ผู้ใช้:ชาญยุทธ ธนาคมเศรษฐ์/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทศบาลตำบลบ่อพลับ[แก้]

จัดตั้งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม 2539 โดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 มาตรา 40 และมาตรา 41 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ชั้น 5 และได้เลื่อนชั้นเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลชั้น 4 ในปี 2542 โดยตามประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดนครปฐม เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2545 ข้อ 225 ได้กำหนดให้เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก และมติ ที่ประชุมคณะกรรมการพนักงานส่วนตำบลจังหวัดนครปฐม ครั้งที่ 5/2551 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2551 เห็นชอบให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อพลับ ปรับขนาดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลบ่อพลับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555 เป็นต้นไป จากการบอกเล่าสืบต่อกันมาคำว่า “ตำบลบ่อพลับ” นั้น มาจากชื่อของบ่อน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ข้างต้นมะพลับ อันเป็นที่มาของชื่อตำบลบ่อพลับ ในปัจจุบันสถานที่ดังกล่าวอยู่ในบริเวณ โรงเรียนบ้านบ่อพลับ หมู่ที่ 7

สภาพทั่วไปที่ตั้ง[แก้]

เทศบาลตำบลบ่อพลับ เลขที่ 100/2 หมู่ที่ 6 ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อยู่ทางทิศเหนือของอำเภอเมืองนครปฐม ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐม ประมาณ 2.5 กิโลเมตร และห่างจากศาลากลางจังหวัดนครปฐม ประมาณ 18 กิโลเมตร

อาณาเขต[แก้]

เทศบาลตำบลบ่อพลับ มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 4.9 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,062 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อตำบลมาบแค อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันออก ติดต่อตำบลทุ่งน้อย อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ทิศใต้ ติดต่อเทศบาลนครนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ทิศตะวันตก ติดต่อตำบลนครปฐม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

เขตการปกครอง[แก้]

เทศบาลตำบลบ่อพลับ มีพื้นที่ครอบคลุม 8 หมู่บ้าน ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านไผ่เกาะ

หมู่ที่ 2 บ้านหนองจอก

หมู่ที่ 3 บ้านท่าทราย

หมู่ที่ 5 บ้านสามแยกวัดกลาง

หมู่ที่ 6 บ้านสระหลวง

หมู่ที่ 7 บ้านวัดกลาง

หมู่ที่ 8 บ้านอ้อยอีเตี้ย

หมู่ที่ 9 บ้านในค่าย

ประชากร[แก้]

เทศบาลตำบลบ่อพลับ มีประชากรทั้งหมด 9,013 คน แยกเป็น เพศชาย 4,247 คน เพศหญิง 4,766 คน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 1,839 คน/ตาราง กิโลเมตร จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 4,335 ครัวเรือน จำแนกได้ดังนี้

หมู่ที่ 1 บ้านไผ่เกาะ มี 135 ครัวเรือน จำนวน 398 คน แบ่งเป็น ชาย 180 คน หญิง 218 คน

หมู่ที่ 2 บ้านหนองจอก มี 324 ครัวเรือน จำนวน 1,004 คน แบ่งเป็น ชาย 477 คน หญิง 527 คน

หมู่ที่ 3 บ้านท่าทราย มี 393 ครัวเรือน จำนวน 887 คน แบ่งเป็น ชาย 402 คน หญิง 485 คน

หมู่ที่ 5 บ้านสามแยกวัดกลาง มี 155 ครัวเรือน จำนวน 325 คน แบ่งเป็น ชาย 160 คน หญิง 165 คน

หมู่ที่ 6 บ้านสระหลวง มี 517 ครัวเรือน จำนวน 1,476 คน แบ่งเป็น ชาย 698 คน หญิง 778 คน

หมู่ที่ 7 บ้านวัดกลาง มี 527 ครัวเรือน จำนวน 1,333 คน แบ่งเป็น ชาย 649 คน หญิง 684 คน

หมู่ที่ 8 บ้านอ้อยอีเตี้ย มี 1,548 ครัวเรือน จำนวน 2,195 คน แบ่งเป็น ชาย 1,016คน หญิง 1,179 คน

หมู่ที่ 9 บ้านในค่าย มี 736 ครัวเรือน จำนวน 1,395 คน แบ่งเป็น ชาย 665 คน หญิง 730 คน

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

เทศบาลตำบลบ่อพลับ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มทั่วทั้งบริเวณ มี คลองธรรมชาติไหลผ่าน มีลำรางธรรมชาติ และคลองชลประทาน พื้นที่ทั้งหมดเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การ เพาะปลูก ทำพืชไร่ และการเลี้ยงสัตว์

ลักษณะทางภูมิอากาศ[แก้]

ภูมิอากาศของเทศบาลตำบลบ่อพลับ มีลักษณะคล้ายคลึงกับ จังหวัดอื่น ๆ ในภาคกลาง คือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม - เมษายน

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม - กันยายน

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์

อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนมกราคม

อาชีพของประชากรตำบลบ่อพลับ[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม รายได้และผลผลิตส่วนใหญ่ของชุมชนขึ้นอยู่กับจำนวนผลผลิตทางด้านเกษตรกรรม การประกอบอาชีพของประชาชน ประกอบด้วย

- อาชีพรับจ้าง จำนวน 1,956 ครัวเรือน คิดเป็น 45%

- อาชีพเกษตรกรรม/เลี้ยงสัตว์ จำนวน 630 ครัวเรือน คิดเป็น 15%

- อาชีพค้าขาย จำนวน 563 ครัวเรือน คิดเป็น 13%

- อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ จำนวน 557 ครัวเรือน คิดเป็น 13%

- อื่น ๆ จำนวน 580 ครัวเรือน คิดเป็น 14%

การไฟฟ้า[แก้]

ปัจจุบันเทศบาลตำบลบ่อพลับ ได้จัดให้มีไฟฟ้าส่องสว่าง ตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ยานพาหนะยามค่ำคืน โดยจัดให้มีไฟฟ้าส่องสว่างชนิด ติดกับเสาบริเวณริมถนนทุกสาย และการให้บริการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าในเขตเทศบาลตำบลบ่อพลับ อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งในเทศบาลตำบลบ่อพลับ มีครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า ร้อยละ 100 ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด

การประปา[แก้]

เทศบาลตำบลบ่อพลับ ได้ผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชนให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเน้นการให้บริการที่เพียงพอต่อชุมชน ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับใช้อุปโภค บริโภค สำหรับแหล่งน้ำที่เทศบาลตำบลบ่อพลับ สร้างขึ้นเพื่อการอุปโภค บริโภคของชุมชนนั้น สามารถจำแนกได้ดังนี้

1. ประปาบ่อบาดาล จำนวน 18 แห่ง

2. หอถังประปา จำนวน 15 แห่ง

3. ผู้ใช้น้ำทั้งหมด จำนวน 4,271 ครัวเรือน

นอกจากนี้ เทศบาลตำบลบ่อพลับ ได้จัดทำท่อระบายน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง และป้องกันปัญหาด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการระบายน้ำเสียของบ้านเรือน และ โรงงานอุตสาหกรรม

อำนาจหน้าที่[แก้]

เทศบาลตำบลบ่อพลับ มีอำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 ตาม มาตรา 50 ดังนี้

1. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน

2. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ

3. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

4. ป้องกัน และระงับโรคติดต่อ

5. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง

6. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม

7. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

8. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

9. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

อำนาจหน้าที่ตาม มาตรา 51 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายเทศบาลตำบลอาจจัดกิจการใด ๆ ในเขตเทศบาล ดังนี้[แก้]

1. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา

2. ให้มีโรงฆ่าสัตว์

3. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม

4. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน

5. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร

6. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้

7. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น

8. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ

9. เทศพาณิชย์

อ้างอิง[1][แก้]

  1. file:///C:/Users/Administrator/Downloads/borplub_01_1435196231%20(3).pdf