ง” สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดพระราชทานชื่อเมืองว่า “อุบลราชธานี” และโปรดเกล้าฯ ให้ท้าว คำผง เป็นเจ้าเมืองคนแรก มีบรรดาศักดิ์ เป็น “พระปทุมราชวงศา”

                  ในราว พ.ศ.๒๔๖๘ รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (ร.๕) แห่งราชวงศ์จักรี ได้แบ่งหัวเมืองในท้องที่ออกเป็นกองๆ แล้วรวมเอาหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา เข้าด้วยกัน เป็น มณฑล ดินแดนแถบอีสานตอนล่างนี้เรียกว่า “มณฑลลาวกาว” (ปัจจุบัน คือ จว.อ.บ.,ศ.ก.,ส.ร.,ย.ส.,ร.อ.,ม.ค. และ จว.ก.ส.) ในสมัยนั้นมีอุปราชและเจ้าผู้ปกครอง กิจการทหารได้จัดตั้งเป็นหน่วยกรมกองทหาร แต่ยังมิได้มีการเกณฑ์พลเมืองเข้ารับราชการอย่างสมัยนี้จะเกณฑ์ไพร่พลออกทำการรบก็ต่อเมื่อมีสงคราม เท่านั้นต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๑ ร.๕ ได้ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีสาส์นตราตั้งกองทหารขึ้นในท้องที่เป็นครั้งแรก โดยในส่วนของมณฑลลาวกาว ได้เลือกเอาเมืองอุบลราชธานี เป็นที่ตั้งกองทหาร ณ บ้านค่าย (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ที่ทำการไปรษณีย์ – โทรเลข อ.เมือง จว.อุบลราชธานี) สำหรับการเกณฑ์ทหารเข้ารับราชการ ทรงโปรดให้เอาลูกหลานทาส มาฝึกวิชาทหารครั้งละ ๒๕๐ คน/เมือง มีกรมหลวงพิชิตปรีชากร เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ครั้นเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๓๖ ได้เกิดกรณีพิพาทไทย – ฝรั่งเศส ขึ้นอันเป็นสงครามแย่งดินแดนที่เรียกว่า “วิกฤตกาล ร.ศ.๑๑๒” กรมหลวงพิชิตปรีชากร ได้ทำการต่อต้านอย่างเต็มที่ แต่ไม่สามารถรักษาดินแดนไว้ได้ ดังนั้นเมื่อวันที่ ๓ ต.ค.๒๔๓๖ ไทยจึงต้องยอมทำสัญญาสันติภาพกับฝรั่งเศส และยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อันได้แก่ เสียมราช,พระตะบอง,ศรีโสภณ ให้กับฝรั่งเศส ไปในช่วงนี้นับว่ากิจการทหารได้ทรุดโทรมลงไปมาก เป็นเหตุให้ ร.๕ ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะพื้นฟูกิจการทหารให้ก้าวหน้าขึ้น มาใหม่จึงได้มีประกาศพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มีตราราชสีใหญ่ ที่ ๒๑/๑๑๙๑๒ ลง วันที่ ๑๓ ต.ค.๒๔๓๖ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ (ในปี พ.ศ.๒๔๔๓ ได้พระราชทานยศเป็นพลตรี และปี พ.ศ.๒๔๕๕ ในสมัย ร.๖ ได้เป็นกรมหลวง)    เป็นข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์สำเร็จราชการ   มณฑลลาวกาวประทับ   ณเมืองอุบลราชธานี ด้วยทรงไว้วางพระราชหฤทัยและพระปรีชาสามารถ ทั้งนี้มีกองทหาร  ตามเสด็จเป็นกองเกียรติยศ  จำนวน ๔๐๐ คน มี  พ.ต.หลวงสรกิจพิศาน เป็นผู้บังคับการ ตั้งกองทหาร ณ บริเวณทุ่งศรีเมือง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี) ในครั้งนั้นกองทหารที่ตั้ง ณ บ้านค่าย ก็ได้ยกมารวม ณ ที่นี้ด้วยเนื่องจากบ้านค่ายมีบริเวณคับแคบ   ซึ่งพระเจ้าน้องยาเธอ  ได้ปกครองดูแลพัฒนากิจการทหารให้มีความเจริญ ก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมาก โดยประทับอยู่  ณ  เมืองอุบลราชธานี นานถึง  ๑๗ ปี  (พ.ศ.๒๔๓๖ – ๒๔๕๓)


                  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๗๑ ประชาชน  พลเมือง  เพิ่มมากขึ้นเคหะสถานที่ตั้งที่ราชการต่างๆ  หนาแน่นทางราชการทหารเห็นว่าจะตั้งอยู่ ณ บริเวณทุ่งศรีเมืองนั้น ไม่เหมาะสมที่จะขยายกิจการทหารให้ใหญ่โตขึ้น จึงได้ย้ายกรมกองทหารจากที่เดิมมาตั้ง  ณ บริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอวารินชำราบ   อันเป็นที่ตั้งของค่าย และหน่วยทหารต่างๆ ในปัจจุบัน

                  สำหรับนามค่ายนั้น  แต่เดิมไม่มีชื่อเรียกเป็นทางการคนทั่วๆ ไปรวมทั้งทหารเองเรียกกันว่า “ค่ายทหารวาริน”  จนกระทั่งในปี พ.ศ.๒๕๐๗  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน (ร.๙) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามค่ายว่า “ค่ายสรรพสิทธิประสงค์” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ “พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์” ที่ได้ทรงประกอบคุณงามความดี  อันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและมีความเกี่ยวพันในการก่อตั้งค่ายทหารแห่งนี้เป็นอย่างมากเป็นที่เคารพสักการะของบุคคลทั่วไปจนได้ร่วมใจกันทั้งข้าราชการ พลเรือน  ตำรวจ ทหาร ก่อสร้างอนุสาวรีย์ ของพระองค์ขึ้น  ประดิษฐาน ณ  ค่ายสรรพสิทธิประสงค์  อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

                  ปัจจุบันค่ายสรรพสิทธิประสงค์ มีพื้นที่รับผิดชอบคิดเป็นเนื้อที่ ทั้งสิ้น ๒๙,๔๓๘ ไร่ ๓ งาน ๑๔ตารางวา (เฉพาะภายในค่ายมีเนื้อที่ ๓,๕๐๐ ไร่ ๓ งาน ๖๒ ตารางวา) โดยเป็นที่ตั้งของหน่วยทหารต่างๆ รวม ๙ หน่วย คือ

                  ๑. มณฑลทหารบกที่ ๒๒ (มทบ.๒๒)

                  ๒. กรมทหารราบที่ ๖ (ร.๖)

                  ๓. ร.๖ พัน.๑

                  ๔. ร.๖ พัน.๒

                  ๕. ร.๖ พัน.๓

                  ๖. กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๖ (ป.พัน.๖)

                  ๗. กองร้อยทหารช่างสนามที่ ๑ กองพันทหารช่างที่ ๖

                  ๘. หมวดซ่อมบำรุงส่วนหน้าที่ ๒ กองสรรพาวุธเบากองพลทหารราบที่ ๖

                  ๙. กรมทหารพรานที่ ๒๓

                  สำหรับ มทบ.๒๒ นั้นแต่เดิมเรียกว่า มทบ.๖ ก่อตั้งมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๓ โดยมี พล.ต.แสร์   น้อยเศรษฐ์ เป็นผู้บัญชาการมณฑลคนแรก (ผบ.มทบ.๖) หลังจากนั้นก็มีผู้มาดำรงตำแหน่งเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น ๓๖  คน คนละ ๑ – ๕ ปี  ผู้ที่ดำรงตำแหน่ง  ผบ.มทบ.๖ นานที่สุดที่ผ่านมาคือ   พล.ต.ยงค์ รอดโพธิ์ทอง( มิ.ย.๒๕๐๘ – ๒๕๑๔)  รวม ๕  ปี  ๗ เดือน และ ผบ.มทบ.๒๒  คนปัจจุบันคือ  พล.ต.รณกร  ปานกุล  ( ก.ย.๒๕๖๑ – ปัจจุบัน) 

                  ปัจจุบัน มทบ.๒๒  มีเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวม ๒ จังหวัด คือ จว.อ.บ. และ จว.อ.จ. 

                  คำอธิบายเพิ่มเติม

                  ในปี  พ.ศ.๒๔๓๓ ดินแดนแถบอีสานตอนล่าง เรียกว่า  “มณฑลลาวกาว”  ตั้งกองทหารที่  จว.อ.บ.,แถบอีสานตอนบน  เรียกว่า  “มณฑลลาวพวน”  ตั้งกองทหารที่  จว.น.ค. และแถบเมืองหลวงพระบาง  เรียกว่า “มณฑลลาวบุงขาว”

                  การเรียกชื่อมณฑล

                      - พ.ศ. ๒๔๓๓ เรียกว่า “มณฑลลาวกาว”

                      - พ.ศ. ๒๔๓๘ เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น  “มณฑลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”

                      - พ.ศ. ๒๔๔๒ เปลี่ยนเป็น  “มณฑลอีสาน”

                      - พ.ศ. ๒๔๕๕ เปลี่ยนเป็น “มณฑลอุบลราชธานี” และ “มณฑลร้อยเอ็ด”


                  ประวัติกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (เพิ่มเติม)

                  พล.ต.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ (พระองค์เจ้าชาย ชุมพลสมโภช ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ ๓๗ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และ เป็นที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดา พึ่งประสูติเมื่อวันอังคารที่ ๒๙ ธ.ค.๒๔๐๐

                  - ปี พ.ศ.๒๔๒๘ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่น

                  - ปี พ.ศ.๒๔๔๓  เป็น กรมขุน และ

                  - ปี พ.ศ.๒๔๕๔ เป็น กรมหลวง (สมัย ร.๖)

                  - ปี พ.ศ. ๒๔๖๕  สิ้นพระชนม์ (พระชันษา ๖๕ ปี )


คำสั่งการจัดตั้งหน่วย

                       ๑. จัดตั้งหน่วยขึ้นตามคำสั่ง กองทัพบก (เฉพาะ)  ที่ 127/21  ลง  3 พ.ย.21

               ๒. อัตราเฉพาะกิจ (อฉก.) หมายเลข  5600

                        ๒.1 ภารกิจ

                                    ๒.1.1 บังคับบัญชาจังหวัดทหารบก

                             ๒.1.2 รักษาความสงบเรียบร้อย และระเบียบวินัยของทหาร

                             ๒.1.3 การระดมสรรพกำลัง

                             ๒.1.4 การสัสดี

                             ๒.1.5 การคดี

                             ๒.1.6 การศาลทหาร

                             ๒.1.7 การเรือนจำทหาร

                             ๒.1.8 การเกณฑ์พลเมืองอุดหนุนราชการทหารตามกฎหมาย

                             ๒.1.9 การสนับสนุนหน่วยทหารที่อยู่ในเขตพื้นที่

                             ๒.1.10 การปฏิบัติภารกิจทั้งปวงที่ได้รับมอบ

                             ๒.1.11 สั่งราชการแก่ทหารและหน่วยทหารที่อยู่ในเขตพื้นที่ ในกรณีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย

                        ๒.2 การแบ่งมอบ   : เป็นหน่วยขึ้นตรงของกองทัพภาคที่ 2

                        ๒.3 การแบ่งส่วนราชการและหน้าที่  

                             ๒.3.1 กองบัญชาการ มีหน้าที่กำหนดนโยบาย วางแผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับการ เกี่ยวกับกิจการภายในมณฑลทหารบก   การปฏิบัติการของหน่วยทหาร และจังหวัดทหารบกในพื้นที่รับผิดชอบตามที่ได้รับมอบ

                             ๒.3.2 กองร้อยบริการ มีหน้าที่ดำเนินการทางธุรการ    การเลี้ยงดู   การส่งกำลังการบริการ   การระวังป้องกันกองบัญชาการ การรักษาการณ์   การจัดกองเกียรติยศ ตลอดจนรับผิดชอบเกี่ยวกับสนามฝึกที่ได้รับมอบและสนามยิงปืน

                             ๒.3.3 กองร้อยสารวัตร มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการที่เกี่ยวกับการสารวัตร

                             ๒.3.4 ศาล มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

                             ๒.3.5 อัยการ มีหน้าที่รับผิดชอบในกิจการที่เกี่ยวกับการสอบสวน และดำเนินคดีอาญาทั้งปวงที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา

                  มณฑลทหารบกที่ 6 ได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น มณฑลทหารบกที่ 22 ตามอัตราการจัดยุทโธปกรณ์ หมายเลข 51 - 201  ลง 5 ส.ค.31 ซึ่งมีภารกิจการจัด รวมทั้งการแบ่งมอบการบังคับบัญชาดังนี้

                        1. ภารกิจ

                             1.1 บังคับบัญชาจังหวัดทหารบกและกำลังประจำถิ่นของกองทัพบก ตามที่กระทรวงกลาโหม กำหนด

                             1.2 รักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ รวมทั้งการศาลทหาร การคดี และการเรือนจำ

                             1.3 ดำเนินการระดมสรรพกำลังในเขตพื้นที่

                             1.4 สนับสนุนหน่วยทหารในเขตพื้นที่

                             1.5 ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การต่อสู้เบ็ดเสร็จ    เพื่อรักษาความสงบภายในและการป้องกันประเทศ

                        2. การแบ่งมอบ  : เป็นหน่วยในอัตราของกองทัพภาคที่ 2

                        3. ขีดความสามารถ

                             3.1 รักษาระเบียบวินัยและแบบธรรมเนียมของทหารภายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร และมีอำนาจสั่งการแก่หน่วยทหารในเขตพื้นที่ ในกรณีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายและตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด

                             3.2 ใช้อำนาจตามกฎหมายในการสั่งการแก่หน่วยทหาร     เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยให้กับบุคคลสำคัญ    สถานที่   และอสังหาริมทรัพย์ของทหารในเขตพื้นที่ รวมทั้งจัดการเฝ้ารักษาสถานที่ตั้งที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง

                             3.3 อำนวยการรักษาความปลอดภัยและสถานที่สำคัญทางทหารในเขตพื้นที่ ในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ การพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง การรักษาสถานที่และตำบลสำคัญในสถานการณ์ฉุกเฉิน การข่าวกรองและการต่อต้านการข่าวกรอง

                             3.4 ดำเนินการเกี่ยวกับ การศาลทหาร การคดี และการเรือนจำ

                             3.5 ดำเนินการระดมสรรพกำลังทางด้านกำลังพล การสัสดี การส่งกำลังบำรุง และการเกณฑ์ช่วยราชการทหาร

                             3.6 จัดการฝึกศึกษานักศึกษาวิชาทหาร

                             3.7 ดำเนินการกำลังพลในเรื่อง การจัดทำประวัติรับราชการ การดำเนินการเกี่ยวกับ บำเหน็จบำนาญ สนับสนุนหน่วยทหารในเขตพื้นที่

                             3.8 บำรุงขวัญทหารในเขตพื้นที่ด้วยการสวัสดิการ  และการบำรุงขวัญอื่น ๆ  เช่น  การร้านค้าการสหกรณ์   การสโมสรทหาร การสงเคราะห์ทางการเงิน   การออมทรัพย์    การสงเคราะห์ทางฌาปนกิจ   การพิธีทหาร  การกีฬา    การบันเทิง    การพักผ่อนหย่อนใจ กิจการสงเคราะห์ทหารผ่านศึก การอบรมจิตใจ และการบริการด้านการศึกษา

                             3.9 จัดการสนับสนุนการฝึก ให้กับหน่วยทหารในเขตพื้นที่    ในเรื่องเครื่องช่วยฝึก การบริการสนามฝึกและสนามยิงปืน

                             3.10 รักษาและควบคุมอสังหาริมทรัพย์ของทหารในเขตพื้นที่ รวมทั้งการเก็บผลประโยชน์จากสถานที่ หรืออสังหาริมทรัพย์เหล่านั้น

                             3.11 สนับสนุนทางการส่งกำลังให้แก่ตนเอง และหน่วยทหารในเขตพื้นที่ ตามที่หน่วยเหนือกำหนด เช่น

                                     3.11.1 การเคลื่อนย้ายและการขนส่งสิ่งอุปกรณ์

                                     3.11.2 การดำเนินการเกี่ยวกับที่ดิน   การก่อสร้าง    การซ่อมแซมตบแต่งอาคารสถานที่ การติดตั้งและซ่อมสิ่งอำนวยความสะดวก

                                     3.11.3 การรักษาพยาบาลและการส่งกลับกำลังทหาร รวมทั้งครอบครัวในเขตพื้นที่

                                     3.11.4 เป็นตำบลส่งกำลังของกองบัญชาการช่วยรบ หรือตามที่กองทัพบกกำหนด เพื่อทำหน้าที่เก็บรักษาแจกจ่ายและจำหน่ายสิ่งอุปกรณ์บางประเภท

                              3.12 จัดการเก็บรักษาและบริการแบบธรรมเนียมแก่หน่วยทหาร และแจกจ่ายแบบธรรมเนียมของกองทัพบกแก่หน่วยทหารในเขตพื้นที่

                             3.13 ดำเนินการบริหารการเงินราชการ   ทำการเบิกจ่าย   เก็บรักษา  จัดทำบัญชีเงินราชการให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และรวบรวม จัดทำบริหาร ควบคุมงบประมาณ ตลอดจนรายงานผลการใช้งบประมาณของหน่วยทหารในเขตพื้นที่ที่ต้องรับการสนับสนุนงบประมาณจาก มณฑลทหารบกที่ 22

                             3.14 การติดต่อสื่อสารระหว่างที่ตั้งหน่วยทหารในเขตพื้นที่

                             3.15 จัดการประชาสัมพันธ์    เพื่อประโยชน์ทางทหาร    ตลอดจนติดต่อกับหน่วยพลเรือนในเขตพื้นที่

                             3.16 กำกับดูแล ประสานงาน และดำเนินงานกิจการพลเรือนในเขตพื้นที่

                             3.17 ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การต่อสู้เบ็ดเสร็จในยามปกติ เช่น

                                     3.17.1 ทำหน้าที่เป็นกองบัญชาการ พลเรือน ตำรวจ ทหาร ควบคุมกองกำลังเพื่อการต่อสู้เบ็ดเสร็จ  เพื่อป้องกันและต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ รวมทั้งขบวนการก่อการร้ายทุกรูปแบบ

                                     3.17.2 จัดตั้งมวลชนในหมู่บ้านยุทธศาสตร์พัฒนา

                                     3.17.3 ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนา   โดยการพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมายในพื้นที่ยุทธศาสตร์พัฒนา เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น  ทำให้เกิดความรักและหวงแหนแผ่นดินเสียสละ และอาสาสมัครเข้าต่อสู้กับข้าศึกเมื่อมีภัยมาคุกคาม

                             3.18 ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การต่อสู้เบ็ดเสร็จในยามสงคราม เช่น

                                     3.18.1 ควบคุมบังคับบัญชากำลังประจำถิ่น  ทั้งที่อยู่ในความควบคุมของกองทัพบกโดยตรงและขึ้นควบคุม   ทางยุทธการต่อกองทัพบกได้แก่หน่วย   กองพันทหารราบเบา  กองพันทหารม้าเบา  ทหารพราน   ตำรวจตระเวนชายแดน   กองร้อยอาสาสมัคร   หน่วยปฏิบัติการพิเศษ   และกำลังกึ่งทหารอื่น ๆ รวมทั้งกำลังประชาชนในหมู่บ้านยุทธศาสตร์พัฒนา

                                     3.18.2 ควบคุมและอำนวยการกำลังประจำถิ่น  ในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ในเขตพื้นที่ รวมทั้งขบวนการก่อการร้ายทุกรูปแบบ

                                     3.18.3 ควบคุมบังคับบัญชากำลังประจำถิ่น  สนับสนุนการต่อสู้ของกำลังรบหลักในเรื่องการกำบัง  หรือการรั้งหน่วง    การป้องกันการแทรกซึม  การปฏิบัติสงครามกองโจร การระวังป้องกันพื้นที่ส่วนหลัง  การรักษาความสงบของท้องถิ่น  การรักษาความปลอดภัยต่อที่ตั้ง   และการควบคุมความเสียหายเป็นพื้นที่

                                     3.18.4 ควบคุมและอำนวยการกำลังประชาชนในหมู่บ้านยุทธศาสตร์พัฒนาให้ปฏิบัติการในเรื่อง การรวบรวมข่าวสาร  การแจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึก   การป้องกันการก่อวินาศกรรม และ การบ่อนทำลายของข้าศึก     เป็นแกนของประชาชนในเขตพื้นที่       การร่วมปฏิบัติการสงครามกองโจร การรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน รวมทั้งการป้องกันชายแดนในชั้นต้น

                             3.19 ปกครองบังคับบัญชาจังหวัดทหารบก   และกำลังประจำถิ่นของกองทัพบก ตามที่ได้รับการแบ่งมอบ

                        4. อัตรา เป็นจำนวนกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์    ที่กำหนดขึ้นไว้สำหรับให้หน่วยบรรจุและรับในยามปกติ และมีขีดความสามารถในการปฏิบัติการลดลง

                        5. ยุทโธปกรณ์

                             5.1 อัตราการจัดและยุทโธปกรณ์นี้ได้แสดงถึง จำนวนและชนิดของอาวุธยุทโธปกรณ์ ทั้งสิ้นที่จำเป็น ต้องใช้ในการปฏิบัติภารกิจของหน่วย ลำดับความเร่งด่วนในการแจกจ่ายและ/หรือ  การจ่ายสิ่งอุปกรณ์อื่นทดแทนยุทโธปกรณ์  ที่ระบุไว้ในอัตราจะได้สั่งการเป็นคราว ๆ ไปจำนวนยุทโธปกรณ์ที่อนุมัติไว้ในอัตรานี้อาจจะลดลงหรือตัดออกได้ตามกรณีที่จำเป็น

                             5.2 จำนวนและชนิดยุทโธปกรณ์ สรุปทั้งสิ้นของหน่วยนี้ที่จะได้ปรากฏอยู่ในตอนสรุปยอดยุทโธปกรณ์ของ  ตอนที่ 4   อัตรายุทโธปกรณ์ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะใช้จำนวนตามยอดยุทโธปกรณ์นี้เป็นมูลฐานในการจัดและแจกจ่ายอาวุธยุทโธปกรณ์

                                     5.2.1 รายการยุทโธปกรณ์ที่กำหนดไว้ในตอนสรุปยอดยุทโธปกรณ์นี้ กรมฝ่ายยุทธบริการของกองทัพบกเป็นผู้จัดหาให้

                                     5.2.2 การดำเนินการจัดหาทั้งสิ้นจะต้องเป็นไป  ตามลำดับความเร่งด่วนที่กองทัพบกกำหนดให้และจะต้องอยู่ภายในขีดจำกัดของแหล่งการจัดและงบประมาณที่มีอยู่

                             5.3 อัตราการแจกจ่ายอาภรณ์ภัณฑ์ ยุทธภัณฑ์ประจำกาย ชิ้นส่วนอะไหล่ อุปกรณ์ ส่วนประกอบต่าง ๆ และสิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลืองจะได้กำหนดไว้ในคำสั่งของ ทบ.ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ และให้ถือฉบับหลังที่สุดเป็นหลักในการแจกจ่าย

                        6. ตอนเพิ่มเติมประกอบอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์

                             6.1  ตอนที่ 2 ผังการจัด

                             6.2 ตอนที่ 3 อัตรากำลังพล

                             6.3 ตอนที่ 4 ยุทโธปกรณ์

                        7. หน่วยทหารที่มีที่ตั้งอยู่ภายในค่ายสรรพสิทธิประสงค์

                             7.1. ชื่อค่ายสรรพสิทธิประสงค์  ตั้งอยู่ที่  อ.วารินชำราบ  จ.อุบลราชธานี

                             7.2. หน่วยทหารที่มีที่ตั้งอยู่ในค่าย (ให้กล่าวถึงจำนวนหน่วยตั้งแต่จัดตั้งค่าย ซึ่งถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลง เช่น  ยุบหน่วย  ตั้งหน่วยใหม่)  ประกอบด้วย

                                     7.2.1  มณฑลทหารบกที่ 22

                                     7.2.2  กรมทหารราบที่ 6    

                                     7.2.3  กองพันทหารราบที่  1 กรมทหารราบที่ 6

                                     7.2.4  กองพันทหารราบที่  2 กรมทหารราบที่ 6

                                     7.2.5  กองพันทหารราบที่  3 กรมทหารราบที่ 6

                                     7.2.๖ กองพันทหารปืนใหญ่ที่  6

                                     7.2.๗  กองร้อยทหารช่างสนามที่  1 กองพันทหารช่างที่  6

                                     7.2.๘ หมวดซ่อมบำรุงส่วนหน้าที่  2 กองสรรพวุธเบา กองพลทหารราบที่ ๖

                                     ๗.๒.๙. กรมทหารพรานที่ ๒๓

                             รวมทั้งสิ้น  ๙ หน่วย

               

วีรกรรมหรือการปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วย

                การปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วย ในปี พ.ศ.2530 และ 2531 มณฑลทหารบกที่ 22 ได้ร่วมให้การสนับสนุนการรบโดยใกล้ชิดใน “ยุทธการช่องบก” ซึ่งทำให้หน่วยดำเนินกลยุทธ สามารถปฏิบัติภารกิจผลักดันกำลังฝ่ายตรงข้ามได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ