ผู้ใช้:ปลัดเสริม/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติวัดช้างใหญ่ ตำบลวัดตูม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วัดช้างใหญ่ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลวัดตูม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยามีพื้นที่ติดต่อกบบ้านแมน ตำบลพุทเลา อำเภอบางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา หากเดินทางโดยรถยนต์ตามถนนสายอ่างทอง-อยุธยา จะห่างจากตัวเมืองอยุธยาประมาณ 5 กิโลเมตร และแยกออกจากถนนใหญ่ทางด้านขวามือประมาณ 1 กิโลเมตร พระมหาเฉลิมพล อารมณ์ชื่น อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างใหญ่ซึ่งได้เรียบเรียงประวัติวัดไว้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2518 กล่าวว่าวัดช้างใหญ่เป็นวัดโบราณสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับผู้สร้างวัด แต่สันนิษฐานว่าชาวรามัญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ และโปรดฯให้ตั้งบ้านเรือนบริเวณตำบลโพธิ์สามต้นอำเภอบางปะหัน ต่อมามีการอพยพโยกย้ายมายังหมู่บ้านใน ตำบลพุทเลา ซึ่งใกล้กับวัดช้างใหญ่ ในปัจจุบัน และยังคงสืบเชื้อสายมาจนถึงทุกวันนี้ วัดช้างใหญ่ เดิมมีชื่อวา ่ “วัดช้าง” แต่เพื่อให้มีชื่อสอดคล้องกับวัดช้างน้อยซึ่งเป็นวัดร้างในตำบลเดียวกัน ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นวัดคู่ที่สร้างในสมัยเดียวกัน จึงมีการเปลี่ยนชื่อวัดช้างเป็นวัดช้างใหญ่ ในปี พุทธศักราช 2480 ครั้งที่พระหลวงประคณห์คดี(ชื่น ชินศิริ ป.3) เป็นเจ้าอาวาส นอกจากวัดช้างใหญ่และวัดช้างน้อยแล้ว ในบริเวณใกล้เคียงยังมีวัดร้างอีกหลายวัด เช่น วัดแค วัดชุมพล และวัดท่าทราย ตั้งอยู่ในบริเวณไม่ห่างไกลกนมากนัก อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในละแวกวัดจะไม่ได้ใช้ภาษามอญและดำรงวัฒนธรรมมอญแล้ว แต่เรื่องเล่าท้องถิ่นได้ปรากฏหลักฐานว่ามีชาวมอญจำนวนมากอาสาเข้ากองทัพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อาทิ พระยาเกียรติ พระยาราม ซึ่งโปรดให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านใหม่ มะขามหย่อง บางลี่ บางขาม ปากน้ำประสบ บ้านบางเพลิง บ้านไร่ ป่าฝ้าย บ้านขมิ้น และบ้านหัวแหลม ต่อมาพระเจ้าหงสาวดีทรงสั่งประหารชาวมอญอีกจำนวนมาก จึงมีชาวมอญอพยพพม่ายังพระนครศรีอยุธยาเพิ่มอีก แต่ไม่ปรากฏว่าสมเด็จ-พระนเรศวรมหาราชทรงโปรดให้ชาวมอญระลอกหลังตั้งชุมชนอยู่แห่งใด สันนิษฐานวาคงตั้งบ้านเรือนแถบชานพระนครและส่วนหนึ่งก็อาศัยร่วมกบชาวมอญที่มาก่อนแล้ว

โบสถ์วัดช้างใหญ่ วัดช้างใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรีเดิม ซึ่งไหลผ่านหน้าวัดทางด้านทิศเหนือแม่น้ำลพบุรีสายนี้แยกออกมาจากแม่น้ำลพบุรีสายหลักบริเวณวัดวรนายกรังสรรค์ หรือวัดเขาดิน ผ่านตำบลโพธิ์สามต้น แล้วอ้อมวกมาทางทิศตะวันตก ผ่านวัดช้างใหญ่ ก่อนจะวกลงแล้วย้อนกลับไปทางทิศตะวันออก ผ่านวัดตูม วัดศาสดาราม ผ่านเพนียดคล้องช้าง วัดสามวิหาร วัดแม่นางปลื้มต่อมาเมื่อมีการขุดคลองลัดตั้งแต่วัดดาวคะนองบรรจบเพนียดเรียกว่าคลองบางขวด ทำให้แม่น้ำที่ผ่านหน้าวัดช้างใหญ่ตื้นเขินขึ้น ดังปรากฏภาพร่องรอยของแม่น้ำสายเก่าถึงในปัจจุบัน วัดช้างใหญ่เป็นวัดขนาดเล็กที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 6 0 ตอนที่ 39 วันที่ 3 0 กันยายน 24865 แม้วัดช้างใหญ่จะเป็นวัดขนาดเล็ก แต่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่น่าสนใจ โดยมีลักษณะเด่นที่ภาพ-เทพชุมนุมขนาดใหญ่ รูปแบบทางศิลปะของเทพชุมนุมก็มีความแตกต่างจากเทพชุมนุมแห่งอื่น เช่นการนั่ง-เรียงของเทวดาโดยไม่มีภาพอื่นคัน หรือรัศมีที่มีลักษณะเส้นคดโค้งแตกต่างจากเทพชุมนุมที่อื่น อีกทั้งยังพบว่าวัดนี้มีจิตรกรรมภาพมารผจญอยู่หลังพระประธาน และภาพภูมิจักรวาลอยู่บนผนังด้านหน้าพระประธาน เช่นเดียวกับวัดเกาะแก้วสุทธาราม จ.เพชรบุรีลักษณะเช่นนี้พบไม่มากนักในจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถ

พระประธานในพระอุโบสถ