ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:หนุมานไทย/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

''รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประกิจ รอดประเสริฐ'' (31 สิงหาคม พ.ศ.2480-ปัจจุบัน) เป็นอดีตอาจารย์แพทย์ด้านระบบประสาทและสมอง (Neurologist) เกษียณราชการจากศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อ พ.ศ.2540 ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่ตลาดท่าน้ำอ้อย ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นชุมชนชาวไทย และชาวไทยเชื้อสายจีนเก่าแก่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นบุตรของนายคล้าย รอดประเสริฐ และนางสง รอดประเสริฐ (สกุลเดิม"แซ่กอ") ลักษณะเที่อยู่อาศัยเป็นห้องแถวไม้ 2 ชั้นจำนวน 2 คูหา เปิดเป็นร้านขายยาแผนโบราณ ชื่อว่า "รอดประเสริฐโอสถ" รศ.นพ.ประกิจ รอดประสริฐ มีพี่น้องในครอบครัว ดังนี้


1.นางสาว ประกอบ รอดประเสริฐ (โสด..ถึงแก่กรรม) พ.ศ......-พ.ศ......

2.รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประกิจ รอดประเสริฐ (สมรส กับนางเติมสุข รอดประเสริฐ สกุลเดิม"ศิริเบญจา") 31 สิงหาคม พ.ศ.2480-ปัจจุบัน

3.นาง บุญสม ทองคง (สมรส..กับ ร.ต.เกษม ทองคง) 9 สิงหาคม พ.ศ.2483-ปัจจุบัน

4.นาย สมควร รอดประเสริฐ (สมรส..กับ นางวิมล รอดประเสริฐ สกุลเดิม"...") พ.ศ.....-ปัจจุบัน

5.นาย สุธี รอดประเสริฐ (โสด..ถึงแก่กรรม) พ.ศ.....-พ.ศ.....


ในวัยเด็ก ด.ช.ประกิจ รอดประเสริฐ เริ่มเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดพระปรางค์เหลือง ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากนั้นได้ย้ายไปเรียนที่โรงเรียนวัดเขาแก้ว ในตัวอำเภอพยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ โดยในระยะแรก ด.ช.ประกิจต้องปั่นจักรยานจากบ้านท่าน้ำอ้อยไปเรียนที่โรงเรียนวักเขาแก้วไป-กลับทุกวัน แต่เมื่อเริ่มขึ้นระดับมัธยมศึกษานายคล้ายผู้เป็นบิดา ในฐานะมรรคนายกและไวยาวัจกรประจำวัดพระปรางค์เหลืองได้พา ด.ช.ประกิจ ไปฝากไว้กับพระครู....อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาแก้ว ซึ่งในณะนั้นยังคงเป็นเพียงพระลูกวัดเขาแก้วเท่านั้น เพื่อให้ ด.ช.ประกิจ ได้พักอาศัยภายในวัดและทำหน้าที่เป็นเด็กวัดศิษย์ก้นกุฏิไปพร้อมกัน ด.ช.ประกิจ ก็ได้ปฏิบัติตนตามที่บิดาเอ่ยวาจาเป็นอย่างดี จนกระทั่งถึงเวลาที่ต้องมาศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5-6 ที่กรุงเทพมหานคร หรือที่ชาวต่างจังหวัดเรียกว่า "บางกอก" ในขณะนั้น นายประกิจก็สอบผ่านได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาตามที่หวัง และนายคล้าย ก็ได้นำพานายประกิจ ไปฝากไว้กับพระครู... อดีตเจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงพระลูกวัด เพื่อให้นายประกิจได้พักอาศัยและปฏิบัติตนเป็นเด็กวัดเฉกเช่นเดียวกับที่วัดเขาแก้ว นายประกิจก็ได้เริ่มใช้ชีวิตในบางกอกตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และนายประกิจก็สามารถสอบเข้าโรงเรียนเตรียมแพทย์ได้ หลังจากจบการศึกษาระดับมัธยมปลาย ซึ่งก็ยังปฏิบัติตนเป็นศิษย์วัดหัวลำโพงอย่างต่อเนื่อง...ผู้เขียนบทความ ได้เคยรับคำบอกเล่าจาก รศ.นพ.ประกิจ ว่าเมื่อครั้งที่อาศัยอยู่ที่วัดหัวลำโพงนั้น ท่านอยากกินเป็ดย่างก็ได้กิน ได้แทะกระดูกเป็ดที่มีผู้ใส่บาตรมา และเวลาที่อ่านหนังสือที่ดีที่สุดก็คือเวลารุ่งเช้า ก่อนที่พระสงฆ์จะออกบิณฑบาตร ดังนั้นนายประกิจจะต้องตื่นก่อนพระสงฆ์ทุกวันอย่างสม่ำเสมอเพื่อใช้เวลาอ่านหนังสือเรียนหรือทบทวนเนื้อหาวิชาที่จะสอบ โดยจะต้อใช้ตะเกียงเจ้าพายุเป็นแหล่งให้แสงสว่าง ทำอย่างนี้ต่อเนื่องมาจนกระทั่งเรียนจบได้รับพระราชทานปริญญาบัตรแพทยศาสตร์บัณฑิต จากพระหัตถ์ของในหลวงรัชกาลที่9


เมื่อจบจากโรงเรียนแพทย์ในกรุงเทพมหานครแล้ว นายแพทย์ประกิจ ก็ได้เดินทางไปทำงานใช้ทุนรัฐบาลที่โรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีเรื่องเล่าจาก รศ.ประกิจอีกครั้งว่า เมื่อเดินทางไปถึงจังหวัดเชียงใหม่ ตนเองอยากได้รถจักรยานยนต์เพื่อใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง จึงเขียนจดหมายไปขออนุญาตจากนายคล้ายผู้เป็นบิดา แต่นายคล้ายไม่อนุญาตให้ซื้อรถจักรยานยนต์เพราะเกรงว่าจะเกิดอันตราย นายแพทย์ประกิจก็ปฏิบัติตามที่บิดาแนะนำ ซึ่งในขณะที่ทำงานเป็นแพทย์ฝึกหัดที่ รพ.สวนดอก ก็เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องจดจำขึ้น คือ รถพยาบาล (Ambulance)ที่นายแพทย์ประกิจต้องปฏิบัติหน้าที่ประจำรถนั้นได้เกิดอับัติเหตุพลิกคว่ำ ขณะกำลังเดินทางไปปฏิบัติงาน ทำให้เป็นเหตุการณ์ที่นายแพทย์ประกิจตระหนักถึงปัจจัยเรื่องความปลอดภัยในการเลือกซื้อรถยนต์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นที่มาถึงการพิจารณาเลือกซื้อแต่รถที่เป็นยี่ห้อของ USA หรือ Europe ที่มีระบบความปลอดภัยสูงกว่ารถยนต์ญี่ปุ่นในขณะนั้น(รถยนต์คันแรกที่ซื้อในประเทศไทย คือ Mercedes Benz รุ่นหางปลา และต่อมาก็เป็นยี่ห้อ Volvo และ Benz)

จากนักเรียนแพทย์ฝึกหัด นายแพทย์ประกิจก็ได้รับทุนเพื่อไปศึกษาต่อแพทย์เฉพาะทางที่รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และใช้ชีวิตคู่อยู่กับนางเติมสุข รอดประเสริฐ โดยได้ซื้อบ้านพักอาศัยและรถยนต์เพื่อใช้สอยอยู่ที่ประเทศสหรับอเมริกาจนถึงปี พ.ศ.2513 จึงได้ตัดสินใจกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากมีอาจารย์แพทย์ท่านหนึ่ง วึ่งท่านเป็นผู้บริหารของศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เดินทางไปดูงานที่โรงพยาบาลที่นายแพทย์ประกิจทำงานอยู่และได้พบเจอกันโดยบังเอิญ อาจาย์แพทย์ท่านนั้นได้ชักชวนแกมขอร้องนายแพทย์ประกิจให้กลับไปเมืองไทยเพื่อเป็นอาจารย์แพทย์ทางด้านระบบประสาทวิทยา เนื่องจากในขณะนั้นแพทย์ผู้ที่เชี่ยวชาญระบบประสาทและสมองในประเทศไทยมีน้อยมาก ด้วยความที่นายแพทย์ประกิจ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพัฒนาการการศึกษาทางการแพทย์ของไทย จึงตัดสินใจขายทรัพย์สินในประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมดที่ไม่สามารถนำกลับมาประเทศไทย และเดินทางมาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยอีกครั้งตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา