ผู้ใช้:นายยุทธภูมิ สุประการ/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

< ข้าวในมิติพหุวัฒนธรรม (Rice in multicultural dimension)--> ข้าว คือวัฒนธรรมด้านอาหาร(Food culture) และวัฒนธรรมร่วม(Co-culture) ของคนอุษาเนย์ เป็นได้ทั้งรูปธรรมและนามธรรม วัฒนธรรมอาหารที่เกิดจากข้าวมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมด้านอื่นซึ่งในบทความนี้อาจจำเพาะไปในวัฒนธรรมด้านอาหารของผู้คนในพื้นที่ประเทศไทย ในมิติพหุวัฒนธรรม ก่อนอื่นเราอาจต้องทำความเข้าใจ วัฒนธรรมการกินข้าว เกิดขึ้นที่ตรงไหน..? ของคนในอุษาคเนย์ เพื่อเราจะได้มองเห็นภาพกว้างร่วมกันของวัฒนธรรมร่วม (Co-culture) ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าจะพาไปไกลแค่ไหนกับ ข้อมูลมหาศาล ที่พูดเกี่ยวกับเรื่อง ข้าว พร้อมข้อจำกัดของเวลาและจำนวนหน้าของบนความนี้ อาจต้องขอเริ่มที่ตัวเองในฐานะคนกินข้าวและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมร่วม(Co-culture) นี้ ผู้คนผูกพันกับข้าวทั้งในด้าน เชื้อชาติ (race) ภาษา (language) ศาสนา(religion) เพลง(music) จารีตประเพณี (customs) อาหาร(food) ศิลปะ(arts) สถาปัตยกรรม (architecture) และอีกมากมายที่รวมเป็นวัฒนธรรมที่เกิด inspiration ผ่านข้าว คนอุษาคเนย์รับประทานข้าวเป็นหลักแทบทุกประเทศมีแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญเนื่องจากภูมิอากาศ เขตมรสมุมีฝนตกและสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มกักเก็บน้ำ ได้ดีซึ่งเหมาะแก่การทำนาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอาหารและการบริการซึ่งมีความสำคัญต่อชวีติความ เป็นอยู่ของประชากรในประเทศอุษาคเนย์ ด้วยเหตุนี้การที่จะเรียนรู้และเข้าใจวัฒนธรรมอาหาร ของชนชาติที่แตกต่างกันหากไม่พิจารณาถึงแบบอย่างธรรมเนียมประเพณีครอบครัวสังคมวัฒนธรรมที่คนเหล่านั้นยึดถือปฏิบัติจะไม่สามารถเข้าใจหรือเข้าใจผิดได้ ทั้งนี้เพราะ ความสำคัญของข้าวที่แท้จริง คือการกำหนดปริมาณ ประเภท การจัดหาวิธีการปรุงและวิธีการจากการอบรมสั่งสอนทั้งทางตรงและทางออ้มของครอบครัวสังคมนั้น ๆ สืบทอด กันมา(ประหยัด สายวิเชียร,2547) ผู้เขียนมองว่าการเสริมสร้างความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหารภูมิภาคอุษาคเนย์และส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนเข้าถึงวัฒนธรรมร่วมของ ภูมิภาคและมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของอุษาเนย์ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการอยู่ร่วมกันอย่างเข้มแข็งโดย เฉพาะด้านสังคมและวัฒนธรรมของภูมิภาคต่อไปในอนาคต วัฒนธรรมการกินข้าวมีหลักฐานทางโบราณคดชี้ชัดว่าในภูมิภาคมี การทำนาข้าวมาแล้วนับพันปีแทบทกุประเทศของภูมิภาคมี แหล่งปลูกข้าวที่สำคัญเพราะมีสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ที่เหมาะสมจึงทำให้มีน้ำในการทำนาอย่างเพียงพอผลผลิตที่ได้ค่อนข้างมีคุณภาพเนื่องจากอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำและ เขตมรสุมที่ฝนตกสม่ำเสมอเหมาะแก่การปลูกทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ กระจายตัวตามเขตลุ่มน้ำ เขตลุ่มแม่น้ำอิรวดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในลาวและกัมพูชา ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงใน เวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย แม้ในภูมิประเทศแบบเชิงเขายังมีการทำนาแบบขั้นบันได (rice terrace) ซึ่งถือว่าเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญของชาว อุษาคเนย์ เป็นการบ่งชี้ถึงวัฒนธรรมการกินข้าวเป็นอาหารหลักมาช้านาน เช่น นาข้าวแบบขั้นบันไดที่เมืองซาปา(Sapa)ประเทศ เวียดนามนาข้าวบานว (Banaue Rice Terraces)เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ นาข้าวแบบขั้นบันไดที่เกาะบาหลี ประเทศ อินโดนีเซีย ทั้งหมดคือมรดกทางภูมิปัญญาที่เกิดจากข้าว ถ้าพูดถึงดินแดนสยาม การย้อนไปไกลของการปลูกข้าวมีทั้งเรื่องเล่า ตำนานพื้นบ้าน ร่วมถึงหลักฐานทางโบราณคดี ได้ชี้ชัดถึงร่องรอย การปลูกข้าวจากหลักฐานที่พบเปลือกข้าวจำนวนมากในเศษเครื่องปั้นดินเผาในหลุมศพที่ตำบลโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มีอายุไปไกลถึง 5000 ปี อารยธรรมที่จารึกบนดินแดนแห่งนี้ เป็นเรื่องเล่าได้กล่าวคลานผ่านภาชนะดินเผ่าบ้านเชียง ที่ถูกหล่อหลอมขึ้นจากดินและเปลือกข้าว (เอี่ยม, 2538) มีการศึกษาย้อนไปในอดีตพบสาพันธุ์ข้าวเกือบ 500 ชนิด และสืบค้นจนเห็นภูมิปัญญาของผู้คนในอดีตที่ค่อยๆพัฒนาสายพันธุ์ข้าวรักษาและสืบทอดจากคนรุ่น หนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งจากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่งจน กลายเป็นแบบแผนที่สามารถเรียนรู้และก่อให้เกิดนวัตกรรมและผลติผลทั้งที่เป็นรปูธรรมและนามธรรมซึ่งได้มีการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ และกาลเวลาของแต่ละยุคสมัย จากอดีตจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งข้าว คืออาหารหลัก นั้นได้รับการยอมรับว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นมาของชาติพันธุ์และสะท้อนถึงความเป็นมาของวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษาขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนาของกลุ่มชนในแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน จากขอ้มูลทางประวัติศาสตร์ระบุว่าชาวของคนอุษาเนย์ กินข้าวเหนียวมาก่อนที่จะเปลี่ยนมากินข้าวเจ้า การข้าวเหนียวจึงถูกเรียกว่า ข้าวไพร่ หรือ ข้าวบ่าว หรือ ข้าวนึ่ง ซึ่งเป็นเครื่อง มือแบ่งชนชั้นได้อีกด้วย (อย่างไรก็ตามทั้งหมดเป็นเพียงการคาดเดาและการตั้งข้อสังเกตการศึกษาของนักวิชาการโดยยึดหลักฐานทางโบราณคดีมาเป็นส่วนอธิบาย ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งยังมีการถกเถียงเพื่อหาข้อพิสูจน์กันต่อไป ผู้เขียนพยายามยกแง่มุม มิติต่าง ๆ ให้กว้างขวางมากที่สุดที่เกิดจาก กิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวพันธ์กับข้าว เพื่อให้ได้เข้าใจร่วมกันในภาพกว้างของอิทธิพลของข้าวที่มีต่อชีวิตคนอุษาเนย์และจะนำไปสู่การทำความเข้าใจวัฒนธรรมการกินข้าวของคนเมืองน่านในมิติของพหุวัฒนธรรมได้กระจ่างขึ้น) นอกจากจะรับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก แล้ว ชาว อุษาเนย์ยังมีการดัดแปลงข้าวเป็นผลติภัณฑ์อาหารอื่นไว้รับประทานอีกมากมายการนำข้าวมาบดหรือโม่ให้เป็นแป้ง แล้วนำมาทำเป็นขนมจีนซึ่งปรากฏในทุกประเทศของคนอุษาเนย์ การรับวัฒนธรรมการกินเส้นของจีนเข้ามาราวศริสต์ศตวรรษที่ 15ทำให้คนอุษาเนย์ เริ่มนิยมกินก๋วยเตี๋ยวหรือเส้นที่ทำจากข้าวกันอย่างแพร่หลายและการดัดแปลงข้าวเป็นแป้งนี้ยังทำให้คนอุษาเนย์ มีอาหารว่างและขนมหวานที่ทำจาก ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ผสาน กับวัตถุดิบท้องถิ่น คือ น้ำตาล กะทิ ใบเตย มะพร้าว กลายเป็น ขนมของของคนอุษาเนย์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันเกือบทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ขนมครก ลอดช่อง ขนมชั้น ข้าวต้มมัด แต่มีชื่อเรียกแตก ต่างกันออกไปตามบริบทของวัฒนธรรมแต่ละประเทศ จากที่กล่าวมา ข้างต้น สายสัมพันธุ์ข้าวมิได้มีความผูกพันเฉพาะกับคนไทยพื้นที่ราบ(Mainstream culture)เท่านั้นหากมีการแผ่กระจายไปทุกกลุ่มชาติพันธุ์ (Ethnic group)ที่อาศัยอยู่ในดินแดนของคนอุษาเนย์ และดินแดนในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นกรอบรูปของรัฐทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและพิธีกรรม ซึ่งเราเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าสังคมไทยมีฐานสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม(cultural diversity) (ศักศักร, 2531 ; เอี่ยม, 2538 ) นครรัฐน่าน(จังหวัดน่าน) เมืองแห่งอู่วัฒนธรรม ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีความเป็นพิสุทธิ์ (clean) ในหลายมิติ แต่ก็มีความย้อนแย้งในการผสมผสานของวัฒนธรรม จากนครรัฐอื่น จากชนชาติพันธุ์ที่ โยกย้ายมาอยู่อาศัย ด้วยเหตุปัจจัยมากมาย ต่างช่วงเวลา ต่างช่วงเหตุการณ์ จากอดีตถึงยุคสมัยปัจจุบัน แต่กระนั้นนครรัฐน่านก็ยังคงสร้างรูปแบบเฉพาะกลายเป็นแบบน่าน นครรัฐน่านที่มีความหลากหลายของวัฒนธรรมของผู้คน ปลูกและกินข้าวเหนียวนั้นเป็นวัฒนธรรมของคนตระกลูไท-ลาว มาตั้งแต่ สมัยทวารวดี หลังจากนั้นรับพันธุ์ข้าวเมล็ดเรียวยาวจาก อินเดียเข้ามาราวศริสต์ศตวรรษที่ 5-13ข้าวชนิดใหม่นี้กลาย เป็นที่นิยมของชนชั้นสูงก่อนจะแพรก่ระจายไปทั่ว สันนิษฐาน ว่าวัฒนธรรมการบริโภคข้าวจ้าวนั้นได้รับอิทธิพลจากยุค อาณาจักรขอมซึ่งเป็นชนชั้นปกครองเรืองอำนาจในยุคนั้น เป็น ที่มาของชื่อ ข้าวเจ้า เนื่องจากข้าวเมล็ดยาวนี้แตกต่างจากข้าว ของชาวพื้นเมืองซึ่งมีลักษณะเมล็ดป้อมและใหญ่ ข้าว ที่ถือเป็น มารดาแห่งธัญพืชที่หล่อเลี้ยงผู้คนและเป็น วัฒนธรรมด้านอาหาร(Food culture) และวัฒนธรรมร่วม(Co-culture) ของคนน่านเช่นกัน ข้าวจึงปรากฏในวิถีชีวิตของชาวน่านอย่างลึกซึ้งและน่าศึกษาขยายความเข้าใจ อย่างมีนัยสำคัญ เพราะความหลากหลายของผู้คน แต่ละชาติพันธุ์ที่อาศัยผืนแผ่นดินลุ่มน้ำน่านร่วมกันจนก่อเกิดเป็นรัฐนครน่านแห่งนี้ ยาวนาน 800 กว่าปี ชาวน่านแม้จะเป็นจังหวัดที่มีประชากรเบาบางอาศัย กระจัดกระจายไปตามสภาพทางภูมิประเทศต่างๆแต่ก็สามารถ แบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ชาวไทยวน หรือ คนเมือง ส่วนใหญ่อพยพมาจากเชียงแสนและบริเวณต่างๆ ของล้านนา ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัด ชาวไทลื้อ (ไทลื้อ, ไทยอง) ส่วนใหญ่อพยพมาจากสิบสองปันนาและหัวเมืองต่างๆ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งมีทั้งอพยพมาด้วยความสมัครใจและอพยพมาเนื่องจากเกิดศึกสงครามทั้งภายในหัวเมืองลื้อเอง และอพยพมามากที่สุดยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมืองของเจ้ากาวิลละแห่งเชียงใหม่ และเจ้าอัตถวรปัญโญฯ แห่งนครน่าน และยุคของเจ้าสุมนเทวราช อีกทั้งมีการอพยพเข้ามาเรื่อยๆ ครั้งเกิดการปฏิวัติการปกครองประเทศของจีน ชาวไทลื้ออาศัยตั้งบ้านเรือน อยู่กระจัดกระจายตามลุ่มน้ำต่างๆ ในจังหวัดน่านมีมากที่สุด ในตอนเหนือของเมืองน่าน ชาวไทพวน หรือ ลาวพวน อยู่ที่บ้านฝายมูล อำเภอท่าวังผา และบ้านหลับมืนพวน อำเภอเวียงสา เป็นอีกกลุ่มที่เข้ามาในช่วงเดียวกัน ชาวไทเขิน หรือ ชาวขึน อพยพมาจากเชียงตุง ปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกกลืนทางวัฒนธรรมจากคนเมือง ทั้งภาษาพูดและเครื่องแต่งกาย แต่บางหมู่บ้านยังมีการนับถือผีเจ้าเมืองของไทเขินอยู่ จึงรู้ว่าเป็นไทเขิน เช่นบ้านหนองม่วง อำเภอท่าวังผา ส่วนบ้านเชียงยืน ตำบลยม อำเภอท่าวังผา ถูกชาวไทลื้อกลืนวัฒนธรรมจนไม่เหลือเค้าของชาวไทเขิน ชาวไทใหญ่ หรือ เงี้ยว หรือ ไตโหลง มีถิ่นฐานในรัฐฉาน และเชียงตุง อาศัยอยู่บริเวณแถวอำเภอทุ่งช้าง ในปัจจุบันถูกกลืนวัฒนธรรมจนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นชาวไทใหญ่ นอกจากนี้ในบริเวณที่สูงตามไหล่เขายังเป็นชุมชนของชนกลุ่มน้อยที่เรียกกันว่า “ชาวเขา” ได้แก่ ชาวม้ง, เมี่ยน, ลัวะ,ถิ่น, ขมุ และมลาบลี กระจายตัวตามแนวหุบเขาและสันเขาทั่วจังหวัดน่าน ผู้คนในจังหวัดน่านจึงถือได้ว่ามีเป็นพหุวัฒนธรรม (ศูนย์เรียนรู้พหุวัฒนธรรมน่านศึกษาฯ.2559 การปลูกข้าว(Rice cultivation )ถือเป็นอาชีพของชาวน่านมาอย่างช้านาน ด้วยความที่อาหารหลักของคนน่านแต่ดั้งแต่เดิมคือข้าว เมื่อเป็นเช่นนี้อาชีพชาวนาจึงถือว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อวิถีวัฒนธรรมอย่างมากที่สุด ซึ่งลักษณะของการทำนาจริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนักแต่ก็ยังมีการแบ่งประเภทของการทำนาเอาไว้ ตามลักษณะภูมิประเทศของเมืองน่านเอง ชนชาติพันธุ์ที่มีชุมชนอยู่ที่สูงก็จะปรับตัวเองในการทำนาเป็นที่สูงชนชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่พื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆทั้งแม่น้ำสาขาและแม่น้ำน่านก็จะมีวิถีภูมิปัญญาในการทำนาที่ต่างออกไป ข้าวไร่ – เป็นการปลูกขาวบนที่ดอนไม่มีน้ำขังบริเวณที่ปลูก เช่น ตรงเชิงภูเขาที่พื้นที่มักจะสูงๆ ต่ำๆ ทำให้ปรับหน้าดินได้ยากจึงใช้การปลูกข้าวแบบหยอด ขั้นแรกตัดหญ้าและต้นไม้เล็กๆ ออก ทำความสะอาดพื้นที่ ใช้หลักไม้ปลายแหลมเจาะดินให้เป็นหลุมเล็กๆ 3 ซม. ปากหลุมกว้าง 1 นิ้ว มีระยะห่าง 25×25 ซม. หยอดเมล็ดพันธุ์ลงไป 4-8 เม็ดต่อหลุม แล้วข้าวก็จะโต การปลูกแบบนี้ต้องอาศัยน้ำฝนอย่างเดียวจึงนิยมปลูกฤดูฝน ต้องกำจัดวัชพืชบ่อยๆ ด้วย

ข้าวนาดำ – เป็นการปลูกข้าวอีกแบบหนึ่งซึ่งมีขั้นตอนการปลูกคร่าวๆ เตรียมดินด้วยการไถดะ ไถแปร และคราดดิน แต่ก่อนจะไถต้องให้ดินชุ่มชื้นได้ตามความเหมาะสมเสียก่อนทำการตกกล้าหรือการนำเมล็ดไปหว่านให้งอกและโตขึ้นมาเป็นต้นกล้าเพื่อนำไปปักดำ ซึ่งการตกกล้าสามารถเลือกทำได้หลากหลายวิธีทั้ง ตกกล้าในดินเปียก, ตกกล้าในดินแห้ง, ตกกล้าแบบตาปกเมื่อต้นกล้ามีอายุ 25-30 วัน ก็สามารถจะถอนเพื่อนำไปปักดำได้ โดยการตกกล้าแต่ละแบบก็จะมีแนวทางในการนำไปปลูกต่างกันเล็กน้อย พื้นที่นาที่ใช้ปักชำควรมีน้ำขัง 5-10 ซม. หากไม่มีน้ำเลยต้นกล้าที่เอาไปปลูกอาจโดนล้มพัดล้มได้แต่ถ้าหากน้ำเยอะเกินไปตอนปลูกต้นกล้าก็อาจจมน้ำได้ในระยะแรกแถมต้นข้าวต้องยืดต้นกว่าปกติก็เกิดการแตกกอน้อยนั่นเอง การปักดำที่ดีต้องปักเป็นแนวตรงกัน เว้นระยะห่างพอสมควร ข้าวนาหว่าน – เป็นการปลูกข้าวด้วยการเมล็ดพันธุ์ทำการหว่านลงไปตรงบริเวณนาที่ได้มีการไถเตรียมเอาไว้โดยตรง โดยการเตรียมดินก็แบบเดียวกับการทำข้าวนาดำ ส่วนใหญ่จะเริ่มไถกันมาตั้งแต่เมษายนเพราะพื้นที่นาแบบนี้ไม่มีคันกั้นนาทำให้สะดวกในการใช้รถไถจัดการได้เลย (http://www.thairice.org/html/aboutrice/about_rice1.htm) ข้าวในวิถีชนเผ่าดังเดิม (Rice in the old tribal way) เร๊ะเงาะ:ข้าวในวิถีชนเผ่าดังเดิม ข้าวในวิถีขมุ “ขมุ” หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีประชากรจำนวนมากอีกกลุ่มชาติพันธุ์ที่กระจายตัวอยู่ภาคเหนือและในพื้นที่จักงหวัดน่านจะอยู่ตอนบนของจังหวัด ชาวขมุให้คุณค่าและความสำคัญที่มีต่อข้าวเป็นเสมือนสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิต ดังคำกล่าวของ แม่เฒ่าชาวขมุที่กล่าวว่า “ขอให้ทำไร่ปลูกข้าวให้มีพอกินตลอดปีก็เพียงพอแล้ว เงิน ทองหาเมื่อไหร่ก็ได้ รับจ้างเอาก็ได้”(เสถียร ฉันทะ : 2543) ซึ่งสะท้อนให้เห็นความสำคัญของข้าวเป็นอันดับแรกของปัจจัยความมั่นคงของอาหารในครอบครัว การทำไร่ข้าวของชาวขมุในอดีตนั้น เป็นระบบการผลิตหรือการทำไร่ที่มีลักษณะของการ ตัดไม้ เผาป่าเพื่อเปิดพื้นที่ ในการทำไร่ แต่มีการหมุ่นเวียนพื้นที่แปลเพาะปลูกในแต่ละรอบปี แต่ละครอบครัว จะมีพื้นที่สำหรับหมนเวียนผลัดเปลี่ยนประมาณ 5-8 แปลง แปลงหนึ่งประมาณ 3-5 ไร่ เพื่อให้ที่ดินฝื้นคืนสภาพจาดลักษณะของระบบการผลิตดังกล่าวจึงมีรูปแบบการผลิตที่มีความคล้ายคลึงเช่นเดียวกับชาติพันธุ์อื่นๆที่มีนิเวศน์ใกล้เคียงกันที่ใช้กระบวนการผลิตข้าวไร่ เช่นชาวชาติพันธุ์ลัวะ ระบบการผลิตดังกล่าวจึงเป็นระบบผลิตที่อาศัยการแผ้วถางป่า เพื่อเปิดหน้าดินแต่ทั้งนี้เป็นระบบแบบส่วนกลางส่วนร่วม ของชุมชน ปัจจัยดังกล่าวจึงไม่ได้มีการถือครองแบบปัจเจกแบบปัจจุบัน แต่ปัจจุบันระบบไร่ข้าวแบบหมุนเวียนของชาวขมุได้ปรับเปลี่ยนและถูกจำกัดพื้นที่ลงเนื่องด้วยสาเหตุการจัดการทรัพยากรป่าไม้ และข้อกฎหมาย ดังนั้นการทำไร่ข้าวแบบเดิมจึงผิดกฎหมายทันที เป็นสถานการณ์ร่วมกันกับเพื่อนชาติพันธุ์อื่นที่ต้องเผชิญ ชาวขมุเป็นผู้ที่เคร่งครัดต่อประเพณี และพิธีกรรมความเชื่อเรื่องผีเป็นอย่างยิ่ง ทางเข้าหมู่บ้านหรือตามทางแยกมักจะพบสัญลักษณ์หรือเครื่องเซ่นไหว้อย่างเด่นชัดไว้ที่ประตูหมู่บ้านหรือทางแยก ชาวขมุนับถือผีโร้ย มีพิธีเซ่นไหว้ด้วย ไก่ ข้าว เหล้า พิธีเลี้ยงผีที่สำคัญคือ เลี้ยงผีที่เกี่ยวข้องในชีวิต มีทั้งผีป่า ผีหมู่บ้าน ทุกบ้านจะมีผีบ้านโรยถาง ซึ่งเชื่อว่าประดิษฐานในบริเวณที่หุงข้าว พิธีต่าง ๆ เกี่ยวกับการเลี้ยงผีคือ การเลี้ยงผีข้าว, เลี้ยงผีหมู่บ้าน, เลี้ยงผีเพื่อรักษาผู้เจ็บป่วย, เลี้ยงผีบรรพบุรุษ, เลี้ยงผีเพื่อแก้ความผิดต่าง ๆ ป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น เวลาที่เลี้ยงผีจะมีการตัดไม้ไผ่ หรือตแล้ ไว้เป็นเครื่องหมายด้วย เป็นพิธีที่ปฏิบัติมาแต่โบราณ เพื่อแสดงว่ามีการเลี้ยงผีแล้ว การทำพิธีเลี้ยงผีหมู่บ้านจะต้องทำตะแล้เอาไว้ทั้ง 4 ทิศของหมู่บ้าน โดยตะแล้จะอยู่สองข้างทั้งด้านซ้ายและด้านขวา การทำพิธีเลี้ยงผีต่าง ๆ ของขมุเพื่อความปลอดภัย การกินดีอยู่ดี เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณทางการเกษตร เพื่อป้องกันรักษาคนเจ็บป่วยทุกพิธีกรรมมีข้าวเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมทั้งสิ้น ในกระบวนการผลิตข้าวของพี่น้องขมุ มีสิ่งที่น่าสนใจ ชาวขมุนั้นผู้หญิงเป็นผู้ที่มีบทบาทและองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากข้าวมากกว่าผู้ชาย ผู้ชายเป็นผู้ใช้แรงงานบุกเบิกและเปิดพื้นที่สำหรับเตรียมการปลูก ส่วนหญิงจะเป็นผู้หยอดเมล็ดข้าว เตรียมพันธุ์ข้าวและคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่จะใช้ปลูกในไร่ และในไร่นั้นนอกจากข้าวชาวขมุจะปลูกพืชผักที่เป็นอาหารได้ร่วมกันไปด้วย เช่น ฟัก ถั่ว แตง หรือแม้แต่พืชที่เป็นเครื่องเทศสำหรับปรุงอาหาร บทบาทการปลูกพืชและการทำอาหารเป็นหน้าที่ของผู้หญิงทั้งสิ้น ชาวขมุบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลักจึงมีความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าวเหนียวอยู่มากมาย ในอดีตนั้นพบสายพันธุ์ข้าวถึง 30กว่า สายพันธุ์ ปัจจุบันลดลงเหลือเพียง ไม่กี่สายสายพันธุ์ (เสถียร, 2542) จากวิถีชีวิตของชาวขมุที่สะท้อนผ่านกิจกรรมกระบวนการผลิตอาหาร ข้าว ที่มีการผสมผสานเชื่อมโยงความเชื่อ ความศรัทธา ในการเรียนรู้ที่จะรักษาสมดุลของชีวิต ธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะเรื่องข้าวที่เป็นพืชที่นำมาเป็นอาหารหลัก การให้คุณค่าข้าวของชาวขมุผ่านพิธีกรรมต่างๆ ที่แฝงภูมิปัญญาที่ได้สั่งสมตกผลึกเป็นวิธีคิดที่เชื่อมโยงสัมพันธ์ของผู้คนชาติพันธุ์ จากรุ่นสู่รุ่น เป็นศักยภาพการจัดการชุมชนในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ได้อย่างน่าสนใจ แชฮีต : ข้าวในวิถีชนเผ่าดังเดิม ข้าวในวิถีลัวะ “ลัวะ” หรือบางพื้นที่เรียก “ถิ่น” เป็นชนดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในภาคเหนือของไทย แต่เมื่อกลุ่มคนไท ไม่ว่าจะเป็นไทเขิน ไทยวน ไทลื้อ หรือไทยอง รุกเข้ามา ลัวะก็ถอยร่นไปเรื่อย ๆ ตามวิสัยรักสงบ และดำเนินวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย ด้วยการทำไร่หมุนเวียน ตามภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ซึ่งสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ การปลูกข้าวไร่ของ ชาวลัวะจะต้องมีการเตรียมพื้นที่ก่อน ทั้งการถางตอไม้ต่างๆ ที่ขึ้นในไร่หลังจากการเก็บเกี่ยวใน ครั้งก่อนการเผาตอไม้เหล่านี้ก็เพื่อให้เป็นปุ๋ยสำหรับการปลูกข้าวในครั้งต่อไป เมื่อเตรียมดินเสร็จแล้ว ก่อนจะหยอดข้าวมักจะสร้างตูบหลังเล็กๆ ไว้เป็นที่พักพักยามออกมาทำไร่ข้าว เรียกว่า “ตูบแซ” และ จะสร้างตูบผีไว้ด้วย หลังจากนั้นจึงทำพิธีเชิญผีเข้าไร่ เพื่อให้มาคุ้มครองไร่นาตลอดฤดูกาลเพาะปลูก แต่เดิมชาวลัวะจะย้ายพื้นที่ที่จะทำไร่หมุนเวียนไปในขอบเขตที่กำหนดไว้สำหรับทำไร่ทุกปี โดยเชิญหมอผีมาทำพิธีเสาะหาพื้นที่สำหรับปลูกข้าว หมอผีจะทำพิธีเสี่ยงทายเพื่อจะบอกว่า พื้นที่ตรงไหนเหมาะสมที่จะปลูกข้าว เมื่อเลือกพื้นที่ได้แล้วจึงค่อยถางและเผาป่าเพื่อเตรียมพื้นที่ แต่ในปัจจุบันแต่ละครอบครัวจะมีที่ดินทำกินที่กำหนดเนื้อที่อย่างชัดเจน ทำให้การใช้พื้นที่ทำไร่ หมุนเวียนหมดไป เตรียมดิน การถางป่า เพื่อปลูกข้าวเป็นงานของผู้ชายโดยเฉพาะ แต่ในปัจจุบันบางครอบครัว ที่มีผู้ชายอายุมาก จะจ้างแรงงานในหมู่บ้านเพื่อเตรียมพื้นที่ให้ แต่จะไม่จ้างแรงงานในการปลูกข้าว เพราะการปลูกข้าวนั้น เป็นกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ และจะมีเพื่อนบ้าน มาลงแรงช่วยกัน เรียกว่า “เอามือ” การปลูกข้าวนั้นผู้ชายจะเป็นผู้ขุดหลุม โดยที่ผู้ชายทุกคนที่มาช่วยกัน จะยืนเรียงเป็นแถว ใช้ไม้ยาวๆ ที่ปลายข้างหนึ่งแหลมๆ ซึ่งทำมาจากลำเคื๋อง (ลักษณะคล้ายต้นเต่าร้าง) แทงลงไปในดิน ให้เป็นหลุมเล็กๆ แล้วกลุ่มผู้หญิงซึ่งจะเดินเรียงแถวตามมาจึงนำเมล็ดพันธุที่เตรียมไว้ มาหยอดลงหลุม หลังจากนั้นก็เอามือหรือเท้าเขี่ยและเหยียบดินเพื่อกลบหลุม จะทำอย่างนี้ไปจนทั่ว พื้นที่ที่เตรียมไว้ เมื่อข้าวงอกขึ้นสูงประมาณ 1 ศอก จะทำพิธีรับขวัญข้าว ซึ่งเป็นการเช่นไหว้ผีครั้งใหญ่ ที่เรียกว่า “การทำโสลด” ชาวลัวะปรัยจะทำพิธีนี้ในไร่ของแต่ละครอบครัว แต่ลัวะมัลจะทำเป็น พิธีสำคัญของหมู่บ้าน พิธีรับขวัญข้าวเป็นการขอให้ผีคุ้มครองข้าวที่ปลูกในไร่ให้พ้นจากการถูกรบกวน จากภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง หรือจากแมลงและหนอนต่าง ๆ เมื่อข้าวเริ่มออกรวงบางหมู่บ้านจะทำพิธี เซ่นไหว้ผีไร่อีกครั้ง แต่บางหมู่บ้านจะทำพิธีกินข้าวเม่าเลยเมื่อข้าวเริ่มสุกจะไม่ทำเมื่อข้าวออกรวง หลังจากนั้นจะถึงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งการเก็บเกี่ยวข้าวมักจะเชิญหมอผีประจำหมู่บ้านไปเกี่ยวเป็นคนแรก เพื่อให้หมอผีว่าคาถาให้เกี่ยวข้าวได้ข้าวอุดมสมบูรณ์เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อเกี่ยวข้าวแล้วก็จะนำมารวม กันอาจทำเป็นลอมฟางสูงขึ้นไปใกล้ลานนวดข้าว หลังจากนั้นจะมีพิธีลอมฟาง นวดข้าว ชาวลัวะ จะร่วมกันมาล้อมวงเพื่อช่วยกันนวดข้าว โดยการตีข้าวบนกระดานสำหรับตีข้าว ปัจจุบันในบางหมู่บ้าน จะใช้เครื่องนวดข้าวแทนวิธีตีข้าวแบบดั้งเดิม เมื่อตีข้าวเสร็จแล้วจากนำข้าวมาเก็บไว้ในยุ้งฉางที่สร้างไว้ใกล้ตัวเรือนของแต่ละครอบครัว หรือบางบ้านก็จะนำมาใส่ใน “แคงัวะอ์” ซึ่งเป็นภาชนะสานขนาดใหญ่คล้ายตะกร้าตั้งอยู่ภายในเรือน หลังจากนั้นก็จะบูชาผีอีกที โดยจะนำตะแหลวตลอดจนใบไม้บางชนิดมาติดที่ประดูหรือข้างฝาของ ยุ้งข้าวนี้ ชาวลัวะปรัยเมื่อขนข้าวใส่ยุ้งเรียบร้อยแล้ว จะมีพิธีเซ่นผีครั้งสุดท้ายในรอบปี เรียกว่า “ลัวะดอกแดง” ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองการสิ้นสุดฤดูกาลผลิตประจำปี โดยมีหมอผีเป็นผู้ประกอบพิธี ในไร่ซึ่งจะรื้อถอนสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในไร่ไม่ว่าจะเป็นตูบ เถียงนา หอผี ตะแหลว เสาโสลด ฯลฯ และนำออกไปจากไร่ เพื่อเชิญให้ผีไร่ที่มาช่วยคุ้มครองตลอดการทำไร่นี้ให้กลับไปอยู่ในป่าในดง ดั้งเดิม นอกจากทำพิธีในไร่แล้วจะกลับไปทำพิธีในหมู่บ้านอีก โดยจะนำดอกไม้สีแดงในไร่ เช่น ดอกหงอนไก่ กลับมาที่บ้านเพื่อใช้ในการทำพิธีต่อไป พิธีลัวะดอกแดงของลัวะปรัยนี้จะเป็นพิธีใหญ่ที่ พอจะเทียบได้กับพิธีโสลดหลวงของลัวะบัล เพราะเป็นกิจกรรมที่สมาชิกทุกคนของหมู่บ้านจะร่วมกัน เพียงแต่พิธีทังสองจะจัดขึ้นต่างระยะเวลากัน และมีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันออกไป ในปัจจุบันหมู่บ้านลัวะบางหมู่บ้านหันมานิยมการปลูกข้าวแบบคนเมือง ที่เรียกว่า “แซเมือง” ทำให้จะมีพิธีกรรมต่าง ๆในการการปลูกข้าวน้อยกว่าการทำ “แชฮีต” หรือการปลูกข้าวไร่จึงประหยัด ค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการจัดพิธีเซ่นบูชาไปได้บ้าง อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าชาวลัวะทุกหมู่บ้านจะปลูก ข้าวไร่ ชาวลัวะบางหมู่บ้านที่ตั้งขนานไปกับลำห้วยต่าง ๆ ก็จะมีบริเวณที่ราบที่ใช้เป็นที่ทำนาขนาดเล็ก และขนาดใหญ่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่พื้นที่ ชาวลัวะที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ก็จะทำนาเช่นเดียว กับชาวพื้นราบมาเป็นเวลานานแล้ว แต่โดยทั่วไปแล้วพื้นที่สำหรับปลูกข้าวไร่จะมีจำนวนมากกว่า จนมีคำกล่าวว่า ถ้าเป็นลัวะต้อง “เฮ็ดไฮ่” (ทำไร่) ในบางหมู่บ้านลัวะที่หันไปทำนาแบบชาวเมืองแล้วนั้นพบว่า ชาวลัวะได้ประยุกต์พิธีกรรม ของคนเมืองเข้ากับพิธีกรรมดั้งเดิมของเผ่าพันที่เกี่ยวกับการปลูกข้าวขึ้นมา คือ “พิธีทำขวัญควาย” ก่อนการไถนาแทนที่พิธีเซ่นไหว้ผีเชิญ ซึ่งเป็นการเชิญผีเข้าไร่ก่อนการปลูกข้าวที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมา ปัญหาใหญ่คือการประกาศเขตอุทยานและเขตป่าตามกฎหมายที่ไปซ้อนทับชุมชนชาวลัวะ มีหลายหมู่บ้านหลาย ครอบครัว อาศัยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และอุทยาน จึงถูกจำกัดในเรื่องที่ดินทำกิน และประกอบอาชีพทำไร่หมุนเวียนเป็นหลัก ระบบไร่หมุนเวียน (Swidden / Rotational framing system) เป็น ระบบเกษตรกรรมแบบพื้นบ้านที่กระจายอยู่ในหลายวัฒนธรรม ปัจจุบันนั้นหลงเหลืออยู่ในหมู่ชาวเขา บนที่สูงของภาคเหนือและตะวันตกของประเทศ และพี่น้องลัวะในพื้นที่น่าน โดยเป็นระบบการเพาะปลูกในพื้นที่หนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง จากนั้นจะย้ายพื้นที่เพาะปลูกไปยังพื้นที่ใหม่ เพื่อให้พื้นที่เดิมเริ่มฟื้นความอุดมสมบูรณ์ แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง อาจจะทุก ๆ 5-9 ปี แล้วแต่สภาพพื้นที่ และวัฒนธรรมของชนเผ่าลัวะ การปลูกพืชในระบบไร่หมุนเวียนเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน โดยมีข้าว ผัก และพืชใช้สอยต่าง ๆ ปลูกรวมกันอยู่ในระบบเป็นจำนวนมาก และอาจถือได้ว่าเป็นรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืน ที่สามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพไว้ได้มากที่สุดระบบหนึ่งหากระยะหลัง การจับพิกัดทางดาวเทียมของป่าไม้ เกิดข้อขัดแย้งทางกฎหมายกับชุมชนชาวลัวะบ่อยครั้ง อ้างว่าชาวบ้านบุกรุกพื้นที่ใหม่ ทั้งที่เป็นที่เดิมที่เคยทำกินแบบหมุนเวียนมาหลายชั่วอายุคน ทำให้หลายคนกังวลว่าจะถูกจับกุมจากเจ้าหน้าที่รัฐ ถ้าวนเข้าไปทำกินในพื้นที่เดิมของตนเอง ระยะเว้นช่วงของการทำไร่หมุนเวียนหดสั้นลงอย่างน่าใจหาย บางรายทำ 1 ปี เว้น 1-2 ปี ก็วนกลับมาที่เดิมอีกครั้ง ขณะที่บางรายโชคร้าย ถูกประกาศเขตป่าทับเกือบทุกพื้นที่ เหลือที่ทำกินเพียงแห่งเดียว ไม่สามารถเว้นระยะทำกินได้ ดินจึงขาดความอุดมสมบูรณ์ลงเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลง การต้องใช้ชีวิตอย่างรีบเร่งและแข่งขัน ซ้ำมีพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวรุกเข้ามา ชาวบ้านต้องปรับตัวจากเคยปลูกพืชกินเอง ก็ซื้อกิน พึ่งพาพืชอาหารจากตลาดเป็นหลัก พันธุ์พืชดั้งเดิมที่ปลูกในไร่หมุนเวียน และสวนหลังบ้านจึงลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จากเดิมมีประมาณ 119 ชนิด ล่าสุดสำรวจพบแค่ 50 ชนิด บางชนิดได้สูญหายไปจากชุมชน สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้ชาวบ้านกังวลว่าหากไม่เร่งอนุรักษ์หรือฟื้นฟูพันธุ์พืชพื้นบ้านไว้ จะทำให้ชุมชนขาดความมั่นคงทางอาหาร ต้องพึ่งพาจากภายนอก เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น และยังเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บที่มาจากอาหาร เนื่องจากควบคุมการใช้สารเคมีไม่ได้ อันเป็นที่มาของ ปัญหาจริง ๆแล้วนั้นภูมิปัญญาการทำไร่หมุนเวียนจะไม่มีวันทำให้ภูเขาหัวโล้นเหมือนการทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งแบบหลังจะถางป่าใหม่เรื่อย ๆ เพื่อขยายพื้นที่ทำกินให้มากขึ้น แต่การทำไร่หมุนเวียน เป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน เน้นการปลูกข้าวไร่เป็นพืชหลัก และเคยมีพันธุ์ข้าวพื้นบ้านให้ชาวบ้านเลือกปลูกกว่า 40-50 สายพันธุ์ อาทิ ข้าวก่ำ ข้าวซิว ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ปลูกผสมกับพืชอาหารอื่นๆ เช่น พริก แตงกวา แตงไทย มะเขือ งาดำ ฟักเขียว ฟักทอง น้ำเต้า มะระ ถั่วเขียว ถั่วดำ ข้าวโพด ฯลฯ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วก็ปล่อยพื้นที่เดิมพักตัว ความเขียวขจีของต้นไม้และป่าก็จะกลับคืนมา(บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ 2557: 240-268) นี้คือภูมิปัญญาที่บรรพชนชาวลัวะให้ได้รับการถ่ายทอดความรู้และคุณค่าของพืชพื้นบ้านกับไร่หมุนเวียน จะได้สืบทอดวัฒนธรรมชุมชน เช่น พิธีกรรมในระบบไร่หมุนเวียน พิธีกรรมกินสโลด (ตีพิ) พิธีกรรมการสู่ขวัญ รวมถึงรักษาความมั่นคงทางอาหารด้วยวิธีการเก็บพันธุ์พืชท้องถิ่นที่เป็นพืชอาหาร ทั้งของคน สัตว์ และพืชสมุนไพรที่เป็นยา นำกลับมาปลูกหมุนเวียนในไร่ ชุมชนชาวลัวะร่วมกันปลูกขยายพันธุ์ออกไป คือกลวิธีในการสร้างความมั่นคงทางอาหารด้วยการพึ่งพาตนเอง และคนในชุมชน ลดการพึ่งพาภายนอก อันที่จริงแล้ว สังคมไทยต้องยอมรับว่าคนถิ่น หรือลัวะ คือเจ้าถิ่น ไม่ได้เพิ่งเข้ามาอาศัยในผืนแผ่นดินไทย แต่นโยบายรัฐกลับสร้างผลกระทบให้พวกเขา ทั้งในด้านวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ดังนั้นจึงถึงเวลาที่ทุกฝ่ายต้องคิดใหม่ เพื่อให้ชนดั้งเดิมเหล่านี้อยู่ได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานวัฒนธรรมเดิม โดยสิ่งแรกคือต้องเข้าใจพื้นฐานทางวัฒนธรรมของลัวะ แล้ววางระบบที่เอื้อเฟื้อให้เขามีพื้นที่เพียงพอต่อการ ดำรงอยู่ ไม่เช่นนั้นเขาย่อมทำไร่หมุนเวียนที่สอดคล้องกับการอนุรักษ์ป่าต่อไปไม่ได้ ข้าวดอย :พันธุ์ข้าวพื้นบ้านของพี่น้องชาติพันธุ์(Rice in the tribal way) พันธุ์ข้าวพื้นเมืองของพี่น้องชาติพันธุ์ในประเทศไทยมีมากกว่า 100 ชนิด ตั้งแต่อดีตมา เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกในพื้นที่ลาดชัน ตามไหล่เขา บางคนจะขุดเป็นนาขั้นบันใดเพื่อสะดวกในการปลูกและเก็บเกี่ยวแล้ะป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ในพื้นที่ระดับความสูงจากน้ำทะเล 500 เมตร ขึ้นไป พันธุ์ข้าวที่ปลูกมี 2 ประเภท คือพันธุ์ข้าวจ้าว และพันธุ์ข้าวเหนียว พี่น้องชาติพันธุ์นิยมปลูกข้าวจ้าวไว้กิน ส่วนข้าวเหนียวจะปลูกไว้ทำขนมในเทศกาลต่างๆ ดังนั้นจึงมีการปลูกพันธุ์ข้าวจ้าวมากกว่าและมีจำนวนสายพันธุ์ที่มากกว่าด้วย ความนิยมในการกินข้าวจ้าวของแต่ละชาติพันธุ์ก็ต่างกันด้วยเช่นกัน ดังนั้นสายพันธุ์ที่ปลูกก็แตกต่างกันไปตามความชอบ แต่จะมีเหมือนกันที่ชอบและปลูกข้าวสายพันธุ์เดียวกันระหว่างเผ่า นั้นอาจเพราะมีการติดแลกเปลี่ยนสายพันธุ์ข้าวระหว่างกันเสมอๆ ปัจจุบันจำนวนสายพันธุ์ข้าวที่ยังคงปลูกอยู่นั้นมีจำนวนลดน้อยลงมาก เหลือไม่กี่ชนิดเนื่องจากวิถีการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะในช่วง การปฏิวัติเขียว (The Green Revolution) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงทศวรรศที่ 6 คือประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา เน้นกระบวนการผลิตเริ่มจากเทคโนโลยีการผลิต มีการผสมตัดต่อพันธุ์พืชเน้นให้ผลผลิตสูง การใช้สารเคมีชนิดต่างๆ เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ และการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ เช่นด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และวัฒนธรรม ตลอดจนสุขภาพอนามัย และระบบนิเวศวิทยาของโลก พืชใหม่ที่สำคัญจากการบุกรุกของพืชเศรษฐกิจ ข้าวโพด ยางพารา และการเข้ามีอิทธิพลของสารเคมีสูงมากขึ้นในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวเหตุสำคัญในการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางอาหาร การปลูกข้าวในชุมชนชาติพันธุ์ปัจจุบันนี้จะคงสายพันธุ์ข้าวเฉพาะที่มีรสชาติอร่อย ทนต่อสภาพภูมิอากาศ เชื้อโรคและให้ผลผลิตสูงเท่านั้น ที่เหลือจากนั้นก็สูญหายไปไม่มีใครเก็บพันธุ์ไว้ ดังนั้นข้าวที่เหลืออยู่จึงเป็นพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพและมีรสชาติอร่อยด้วยพันธุ์ข้าวจ้าวที่เหลืออยู่ในปัจจุบันจึงเป็นพันธุ์ข้าวที่ได้รับการคัดสรรคและรักษามาเป็นเวลานานและเป็นที่นิยมรับประทานกันเช่นข้าวจ้าว พันธุ์ยางซูหลี่งเหม่าเช่าหลิ่ง ,จาเบ่เหล่ ,จ่าฟูมา, จ่าติติ, ข้าวบ้านธาตุ เป็นต้น ซึ่งเป็นสายพันธุ์ข้าวที่คุ้นเคยกันในหมู่พี่น้องชาติพันธุ์ ที่มีการแลกเปลี่ยนและขยายความนิยมในการปลูกเพื่อเน้นการบริโภค วิธีการปลูกข้าวในแต่ละเผ่ามีความแตกต่างกันไป โดยจะปลูกข้าวกันในช่วง เดือน พฤษภาคม –กรกฎาคม ของทุกปี หลังจากมีฝนเริ่มตกลงมาแล้ว อายุของข้าว ตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว จะใช้เวลาโดยประมาณ100-115 วัน พันธุ์ข้าวจ้าวดอยที่ปลูกเป็นพันธุ์ข้าวที่ใช้น้ำฝน(น้ำฟ้า)เป็นหลักในการเจริญเติบโต และไม่มีการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก ปัจจุบันข้าวดอยเป็นที่นิยมกันมากสำหรับผู้รักสุขภาพที่ต้องการรับประทานข้าวที่มีคุณภาพและปลอดภัย และมีรสชาติที่อร่อย มัน เคี้ยวอร่อย และสามารถรับประทานร่วมกันได้กับอาหารทุกประเภท นอกจากความอร่อยแล้ว ข้าวดอยยังมีมิติอื่นๆที่น่าสนใจมาก ตั้งแต่การคัดเลือก การปลูก การเก็บเกี่ยว จนกระทั่งการบริโภค ที่ผู้ปลูกได้ใช้พลังแห่งองค์ความรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องทุกขั้นตอน อย่างกลมกลืนกัน มีความเชื่อ ความเอาใจใส่ อย่างประณีต รู้ว่าควรปลูกอย่างไรจะเก็บเกี่ยวเมื่อไร และรักษาข้าวไว้หลังเก็บเกี่ยวอย่างไร ถึงจะได้ข้าวที่มีคุณภาพดี อร่อย และปลอดภัย กู่เต๊ะ : ข้าวในวิถีของคนบนดอย ข้าวในวิถีม้ง ชาติพันธุ์ม้งคือสังคมที่ยังยึดระบบการผลิตที่ทำข้าวไร่ ยังชีพเป็นหลัก ข้าว คือ อาหารหลักในการบริโภค หากมองถึงวัฏจักรการผลิตข้าวไร่ ของชาวม้งนั้นจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากที่ได้ฉลองปีใหม่ม้ง“น่อเป้โจ่วฮ์” และผ่านช่วงระยะเวลาของการพักผ่อนประมาณปลายเดือนกุมภาพันธุ์ จะเริ่มลงมือแผ้วถางไร่ เพื่อเตรียมเปิดพื้นที่ หากเป็นไร่เหล่าเก่าที่ทิ้งไว้หลายปีจะเรียกว่า “กู่เต๊ะหาจื๋อเหย่ง” ส่วนพื้นที่ไร่ที่ทำปีเว้นปีหรือทำทุกปีเรียกว่า“กู่เต๊ะ” หลังแผ้วถางไร่เสณ็จก็จะปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน แต่หากเป็นไร่เหล่าเก่า ทิ้งไว้ประมาณครึ่งเดือน ก็จะทำการเผาไร่และปล่อยทิ้งไว้จนถึงต้นฤดูกาลเพาะปลูกที่เริ่มต้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน การปลูกข้าวไร่อาศัยน้ำฝน(น้ำฟ้า)เป็นหลักดังนั้นชาวม้งจะมีความชำนาญการในการเฝ้าสังเกตธรรมชาติว่าเมื่อใดเหมาะสมและจะลงมือปลูกข้าวที่พร้อมรับน้ำฝน(น้ำฟ้า)ได้พอดีเป็นทักษะและภูมิปัญญาในการถ่ายถอดกันมาช้านาน(การสังเกตแมลงจากตัวมด(ม้งเรียกดัวจ่อ)ที่จะบินออกมาจากดิน นั้นแสดงว่าฝนกำลังจะตก/คนไทยวนเรียกแมงมัน) ในกระบวนการปลูกผู้หญิงม้งมีบทบาทสูงมาก ผู้หญิงม้งจะมีองค์ความรู้และมีบทบาทสูงมากในกระบวนการปลูกข้าว ไปจนถึง การดูแลรักษาต้นข้าวเมื่อเติบโต และการเก็บเกี่ยว และการนำมาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ที่เป็นทั้งอาหารหลัก แปรรูปเป็นขนม เป็นเหล้าที่นำมาเฉลิมฉลองในเทศบาลสำคัญของปี ผู้ชายม้งนั้นเป็นเพียงแรงงานและช่วยเหลืออำนวยความสะดวกให้ฝ่ายหญิงเท่านั้น จะเห็นได้ว่าชาวม้งใช้ประโยชน์จากข้าวมีหลากหลายมิติมากในวิถีชาวม้งโดยเชื่อมโยงกับการปลูกข้าวที่หลากหลายสายพันธุ์ ทั้งกลุ่มข้าวเจ้า(แบล่จัว)และข้าวเหนียว (แบล่เปล่า) ชาวม้งให้คุณค่าต่อข้าวที่สัมพันธ์ต่อชีวิตหลากมิติ มีพิธีกรรมที่มีผลต่อการตัดสินใจในการกระทำหรือไม่กระทำบางสิ่งอางอย่างในชีวิต การใช้ข้าวเป็นสิ่งช่วยในการประกอบพิธีกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีทั้งในพิธีกรรมระดับปัจเจก ครอบครัว และชุมชน ซึ่งในระดับปัจเจกและครอบครัวมักจะเป็นเรื่องของการทำนายเสี่ยงทายและการตัดสินใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วยของสมาชิกในบ้าน ชึ่งหมอผีจะมีบทบาทด้านพิธีกรรมจะเป็นผู้เสี่ยงทายและบอกกล่าวถึงวิธีกรรมต่าง ๆ ของคนในชุมชน ขณะเดียวกันในการประกอบพิธีกรรมครอบครัวจะดำเนินการช่วงเทศกาลปีใหม่ที่มีการประกอบพิธีกรรมเรียกขวัญข้าวเพื่อขอให้ขวัญข้าวมาอยู่กับครอบครัวและยุ้งฉางที่ตนเองเก็บข้าวไว้ ชาวม้งเรียนรู้ที่จะพัฒนาข้าวแต่ละสายพันธุ์โดยมิได้จำกัดอยู่ในแค่ครัวเรือนของตน หรือครัวเรือนใดครัวเรือนหนึ่ง หากแต่หากมีการกระจายตัวพันธุ์ข้าวมีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวระหว่างกันเป็นปกติวิสัยในการร่วมกันคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่จะนำมาปลูกในผืนไร่ของตนเอง องค์ความรู้ของชาวม้งในการรักษาและอนุรักษ์และคัดสรรพันธุ์ข้าวนั้น ๆคือการควบคุมข้าวไม่ให้มีผลต่อการกลายพันธุ์ การปลูกข้าวอย่างไรเพื่อไม่ให้ข้าวกลายพันธุ์ ชาวม้งมักจะปลูกข้าวเหนียวในพื้นที่เดียวกันคือจะมีการปลูกข้าวเจ้าก่อนแล้วจึงปลูกข้าวเหนียวโดยจะแบ่งพื้นที่ปลูกคนละด้านของไร่จะไม่มีการปลูกข้าวชนิดเดียวบนยอดดอยแต่จะปลูกในลักษณะขนานกันลงมาเป็นการป้องกันให้เมล็ดข้าวปนกันเวลาที่ฝนตกและเมื่อเจริญเติบโตจะมีการผสมพันธุ์เกสรของข้าวไม่กลายพันธุ์นั้นคือภูมิปัญญาการควบคุมการกลายพันธุ์ข้าวเราจะเห็นได้ว่าชาวม้งให้ความสำคัญข้าวสูงมาก ข้าวมีบทบาททั้งเป็นอาหารและเกี่ยวเนื่องต่อพิธีกรรมต่าง ๆ ของชาวม้งอย่างลึกซึ่งแสดงถึงพลวัตในการรักษาอัตลักษณ์และวิถีของชาติพันธุ์ม้ง เด่เบี้ยว : ข้าวในวิถีของบนดอย ข้าวในวิถีเมี่ยน ข้าวกับวิถีคนเมี่ยนนั้นสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของเมี่ยนที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการความหลากหลายพันธุ์ข้าวตั้งแต่ตำนานการกำเนิดข้าว ความคิดความเชื่อที่มีต่อข้าวทั้งนระบบการผลิตและวิถีชีวิตรวมไปถึงการแสดงออกผ่านกระบวนการจัดการในขั้นตอนต่างๆ การปลูกข้าวชาวเมี่ยน หัวใจสำคัญของชาวเมี่ยนคือความกตัญญู..เป็นคุณธรรมเบื้องต้นที่ฝังรากในจิตวิญญาณวัฒนธรรมชาวเมี่ยน เมื่อพยายามทำความเข้าใจ ถอดรหัสของบรรพชนชาวเมี่ยนในการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว ที่แฝงไว้เป็นกุศโลบาย ทุกครัวเรือนจะปลูกข้าวไร่.. ที่จะต้องมีการปลูกข้าวสองพันธุ์ไว้ในไร่เสมอ พันธุ์ข้าวดังกล่าวคือ “เบี้ยวหม่ากู๋” หมายถึงข้าวยายและ”เบี้ยวอง”หมายถึงข้าวตาหรือบ้างครอบครัวเรียกข้าวปู่ข้าวย่าก็ได้ ซึ่งทุกหลังคาเรือนต้องมีพันธุ์ข้าวนี้ ชาวเมี่ยนมีความเชื่อว่าพันธุ์ข้าวทั้งสองชนิดเป็นพันธุ์ข้าวที่จะช่วยปกปักรักษาพันธุ์ข้าวชนิดอื่นที่ปลูกในไร่ เปรียบเสมือนคนเราที่ต้องมีปู่ย่าตายายที่คอยช่วยชี้แนะในการดำเนินชีวิต ชาวเมี่ยนต้องเก็บรักษาพันธุ์ข้าวทั้งสองนี้ไว้เพื่อสืบสายพันธุ์และเป็นสิริมงคลต่อผืนไร่และครอบครัว คนเมี่ยนปฏิบัติต่อข้าวตั้งแต่การเลือกสายพันธุ์ข้าว การปลูกและการเก็บเกี่ยวไปจนถึงการทำพิธีกรรมต่างๆ ที่มีต่อข้าวนั้น คนเมี่ยนให้ความสำคัญต่อข้าวเพราะถือว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อชีวิต สิ่งที่สะท้อนให้เราเห็นในวัฏจักรในรอบหนึ่งปีของกระบวนการผลิตข้าว คือการเอาใจใส่ต่อไร่ข้าว ตั้แต่การปลูก การดูแล การเก็บเกี่ยว ดังนั้นช่วงเวลาผ่านไปส่วนใหญ่จึงเป็นเวลาที่ชาวเมี่ยนอยู่ในไร่ข้าว เราอาจกล่าวได้ว่าข้าวเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนเมี่ยนที่เราพบว่าตั้งแต่การตั้งบ้านเรือนที่ชาวเมี่ยนต้องใช้เมล็ดข้าวเปลือกเพื่อทำนายเสี่ยงทายการลงหลักปักเสาบ้านเพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุขของคนในครัวเรือน ข้าวจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อความเป็นอยู่ของคน เมื่อสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวคนเมี่ยนจึงมีการประกอบพิธีกรรมกินข้าวใหม่และเช่นไหว้ผีบรรพบุรุษให้มาร่วมกินข้าวใหม่ร่วมกัน ชาวเมียนนับถือผีหลากมิติ มีการเซ่นไหว้ผีไร่ในช่วงเวลาที่ลงมือปลูกข้าวไร่ไปได้ประมาณ สองเดือน พิธีดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้ผีไร่ อำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยปกป้องคุ้มครองข้าวไร้ให้เจริญงอกงาม ให้ผลผลิตที่เพียงพอต่อครอบครัว ตลอดปี หลังจากที่ทำการเก็บเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้วก็จะมีการทำพิธีเซ่นไหว้ขอบคุณ ชาวเมี่ยนเชื่อว่าข้าวเป็นสิ่งมีชีวิตและมีขวัญการที่ขวัญข้าวแข็งแรง โดยการดูแลปกป้องจากอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองบนบานไว้จะทำให้ข้าวเจริญเติบโตให้ผลผลิตที่ดี ดังนั้นทุกปีที่ทำข้าวไร่ชาวเมี่ยนจึงต้องทำพิธีกรรมเลี้ยงผีไร่เพื่อขอบคุณ และสู่ขวัญข้าวในช่วงเวลาที่พักผ่อนของฤดูชุนก๋วย เราจึงอาจกล่าวได้ว่าการแสดงออกต่างๆของคนเมี่ยนผ่านพิธีกรรมที่มีต่อข้าวเป็นวิธีคิดที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและความสำคัญของข้าวในวิถีชีวิตคนเมี่ยน ข้าวในวิถีของคนลุ่มน้ำ(Rice in the way of the watershed) ข้าวในวิถีของคนลุ่มน้ำ ข้าวในวิถีไทยวน ข้าวชาวไทยวนมีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตและการจัดการความหลากหลายพันธุ์ข้าวที่แสดงออกผ่านพิธีกรรมทั้งในระบบการผลิตและพิธีกรรมของชุมชน ชาวไทยยวนเป็นกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มน้ำและส่วนใหญ่จะมีการทำนาปลูกข้าวเป็นกิจกรรมหลักทางการเกษตรมาตั้งแต่อดีตกาลจนกระทั่งมาถึงปัจจุบันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เกิดจากผลกระทบของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่พลักให้วิถีการผลิตเปลี่ยนแปลง แต่อยางไรก็ตามชุมชนยังคงมีการผลิดข้าวเพื่อกินมากกว่าขายมีการจัดการระบบน้ำเหมืองฝายผสมผสานความเชื่อและพิธีกรรมที่ยึดโยงคนกับธรรมชาติ ดังจะเห็นได้จากพิธีเวนตานข้าวใหม่ ถือเป็นระบบศิลธรรมและการให้คุณค่าต่อข้าวชาวไทยวนอย่างลึกซึ้ง ประเพณีนี้ผูกติดกับกระบวนการผลิตในไร่นาได้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ช่วงเวลาก็ประมาณเดือนสามเดือนสี่(มกราคม-กุมภาพันธ์)เป็นการนำข้าวเปลือกและข้าวสาร รวมทั้งข้าวที่นึ่งสุก และบางส่วนทำขนมเพื่อนำไปทำบุญถวายพระ สิ่งที่น่าสนใจคือ หากเราวิเคราะห์ถึงรากเหง้าทางความคิดของชาวไทยวนที่เชื่อมโยงของวัฏจักรการเวียนว่ายตายเกิดของคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติและธรรมชาติที่แวดล้อมไปพร้อม ๆกันทั้งตำนานเรื่องเล่าการกำเนิดข้าวและการถวายข้าวให้กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ซึ่งเป็นศาสนาความเชื่อที่ชาวไทยยึดถือเป็นจารีตข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดไปจนถึงตายเราจะเห็นได้ว่าในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆทั้งที่เป็นวิถีชีวิตประจำวันและที่เกี่ยงข้องกับศาสนา บ้าน ชุมชน วัด ล้วนแล้วแต่มีข้าวเป็นองค์ประกอบทั้งสิ้น อ้างใน เสถียร ฉันทะ (2543) การทำบุญเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อข้าวและความเชื่อว่าข้าวมีความศักดิ์สิทธิ์มีจิตวิญญาณการประกอบพิธีกรรมต่างๆ จึงสอดคล้องกับวิถีการผลิตของชาวไทยวนที่มีการปลูกข้าวเพื่อการบริโภคเป็นหลัก การพบเห็นพิธีกรรมต่างๆ ที่ชาวบ้านแสดงออกต่อข้าวตั้งแต่การผลิต การแฮกนา การแฮกขวัญข้าว การซ่นไหว้ผีนาผีไร่ การดูฤกษ์ยามการเก็บเกี่ยวข้าว การนำข้าวออกมาใช้ ตลอดจนการทำบุญถวายข้าวใหม่ สิ่งที่ชุมชนแสดงออกทางพิธีกรรมเหล่านี้ถือเป็นการแสดงความสำคัญสูงสุดที่คนไทยวนมีต่อข้าว จากช่วงระยะเวลาในห้วงสี่ทศวรรษ ผืนไร่ นา ของชาวไทยวนนั้น มีปัจจัยที่มีผลต่อความหลากหลายพันธุ์ข้าวไทยวนอย่างมาก เพราะชาวไทยวนถือเป็นกลุ่มชนที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง เป็นพืชพาณิชย์ที่มามีบทบาทแทนพื้นพืชถิ่น นั้นเพราะคือความพยายามที่จะดำรงอยู่ของวิถีชีวิตและสถานะทางสังคม วัฒนธรรม และขณะเดียวกันก็เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อความอยู่รอดในท่ามกลางกระแสบริโภคนิยม ความหลากหลายพันธุ์ข้าวของชาวไทยวนนั้นถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่และการสูญหายไปของพันธุ์ข้าว ในพื้นที่จังหวัดน่าน เราพบว่ามีชุมชนไทยวนหลายแห่งไม่มีนาปลูกข้าวแต่มีการสร้างภูมิปัญหาในการปลูกข้าวไร่อยู่ แต่ปัจจุบันไม่ค่อยเหลือภาพข้าวไร่ให้เห็นเท่าไรแล้ว อ้างใน เสถียร ฉันทะ (2543) ปัจจัยทางวัฒนธรรมการบริโภค ชาวไทยวนเป็นกลุ่มวัฒนธรรมการกินข้าวเหนียวเป็นหลักแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าชาวไทยวนจะไม่ได้ปลูกเฉพาะข้าวเหนียว ข้าวเจ้าเองชาวไทยวนก็ปลูก มีการนำข้าวเจ้าเย้าที่นำมาจากชาวเมี่ยนเป็นพันธุ์ข้าวไร่ สิ่งที่น่าสนใจคือมีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวระหว่างชาติพันธุ์กันอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตามชาวไทยยวนเป็นชุมชนที่ยังคงมีระบบการผลิตที่ปลูกข้าวเป็นพืชหลักแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตและการเข้ามาของพืชพาณิชย์จะเพิ่มมากขึ้น วัฒนธรรมการผลิตและการผลิตซ้ำทางความคิดที่มีต่อข้าวมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกระบวนการขั้นตอนการผลิตและรูปแบบพิธีกรรมต่างที่แสดงออกต่อการเคารพข้าว ข้าวในวิถีคนลุ่มน้ำ ข้าวในวิถีคนไทลื้อ เป็นกลุ่มชาติพันธที่มีการทำนาปลูกข้าวมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การตั้งถิ่นฐานดั้งเดิม ดินแดนสิบสองปันนาก็เนื่องมาจากระบบการผลิตด้วยการทำนาและการจัดการเหมืองฝายอยู่ 12 เหมืองฝาย ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาในการจัดการเรื่องน้ำ หรือ 12 ปันนา กระบวนการจัดการน้ำถือเป็นหัวใจสำคัญมากที่ชาวไทลื้อให้เป็นเรื่องแรกๆในการทำนา ชาวไทลื้อจึงมีความผูกพันกับการทำนาปลูกข้าวมาช้านานแม้จะมีการเคลื่อนย้ายมาจากถิ่นฐานที่อื่นก็ยังนำภูมิปัญญาการจัดการเหมืองฝายมาใช้และการจัดการทำนาถึงปัจจุบัน ในโลกทัศน์ของชาวไทยลื้อ ข้าวเป็นของทิพย์เป็นสิ่งวิเศษ มีตำนานเรื่องเล่ายาวนาน ความเชื่อที่มาของต้นกำเนิดของข้าวทำให้ชาวไทลื้อสำนึกบุญคุณของข้าวที่เชื่อมโยงกับความเชื่อที่มีต่อพระพุทธศาสนาจึงทำให้ข้าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดกว่าพืชอื่นทุกชนิด การให้คัณค่าต่อข้าวจึงผ่านการแสดงออกทางพิธีกรรมต่างๆ ไม่ต่างจากชาวไทยวน ทั้งในกระบวนการผลิตและการนำเอาข้าวมาใช้ประโยชน์ จะเห็นได้ว่าพิธีกรรมเรียกขวัญข้าว “ฮ้องขวัญข้าว” 32 ขวัญ ซึ่งเป็นฐานความเชื่อเดียวกันกับชาวไทยวนแต่อาจแตกต่างในพิธีกรรม และภาษา มีการทำบุญถวายข้าวใหม่ “ต๋านเข๋า” โดยมีความเชื่อว่า ก่อนการลงมือทำการเพาะปลูกข้าวต้องมีการทำพิธีกรรมบนบานอธิฐานขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพยดา พระอินทร์ พระพรม เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าบ้านเมือง เจ้าเหมืองฝ่ายที่ช่วยให้น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ก็จะทำบุญอุทิศถวายให้บริโภคก่อนที่มนุษย์เราจะนำเอาข้าวใหม่มากินกัน ทั้งหมดคือการแสดงออกของโลกทัศน์ของชาวไทลื้อที่มีต่อธรรมชาติ และสิ่งที่เหนือธรรมชาติผ่านความคิดความเชื่อของการดำรงชีวิตที่เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ลักษณะทางสังคมของชาวไทลื้อมีความคล้ายคลึงกับชาวไทยวนทั้งแบบแผนวัฒนธรรมบางอย่างและกระบวนการผลิตข้าว ตลอดจนถึงผลกระทบการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย อ้างใน เสถียร ฉันทะ (2543:240) ระบบนิเวศนับว่ามีความสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งชาวไทลื้อมีการจำแนกระบบนิเวศในการทำนาปลูกข้าวเป็นสองประเภท คือ นาดอนและนาโฮ่ง พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกจะมีความแตกต่างกันออกไปตามระบบนิเวศของนาพันธุ์ข้าวที่ไวแสงจำพวกพันธุ์ข้าวดอกหรือข้าวกลางก็จะถูกปลูกในนาดอย พันธุ์ข้าวปีก็จะปลูกในนาโฮ่ง พันธุ์ข้าวชนิดต่างๆ จึงมีความจำเพาะหรือมีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับนิเวศของตนเอง โดยเฉพาะการทำนาปลูกข้าวของชาวไทลื้อที่เชื่อมโยงกับการจัดการเหมืองฝายหรือชาวไทลื้อมีระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ราบลุ่มน้ำเป็นหลัก ความหลากหลายของระบบนิเวศจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อการคงอยู่และการสูญหายของสายพันธุ์ข้าว ระบบนิเวศของไร่นามีส่วนสำคัญต่อเทคนิคองค์ความรู้การปลูกข้าวและการเลือกพันธุ์ข้าวของเกษตรกร ในอดีตที่ผ่านมานั้นข้าวของไทลื้อมีหลากหลายพันธุ์ ปัจจุบันได้สูญหายไปจากชุมชนซึ่งเหตุผลหนึ่งคือการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ลดลง พันธุ์ข้าวบางชนิดให้ผลผลิตลดลง การปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลงมีการใช้สูงมากขึ้น มีพันธุ์ข้าวที่รัฐส่งเสริม เข้ามา กข.6 กข.15 ที่ตอบสนองเคมีเกษตรสมัยใหม่ มากกว่า การปลูกข้าวที่รัฐส่งเสริมจึงเป็นต้นเหตุสำคัญของการลดความสามารถของชาวบ้านในการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าว ปัจจุบันพบพันธุ์ข้าวที่หมุนเวียนอยู่ 7 สายพันธุ์ โดยเป็นสายพันธุ์พื้นถิ่นของชาวไทลื้อ 4 สายพันธุ์ และเป็นสายพันธุ์ที่นำมาจากการส่งเสริมของรัฐ 3 สายพันธุ์ (Tanabe 1994 : 171-210 )

อ้างใน เสถียร ฉันทะ (2543:247)

การใช้ประโยชน์เพื่อเป็นอาหาร ชาวไทลื้อบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก ข้าวเหนียวจึงเป็นพันธุ์ที่ปลูกในนาเพื่อเก็บไว้บริโภค นอกจากนี้ใช้ประโยชน์เพื่อทำขนม ในเทศกาล ประเพณีต่างๆ และมีการนำข้าวเจ้ามาทำขนมมากกว่าข้าวเหนียวซึ่งก็จะมีความคล้ายกันกับไทยวน นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนสยพันธุ์ข้าวข้ามเขตชุมชนและมีแลกเปลี่ยนระหว่างชาติพันธุ์ไทยวนและชาวเขาที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน การจัดการนิเวศ ป่าต้นน้ำ เหมืองฝาน ผสมผสานความเชื่อเรื่องผี อำนาจเหนือธรรมชาติ ธีคิดเหล่านี้จึงเป็นเสมือนการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทั้งที่เป็นความรู้เทคนิค และองค์ความรู้ที่เป็นวิธีคิดที่ตกผลึกเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งความหลากหลายพันธุ์ข้าวและสืบทอดมาถึงปัจจุบันของชาวไทลื้อ บทส่งท้าย ข้าวในมิติพหุวัฒนธรรมวิถีคนน่าน จากการยกตัวอย่างกระบวนการผลิตข้าวของ กลุ่มคนน่านที่ยังดำรงวิถีการผลิตข้าว และเอกลักษณ์ของความเป็นชาติพันธุ์ของตนเองได้อย่างชัดเจน โดยอธิบายตามสภาพภูมิศาสตร์ และภูมิปัญญาในการปลูกข้าวที่น่าสนใจแบ่งเป็นเขตพื้นที่และความเฉพาะความพิเศษ ของชนชาติพันธุ์น่าน ใน 3 ประเด็น -กระบวนการปลูกข้าวในวิถีชนเผ่าดังเดิม (Rice in the old tribal way) ชาวลัวะ-ถิ่น,ชาวขมุ -กระบวนการปลูกข้าว ข้าวดอย :พันธุ์ข้าวพื้นบ้านของพี่น้องชาติพันธุ์(Rice in the tribal way) ชาวม้ง , เมี่ยน -กระบวนการปลูกข้าวในวิถีของคนลุ่มน้ำ (Rice in the way of the watershed) ชาวไทยวน , ชาวไทลื้อ ข้าว จึงเป็นวัฒนธรรมด้านอาหาร(Food culture) และวัฒนธรรมร่วม(Co-culture) ของคนน่าน ที่เป็นมิติพหุวัฒนธรรม มีทั้งรูปธรรมและนามธรรม วัฒนธรรมอาหารคนน่านที่เกิดจากข้าวมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมด้านอื่นซึ่ง มีบทบาทที่ยึดโยงไม่ได้จำกัดแค่วัฒนธรรมด้านอาหารของผู้คนน่านเท่านั้นแต่เป็นเป่าหลอม วิถีชีวิตของผู้คน และพัฒนาเป็นรากฐานการบ่อเกิดวัฒนธรรมเฉพาะของทุกชาติพันธุ์บนผืนดินน่าน ข้าวน่าน จึงถือเป็น มารดาแห่งธัญพืชที่หล่อเลี้ยงผู้คน แต่ละชาติพันธุ์ที่อาศัยผืนแผ่นดินลุ่มน้ำน่านร่วมกันจนก่อเกิดเป็นรัฐนครน่าน ยาวนาน 800 กว่าปี ชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในระบบนิเวศของภูมิศาสตร์แบบเมืองน่านได้ร่วมกันรังสรรค์พัฒนาระบบการผลิตตามแนวทางบนพื้นฐานองค์ความรู้ของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเอง เป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อยังชีพที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชพันธุ์ธัญญาหารทั้งในไร่ นา สวน ป่า ขุนเขา ถึงยอดดอย ผ่านคามเชื่อความศรัทธาใน พระแม่ธรณี (พลังแผ่นดิน)พระแม่คงคา (พลังแห่งน้ำ)พระแม่โพสพ(ข้าว) มาหลายชั่วอายุคน เราอาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในจังหวัดน่านมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป การนั่งวิเคราะห์ความรู้พื้นบ้านจึงมิอาจมองข้ามมิติทางวัฒนธรรมที่แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์แสดงออกต่อการจัดการความหลากหลายพันธุ์ข้าวเป็นแกนหลักของการแสดงออกทางความคิดที่ตกผลึกและสืบทอดกันมาช้านาน ข้าวจริงๆไปไกลกว่าแค่วัฒนธรรมทางอาหาร เมื่อเรามองคุณค่าของข้าวระดับที่ต่ำสุดคือ ข้าวเป็นระดับมูลค่าเป็นสินค้าการเกษตรที่เน้นส่งออก ระดับกลางคือ ข้าว คืออาหารหล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน ระดับสูงสุดคือ ข้าวคือ อัตลักษณ์ คือจิตวิญญาณของการมีชีวิตที่ชาวนาทุกคนเคารพศรัทธาใน พลังธรรมชาติ พระแม่ธรณี (พลังแผ่นดิน)พระแม่คงคา (พลังแห่งน้ำ)พระแม่โพสพ(ข้าว) แม้ระบบการผลิตได้นำไปสู่จิตวิญญาณที่เปลี่ยนแปลง เมื่อมองปัญหาด้วยปัญญาต้นตอไม่ได้อยู่แต่การผลิตข้าวเพียงแค่เป็นคลังอาหารอีกต่อไป แต่เมล็ดพันธุ์หมายถึงแก่นเชื้อที่เป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหาร เป็นวัฒนธรรมเป็นประวัติศาสตร์และเป็นสัญญาลักษณ์สูงสุดของความมั่นคงทางอาหาร ถูกจัดการโดยรัฐ ตัดต่อพันธุ์ข้าวเคมีมาแทนที่พันธุ์ข้าวพื้นถิ่น โดยแรงสูงใจปริมาณผลผลิตต่อไร่สูง และส่งเสริมให้ขยายพื้นที่ออไปเน้นการส่งออก ทั้งหมดเป็นจุดเริ่มต้นในการถอดรากถอดโคลน ภูมิปัญญาของบรรพชนที่มอบให้มา ทำให้สายพันธุ์ข้าวหลายหมื่นสายพันธุ์สูญหายไปจากพื้นถิ่น นั้นคือความสามารถและภูมิปัญญาการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวด้วยตนเองของชุมชนหายไปด้วยเช่นกัน สุดท้ายความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นหัวใจของความมั่นคงทางอาหารและความอยู่รอดล่มสลายลงไป ปัจจัยแห่งวิถีชีวิตที่เชื่อมโยงกับที่ดินถิ่นกำเนิดพื้นที่ทางจิตวิญญาณกับวิถีชาติพันธุ์ การต่อสู้เพื่อรักษาไว้ซึ่งที่ดินอันศักดิ์สิทธิ์ของบรรพบุรุษ ที่ดินทางจิตวิญญาณ อันหมายถึงที่ดินที่ทำกิน ที่อยู่อาศัย ที่เกิดและที่ตาย ที่ประกอบพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์กับอำนาจที่ไม่เข้าใจมีมาช้านาน…..วันนี้ ชาติพันธุ์ผู้รักษาป่าและผืนดินกลายเป็นผู้บุกรุก เพราะนโบายการจัดการที่ดินในเขตป่าของรัฐ กระทั่งนโยบายทวงผืนป่าในปัจจุบัน คือ ความขมขื่นจากนโยบายที่ผิดพลาด…และพวกเขาถูกพิภาคษาจากสังคมเสมอ…จริงแล้วนั้น สิทธิแห่งความเท่าเทียมไม่มีอยู่จริงหรือไม่? นี้คงเป็นคำถาม…แม้ ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง มาตรา 25 ระบุว่า “ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะธำรงรักษาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณกับที่ดิน เขตแดน น้ำและชายฝั่งทะเลและทรัพยากรอื่น ๆ ซึ่งพวกเขาได้เป็นเจ้าของตามประเพณีหรือมิฉะนั้นเคยครอบครองหรือใช้ประโยชน์อยู่ก่อนแล้วและมีสิทธิที่ดำรงความรับผิดชอบในการส่งเสริมสิ่งเหล่านี้สู่คนในรุ่นต่อไป”… ข้าวในวิถีคนน่าน วัฒนธรรมด้านอาหาร(Food culture) และวัฒนธรรมร่วม(Co-culture) ของคนน่าน ฐานมิติพหุวัฒนธรรม เราจำต้องช่วยกันฟื้น วิญญาณแห่งพระแม่โพสพ(ข้าว)ให้กลับคืนมาสิงสถิตแนบแน่นในเลือด เนื้อ ในวิถีชีวิต ลมหายใจ ของข้าว ส่งผ่านไปยังผู้คนรุ่นหลัง สารต่อเป็นสายธารวัฒนธรรมหยั่งรากแก้ว ที่ยังคงรินไหลผ่านการเวลาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ________________________________________ บรรณานุกรม ศูนย์เรียนรู้พหุวัฒนธรรมชาติพันธุ์น่านศึกษาโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 56.“ชาติพันธุ์น่านศึกษา”พิมพ์ครั้งที่ 1น่าน: หจก.อิงค์เบอร์รี่ 2559. ประหยัด สายวิเชียร. อาหารวัฒนธรรม สุขภาพ. เชียงใหม่: นพบุรีการพิมพ์¸ 2547. เอี่ยม ทองดี. ข้าว: วัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลง. พิมพ์ครั้งที่ 1 ¸ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน 2538 ศรีศักร วัลลิโภดม. “ข้าวกับพัฒนาการของรัฐในประเทศไทย” ในข้าวไพร่-ข้าวเจ้าของชาวสยาม. กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรมพิเศษ 2531. http://www.thairice.org/html/aboutrice/about_rice1.htm บุญช่วย ศรีสวัสดิ์.30ชาติในเชียงราย.พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำกัด 2557: 240-268)