ผู้ใช้:อัญชลีพร ชาลีจันทร์/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
                                                                                                'รายจ่ายรัฐบาล'

ความหมายของรายจ่ายรัฐบาล

        รายจ่ายของรัฐบาล หมายถึง การบริหารการใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อรักษาผลประโยชน์ของสังคม และนำไปดำเนินงานต่างๆของรัฐ ตั้งแต่ในระดับชาติ ไปจนถึงระดับท้องถิ่น ซึ่งกิจกรรมการใช้จ่ายของรัฐสามารถจำแนกได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ ประเภทแรก คือ การใช้จ่ายด้านงานทั่วไปของรัฐ (general fund) ประเภทที่สอง คือ การใช้จ่ายด้านรัฐวิสาหกิจ (public enterprise fund) และประเภทที่สาม คือ รายจ่ายด้านกองทุนของรัฐ (trust fund) [1]

ความสำคัญของรายจ่ายรัฐบาล รายจ่ายรัฐบาลเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบริหารงานของประเทศ ผู้ใช้จ่ายรายใหญ่ในระบบเศรษฐกิจคือรัฐบาล การเพิ่มลดรายจ่ายของรัฐบาลจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากและยังส่งผลกระทบหลายอย่าง ดังนี้

        1) ผลต่อการจัดหาสินค้าและบริการการจัดหาสินค้าและบริการนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับนโยบายของทางรัฐบาลที่ให้ไว้กับประชาชน เพื่อให้ให้เป็นไปตามนโยบายที่บอกไว้รัฐบาลควรจัดหาสินค้าที่ดีมีคุณภาพให้แก่ประชาชน
        2)  ผลต่อการผลิตการจ้างแรงงาน และรายได้ เงินรายจ่ายองรัฐบาลจะทำให้เกิดผลผลิตต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบสินค้าหรือบริการ ซึ่งการผลิตสินค้าและบริการนั้นจำเป็นต้องใช้แรงงานในการทำงานจึงส่งผงให้เกิดการจ้างแรงงานตามมา และทำให้เกิดการว่างงานลดลงและทำให้คนมีรายได้ในการไปใช้จ่ายหรือลงทุนก็จะส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ
        3) ผลต่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือ การใช้จ่ายของภาครัฐยังเป็นการช่วยเหลือคนบางกลุ่มให้ได้รับประโยชน์มากขึ้น เช่น เงินสวัสดิการ เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล เงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นต้น ถึงแม้บุคคลเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่ในการผลิตโดยตรงแต่ถือว่าเป็นการช่วยเหลือให้ความสุขแก่คนในสังคมทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
        4)  ผลต่อการจำกัดหรือควบคุมการใช้จ่ายเงินของเอกชน การที่ภาครัฐใช้จ่ายเงินตามโครงการต่างๆ ย่อมเป็นการปิดกั้นไม่ให้เอกชนใช้จ่ายเงินในกิจกรรมดังกล่าว [2]

รายจ่ายนอกงบประมาณ รายจ่ายนอกงบประมาณเป็นรายจ่ายสาธารณะลักษณะหนึ่งที่ภาครัฐใช้จ่ายไปโดยไม่รวมอยู่ในงบประมาณแผ่นดิน รายจ่ายนอกงบประมาณที่สำคัญมีดังนี้ 1) รายจ่ายจากเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ แหล่งความช่วยเหลือต่างๆ ที่รัฐบาลได้รับความช่วยเหลือ ได้แก่ จากประเทศญี่ปุ่น จากสหภาพยุโรป สแกนดิเนเวียและแคนาดา จากสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหประชาชาติ องค์กรอาสาสมัคร องค์กรพัฒนาเอกชน และอื่นๆ 2) รายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศ รัฐบาลไทยกู้เงินจากต่างประเทศมาใช้ในโครงการหลายโครงการลงทุนด้านต่างๆ เป็นจำนวนมากโดยกู้จากแหล่งต่างๆที่สำคัญ คือ ธนาคารโลก ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ตลาดการเงิน และอื่นๆ 3) รายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ การใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อจัดให้มีสินค้าและบริการแก่ประชาชน โดยเฉพาะการให้บริการสิ่งสาธารณูปโภค เช่น ประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์ ไปรษณีย์โทรเลข เป็นต้น 4) รายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในหลายๆประเทศมักถือหลักเดียวกันในการสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นโดยให้อำนาจท้องถิ่นปกครองตนเอง ซึ่งการจัดเก็บรายได้และการใช้จ่ายของท้องถิ่นจะไม่ผ่านกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน จึงทำให้รายได้และรายจ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นรายได้และรายจ่ายนอกงบประมาณ 5) เงินหมุนเวียน ถือเป็นรายจ่ายนอกงบประมาณประเภทหนึ่งในระบบการคลังของประเทศไทย ซึ่งเป็นเงินที่ภาครัฐได้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปตั้งไว้เป็นบัญชีพิเศษเพื่อเอาไว้ดำเนินกิจกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับธุรกิจเอกชน ซึ่งมีทั้งรายได้และรายจ่ายหมุนเวียนเข้าออกอยู่ตลอดเวลา วัตถุประสงค์ที่จัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนก็เพื่อให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน [3] นอกจากที่ยกตัวอย่างมายังมีรายจ่ายนอกงบประมาณอีกหลายประเภท เช่น เงินกองทุนต่างๆ ซึ่งจีดตั้งขึ้นโดยกฎหมายและคำสั่งนายกรัฐมนตรี รายจ่ายจากเงินบำรุงสถาบันการศึกษา รายจ่ายจากรายได้ของโรงพยาบาลรัฐและเงินบริจาคหรือเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ เป็นต้น

โครงสร้างรายจ่ายรัฐบาล 1) จำแนกตามลักษณะงาน เป็นการจำแนกตามลักษณะงานที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะจำแนกตามคู่มือของสหประชาชาติ ดังนี้ - การบริหารทั่วไป เช่น ค่าจ้าง เงินเดือนของข้าราชการ - การป้องกันประเทศ - การบริการสังคมและชุมชน เช่น การศึกษา การสาธารณะสุข - การบริหารทางเศรษฐกิจ เช่น การเกษตร การก่อสร้าง - รายจ่ายอื่นๆ ที่จำแนกประเภทไม่ได้ 2) จำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจ เป็นการจำแนกที่แสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้ - รายจ่ายประจำหรือรายจ่ายเพื่อการบริโภค ได้แก่ รายจ่ายสำหรับดำเนินการปกติ เช่น ค่าดอกเบี้ย เงินอุดหนุน การซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น - รายจ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่ใช้สำหรับการสะสมทุนเพื่อการเพิ่มผลผลิตของประเทศในอนาคต เช่น ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น 3) จำแนกตามหน่วยงานที่ใช้ เป็นการจำแนกรายจ่ายรายหน่วยงาน เช่น กระทรวง ทบวง กรม [4]

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของรัฐบาล 1) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายของรัฐบาล - จำนวนประชากร เมื่อประเทศมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ย่อมส่งผลให้รัฐบาลมีภาระหน้าที่ในการรับผิดชอบมากขึ้น เช่น ต้องสร้างสถานศึกษา โรงพยาบาล สถานีอนามัยเพิ่มขึ้น สร้างถนนจัดระบบการคมนาคมขนส่งมากยิ่งขึ้น ต้องจัดหาไฟฟ้า น้ำประปา มากขึ้น เป็นต้น - ความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของสังคม ในปัจจุบันผู้คนมีการติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น รัฐจึงจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเพื่อจัดระบบการติดต่อสื่อสารให้ทันสมัยและกว้างขวางมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนทันต่อความเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัตน์ - รายได้ของประชาชนและรายได้ของรัฐมีมากขึ้น เมื่อรายได้ของประชาชนมีมากขึ้นและจำนวนประชากรก็มีมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคสินค้าและบริการสาธารณะมีมากขึ้นด้วยเช่นกัน และการที่ประชาชนมีรายได้มากขึ้นก็จะส่งผลให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น ความสามารถในการใช้จ่ายก็จะมากขึ้นด้วย - ภาวะเศรษฐกิจ หากในประเทศเกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นภาวะที่ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น จะส่งผลให้รัฐบาลจะต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับสินค้าสาธารณะสำหรับประชาชนมากขึ้น - สถานการณ์ของประเทศ หากประเทศตกอยู่ในภาวะวิกฤต เช่น เกิดสงครามหรืออุบัติภัยร้ายแรงจะส่งผลให้รัฐต้องใช้จ่ายมากให้กับกิจกรรมที่ต้องทำและแก้ไขปัญหาหลังวิกฤตผ่านพ้นไปแล้ว เช่น หากมีสงครามเกิดขึ้นก็ต้องทุ่มงบประมาณจำนวนมากเพื่อการทำสงคราม และเมื่อสงครามยุติลงรัฐก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่ส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และอุทกภัยในเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2554 ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งตามหลักแล้วรัฐบาลจะต้องใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นจำนวนมาก แต่โชคดีที่มีผู้บริจาคเงินและสิ่งของ ทำให้รัฐบาลมีค่าใช้จ่ายที่ลดลง - นโยบายของรัฐบาล ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญที่ส่งผลให้รายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น 2) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการจ่ายเงินของรัฐบาล การใช้จ่ายของภาครัฐจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ระบบราชการ การทุจริตคอรัปชั่น นโยบายของรัฐบาล [5]

หลักการที่ดีเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาล 1) หลักการประหยัด ทรัพยากรสาธารณะมีอยู่จำกัด ควรจะใช้จ่ายอย่างประหยัดใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ก่อให้เกิดการสูญเปล่าของทรัพยากรนึกถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ ไม่ใช่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายเพียงอย่างเดียวและการใช้จ่ายอย่างไม่ประหยัดของรัฐบาลอาจเกิดได้หลายลักษณะ เช่น การทำโครงการผิดพลาดไม่คุ้มประโยชน์ เป็นต้น 2) หลักผลประโยชน์ เป็นหลักการที่ใกล้เคียงกับหลักการประหยัด นอกจากจะคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการแล้วจะต้องคำนึงถึงสิ่งที่ไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินด้วย คำนึงถึงทั้งสังคม การเมือง การบริหาร เช่น การกระจายรายได้ และสร้างงานแก่ประชาชน การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เป็นต้น 3) หลักของการกลั่นกรอง การใช้จ่ายของภาครัฐจะเป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อได้ผ่านกระบวนการกลั่นกรองอย่างรอบคอบในระดับต่างๆ โดยผ่านทั้งรัฐบาลและสภา และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วต้องมีการติดตามผลรวมทั้งประเมินค่าใช้จ่ายด้วย 4) หลักการสร้างส่วนเกิน การใช้จ่ายของภาครัฐนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรยึดหลักการสร้างส่วนเกินในการใช้งบประมาณแผ่นดินในการใช้จ่ายในเวลาที่สมควร โดยทั่วไปบางครั้งอาจมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ทำให้เกิดภาวะงบประมาณขาดดุล ภาวะดังกล่าวรัฐบาลควรกระทำในระยะเวลาพอควรที่ไม่ต่อเนื่องยาวนาน ถ้าทำเป็นประจำหรือต่อเนื่องอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจ [6]

  1. พลภัทร บุราคม,(2551),รายจ่ายสาธารณะ,1.
  2. ดร.ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฏ์,(2555),การบริหารการคลังและงบประมาณ,35.
  3. ไพรัชน์ ตระการศิรินทร์,(2548),การคลังภาครัฐ,125,126,127,128,129,130.
  4. คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาการคลังและงบประมาณ,(2549),การคลังและงบประมาณ,9-15.
  5. ดร.ณัฐปคัลภ์ ญาณมโนวิศิษฏ์,(2555),การบริหารการคลังและงบประมาณ,36,37,38.
  6. Suwadee Prombutta.รายจ่ายสาธารณะ ,2015. goo.gl/MaEacQ , (สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2560).