ผู้ใช้:หอยทาก วิกิพีเดีย/หอยทาก Sanil

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หอยทาก[แก้]

ชื่อท้องถิ่น : หอยทาก

ชื่อสามัญ  : หอยทาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Molluska
ชื่อวงศ์ : Gastropoda
ประเภทสัตว์ : สัตว์บก-สัตว์เลื้อยคลาน[1]
ลักษณะสัตว์ : หอยทากจัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมมอลลัสคา หอยทากเป็นสัตว์โบราณที่มีการกำเนิดในราวการยุกต์คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous Period) เกือบ 400 ล้านปีที่ผ่านมาและมีวิวัฒนาการถึงปัจจุบันพบหอยทากจำนวนมากกว่า 500 ชนิด หอยทากเป็นสัตว์ที่มีการเคลื่อนที่ช้ามาก[2] ลักษณะที่โดดเด่นของหอยทาก คือ การผลิตเมือกเพื่อป้องกันตัวจากศัตรู[3]

ชนิดของหอยทาก[แก้]

ชนิด ชื่อวงศ์ ชื่อสามัญ
หอยนกขมิ้นใหญ่ Camaenidae Black – callus Amphidromus snail
หอยดักดาน Helionidae Land snails
หอยหอม Cyclophoridae Cyclophorid Snails

[4]

กระบวนการขยายพันธุ์ของหอยทาก[แก้]

หอยทากจะใช้เวลาหาคู่ 2-3 ชั่วโมงหรือครึ่งวัน โดยการสัมผัสคือวิธีการการเกี้ยวพาราสี กอดรัดซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมีเมือกที่ผลิตออกมาจากตัวของพวกมันก่อนจะผสมพันธุ์[5]

วงจรชีวิตของหอยทาก[แก้]

หอยทากจะแพร่หลายในฤดูฝน เพื่อออกหากินและสะสมอาหารจำนวนมากเพื่อที่จะขยายพันธุ์ หอยทากชอบออกหากินตอนกลางคืน ส่วนในเวลากลางวันจะอาศัยอยู่ในที่ร่มหลบแดดฝน หอยทากมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ประมาณ 5-8 เดือน ชอบวางไข่ตามซากกองใบไม้ ขอนไม้ที่ผุ หรือใต้ผิวดินที่ร่วนซุยและชื้น หอยทากจะวางไข่เป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 200-300 ฟอง ตัวหนึ่งๆจะวางไข่ได้ปีละประมาณ 1,000 ฟอง เมื่อฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว เปอร์เซ็นที่จะรอดมีน้อยมาก หอยทากมีอายุยืนเฉลี่ยประมาณ 5ปี หอยทากเป็นสัตว์ที่มีการเคลื่อนที่ช้ามาก หอยทากแถวๆทะเลแดงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ 600 เมตรต่อ 26 ปี แต่หอยทากจะมีความพิเศษ คือ สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่กินอะไรเลยได้เป็นเวลา 1 ปี หอยทากส่วนใหญ่จะชอบกินพืช และผักที่ย่อยสลายในดิน มันจะหายใจด้วยปอด(หอยทากที่อยู่ในน้ำบางชนิดหายใจด้วยเหงือก) หอยทากจะไม่เดินธรรมดาแต่มันจะเดินเป็นวงกลม และมันจะมีการรับรู้ผ่านทางการสัมผัสและการรับกลิ่นเมื่อมันหาอาหารเพราะมันมีสายตาที่แย่มากและมันไม่สามารถได้ยินเสียงอีกด้วย[6]

แหล่งที่พบหอยทากในประเทศไทย[แก้]

แหล่งที่พบหอยทากบกในประเทศไทย ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขานัน ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากอุทยานแห่งชาติเขานันมีลักษณะเป็นป่าดิบชื้นผืนใหญ่ของภาคใต้ฝั่งตะวันออก[7]

ประโยชน์[แก้]

  • ด้านอาหาร

หอยทากเป็นที่นิยมของชาวฝรั่งเศสโดยการนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น หอยทากอบชีท ผัดเนยกระเทียมพริกไทย เพราะในหอยทากนั้น ประกอบไปด้วยโปรตีนที่สูง ไขมันต่ำ และยังมีพวกแคลเซียม แมกนีเซียม และวิตามินซี สารอาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย[8]

  • ด้านความงาม

คนนิยมนำเมือกของหอยทากมาสกัดเป็นเครื่องสำอางบำรุงผิวพรรณ หรือทำเป็นเซรั่มบำรุงผิวหน้า เพราะช่วยให้ผิวหน้ากระชับ เต่งตึง ลดริ้วรอยก่อนวัย ซึ่งเมือกหอยทากที่นิยมกันนี้ได้มาจากเมือกหอยนวล ซึ่งมีสารสกัดคือ Hyaluronic acid เพราะอุดมไปด้วยสารที่มีฤทธิ์ช่วยปกป้องผิวจากเชื้อโรค และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันผิวจากรังสียูวีอีกด้วย[9]

  • ด้านการแพทย์

1. เมือกหอยทากจะช่วยสมานแผลที่เกิดจากไฟไหม้เมื่อเทียบกับขี้ผึ้งมีโบ 2. เมือกของทากมีคุณสมบัติเป็นยาชาเพราะช่วยทำให้บาดแผลไม่เจ็บ ไม่ทรมาน 3. น้ำเมือกหอยทากช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจ และอาการคัดจมูก [10]

  • ด้านการเกษตร

1. นำไปทำเป็นน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพช่วยในการลดต้นทุนการเกษตร[11]

โทษของเมือกหอยทาก[แก้]

จากการที่นิยมนำหอยทากมาไต่ที่หน้า หากเมือกหอยทากไม่สะอาดหรือไม่สดก็จะทำให้เกิดสิวเห่อ การระคายเคือง เกิดผื่นแดง เพราะเบื้องต้นพบว่าในเมือกหอยทากมีเชื้อโคลิฟอร์ม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคท้องร่วง และอีกอย่างคือหากเกิดบาดแผลเพียงเล็กน้อยก็จะเกิดการติดเชื้อ เป็นหนองได้[12]

  1. http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view2.aspx?id=9343
  2. http://www.thaigoodview.com/node/101601
  3. http://news.mthai.com/hot-news/general-news/460623.html
  4. http://www.tistr.or.th/sakaerat/Flora_Fauna/Snail%20and%20Slug/Snail&Slug.htm
  5. https://snailwhite.wordpress.com/2013/01/21/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%81/
  6. http://www.thaigoodview.com/node/101601
  7. http://www.darwininitiative.org.uk/documents/15018/14159/15-018%20HY3%20Ann1%20Thai%20snail%20book%202008.pdf
  8. http://www.dplusguide.com/2014/escargot
  9. http://mahosot.com/%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%A5-%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html
  10. http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/276/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%81-%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C/
  11. http://www.bansuanporpeang.com/node/22675
  12. http://www.thaihealth.or.th/Content/26867-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%20%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%97%E0%B8%A9%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E2%80%98%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%81%E2%80%99%20.html