ผู้ใช้:--Titanica--/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้มีภาพรวมของเหตุการณ์สำคัญและแนวโน้มเพลงยอดนิยมในปี 1950

เป็นครั้งแรกในโลกที่เพลงร็อกแอนด์โรล, ดูวอป, ป๊อป, สวิง, อาร์แอนด์บี, บลูส์ , คันทรี , และร็อกอะบิลลีได้เข้าครอบงำและกำหนดทิศทางดนตรีแห่งทศวรรษ

สหรัฐอเมริกา[แก้]

ร็อกแอนด์โรล[แก้]

เอลวิส เพรสลีย์ ปี 1957
ชัค เบอร์รี

ดนตรีร็อกแอนด์โรลเข้าครอบงำเป็นเพลงที่ได้รับยอดนิยมในช่วงครึ่งหลังของปี 1950 เริ่มปรากฏขึ้นในสหรัฐอเมริกาช่วงปลายปี 1940 และต้นปี 1950 อย่างรวดเร็วและกระจายไปยังส่วนที่เหลือของโลก โดยมีต้นกำเนิดมาจากการผสมผสานดนตรีของคนผิวสีหลายประเภทในช่วงเวลารวมทั้งอาร์แอนด์บีและกอสเปลกับประเทศตะวันตกและป็อป[1] ในปี 1951 ณ เมือง คลีฟแลนด์ รัฐโอไฮโอ ผู้จัดรายการเพลง อลัน ฟรีด เริ่มต้นแสดงเพลงอาร์แอนด์บี สำหรับผู้ชมหลากหลายเชื้อชาติ และถูกให้เครดิตกับครั้งแรกที่ใช้คำว่า "ร็อกแอนด์โรล" เพื่ออธิบายถึงแนวเพลง[2]

ปี 1950 เป็นช่วงที่เริ่มมองเห็นการเติบโตในความนิยมของกีตาร์ไฟฟ้า(พัฒนาและทำให้เกิดการแพร่หลายโดยเลส พอล) แผ่นเสียงของพอลที่ได้รับความนิยม เช่น "How High the Moon" และ "The World Is Waiting for the Sunrise" ช่วยนำไปสู่การพัฒนาโดยเฉพาะสไตล์ร็อกแอนด์โรล โดยมีตัวแทนอย่างเช่น ชัค เบอร์รี , ลิงค์ เรย์ และ สก็อตตี้ มัวร์[3] ชัค เบอร์รีซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกดนตรีร็อกแอนด์โรลได้ขัดเกลาและพัฒนาองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ร็อกแอนด์โรลมีความโดดเด่น มุ่งเน้นไปที่ชีวิตวัยรุ่นและนำเสนอกีต้าร์โซโล่และฉายแววที่จะเป็นอิทธิพลสำคัญในเพลงร็อคในภายหลัง[4]

ศิลปินอย่างเช่นชัค เบอร์รี , โบ ดิดลลีย์ , แฟตส์ โดมิโน , ลิตเทิล ริชาร์ด , เจอร์รี ลี ลูวิส , บิ๊ก โจ เทอร์เนอร์ และ ยีน วินเซ็นต์ เผยแพร่อาร์แอนด์บีและขยายอิทธิพลของร็อกแอนด์โรลในช่วงต้นเพลงฮิต ผู้เบิกทางร็อกแอนด์โรลให้กลายเป็นพลงที่นิยม รวมถึงจอห์นนี แร , วง The Crew-Cuts , The Fontane Sisters , เลส พอล และ แมรี ฟอร์ด โดยทั่วไปแล้วยุคสมัยของร็อกแอนด์โรลเริ่มจากวันที่ 25 มีนาคม ปี 1955 ในรอบปฐมทัศน์ของภาพยนตร์เรื่อง "The Blackboard Jungle" โดยมีบิล เฮลีย์ เปิดตัวเครดิตของเรื่อง ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้กับประชาชนอย่างมากเมื่อคนรุ่นหนุ่มสาวเริ่มเต้นรำบนทางเดินระหว่างที่นั่ง

แพท บูน กลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของยุค 50 โดยมีเพลงฮิตอาร์แอนด์บีอย่างเช่น "Two Hearts, Two Kisses (Make One Love)", "Ain't That a Shame", and "At My Front Door (Crazy Little Mama)" ด้วยวิถีเพลงป็อปดั้งเดิมของเขาไปยังร็อกแอนด์โรลผูกเข้าด้วยกันกับภาพลักษณ์คนอเมริกันที่ดูสะอาดหมดจดช่วยนำไปสู่เสียงใหม่กับการเพิ่มผู้ชมให้กว้างมากยิ่งขึ้น ส่วนเอลวิส เพรสลีย์ ผู้ซึ่งเริ่มอาชีพของเขาในช่วงกลางปี 1950 กลายเป็นบุคคลชั้นแนวหน้ากับเสียงที่นิยมของร็อกแอนด์โรลแบบใหม่ ด้วยซีรี่ย์ของการปรากฏตัวทางเครือค่ายโทรทัศน์ ภาพเคลื่อนไหวและชาร์ตเพลง การตีความหรือแรงกระตุ้นในเพลงของเขาจำนวนมากมาจากจุดกำเนิดของอเมริกันแอฟริกันและสไตล์การแสดงที่ไม่มีความยับยั้งชั่งใจทำให้เขาได้รับความนิยมอย่างมาก และการโต้เถียงกันช่วงเวลานั้นถึงสไตล์และภาพลักษณ์ของบูนและเพรสลีย์ซึ่งเป็นตัวอย่างสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกันจากรูปแบบดนตรีที่ได้รับความนิยม ซึ่งแข่งขันกับอีกคนหนึ่งตลอดทศวรรษที่ผ่านมา

ในปี 1957 รายการทีวียอดนิยมออกรายการที่มีนักแสดงร็อกแอนด์โรล เวที American Bandstand โดยมีเจ้าภาพโดยดิก คลาร์ก รายการนี้ช่วยเผยแพร่ความนิยมของร็อกแอนด์โรลมากกว่าภาพลักษณ์ของศิลปินที่ดูสะอาดหรือเป็นอเมริกันชน ในช่วงท้ายของทศวรรษ ทีนไอดอลอย่างเช่นบ็อบบี ดาริน , ริกกี เนลสัน , แฟรงกี้ อวาโลน , พอล แองคา , นีล เซดากะ , บ็อบบี ไรเดล , คอนนี่ ฟรานซิสและ Fabian Forte อยู่ในระดับท็อปชาร์ต ผู้ออกความเห็นบางคนรู้สึกนึกคิดว่าเป็นช่วงเวลาเสื่อมโทรมของร็อกแอนด์โรล มีการอ้างถึงการเสียชีวิตของบัดดี้ ฮอลลีและริตชี วาเลนส์ในอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่น่าเศร้าในปี 1959 และการแยกตัวไปของเอลวิส เพรสลีย์เพื่อเข้ากองทัพ

ในด้านอื่นๆ ของอิทธิพลอาร์แอนด์บีอย่างเช่น The Crows, The Penguins, The El Dorados และ The Turbans และนักดนตรีกลุ่มอย่างเช่น The Platters ด้วยเพลง "The Great Pretender" (1955) และ The Coasters ด้วยเพลงที่ชวนขำขันอย่าง "Yakety Yak" (1958) ล้วนจัดอยู่ในกลึ่มร็อกแอนด์โรลที่ประสบความสำเร็จที่สุดในช่วงเวลานั้น[5]

ร็อกแอนด์โรลยังถูกมองว่านำไปสู่จำนวนของหมวดหมู่ย่อยที่แตกต่างกัน รวมทั้งร็อกอะบิลลีในทศวรรษ 1950 การรวมเพลงร็อกแอนด์โรลเข้าด้วยกันกับเพลงคันทรี ซึ่งมักจะเล่นและบันทึกไว้ในช่วงกลางทศวรรษ 1950 ด้วยนักร้องผิวขาวเช่น คาร์ล เพอร์กินส์ , เจอร์รี ลี ลูวิส , บัดดี้ ฮอลลีและเอลวิส เพรสลีย์ผู้ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในเชิงพาณิชย์[6]นอกจากนี้ยังมีแนวเพลงดูวอปเข้าไปสู่ท็อปชาร์ตในช่วงทศวรรษ 1950 และยังมีเพลงล้อเลียนอย่าง "Who Put the Bomp"

เพลงที่แปลกและมีความยาวในอุสาหกรรมเพลงและคงความนิยมของพวกเขาอย่างต่อเนื่องในร็อกแอนด์โรลด้วยเพลงฮิตอย่าง "Beep Beep"

ป็อปคลาสสิก[แก้]

ต่อๆๆ

  1. "The Roots of Rock", Rock and Roll Hall of Fame, retrieved 4 May 2010.
  2. "Rock (music)", Encyclopædia Britannica, retrieved 24 June 2008.
  3. J. M. Curtis, Rock Eras: Interpretations of Music and Society, 1954–1984 (Madison, WI: Popular Press, 1987), ISBN 0-87972-369-6, p. 73.
  4. M. Campbell, ed., Popular Music in America: And the Beat Goes on (Cengage Learning, 3rd edn., 2008), pp. 168-9.
  5. V. Bogdanov, C. Woodstra and S. T. Erlewine, All Music Guide to Rock: the Definitive Guide to Rock, Pop, and Soul (Milwaukee, WI: Backbeat Books, 3rd edn., 2002), ISBN 0-87930-653-X, pp. 1306–7.
  6. "Rockabilly", Allmusic, retrieved 6 August 2009.