ผู้ใช้:พระมหาวัชรพล สกุลสุข/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติวัดวรจรรยาวาส[แก้]

วัดวรจรรยาวาส เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ที่1020/25 ซ.เจริญกรุง 72 ถ.เจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร[แก้]

1424 × 400px·JPG CC BY-SA 4.0 ศิลปิน/ผู้สร้างสรรค์งาน: กสิณธร ราชโอรส Own work อัปโหลดโดย กสิณธร ราชโอรส อัปโหลด: 3 ปีที่แล้ว สร้าง: 2015-05-29 15:34:57
พระพุทธวรมุนีศรีรัตนโกสินทร์ (หลวงพ่อโตพระนอนองค์ใหญ่)
3240 × 4320px·JPG CC BY-SA 4.0 ศิลปิน/ผู้สร้างสรรค์งาน: กสิณธร ราชโอรส Own work อัปโหลดโดย กสิณธร ราชโอรส อัปโหลด: 3 ปีที่แล้ว สร้าง: 2016-02-20 11:13:49
พระประธานในพระอุโบสถ (พระปางมารวิชัย)
พระประธานในพระอุโบสถ (พระปางมารวิชัย)

วัดวรจรรยาวาส สร้างอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา หน้าวัดหันหน้าสู่แม่น้ำ เขตของวัดด้านเหนือติดกับคลองบางขวาง วัดวรจรรยาวาสเดิมชื่อ วัดบางขวางล่าง จึงเรียกว่า“วัดบางขวางล่าง” ขุนท่องสื่อ โสณกุลได้ทำการบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ ๒ เมือปี ๒๓๔๑ ต่อมาท่านขุนท่องสื่อบุตรพระยาอภัยพิพิธพร้อมน้องชาย ชื่อพระสิริสมบัติ เป็นคุณปู่ของขุนท้าววรจันทรบรมธรรมมิกภักดีนารีคณานุรักษา[1] เป็นพระสนมเอก เจ้าจอมมารดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในร.๔ มีพระโอรสร่วมพระองค์ พระนามว่าพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา ทรงเป็นต้นตระกูล "โสณกูล" และเป็นพระบิดา พระเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และเป็นประธานองคมนตรี เป็นผู้ค้ำชูอุปถัมภ์วัดนีี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๕ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท่านเป็น ท้าววรจันทรบรมธรรมมิกภักดีนารีวรคณานุรักษา มีตำแหน่งหน้าที่บังคับบัญชาตัดสินราชการฝ่ายใน ในพระบรมราชวัง กราบทูลถวายคำแนะนำพระบรมวงค์ศานุวงค์ฝ่ายในและตักเตือนพระสนมกำนันฝ่ายใน เป็นย่าของพระเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร สองพระองค์นี้้ได้เสด็จมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ เสด็จมาทอดกฐินทุก ๆ ปี ท่านเชื้ญเชิญจ้าวนาย ท้าวนางผู้ใหญ่ เจ้าจอมมารดา เจ้าจอมฝ่ายใน และมิตรสสหาย มาบำเพ็ญบุญกุศลในวัดนี้มาโดยตลอด วัดบางขวางล่าง จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดจากวัดบางขวางล่าง เป็นวัดวรจรรยาวาส เพราะได้นำพระนามของท้าววรจันทรบรมธรรมมิกภักดีนารีวรคณานุรักษา จนถึงปัจจุบันนี้[แก้]

วัดวรจรรยาวาสแห่งนี้ มีเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ๖ รูปด้วยกัน เจ้าอาวาสวัดวรจรรยาวาสปัจจุบัน พระครูวินัยธร เทพดรุณ ฐานเทโว  อายุ ๗๐ พรรษา ๓๘ วัดวรจรรยาวาส สังกัด มหานิกาย

สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็น พระครูวินัยธร ฐานานุกรมใน พระเทพประสิทธิมนต์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม ที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร

ธรรมาสน์บุษบก วัดวรจรรยาวาส

ธรรมาสน์บุษบก[2] ฝีมือช่างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เป็นบุษบกที่มีลักษณะและศิลปะลวดลายงดงามลงตัวอย่างยิ่ง เก็บรักษาอยู่ที่ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ สร้างแบบก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าและใบระกาหน้าบันทั้งหน้าและหลังเป็นรูปปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัย บริเวณด้านหน้าในกำแพงแก้วมีมณฑป ๒ หลัง มณฑปด้านซ้ายประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก ส่วนมณฑปด้านขวาประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติและปางทุกรกิริยา ธรรมาสน์อันเป็นที่สำหรับพระสงฆ์นั่งแสดงธรรม รูปทรงปราสาทแกะสลักลวดลายอย่างวิจิตรพิสดารเท่าที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดมีมาตั้งแต่ครั้งสมัยอู่ทองลงมาจนถึงอยุธยา ธรรมาสน์วัดวรจรรยาวาสนี้ สร้างขึ้นราวรัชสมัยพระนเรศวรมหาราชหรือพระเอกาทศรถ นับเป็นธรรมาสน์สมัยอยุธยาตอนกลางที่งดงามยิ่งใหญ่ ไม่มีแห่งใดเทียบได้ พิจารณาจากรูปทรงขององค์ธรรมาสน์ จะเห็นความงามแบบคลาสสิกลงตัวของศิลปะอยุธยาในยุคที่แจ่มจรัสที่สุด อำนาจของศิลปะที่แสดงออก บ่งถึงอำนาจราชศักดิ์ของพลังแสนยานุภาพของกรุงศรีอยุธยาโดยแท้ นายช่างศิลป์ท่านแกะสลักตัวกระจังขนาดใหญ่รูปครุฑมุมและนรสิงห์ตรงกลางเป็นครุฑแบกและสิงห์แบก ลำตัวขนาดใหญ่เข้มแข็งทะมัดทะแมงลักษณะดุดัน แม้กระจังปฎิญานกับกระจังเจิมก็สะบัดพลิ้วเคลื่อนไหวเป็นชั้นเชิง ทองคำที่ปิดทำให้ดูลุกวาวปลุกอารมณ์ให้พวยพุ่งเกิดปีติในความงามอันบริบูรณ์พอดี ลายหน้ากระดานใต้กระจังตัวบนเป็นลายแก้วชิงดวงผสมกับลายลูกโซ่ไปตลอด แต่เพื่อมิให้ดูเลี่ยนตา นายช่างท่านสลับลายประจำยามคั่นไว้เป็นช่วงๆ ทำให้มีจังหวะงาม ลายประจำยาม ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าลายดอกสี่กลีบ พวกช่างมักจะเรียกว่า ลูกกระแอม คือติดไว้อย่างนั้นเอง แก้เลี่ยน จะไม่มีก็ได้ เหนือหน้ากระดานแก้วชิงดวง เป็นกระจังตาอ้อยเป็นแถว ใต้กระจังต่ำลงมาจากกระดานแก้วชิงดวง เป็นบัวรวน สังเกตได้ชัดว่าเป็นลายกลีบบัวรวนขนาดใหญ่ ถ้าสมัยอยุธยาตอนปลายกลีบจะเล็กเรียว ใต้บัวหงายหรือบัวรวนลงไป มีกระจังห้อยลงมาเป็นกระจังรวน ด้านล่างลงมาเป็นครุฑแบกสิงห์แบกยืนบนแท่นบัวหงาย มีแข้งหน้ากระดานเป็นลายประจำยามก้ามปู ฐานอันนี้ตั้งบนฐานบัวหงาย มีแข้งสิงห์ สังเกตลายแข้งสิงห์มีขนาดใหญ่ ตัวกนกเข้มแข็งมาก แตกต่างจากแข้งสิงห์สมัยอยุธยาตอนปลายที่อ่อนระหง ทรงยอดปราสาทของธรรมาสน์เป็นแบบยอดมณฆปทั่วไป แต่ทรวดทรงยอดปราสาทเข้มแข็งมาก มีบันแถลง นาคปัก นาคเบือน แล้วยังมีกระจังแทรกไปโดยตลอด แปลกกว่าที่อื่นๆ

ข้อมูลน่าสนใจ

ชื่อ วัดวรจรรยาวาส

ที่ตั้ง 1020/25 ซ.เจริญกรุง 72 ถ.เจริญกรุง แขวงวัดพระยาไกร

เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120

โทรศัพท์: (662) 289-0415

เวลาทำการ:บริเวณวัด: ทุกวัน 5.30 -22.00 น.

โบสถ์: ทุกวัน 8.00-10.00 น. 16.00-18.00 น.

ค่าธรรมเนียม-ค่าเข้าชม: ไม่เสียค่าธรรมเนียม

กิจกรรม-เทศกาล: งานทำบุญปีใหม่ (31 ต.ค.-1 ม.ค.) เทศกาลสงกรานต์ (13 เม.ย.) เทศกาลลอยกระทง

วันพระ อาทิตย์: แสดงพระธรรมเทศนา ปาฐกถาธรรม เจริญสมถวิปัสสนาภาวนา(นั่งสมาธิ): ทุกวัน 17.00-20.30 น. ที่หน้าลานพระนอนองค์ใหญ่

ศูนย์วิชาชีพกทม. วัดวรจรรยาวาส

โทรศัพท์: (662) 292-0194

ที่จอดรถ: บริเวณภายในวัด

รถประจำทาง: 1 15 17 22 75

รถปรับอากาศ: 5 สาย38 75 ปอ.พ. 9 20 547

  1. ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 4) จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด) เกิด แมว งามสมบัติ 11 มกราคม พ.ศ. 2384 เสียชีวิต 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 (98 ปี) คู่สมรส พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บุตร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา บิดามารดา สมบุญ งามสมบัติ ท้าวปฏิบัติบิณฑทาน (ถ้วย งามสมบัติ) ท้าววรจันทร บรมธรรมิกภักดี นารีวรคณานุรักษา หรือ เจ้าจอมมารดาวาด มีนามเดิมว่า แมว (11 มกราคม พ.ศ. 2384 – 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482) มีสมญาการแสดงว่า แมวอิเหนา เป็นนางละครและพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระโอรสพระองค์หนึ่งคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ต้นราชสกุลโสณกุล ณ อยุธยา ประวัติ ท้าววรจันทรมีนามเดิมว่าแมว เป็นบุตรของสมบุญ งามสมบัติ (มหาดเล็กในรัชกาลที่ 3) กับถ้วย งามสมบัติ (ท้าวปฏิบัติบิณฑทาน)[1] ญาติได้นำเข้าไปถวายตัวในวังหลวงตั้งแต่วัยเด็ก เข้าไปเป็นข้าหลวงในสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี ในยามว่างก็ทรงให้ฝึกหัดละครและเป็นศิษย์ของเจ้าจอมมารดาแย้ม[2] เคยรับบทเป็นพระเอกเรื่องอิเหนา เล่นได้ดีเยี่ยมจนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเรียกว่า "แมวอิเหนา" ต่อมาจึงได้เข้าถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวาด และได้เรียนภาษาอังกฤษกับนางแอนนา เลียวโนเวนส์ พร้อมกับพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอทั้งหลาย เจ้าจอมมารดาวาดประสูติพระโอรสพระองค์หนึ่งคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา ต้นราชสกุลโสณกุล ณ อยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าจอมมารดาวาดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นท้าววรจันทร เป็นตำแหน่งชั้นสูงของข้าราชการฝ่ายใน หม่อมศรีพรหมา กฤดากร ณ อยุธยาได้กล่าวถึงท่านว่า[3]

    ...กิตติศัพท์เขาเล่าลือว่าท่านดุมาก เด็กได้ยินก็คร้ามท่านมาก เขาว่าท่านจับคนใส่ตรวนได้ เด็กเลยกลัวตัวสั่น ท่านขึ้นเฝ้าได้บางเวลาเหมือนกัน ต้องยอมรับกันในพวกเด็กว่า ท่านน่าเกรงขามจริง ท่าเดินของท่าน แม้แก่แล้วก็ดูออกว่า ถ้าท่านเป็นสาวคงจะสวย...

    กล่าวกันว่าท้าววรจันทรมีฝีมือในการปรุงอาหารเป็นเลิศ โดยครั้งหนึ่งท้าววรจันทรได้ถวายสำรับอาหารเป็นน้ำยาไก่และหมูหวานแก่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวังดุสิต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพอพระทัยในฝีมือของท้าววรจันทรมากโดยเฉพาะหมูหวาน ทรงตรัสยกย่องว่ามีรสชาติราวกับหมูหวานที่เคยเสวยมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ และในเวลาต่อมาจึงโปรดเกล้าพระราชทานธูปและเทียนบูชาฝีมือท้าววรจันทร และทรงประกาศว่าหากใครผัดหมูหวานได้รสเช่นนี้ได้อีก ก็จะพระราชทานน้ำตาลจำนวนสามเท่าลูกฟักเป็นรางวัล[4]

    นอกจากนี้ท้าววรจันทรยังมีความกตัญญูต่ออาจารย์ ด้วยอุปถัมภ์เจ้าจอมมารดาแย้มซึ่งเป็นครูละครให้ไปอยู่ด้วยกันที่วังปากคลองตลาดเพื่อดูแลอาจารย์ในปัจฉิมวัย หลังเจ้าจอมมารดาแย้มถึงแก่กรรม ท้าววรจันทรก็เป็นธุระจัดแจงพิธีปลงศพให้ และจัดการมอบมรดกมอบให้หลานของเจ้าจอมมารดาแย้มด้วย[5][6]

    ท้าววรจันทรถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 สิริอายุ 98 ปี

  2. ธรรมาสน์บุษบก วัดวรจรรยาวาส ในสมัยตอนปลายกรุงศรีอยุธยา