ผู้ใช้:วัดม่วงฝ้าย(สระบุรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดม่วงฝ้าย[แก้]

วัดม่วงฝ้าย ตั้งอยู่เลขที่ ๗ บ้านม่วงฝ้าย หมู่ที่ ๑๐ ตำบลหัวปลวก อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์ ๑๘๑๖๐ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย[1]

อาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ จรดที่ดินนางหนู สุขคำนา
  • ทิศใต้ จรดทางสาธารณะประโยชน์
  • ทิศตะวันออก จรดลำรางสาธารณะประโยชน์
  • ทิศตะวันตก จรดที่ของนายเล็ก

ประวัติวัด[แก้]

  • ประวัติวัดม่วงฝ้าย โดยสังเขปชื่อวัด วัดม่วงฝ้าย เป็นวัดราษฎร์ เดิมชาวบ้านมักนิยมเรียกว่า วัดป่าม่วงฝ้ายตามคำบอกเล่าของชาวบ้านว่าที่ตั้งวัดมีต้นมะม่วงฝ้ายอยู่ชาวบ้านจึงเรียก วัดป่าม่วงฝ้าย
  • ขอตั้งขึ้น เป็นวัดเมื่อวันที่ ๒๔ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕โดยนายบัว สุรัตนะ
  • สถานะ เป็นสำนักสงฆ์(ยังไม่มีอุโบสถ)
  • โดยมี ๑) นายดี การะแวก ถวายที่ดินให้ เนื้อที่ ๕ไร่ ๒งาน๔๙ตารางวา ๒) นายบัว สุรัตนะ ถวายที่ดินให้ เนื้อที่ ๓งาน ๕๑ตารางวา
  • โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๔๔๒ (น.ส. ๔ ง )เล่ม๑๐๕..เลขที่ดิน๕๐..เนื้อที่ ๕ไร่ ๒งาน๔๙ตารางวา
  • โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๔๔๐ (น.ส. ๔ ง )เล่ม๑๐๕..เลขที่ดิน๖๕..เนื้อที่ ๓งาน ๕๑ตารางวา
  • เดิมวัด มีเนื้อที่ ๖ไร่ ๒งานปัจจุบันทางวัดได้ซื่อที่ดินของ นางหนู สุขคำนา เพิ่มอีก ๓ไร่ ๒งาน วัดจึงมีเนื้อที่๑๐ไร่[2]

สิ่งปลูกสร้าง[แก้]

  • ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีโรงครัว๑หลังสร้างเสร็จปี พ.ศ.๒๕๔๔ใช้งบประมาณการก่อสร้าง๒,๖๓๔,๖๒๐บาท
  • ศาลาประชาคมSML กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้งบประมาณการก่อสร้าง๒,๐๐,๐๐๐บาท
  • กุฏิสงฆ์จำนวน ๑ หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ มีกุฎี ๙ห้อง ๑ ห้องน้ำ -๑ ห้องส้วม
  • เรือนเก็บพัสดุ ๑ หลัง หอระฆัง ๑ หลัง มีห้องน้ำ-ห้องส้วมภายนอกอีก๙ห้อง

ปูชนียวัตถุ[แก้]

  • พระประธาน ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๘ นิ้ว สูง ๕๙ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘
เจ้าอาวาส[แก้]

ลำดับเจ้าอาวาส เท่าที่สามารถสืบทราบได้ เริ่มตั้งแต่สร้างวัดจนถึงปัจจุบันมีดังนี้

  • รูปที่ ๑.พระครูพิศิษฏ์พัฒนวิธาน (บัญญัติ ธีรปญฺโญ) พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๕๓
  • รูปที่ ๒.ใบฎีกา สำอาง อุตฺตกาโม พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๕
  • รูปที่ ๓.พระอธิการสุวรรณ สนฺตมโน พ.ศ.๒๕๕๗ ถึงปัจจุบัน
อ้างอิง[แก้]
  1. ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๔ กองพุทธสถาน, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ๒๕๕๒
  2. ↑ หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรไทย