ผู้ใช้:วีรยุทธ วันชูเพลิด/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปกครองขั้นแขวงและนคร[แก้]

แขวง(Province)[แก้]

แขวงแบ่งเป็น 16 แขวงกับ 1 นครหลวง ได้แก่ นครหลวงเวียงจันทน์ สะหวันนะเขต สาละวัน เชียงขวาง เซกอง บอลิคำไซ บ่อแก้ว หลวงพระบาง จำปาสัก อุดมไซ หลวงน้ำทา หัวพัน พงสาลี เวียงจันทร์ อัตตะบือ ไซยะบุลี และคำม่วน โดยแขวงจะเป็นหน่วยการปกครองที่เทียบได้กับจังหวัดของประเทศไทย ซึ่งพื้นที่แต่ละแขวงของประเทศลาวนั้น จะมีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ และศักยภาพที่แตกต่างกันออกไป โดยแขวงได้รับการจัดตั้ง หรือถูกยุบเลิก และมีการกำหนดเขตแดนตามความเห็นชอบของสภาแห่งชาติ ของนายกรัฐมนตรีที่ได้เสนอ และในการเลือกพื้นที่ตั้งของแขวง โดยพิจารณาจากภูมิศาสตร์ การสะดวกในการเข้าถึงในพื้นที่ และความพร้อมในการพัฒนาเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคม[1][2]

นครหลวงเวียงจันทร์(The Capital of Vientiane)[แก้]

นครเวียงจันทน์ เดิมชื่อว่า กำแพงนครเวียงจันทน์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นนครเวียงจันทน์ ปี ค.ศ.1999 จะมีหลายเมือง หลายเทศบาล เป็นศูนย์กลางทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และยังประกอบไปด้วยเมืองต่างๆได้แก่ จันทบุรี ศรีโคตรบอง ไชยเชษฐา ศรีสัตตนาค นาทรายทอง ชัยธานี หาดทรายฟอง สังทอง ใหม่ปากงึม โดยนครเวียงจันทน์ มีฐานะเทียบเท่ากับแขวงเป็นเขตที่ตั้งของเมืองหลวง ของประเทศลาว ก่อตั้งเขตการปกครองเมื่อ ค.ศ.1989 โดยแยกออกจากแขวงเวียงจันทน์ และมีลักษณะการปกครองคล้ายกับกรุงเทพมหานคร อยู่ทางตอนกลางของประเทศลาว โดยปัจจุบันนครเวียงจันทน์มีพื้นที่ 3.9 พันตารางกิโลเมตร[3][4][5]

การปกครองขั้นเมือง[แก้]

เมือง(District)[แก้]

เมือง เป็นเขตการปกครองท้องถิ่น ที่ขึ้นอยู่กับแขวงหรือนครหลวง โดยในแต่ละเมืองก็จะมีหน่วยย่อยคือ บ้าน โดยโครงสร้างของเมืองประกอบไปด้วย 1.ห้องว่าการของเมือง 2.เจ้าเมือง 3.รองเจ้าเมือง 4.หัวหน้า รองหัวหน้าว่าการ ห้องการ พนักงาน 5.รัฐกร และ 6.บรรดาห้องการของหน่วยงานต่างๆที่อยู่ประจำเมือง โดยการตั้งหรือยุบเลิกเมืองจะมีการพิจารณา เรื่องของประชากร การบริหารราชการ เศรษฐกิจสังคม และงบประมาณที่จะสร้างประโยชน์แก่สาธารณะให้มีประสิทธิภาพ และการปกครองระดับเมืองมุ่งเน้นการตรวจตรา ประเมินผลการดำเนินงานต่างๆ เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชน และเน้นการประสานงาน รวมทั้งการให้บริการประชาชนในท้องถิ่น โดยการปกครองเมืองจะมีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองสูงสุด และมีรัฐกรของส่วนกลาง ปฏิบัติหน้าที่อยู่ประจำเมือง โดยจะมีนายยกแต่งตั้ง และปลดจากตำแหน่งถ้ามีการทุจริตเกิดขึ้น และส่วนตำแหน่งรองเจ้าเมือง มีหน้าที่เป็นผู้ช่วยของเจ้าเมือง โดยได้รับแต่งตั้งจากแขวง หรือนครหลวง[6][7]

เทศบาล(Municipality)[แก้]

เทศบาล เป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นในเขตเมือง อยู่ใต้บังคับบัญชาของแขวงหรือนครหลวง โดยนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งหัวหน้าเทศบาลเอง ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และไม่มีสภาเทศบาล โดยการปกครองของเทศบาลแล้ว จะต้องเป็นพื้นที่ ที่ชุมชนหนาแน่นหรือแออัด ซึ่งเทศบาลมีบทบาทผลักดันให้เศรษฐกิจ สังคมของท้องถิ่น มีการพัฒนา โดยมีการพัฒนาในหลายๆด้าน เช่น เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และการบริหารอีก อย่างหนึ่งเทศบาลจะมีส่วนประกอบ คือ บ้าน เช่นเดียวกับการปกครองเมือง โดยตำแหน่งหัวหน้าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ หัวหน้าเทศบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรี สามารถแต่งตั้ง โยกย้าย และปลดออกจากตำแหน่งได้ ตามคำเสนอของเจ้าแขวง หากมีการทุจริต[8][9]

การปกครองขั้นบ้าน[แก้]

บ้านเป็นเขตการปกครองท้องถิ่น ที่มีขนาดเล็กหรืออยู่ในขั้นต้น ที่มีการปกครองในระดับบ้าน โดยกำหนดให้มีบ้านเรือนมากกว่า 20 หลังคาเรือนขึ้นไป หรือมีประชาชนอาศัยอยู่ร่วมกันมากกว่า 100 คนขึ้นไป เป็นผลมาจากเป้าหมายของหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่ เพื่อขยายการดำเนินงานให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐ ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขที่พูดมาข้างต้น ก็สามารถจัดตั้งให้เป็นบ้านได้แล้ว แต่ต้องได้อนุมัติจากเจ้าแขวง หรือเจ้านครหลวง โดยการเสนอของเจ้าเมือง นอกจากจะเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กแล้ว บ้านยังถือว่าเป็นการดำรงชีวิตของบรรดาชนเผ่า ที่จัดให้มีการปฏิบัติตามแนวทางนโยบาย หรือคำสั่งของรัฐ[10] การปกครองขั้นบ้าน จะประกอบด้วยคณะกรรมการบ้าน โดยมีหน้าที่เพื่อช่วยดำเนินงานในการบริหารภายในพื้นที่การปกครองบ้าน ซึ่งจะมีคณะกรรมการแต่ละชุด จะมีกรรมการ 3 คน ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในบ้านนั้นๆ มีดังนี้ คณะกรรมการป้องกันชาติและรักษาความสงบ คณะกรรมการเศรษฐกิจ และคณะกรรมการวัฒนธรรมและสังคม[11]

ความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองระดับต่างๆ[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับแขวง[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับแขวง ตามรูปแบบการปกครองของประเทศลาวแล้ว จะใช้หลักการรวมศูนย์อำนาจปกครอง แต่แขวงและเจ้านครหลวง จะเป็นการปกครองท้องถิ่นที่มีอำนาจอย่างมาก โดยมีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง เพราะเมื่อรัฐบาลต้องการจะนำนโยบายมาบังคับใช้ในพื้นที่ในท้องถิ่น รัฐบาลจะทำหน้าที่ ด้วยการมอบนโยบายต่างๆ ให้กับแขวงและเจ้านครหลวง และในขณะเดียวกัน การปกครองขั้นเมืองและขั้นบ้าน ได้มีการเสนอปัญหาหรือจะติดต่อกับรัฐบาลก็ต้องผ่านเจ้าแขวงที่มีหน้าที่เชื่อมระหว่างรัฐบาลกับพื้นที่ท้องถิ่น โดยเจ้าแขวง จะมีอำนาจหน้าที่ ที่เบ็ดเสร็จในพื้นที่นั้นๆ และอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ เจ้าแขวงจะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่อนายกรัฐมนตรี และประธานประเทศเท่านั้น[12]

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับเมือง[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับเมือง รัฐบาลกับการปกครองระดับเมืองยังไม่มีความชัดเจนในบางเรื่อง เพราะเนื่องจากเมืองเป็นหน่วยการปกครองที่เชื่อมระหว่างแขวงและบ้าน จะมีอำนาจหน้าที่คล้ายกับแหวง ที่จะมีความแตกต่างกันในบางเรื่อง เช่นในเรื่องอำนาจในการควบคุม และอนุญาตให้เปิดปิดบริการสถานบันเทิงต่างๆ และวัฒนธรรม ที่ต้องให้เมืองมีอำนาจในการอนุญาตในเรื่องต่างๆ และอีกอย่างหนึ่งรัฐบาลยังมอบอำนาจให้ควบคุมดูแลกิจการ ในการดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจะมีการแบ่งหน้าที่กันไปในตามระดับที่รัฐบาลได้กำหนด และแนะนำไว้ในเรื่องต่างๆ[13]

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับบ้าน[แก้]

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับบ้าน บ้านเป็นเขตการปกครองระดับท้องถิ่น ที่เล็กที่สุดหรืออยู่ในระดับล่างสุด ที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด จึงมีบทบาทหน้าที่ ภารกิจของบ้านกำหนดไว้อย่างชัดเจน การที่รัฐบาลได้เสนอนโยบายมา โดยจะมีหน้าที่ ในการควบคุมดูแลทรัพยากรวัฒนธรรม งานสาธารณะประโยชน์ต่างๆ แต่การทำงานก็ต้องอยู่ภายใต้การควบคุม ของเจ้าเมืองอย่างเข้มงวด เช่น นายบ้านจะต้องรายงานการดำเนินงานต่างๆ ให้แก่เจ้าเมืองได้รู้ได้ทราบถึงการดำเนินงานต่างๆ เป็นต้น[14]

การเงินการคลังท้องถิ่น[แก้]

ประเทศลาวจะ มีงบประมาณประเภทเดียว คือ งบประมาณแห่งรัฐและเป็นเอกภาพประเทศ โดยจะไม่มีการจำแนกออกเป็นงบประมาณส่วนกลางส่วนท้องถิ่นเพราะรัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจแก่สมาชิกสภาแห่งชาติ ให้มีอำนาจรับรองว่างบประมาณแห่งรัฐประจำปี โดยสภาแห่งชาติ จะสามารถเสนอให้รัฐบาลเพิ่มหรือลดงบประมาณรายจ่ายใดก็ได้ ในเวลาต่อมาได้มีการแบ่งอำนาจให้ความสำคัญจึงสามารถบริหารงบประมาณบางประเภทได้ซึ่งเป็นการเสนอของรัฐบาลให้สภาแห่งชาติพิจารณา ต่อมาปี ค.ศ.1998-1999 เป็นมา รัฐบาลได้มีการจัดแบ่งงบประมาณอย่างจริงจัง ให้กับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีอำนาจรับผิดชอบ ในรูปแบบที่เรียกว่า การมอบเหมา ซึ่งมีการแบ่งให้กับแขวงต่างๆ ตามขนาดของพื้นที่แตกต่างกันออกไป ทำให้มีการแบ่งงบประมาณสู่แขวงโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนหรือการพิจารณา ของกระทรวง ทบวง กรม แต่อย่างใด และยังได้สิทธิในการเสนอ งบประมาณประจำปีของตนเอง เพื่อให้รัฐบาลพิจารณา และเสนอต่อสภาแห่งชาติพิจารณา และอนุมัติต่อไป ปัจจุปันเจ้าแขวงจะเป้นผู้รับผิดชอบ ในเรื่องของการจัดการงบประมาณให้แก่การปกครองระดับเมือง และระดับบ้าน ดังนั้น เจ้าแขวงจึงมีอำนาจหน้าที่ ในการสั่งจ่าย หรือการจัดสรรงบประมาณ[15] ด้านการตรวจสอบและควบคุมการบริหารงานงบประมาณ นั้นเป็นการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่าง ส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่น ด้วยกฏหมาย 3 ฉบับ ได้แก่กฎหมายว่าด้วยงบประมาณแห่งชาติ ค.ศ.1994 ที่มีการบัญญัติการตรวจสอบงบประมาณในภาพรวม ฉบับกฏหมายต่อมาคือ ตรวจสอบบัญชีแห่งรัฐที่ปฏิบัติภายใต้คำสั่งของนายกรัฐมนตรีเลขที่ 159/นย ลงวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ.1996 ที่ว่าด้วยการตรวจสอบบัญชีต่างๆ เช่น บัญชีแห่งรัฐ บัญชีงบประมาณ บัญชีคลังเงิน บัญชีบริหารวิชาการ เป็นต้น และกฎหมายฉบับสุดท้ายคือ คำสั่งของนายกรัฐมนตรีเลขที่ 160/นย ลงวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ.1996 ว่าด้วยการตรวจสอบเงินแห่งชาติ ที่มีเป้าหมาย หรือมุ่งเน้นในการควบคุมตรวจสอบ ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงินทุกฉบับของรัฐทุกแขนง และทุกระดับ[16]

การบริหารงานบุคคลท้องถิ่น[แก้]

เจ้าแขวงหรือเจ้านครหลวง ถือว่ามีฐานะเป็นทั้งผู้แทนรัฐบาลและผู้แทนของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีโดยตรง รวมถึงยังเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในระดับท้องถิ่นอีกด้วย โดยทำหน้าที่ในการบริหารงานภายในส่วนราชการประจำในท้องถิ่น จึงเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของรัฐกร สังกัดกระทรวง ทบวง กรม ที่ได้ส่งข้าราชการประจำมาปฏิบัติหน้าที่ ประจำแขวงและนครหลวง ซึ่งมีการใช้อำนาจในการบริหารงานบุคคล ทั้งในแขวงและนครหลวง โดยใช้แนวทางตามมติของกรม การเมืองศูนย์กลางพรรคเลขที่ 21/กม.สพ.ว่าด้วยทิศทางและหลักการในการคุ้มครองตามแขนง ลงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ.1993 โดยได้แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ 1 การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการแต่งตั้ง บรรจุ โยกย้าย และปลดจากตำแหน่งของรัฐกรสังกัดกระทรวง และลักษณะที่ 2 การประเมินความประพฤติ ดำเนินการทางวินัยของรัฐกรที่ประจำการในแขวง[17]

การตรวจสอบ การควบคุม และการกำกับการทำงานของท้องถิ่น[แก้]

ตามความเป็นจริงแล้ว การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศลาว โดยจะเป็นการรวมศูนย์อำนาจ แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ จะเห็นว่าตำแหน่งเจ้าแขวงหรือเจ้านครหลวง จะเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจอย่างมาก และเป็นการบังคับบัญชามากกว่าการตรวจสอบ ควบคุมและกำกับดูแล ถึงเจ้าเมืองและนายบ้านจะมีฐานะเป็นตัวแทนการปกครองท้องถิ่นก็ตาม แต่สถานะทางบทบาทและอำนาจหน้าที่ จะเป็นลักษณะหน่วยการปฏิบัติและรองรับ สั่งการ อนุมัติ จากแขวงหรือนครหลวง มากกว่าการที่ปฏิบัติหน้าที่ของท้องถิ่นเอง[18] ส่วนรูปแบบการตรวจสอบ การควบคุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศลาว โดยคณะกรรมการแห่งรัฐจะทำหน้าที่ ตรวจสอบทั่วๆไป แต่มักจะถูกสังเกตว่า ไม่ตอบสนองความต้องการในการตรวจสอบการทำงาน ขององค์กรการปกครองท้องถิ่น โดยเฉพาะจะเห็นว่า การใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าแขวงและเจ้าเมือง รวมทั้งองค์กรศาล ก็ยังมีภาพลักษณ์ ของการถูกควบคุมโดยพรรคของประชาชน นอกจากนี้ยังเกิดความล่าช้าโดยเฉพาะกรณีที่ประชาชนมีการร้องทุกข์ แต่อย่างไรก็ตาม ในการตรวจสอบ ควบคุม และกำกับการทำงานของท้องถิ่น จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ การควบคุบโดยตรง และการควบคุมโดยอ้อม โดยการควบคุมโดยตรง จะเป็นการควบคุมโดยนายกรัฐมนตรี ที่มีฐานะเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจตามมาตรา 67 แห่งรัฐธรรมนูญ ที่มีการแต่งตั้ง โยกย้าย หรือปลดตำแหน่งเจ้าแขวงหรือเจ้านครหลวง และยังมีอำนาจตามมาตรา 71 แห่งรัฐธรรมนูญ ในการชี้นำ และตรวจตราการดำเนินงานขององค์กรปกครองท้องถิ่นที่ขัดกับระเบียบกฎหมาย ส่วนการควบคุมโดยอ้อม จะเป็นการควบคุมโดยอาศัยกลไก ด้านการบริหารงาน โดยการควบคุมทางอ้อม จะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 การใช้เงินอุดหนุน และลักษณะที่ 2 การใช้สัญญามาตรฐาน[19]

  1. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า71
  2. jane,https://www.gotoknow.org/posts/209821,2017-04-24
  3. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า76
  4. บ้านจอมยุทธ,http://www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/laos/03.html,สิงหาคม 2543,2017-04-24
  5. พิษณุ จันทร์วิทัน,http://www.boi.go.th/thai/clmv/Back_up/2010_laos/2010_laos_4_10.html,2017-04-24
  6. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า83
  7. สมเนตร,https://web.facebook.com/notes/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%96-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99/646303312102189/?_rdc=1&_rdr,27มีนาคม2014,2017-04-24
  8. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า85
  9. สเนตร,https://web.facebook.com/notes/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99-%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A7-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%96-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99/646303312102189/?_rdc=1&_rdr,27มีนาคม2014,2017-04-24
  10. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า86
  11. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า87
  12. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า89
  13. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า94
  14. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า94
  15. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า95
  16. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า100
  17. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า102
  18. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า104
  19. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,สิงหาคม2556,ศุทธิกานต์ มีจั่น,หน้า105