ผู้ใช้:วรฉัตร กาญจนตรุ/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิธีไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกกฎหมาย[แก้]

การไปทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มี 5 วิธี[แก้]
         1.บริษัทจัดหางานจัดส่งไป 
         2.กรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่งไปทำงาน 
         3.ผู้ที่ะไปทำงานคิดติดต่อหางานเอง 
         4.นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างของตนไปทำงาน
         5.นายจ้างในประเทศส่งลูกจ้างตนไปฝึกงาน 
บริษัทจัดหางานจัดส่งไป[แก้]
         -บริษัทจัดหางานที่จดทะเบียนก็อาจทำผิดกฏหมายได้อย่าเชื่อใจง่าย ๆ บริษัทจัดหางานที่ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมาย
         - ต้องแสดงใบอนุญาตการจดทะเบียนต่อกรมการจัดหางาน ไว้ในที่เปิดเผยและเห็นชัด ณ สำนักงานที่ได้รับอนุญาต 
         - ต้องจดทะเบียนลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางานที่ทำงานให้บริษัทไม่ใช้สายหรือเป็นนายหน้าเถื่อน 
         - เรียกเก็บค่าหัวตามกฎหมายและออกใบเสร็จรับเงินให้คนหางานไว้เป็นหลักฐาน 
         - เรียกเก็บเงินล่วงหน้าได้ไม่เกิน 30 วันก่อนเดินทาง ถ้าไม่ส่งไปทำงานตามกำหนด ต้องคืนเงินให้ทันที
         - ต้องส่งคนงานไปตรวจโรค ณ สถานพยาบาลตามที่กรมการจัดหางานประกาศรายชื่อไว้ 
         - ต้องส่งคนหางานไปทดสอบฝีมือ ณ สถานทดสอบฝีมือตามที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานอนุญาต 
         - ต้องพาคนงานเข้ารับการฝึกอบรมจากเจ้าหน้าที่ของกรมการจัดหางานก่อนเดินทาง 
         - ต้องพาคนหางานเดินทางออกไปทำงานต่างประเทศผ่านด่านตรวจคนหางานของกรมการจัดหางาน
กรมการจัดหางานเป็นผู้จัดส่งไปทำงาน[แก้]
           เป็นบริการของรัฐที่ส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยไม่ต้องเสียค่าบริการใด นอกจากค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าวีซ่า ค่าภาษี สนามบิน ค่าสมาชิกกองทุนฯ ค่าที่พักสำหรับเตรียมตัวก่อนเดินทาง
        
สถานที่รับสมัคร[แก้]
           - ต่างจังหวัด สมัครได้ที่สำนักงานจัดหางานทุกจังหวัดทั่วประเทศ 
           - กรุงเทพฯ สมัครที่สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ ฝ่ายพิจารณาการไปทำงานตามระบบ IOM และประเทศอื่นๆ กรมการจัดหางาน โทรศัพท์  0-245-1034  สำนักจัดหางานกรุงเทพทุกพื้นที่
เอกสารที่ต้องใช้ในการสมัคร[แก้]
              - รูปถ่าย 2 นิ้ว 2 รูป 
              - สำเนาทะเบียนบ้าน 
              - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 
              - ใบผ่านงาน (ถ้ามี) 
              - เนาหนังสือเดินทาง (ถ้ามี)
ขั้นตอนการจัดส่ง[แก้]
              1. ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกต้องมารายงานตัว ณ สถานที่ที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบพร้อมเอกสาร ดังนี้
                      - รูปถ่าย 2 นิ้ว จำนวน 3 โหล 
                      - หนังสือเดินทางพร้อมสำเนา 7 ฉบับ 
                      - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 7 ฉบับ 
                      - สำเนาทะเบียนบ้าน 7 ฉบับ 
                      - สำเนาหลักฐานทางการทหาร 7 ฉบับ 
                      - ใบผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือ (กรณีช่าง) 
                      - ใบรับรองผ่านการตรวจโรค (ตามสถานพยาบาลที่กำหนด) 
              2. ไปตรวจสอบประวัติอาชญากรรมที่กองกำกับการตำรวจสันติบาล 
              3. ชำระเงินค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าภาษีสนามบิน ค่าวีซ่า ค่าบัตรสมาชิกกองทุนฯ ค่าที่พักชั่วคราวเพื่อเตรียมตัวก่อนเดินทาง
              4. เข้ารับการอบรมก่อนเดินทาง 
              5. ทำบัตรสมาชิกกองทุนฯ 
              6. เจ้าหน้าที่ส่งคนงานที่สนามบิน และเมื่อถึงประเทศที่คนงานไปทำงานจะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานแรงงานในต่างประเทศมารับที่สนามบิน
         ข้อแนะนำ 
         คนหางานที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศ ควรเตรียมหนังสือเดินทางไว้ล่วงหน้า เนื่องจากนายจ้างจะพิจารณาคัดเลือกผู้มีหนังสือเดินทางก่อน
        
3. นายจ้างในประเทศไทยพาลูกจ้างของตนไปทำงาน[แก้]
         กรณีนี้นายจ้างอาจมีบริษัทแม่อยู่ในต่างประเทศหรืออาจประมูลงานได้  จึงส่งคนงานที่อยู่ในประเทศไทยไปทำงานคนงาน ดังกล่าวยังมีฐานะเป็นลูกจ้าง ของนายจ้างในประเทศไทยจึงได้รับเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงเต็มจำนวน
4 . นายจ้างในประเทศไทยส่งลูกจ้างของตนไปฝึกงาน[แก้]
         ลักษณะนี้นายจ้างต้องขออนุญาตพาลูกจ้างในโครงการส่งไปฝึกงานต่างประเทศหรือบริษัทแม่หรือเครือข่ายเป็นการเรียนรู้พัฒนา ฝีมือลูกจ้างให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
5. คนงานแจ้งไปทำงานด้วยตนเอง[แก้]
         กรณีนี้คนงานที่ติดต่อหางานต่างประเทศหรือจากคำแนะนำของญาติพี่น้อง เพื่อนหรือคนงานที่ทำงานครบตามสัญญาจ้างแล้วได้ต่อสัญญาจ้าง เมื่อเดินทางกลับมาพักผ่อนในประเทศไทย และจะเดินทางกลับไปทำงานอีกต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานก่อนวันเดินทางไม่น้อยกว่า 10 วัน
เอกสารและของใช้ที่ควรนำติดตัวไป[แก้]
               - หนังสือเดินทาง(พาสปอร์ต)ให้ถ่ายสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย ประวัติตลอดจนหน้าที่มีวีซ่าเก็บแยกต่างหากจากพาสปอร์ตกรณีหายจะใช้เป็นหลักฐานได้
               - บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนสมรส ใบขับขี่ (ถ้ามี) 
               - หลักฐานเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร สด.9
               - รูปถ่ายขาว-ดำ ขนาดต่างๆ 
               - สัญญาจัดหางานและสัญญาจ้างแรงงานพร้อมสำเนา - บัตรสมาชิกกองทุน 
               - หลักฐานเหล่านี้ควรถ่ายเอกสารให้ครอบครัวเก็บรักษาไว้ 1 ชุด


การลงทะเบียน[แก้]
         การลงทะเบียนผู้ประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศเป็นมาตรการที่ใช้คุ้มครองคนหางานเพื่อลดปัญหาการถูกหลอกลวงโดยสาย  หรือนายหน้าจัดหางาน ตลอดจนลดค่าใช้ของคนหางานในการสมัครงาน และการติดตามว่าจะได้เดินเมื่อใด
คุณสมบัติของผู้ลงทะเบียน[แก้]
               - มีสุขภาพดีไม่มีโรคประจำตัวหรือโรคติดต่อร้ายแรง 
               - มีฝีมือในตำแหน่งที่จะลงทะเบียน
               - มีความพร้อมที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศ 
               - อายุระหว่าง 20-40 ปี 


ทำอย่างไรจึงไม่ถูกหลอก[แก้]
               - สมัครงานกับบริษัทจัดหางานที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยขอดูจากใบอนุญาตจัดหางาน 
               - สอบถามเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานว่าบริษัทจัดหางานมีจริงหรือไม่ 
               - อย่าจ่ายเงินค่าหัว จนกว่าจะทราบกำหนดการเดินทาง 
               - ไม่ควรจ่ายเงินค่าบริการ (ค่าหัว) เป็นเงินสด ให้จ่ายผ่านธนาคาร โดยขอคำแนะนำจากธนาคาร
               - เมื่อจ่ายเงินแล้ว ให้ขอใบเสร็จรับเงินจากบริษัทไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง 
               - หลังจ่ายเงินแล้ว หนึ่งเดือนยังไม่ได้เดินทาง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่กรมการจัดหางานทันที 
                 
         
การลงทะเบียนเพื่อไปทำงานต่างประเทศวิธีการลงทะเบียน[แก้]
         ไปพบเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ทะเบียนฯสำนักงานจัดหางานจังหวัดหรือสำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 ที่ท่านมีภูมิลำเนาอยู่หรือฝ่ายทะเบียนคนหางานและสารสนเทศ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน พร้อมหลักฐานดังนี้ 
                - บัดรประจำตัวประชาชน 
                - หลักฐานการศึกษา 
                - ใบรับรองทดสอบฝีมือ 


กรอกแบบลงทะเบียนให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ[แก้]
         ให้ลงทะเบียนเพียงครั้งเดียว และไม่ว่าจะลงทะเบียนที่ไหน รายชื่อของท่านจะอยู่ในศูนย์ทะเบียนคนหางานฯ กรุงเทพมหานคร เมื่อ ลงทะเบียนแล้วขอให้ท่านส่งไปรษณียบัตรถึงศูนย์ทะเบียนฯ เพื่อยืนยันความประสงค์จะไปทำงานทุกวันที่ 25 ของเดือน

       
ค่าใช้จ่ายในการไปทำงานต่างประเทศ[แก้]
         ค่าทำหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต 1,000 บาท หากประสงค์จะรับหนังสือเดินทาง ทางไปรษณีย์จะเสียค่าจัดส่งเพิ่มอีก เป็นเงิน 35 บาท (รวมเป็น 1,035 บาท) ติดต่อทำที่กองหนังสือเดินทาง กระทรวงการต่างประเทศ ปัจจุบันมีสถานที่ที่จะไปทำพาสปอร์ตได้ 4 แห่ง  คือ
              1. กรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ เลขที่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร : 981-7170-99, 981-7200-19. 
              2. ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต ชั้น 4 โทรศัพท์ 531-1841 
              3. ศูนย์การค้าอิมพีเรียลบางนา ชั้น 5 โทรศัพท์ 744-0893 
              4. ศูนย์การค้าเซ็นทรัลปิ่นเกล้า ชั้น 8 โทรศัพท์ 884-8820-28
               - ค่าตรวจสุขภาพเพื่อไปทำงานต่างประเทศไม่เกิน 1,500 บาท แต่ต้องไปตรวจในโรงพยาบาลที่กรมการจัดงานประกาศรายชื่อไว้
               - ค่าทดสอบฝีมือครั้งละไม่เกิน 500 บาท หากค่าทดสอบฝีมือมีค่าใช้จ่ายสูงเกิน 500 บาท ให้ผู้ได้รับอนุญาตดำเนินการทดสอบฝีมือ เรียกเก็บได้ตามอัตราที่อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท 
               - ค่าบริการและค่าใช้จ่าย (ค่าหัว) ไปทำงานไต้หวันเสียค่าบริการและค่าใช้จ่ายไม่เกิน 56,000 บาท
               - ไปทำงานประเทศอื่นๆ เสียค่าบริการเท่ากับค่าจ้าง ที่ท่านได้รับไม่เกิน 1 เดือน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการจัดส่งไม่เกิน 15,000 บาท
               - ถ้าท่านไปทำงาน สิงคโปร์ เงินเดือน 8,000 บาท บริษัทจัดหางานจะเก็บได้ไม่เกิน 8,000 + 15,000 = 23,000 บาท

[1]

  1. http://www.mol.go.th/anonymouse/employee/international-law