ผู้ใช้:ร.ท.สุนทร/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สัก ที่เป็นคำกริยา แต่นำมาตั้งเป็นคำนาม

สักเป็นคำกริยา อันหมายถึงการทิ่มแทง โดยทั่วไป คำกริยาต่างๆมนุษย์หรือสัตว์จะเป็นผู้แสดงกิริยานั้น เช่น พูด เห่า กระพริบตา เดิน นอน ส่วนสิ่งธรรมชาติที่มีอาการเคลื่อนไหวต่างๆ ย่อมหมายถึงกริยาด้วยเช่นกัน เช่นแผ่นดินไหว น้ำหยด ลมพัด น้ำสักน้ำสักนั้นเป็นอย่างไร ด้วยพื้นที่มีความสูงชัน

ต่างกันก่อให้เกิดการไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ เริ่มจากน้ำฝนจากยอดเขา ไหลจากสันปันน้ำลงสู่หุบเขาเบื้องล่างเกิดเป็นลำธาร หลายๆลำธารจากหลายๆหุบเขา

มาบรรจบรวมกันที่ราบเชิงเขา ปริมาณน้ำที่มากเกิดเป็นแม่น้ำหากที่ราบนั้นต่ำกว่าเนินเขาอยู่มากกระแสการไหลของน้ำย่อมไหลเชี่ยวรุนแรง ความคดเคี้ยวของแม่น้ำ เกิดจากความอ่อน แข็งของพื้นดินที่ทางเดินของแม่น้ำไหลผ่าน ดังนั้นจึงเกิดฝั่งจากความคดเคี้ยวนั้นสองด้านด้านหนึ่งเรียกหัวแหลมอีกด้านเรียกคุ้งน้ำ ด้านหัวแหลม นั้นจะอยู่ตรงข้ามทิศทางการไหลของน้ำดังนั้นจะถูกกระแสน้ำ พุ่งเข้าใส่ อาการพุ่งชนพร้อมกัดเซาะนั้นเรียกว่า "สัก" ในประเทศไทย "สักถูกนำมาเป็นคำนามตั้งชื่อ แม่น้ำที่ไหลเชี่ยวที่มีแหล่งกำเนิดจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนปลายน้ำมาบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำลพบุรี ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐาน ว่าเหตุที่แม่น้ำนี้ได้ชื่อว่า แม่น้ำป่าสัก มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพราะเหตุที่น้ำป่าที่ไหลจากเมืองเพชรบูรณ์ที่มีความสูงของพื้นที่มากเมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ที่ลุ่มต่ำ หัวแหลมตรง ทำนบหัวรอจึงถูกน้ำป่า"สัก" พังทลายลงต่อมาเมื่อ มีการขุดคลองเมืองด้านทิศตะวันออกเรียกคูขื่อหน้ากระแสน้ำจึงเปลี่ยนทิศจากแม่น้ำเดิมด้านทิศเหนือ เป็นการไหลมาทิศคูขื่อหน้าจนกว้างเป็นแม่น้ำ "สัก"ยังนำมาตั้งชื่อต้นไม้ที่มีเนื้ออ่อนสีเหลืองทองสวยงาม เนื้อเหนียว มีน้ำมันภายในเนื้อไม้ ปลวกไม่กัดกินเนื้อไม้ นิยมนำมาเกะสลัก สร้างบ้านส่วนที่เป็นเครื่องบนและฝาบ้าน ไม้ชนิดนี้ในยุคที่ใช้เรือเป็นพาหนะหลักยังนิยมนำมาต่อเรือพาย และเมื่อเรือถูกหอยเพียงเจาะเป็นรูรั่ว จะนำไม้ชนิดนี้มาเหลาให้แหลมข้างหนึ่งเรียวใหญ่ขึ้นมาเรียกไม้ที่เหลานี้ว่า"ลูกสัก"

ค้ายตะปู ตอกอุดเรือรั่ว ส่วนการติดตั้งเครื่องบนของเรือนไทยและการติดตั้งฝาเรือนก็ใช้ไม้ ลูกสักแต่มีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้ตอกอุดรูรั่วของเรือ ตอกเข้าติดกันแทนตะปู