ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:อารยา วานิชกร/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
      สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นองค์กรหลักสำหรับหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่รวบรวมสิ่งพิมพ์ต่างๆไว้มากมายเพื่อประกอบการเรียนการสอนและประกอบการศึกษาค้นคว้าวิจัย สิ่งพิมพ์ที่ให้บริการ อาทิ หนังสือ ตำรา จดหมายข่าว หนังสือพิมพ์ นิตยสารและวารสาร รวมไปถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อาทิ สื่อมัลติมีเดีย ซีดีรอม ดีวีดี วีซีดี  นอกจากนี้ยังมีบริการยืม-คืน หนังสือและทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ  บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า บริการอินเทอร์เน็ต และบริการห้องศึกษาค้นคว้าวิจัย 

หอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดให้บริการแก่นักศึกษา และบุคคลกร และพื้นที่บางส่วนเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าไปใช้ได้

ประวัติ

[แก้]

สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2507 พร้อมกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัย โดยในระยะแรกอาศัยอาคารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ทำการชั่วคราว ในการจัดตั้งได้รับความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัยแมนิโตบา ประเทศแคนาดา ได้ส่งบรรณารักษ์ชื่อ Mr. Derek R. Francis มาเป็นที่ปรึกษา ต่อมาปีพ.ศ. 2509 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ย้ายมาเปิดทำการที่จังหวัดขอนแก่น หอสมุดกลางจึงย้ายมาเปิดทำการที่อาคารชั้น 2  คณะวิศวกรรมศาสตร์

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2511 อาคารหอสมุดกลาง (ปัจจุบันคือ สำนักงานอธิการบดี อาคาร 2) ได้สร้างเสร็จด้วยงบประมาณ 2.5 ล้านบาท ในระยะแรกที่อาคารสร้างเสร็จ คณะศึกษาศาสตร์มีความจำเป็นด้านสถานที่เรียนของนักเรียนโรงเรียนสาธิตคณะศึกษาศาสตร์ จึงได้ดัดแปลงอาคารหอสมุดกลางเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว เป็นเวลา 3 ปีเศษ จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ. 2515 สำนักงานหอสมุดกลางจึงได้ย้ายมาเปิดทำการที่อาคารดังกล่าว มีฐานะเป็นกองห้องสมุด สังกัดสำนักงานอธิการบดี

 ต่อมา ในปีพ.ศ. 2521 มหาวิทยาลัยขอนแก่นเห็นความสำคัญที่จะจัดบริการกลางเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน จึงได้รวมงานด้านห้องสมุด ด้านโสตทัศนศึกษา ด้านผลิตเอกสาร และศูนย์หนังสือไว้ด้วยกัน และเริ่มโครงการจัดตั้ง “สำนักวิทยบริการ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1.  ดำเนินการจัดหาและให้บริการด้านตำราเรียน วารสาร และวัสดุอื่นๆ เพื่อประกอบการเรียน การสอน และการวิจัย

2. เป็นแหล่งกลางในการจัดหา การผลิต และการให้บริการด้านโสตทัศนศึกษา

3. เป็นแหล่งกลางในการจัดพิมพ์ ตำราเรียน แบบฟอร์ม และเอกสารต่างๆ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

4. เป็นศูนย์กลางในการจำหน่ายตำราเรียนและอุปกรณ์การศึกษาอื่นๆ

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2522 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักวิทยบริการ ในปีเดียวกันนี้มหาวิทยาลัยได้จัดสร้างอาคารหอสมุดกลางหลังใหม่เป็นอาคาร 3 ชั้น ด้วยงบประมาณ 12 ล้านบาท พื้นที่ 4,032 ตารางเมตรเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้บริการและสามารถเปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ได้มากขึ้น เนื่องจากใกล้กับหอพักนักศึกษาและเป็นศูนย์กลางของคณะต่างๆมากกว่าอาคารหลังเก่า โดยย้ายมาที่อาคารหลังใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2524 พร้อมทั้งเริ่มการดำเนินงานของฝ่ายต่างๆ ได้แก่ ฝ่ายโสตทัศนศึกษาฝ่ายผลิตเอกสาร และฝ่ายศูนย์หนังสือ

ในปี พ.ศ.2536 มหาวิทยาลัยได้จัดสร้างอาคารหลังใหม่เพิ่มเติมขึ้นอีกหลังหนึ่ง เป็นอาคาร 6 ชั้น พื้นที่ 10,494ตารางเมตรด้วยงบประมาณ 45 ล้านบาท โดยเชื่อมกับอาคารหลังแรและต่อมาในปี พ.ศ.2542 มหาวิทยาลัยได้ก่อสร้างอาคารสารสนเทศเป็นอาคาร 9 ชั้นขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในทุกด้าน โดยพื้นที่ชั้น 1-3 เป็นส่วนการให้บริการสารสนเทศของห้องสมุด อาคารสารสนเทศเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2542 ด้วยงบประมาณการก่อสร้าง 121.817 ล้านบาท

พ.ศ. 2548 ปรับปรุงโครงสร้างเป็น 6 กลุ่มภารกิจ ประกอบด้วย กลุ่มภารกิจจัดการสารสนเทศ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ , กลุ่มภารกิจจัดการสารสนเทศ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี , กลุ่มภารกิจจัดการสารสนเทศ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , กลุ่มภารกิจส่งเสริมการเรียนรู้ , กลุ่มภารกิจพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ , และกลุ่มภารกิจสนับสนุนทั่วไป

ในเดือนมิถุนายน 2550 อาคารศูนย์สารสนเทศดำเนินการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยและในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2550 ได้ดำเนินการย้ายพื้นที่การปฏิบัติงานและส่วนของการให้บริการจากอาคาร 1 และอาคาร 2 มาที่อาคารศูนย์สารสนเทศชั้นที่ 1 ชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 [1]


วิสัยทัศน์

[แก้]

เป็นแหล่งเรียนรู้ชั้นเลิศ (Excellent Resources Center) เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น[2] ให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของโลก

คำอธิบายวิสัยทัศน์

  •    สำนักวิทยบริการเป็นแหล่งสารสนเทศแรกที่ประชาคมมหาวิทยาลัยขอนแก่นเลือกเข้าใช้บริการ
  •   สำนักวิทยบริการมีสารสนเทศที่หลากหลายพร้อมต่อการเรียนการสอนและการวิจัย
  • สำนักวิทยบริการสร้างทักษะการค้นหาสารสนเทศให้แก่ประชาคมมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  •    โดยมีเป้าหมายเทียบเคียง (Benchmark) ในด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ และ  ความสามารถในการแข่งขัน [3]

พันธกิจ

[แก้]

แสวงหาและพัฒนานวัตกรรมการจัดบริการสารสนเทศ จัดหา จัดเก็บ บำรุงรักษาและจัดบริการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัย [4]

การบริการ

[แก้]
บริเวณทางเข้าหอสมุด อาคาร 1 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พื้นที่นั่งอ่าน 24 ชั่วโมง ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ปัจจุบันสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นศูนย์กลางของคณะต่างๆภายในมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ตรงข้ามกับศูนย์อาหารและบริการ 1 หรือ “คอมเพล็กซ์” สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น แบ่งเป็น 2 อาคาร คือ อาคาร 1 (สำนักหอสมุด) อาคาร สูง 6 ชั้น และอาคาร 2 (อาคารสูนย์สารสนเทศ) อาคาร สูง 9 ชั้น  แต่ละชั้นประกอบด้วยห้องสมุดสาขาวิชาและหน่วยงานอื่น ๆ และการบริการแก่ผู้ที่มาเข้าใช้ ดังนี้

ชั้น 1  ประกอบไปด้วย ห้องหนังสือคอลเลคชั่น Warehouse เอกสารและวารสารภาษาไทย , หอจดหมายเหตุ ให้บริการข้อมูลของทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น, KKUL Maker Space พื้นที่เทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ , พื้นที่สำหรับนั่งอ่านหนังสือ 24 ชั่วโมงทั้งพื้นที่นั่งเดียวและพื้นที่นั่งกลุ่ม, ห้องประชุม ให้บริการแก่บุคลากร และบุคคลภายนอก 

โซนนั่งอ่านเดี่ยว 24 ชั่วโมง ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ชั้น 2 ประกอบไปด้วย  โถงนิทรรศการ พื้นที่สำหรับการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ (อาคารศูนย์สารสนเทศ), โซนบริการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการอ้างอิงและการวิจัย บริการห้องประชุมกลุ่มย่อย บริการยืมระหว่างห้องสมุด (อาคารศูนย์สารสนเทศ), โรงเรียนสอนบรรณารักษ์, Music Zone พื้นที่ใช้สำหรับผ่อนคลาย, ห้องอบรมคอมพิวเตอร์, บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ , พื้นที่นั่งอ่านหนังสือ 24 ชั่วโมง, ร้านกาแฟ (Library cafe) , โซนนั่งอ่านหนังสือเดี่ยว, โซนนั่งอ่านแบบคู่, ห้องละหมาด, โซนสืบค้น 24 ชั่วโมง

ชั้น 3 ประกอบไปด้วย ห้องวารสารและหนังสือพิมพ์, ห้องวารสารภาษาต่างประเทศและภาษาไทย, ห้องประชุมกลุ่มย่อย, พื้นที่นั่งอ่านหนังสือ 24 ชั่วโมง , ห้องประชุมขนาดใหญ่และโซนห้องประชุมกลุ่มย่อย (Smart Team Meeting Room) , Relaxation Zone ห้องสำหรับอ่านหนังสือหรือพักผ่อนได้อย่างอิสระ, พื้นที่สำหรับรับประทานน้ำและของว่าง

ชั้น 4 ประกอบไปด้วย บริการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ , ห้องวิทยานิพนธ์และผลงานวิจัย A-P และ ก&ฮ Theses & Research Papers, ห้องประชุมกลุ่มย่อยเดี่ยว, ห้องประชุมบายศรี ให้บริการบุคลากรและบุคคลภายนอก, KKU e-Cluster เขตพื้นที่บริการการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้น 4

ชั้น 5 ประกอบไปด้วย บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า, ห้องบริการหนังสือมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ภาษาอังกฤษ, ห้องบริการหนังสือมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ภาษาไทย, ห้องเรียนรู้กลุ่มย่อย ,KKU e-Cluster เขตพื้นที่บริการการเรียนรู้ด้วยตนเอง ชั้น 5

ชั้น 6 ประกอบไปด้วย  บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า, ห้องบริการหนังสือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาอังกฤษ, ห้องเรียนรู้กลุ่มย่อย, ห้องบริการหนังสือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาษาไทย, ห้องเรียนรู้กลุ่มย่อย, สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน (Intitute of Learning and Teaching Innovation) (อาคารศูนย์สารสนเทศ)

ชั้น 7 (อาคารศูนย์สารสนเทศ) ประกอบไปด้วย สำนักนวัตกรรมการเรียนการสอน (Intitute of Learning and Teaching Innovation)[5] [3]



เกียรติคุณและรางวัล

[แก้]
  • พ.ศ. 2560 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลห้องสมุดสีเขียว พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานเกียรติบัตรรางวัลห้องสมุดสีเขียว ให้แก่ รศ.ดร.วนิดา แก่นอากาศ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดในงานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 และประชุมวิชาการ เรื่องห้องสมุดดิจิทัลกับการก้าวสู่ยุค Thailang 4.0 (Digital Libraries Towords Thailand 4.0) โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี [6]
  •  พ.ศ. 2560 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลจากเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ PULINET2017 จำนวน 4 รางวัล  ได้แก่ รางวัลประเภทการนำเสนอผลงานด้วยโปสเตอร์

รางวัลระดับดีเด่น ด้านการบริการสารสนเทศและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ชื่อผลงาน จาก "การรับฟังเสียงของลูกค้า (VoC)" สู่ "การสร้างนวัตกรรมบริการ (Chat bot) โดยนางสาวนิติยา ชุ่มอภัย และนางสาวอัคริมา สุ่มมาตย์

รางวัลระดับดี ด้านการจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ชื่อผลงาน พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยนายวันชาติ ภูมี

รางวัลระดับดี ด้านการบริหารองค์กรและการจัดการความรู้ ชื่อผลงาน สมาร์ทไลบรารี, สมาร์ทยูนิเวอร์ซิตี้ โดยนางสาวจีรภา สิมะจารึก

และรางวัลประเภทการนำเสนอผลงานด้วยวาจา  รางวัลระดับดี ด้านการจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ชื่อผลงาน Thai Journal Finder : ฐานข้อมูลเพื่อการคัดเลือกวารสารในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ โดยนางวลัยลักขณ์ แสงวรรณกูล นางสาวรัชนีกรณ์ อินเล็ก นายธีรยุทธ บาลชน และนางสาวกฤติกา สุนทร [7]

  • พ.ศ. 2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วมกิจกรรม The8th KKU Show & Share โดยการส่งผลงานวิชาการเข้าร่วมนำเสนอจำนวน 6 ผลงาน และได้รับรางวัลจำนวน 2 รางวัลได้แก่

รางวัลชนะเลิศด้านสนับสนุนการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลงาน DIY Portable 3D Light Box for Museum and Archive 360 สตูดิโอเคลื่อนที่ถ่ายภาพ3มิติสำหรับพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ ภารกิจพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รางวัลรองชนะเลิศด้านสนับสนุนการบริหารจัดการผลงาน Library For New Generation, My Next Customer นางสุดาวดี ชัยเดชทยากุล นางรัดดา อุ่นจันที และนางสมถวิล สว่างวงศ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น[8]

  • พ.ศ.2561 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลสาขาบริการภาครัฐ ประเภทนวัตกรรมการบริการระดับดีเด่น ชื่อผลงาน "ระบบติดตามถังขยะอัจฉริยะ Smart Trash Tracking System" โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี มอบโล่เกียรติคุณแด่ รศ.ดร.วนิดา แก่นอากาศ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักหอสมุด[9]
  • พ.ศ. 2562 สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับ 2 รางวัลจากเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ PULNET2019 ได้แก่ ได้แก่   รางวัลระดับดีเด่น ด้านการจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม (IT) ชื่อผลงาน เรื่องระบบติดตามถังขยะอัจฉริยะ นางสาวทิพานัน พงษ์สุวรรณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น   และรางวัลระดับชมเชย ด้านการบริหารองค์กร การจัดการความรู้ (KM) ชื่อผลงาน เรื่องการจัดการความรู้ผญาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่คลังดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน นางสาวยศยาดา สิทธิวงษ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น [10]

วัน-เวลา เปิดทำการ

[แก้]

จันทร์ -  อาทิตย์ เวลา 09.00 – 20.00 น.

เปิดบริการพื้นที่ 24 ชั่วโมงทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ปิดบริการ

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  •     https://library.kku.ac.th/ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น[11] [12]
  •    https://archive.kku.ac.th/web/ เว็บไซต์หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://library.kku.ac.th/library2013/index.php?option=com_content&view=article&id=6&Itemid=39
  2. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  3. https://library.kku.ac.th/library2013/index.php?option=com_content&view=article&id=6&Itemid=39
  4. https://library.kku.ac.th/library2013/index.php?option=com_content&view=article&id=6&Itemid=39
  5. https://library.kku.ac.th/360/pano.php?id=1&type=floor
  6. https://library.kku.ac.th/article.php?a_id=220
  7. https://library.kku.ac.th/article.php?a_id=141
  8. https://library.kku.ac.th/article.php?a_id=1716
  9. [1]
  10. https://library.kku.ac.th/article.php?a_id=1814
  11. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  12. [2] https://library.kku.ac.th/
  13. https://archive.kku.ac.th/web/