ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:กานต์พิชชา รวยสูงเนิน/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Cloud Computing: From Personal Cloud to SaaS

ระบบคลาวด์คืออะไร

แม้ว่าหัวข้อจะฟังดูเหมือนโฆษณาเกินจริง แต่ความหมายของคำว่า Cloud Computing หรือ การประมวลผลแบบคลาวด์ นั่นจริงๆ แล้วหมายถึงอะไร? และที่สำคัญยิ่งกว่าคือ อะไรคือประโยชน์หรือโอกาสที่ได้จากโมเดลใหม่นี้สำหรับนักธุรกิจ หากเราพูดถึงในมุมของธุรกิจ คลาวด์จะหมายถึงความยืดหยุ่น การรองรับการขยายตัว โมเดลการใช้งานแบบจ่ายตามการใช้จริง สำหรับการใช้บริการด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้บริการระยะสั้นๆ ด้วยโมเดลจ่ายตามการใช้จริงนี้ องค์กรมากมายจึงสามารถเปลี่ยนงบลงทุนด้านไอทีให้กลายเป็นงบค่าใช้จ่ายแทนได้ ดังนั้นจึงช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายด้านไอทีที่สะท้อนความต้องการทางธุรกิจได้ตรงยิ่งขึ้น รวมถึงหมดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ที่อาจตามมาด้วย คลาวด์มีหลากหลายระดับหลากหลายรูปแบบแล้วแต่การนำโมเดลนี้ไปใช้งาน โดยมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน ได้แก่:

Infrastructure-as-a-Service (IaaS) – บริการเวอร์ชวลแมนชีนที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่าย ช่วยรองรับความต้องการใช้งานในการประมวลผลหรือสตอเรจ

Platform-as-a-Service (PaaS) – บริการด้านแพลตฟอร์มสำหรับซอฟต์แวร์ (เช่น เว็บ แอพพลิเคชัน ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ระบบประมวลผลกลางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และมิดเดิลแวร์อื่นๆ โดยทำงานภายใต้การควบคุมด้านความปลอดภัยสูง) ที่เรียกใช้งานได้ผ่านเว็บแอพพลิเคชัน

Software-as-a-Service (SaaS) – เป็นบริการด้านแอพพลเคชันโดยคิดค่าบริการเป็นไลเซนต์ของผู้ใช้ หรือตามปริมาณการใช้งาน

Data-as-a-Service (DaaS) – ให้บริการข้อมูลหรืออินฟอร์เมชันจากคลาวด์อื่นๆ เป็นแหล่งเก็บข้อมูลดิบหรือข้อมูลเพื่อใช้เชือมโยงการวิเคราะห์

Business Process-as-a-Service (BPaaS) – เป็นคลาวด์สำหรับบริการด้านธุรกิจที่ต้องการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและวัดผลลัพธ์ทางธุรกิจได้ [1]


ระบบคลาวด์อยู่ที่ไหน

จากความแตกต่างของคลาวด์ในหลายๆ ประเภท บริการคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ผู้ที่สามารถใช้บริการจะเป็นเพียงพนักงานขององค์กรนั้นเท่านั้น สิทธิความเป็นเจ้าของและการบริหารจัดการจะเป็นขององค์กรลูกค้า ถึงแม้ว่าการบริหารจัดการภายในจะทำโดยซัพพลายเออร์ภายนอก หรือผู้ให้บริการภายนอกที่เรียกว่า IT outsourcing (ITO) service ก็ได้

คลาวด์แบบกลุ่มที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันร่วมกัน (Community Cloud) คือ คลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) ที่เปิดให้หลาย ๆ องค์กรสามารถเข้าใช้งานร่วมกันได้ โดยพนักงานขององค์กรนั้นและพนักงานขององค์กรอื่นที่ได้รับอนุญาต

คลาวด์แบบสาธารณะ (Public Cloud) คือ คลาวด์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น บริการคลาวด์ของอเมซอน Amazon Elastic Compute Cloud (EC2) หรือของ Google อย่าง Google App Engine

ประเด็นสุดท้ายสำหรับองค์กรที่ต้องพิจารณาในระยะยาวคือ การประยุกต์ใช้คลาวด์ในแบบต่างๆ ตามความเหมาะสมร่วมกัน หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า คลาวด์แบบผสม (Hybrid Cloud) ซึ่งโดยมากเป็นการผสานการทำงานระหว่างคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud) กับคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud)


ประโยชน์ของระบบคลาวด์ มีดังนี้

ประโยชน์ด้านการเงิน

1.ลดค่าใช้จ่าย โดยค่าใช้จ่ายจะต่ำลงเมื่อใช้บริการคลาวด์ เปรียบเทียบกับการต้องสร้างและบำรุงรักษาระบบด้วยตนเอง

2.ลดต้นทุนโดยรวมในการเป็นเจ้าของ โดยลงทุนจริงเท่าที่ใช้งาน และยังได้ความรวดเร็วในความพร้อมใช้งานอีกด้วย

3.ลดงบลงทุนค่าใช้จ่ายของไอที โดยเปลี่ยนการลงทุนเป็นการจ่ายค่าดำเนินการแทน

4.ปรับปรุงค่าใช้จ่ายได้ตามการบริหารจัดการกระแสเงินสดของธุรกิจ โดยจ่ายเฉพาะบริการที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ ได้

ประโยชน์ด้านการตอบสนอง

1. ทรัพยากรสำหรับประมวลผลและระบบมีพร้อมใช้งานได้ทันทีตามความต้องการทางธุรกิจ

2.เข้าดึงคลาวด์ได้หลากหลายช่องทาง จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลและแอพพลิเคชันจะพร้อมใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลา

3. คล่องตัวมากขึ้นด้วยคลาวด์ จึงช่วยให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็วด้วยทรัพยากรด้านไอทีที่เหมาะสม [2]

ประโยชน์ด้านผู้ให้บริการ

1. สามารถบริหารจัดการและควบคุมซอฟต์แวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2. ลดปัญหาการก๊อบปี้ซอฟต์แวร์จากซีดีได้ 100% เพราะลูกค้าจ่ายเงินตามการใช้งานจริง และได้รับเพียง Username และ Password ในการล็อคอินเพื่อเข้าใช้งานซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต

3. ลดต้นทุนในการผลิตและค่าใช้จ่ายในการขายซอฟต์แวร์ เช่น ค่าแผ่นซีดี ค่าผลิตแผ่นซีดี กล่องแพ็คเกจ ค่าขนส่ง หน้าร้าน ฯลฯ

4. สามารถเรียนรู้พฤติกรรมการใช้ซอฟต์แวร์ของลูกค้าได้อย่างละเอียดและ Real time

5. สามารถอัพเดท ปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ได้ง่าย เพราะสามารถทำที่ฝั่งผู้ให้บริการได้ทันที

6. ลดปัญหาการติดต่อสอบถามปัญหาการใช้งานของลูกค้าที่เกิดจากการติดตั้ง และการใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ไม่ถูกต้อง

7. ทำให้เกิดการผูกติดกับลูกค้าในระยะยาว เนื่องจากฐานข้อมูลที่สำคัญของลูกค้าถูกเก็บไว้ที่ฝั่งผู้ให้บริการ

ประโยชน์ด้านผู้ซื้อ

1. ลดต้นทุนในการซื้อซอฟต์แวร์ เพราะมีลักษณะการคิดค่าบริการแบบ Pay-as-you-go คือจ่ายตามระยะเวลาที่ใช้งานจริง ไม่ต้องจ่ายก้อนใหญ่ทีเดียว

2. ลดต้นทุนในการซื้อฮาร์ดแวร์ เช่น Server, Harddisk เพราะทั้งหมดนี้ผู้ให้บริการจะเป็นผู้รับผิดชอบ

3. ลดต้นทุนในการจ้างทีมงาน IT ที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อการติดตั้ง ดูแลรักษาระบบ และแก้ปัญหา ซึ่งจะตามมาด้วยค่าสวัสดิการต่างๆ

4. ลดเวลาในการวางแผน ติดตั้ง และดูแลรักษาในระยะยาว เพียงแค่จ่ายค่าบริการ ผู้ซื้อสามารถใช้งานซอฟต์แวร์ที่ต้องการได้ทันที

5. สะดวกในการเข้าใช้ เพราะสามารถเข้าใช้ซอฟต์แวร์ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านเว็บเบราเซอร์

6. ไม่ต้องคอยอัพเดทโปรแกรมด้วยตัวเอง เพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลให้ทั้งหมด [3]


SaaS คืออะไร ?

SaaS หรือ “Software as a Service” คือการรูปแบบการขายซอฟต์แวร์ โดยให้บริการผ่านทาง อินเตอร์เน็ต ซึ่งในอดีตหากเราต้องการใช้ซอฟต์แวร์ธุรกิจไม่ว่า จะเป็นซอฟท์แวร์ประเภท ERP, CRM เราจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างมาก กับการซื้อ License เพื่อนำมาติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่องและยังต้องจัดเตรียมในส่วนของ Hardware เช่น Server, Harddisk เพื่อใช้ในการประมวลผล และเก็บข้อมูลเป็นส่วนกลาง อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการดู แลรักษาระบบ ค่าจ้างทีมงาน IT ค่าทำระบบ Backup ข้อมูล หรือแม้แต่การทำสัญญาประกันความเสียหาย ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งล้วนแล้ว แต่มีความยุ่งยากและต้องเตรียมการกันอยู่นานกว่าจะได้ใช้ ซอฟต์แวร์สักหนึ่งตัว แต่ SaaS เปลี่ยนความยุ่งยาก ทั้งหมดเหล่านี้ ให้กลายเป็นเรื่องง่าย เพียงแค่ผู้ซื้อจ่ายค่าบริการ ตามการใช้งานจริง เช่น จ่ายตามจำนวนผู้ใช้และตามระยะเวลาที่ต้องการใช้ ก็สามารถเข้า ใช้งานซอฟต์แวร์ได้ทันที ผ่านทางอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ผู้ซื้อซอฟต์แวร์ไม่ ต้องแบกรับภาระ ค่าใช้จ่ายด้าน Hardware เหมือนแต่ก่อน ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร มากกว่าการซื้อ License แล้วยังช่วยประหยัดเวลาในการ ใช้ซอฟท์แวร์อีกด้วย

อย่างไรก็ดี SaaS อาจดูเหมือนเป็นคำตอบที่ดีของการเลือกซื้อซอฟต์แวร์ แต่ SaaS ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายๆ ด้านที่ธุรกิจองค์กร ควรให้ความสำคัญว่าข้อจำกัดต่างๆ นั้นมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหนกับธุรกิจหรือองค์กร ซึ่งในรายงานฉบับนี้ จะอธิบายถึงรูปแบบการให้บริการ ซอฟต์แวร์ SaaS ประโยชน์ สรุปการเปรียบเทียบกับการซื้อซอฟแวร์แบบติดตั้ง ฯลฯ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเห็นถึงข้อดี ข้อเสียและนำไปพิจารณา เพิ่มเติมในการเลือกซื้อต่อไป เพื่อให้องค์กรได้ประสิทธิภาพสูงสุด

SaaS คืออะไร SaaS ย่อมาจาก “Software as a Service” หรือเรียกว่า “On Demand Software” คือรูปแบบการให้บริการ ซอฟต์แวร์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต คล้ายกับการเช่าใช้ เพียงแค่ผู้ซื้อจ่ายค่าซอฟต์แวร์ตามลักษณะการใช้งาน ที่ต้องการ (Pay-as-you-go) เช่น ตามจำนวนผู้ใช้และตามระยะเวลาที่ต้องการใช้ เพียงเท่านี้ผู้ซื้อ ก็สามารถเข้าใช้งานซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้ทันทีผ่านทาง เว็บเบราเซอร์ โดยที่ไม่ต้องติดตั้ง โปรแกรมลงเครื่องเหมือนการซื้อซอฟต์แวร์แบบเดิมที่เป็น ลักษณะการซื้อแบบ License

SaaS ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ซื้อเนื่องจากการจะใช้ซอฟต์แวร์บางประเภทเช่น ERP, CRM มักจะมีราคาค่อนข้างสูง และจำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ Hardware เพิ่มเติม เช่น Server, Harddisk นอกจากนี้ธุรกิจหรือองค์กรยังต้องเตรียมพร้อมค่าใช้จ่าย ในการดูแลรักษา (Maintenance Cost) ในระยะยาวซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายจุกจิกไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างทีมงาน IT ค่า Backup ข้อมูลค่าเสื่อมของอุปกรณ์ หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายในการทำสัญญา ประกันความเสียหายให้กับ Server เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดมีความยุ่งยาก และใช้เวลาในการเตรียมการค่อนข้างนานแต่ SaaS เปลี่ยนความยุ่งยากทั้ง หมดเหล่านี้ให้กลายเป็นเรื่องง่ายเพราะผู้ให้บริการจะเป็นผู้ดูแลฐานข้อมูล และระบบต่างๆให้พร้อมใช้งานได้ทันที

SaaS มีลักษณะการทำงานภายใต้แนวคิด Cloud Computing เนื่องจากแนวคิด Cloud Computing เป็นการแบ่งปันการเข้าใช้ทรัพยากรต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตซึ่ง SaaS ก็มีการทำงานที่คล้ายกันคือเป็น การเปิดสิทธิ์ให้ผู้ใช้งานจากทั่วโลกสามารถเข้าถึงทรัพยากร เช่น ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ได้โดยที่ผู้ใช้งานแทบไม่ต้องรู้เลยว่าซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์ที่ใช้อยู่นั้นถูกเก็บอยู่ที่ไหน ประมวลผลบน Server หน้าตาเป็นอย่างไร หรือฐานข้อมูลถูกเก็บไว้ที่ไหนเพียงแค่ผู้ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ก็สามารถ เข้าใช้ซอฟต์แวร์ได้ทันที เข้าถึงฐานข้อมูลเดิมที่เก็บข้อมูลที่สำคัญไว้ได้ทุกที่ทุกเวลา ดังนั้น ในอนาคตหาก เราต้องการจะทำงานในขณะที่อยู่นอกออฟฟิศหรือบนรถโดยสารก็สามารถทำ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด เพียงแค่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้เท่านั้น [4]


วัตถุประสงค์ของ SaaS มีดังนี้

1.เพื่อให้การบริหารจัดการและควบคุมซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

2.เพื่อให้ผู้ใช้มีความสะดวกสบายมากขึ้น

3.เพื่อให้การบริการซอฟแวร์เป็นไปได้อย่างทั่วถึง ทุกที่ ทุกเวลา บนโลกใบนี้

4.เพื่อให้สามารถใช้ซอฟต์แวร์เพียงชุดเดียวในการให้บริการแก่ผู้ใช้หลายๆคน

5.เพื่อให้การจ่ายเงินมีความยืดหยุ่นตามบริการที่ใช้

[5]


SaaS สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1.Business-orientated services คือ การให้บริการแก่องค์กรหรือหน่วยงานทางธุรกิจต่างๆ

2.Customer-orientated services คือ การให้บริการแก่บุคคลทั่วๆไป ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นการให้บริการแบบฟรีๆ [6]


ตัวอย่าง SaaS

Salesforce ถือเป็น software as a service ชื่อดังที่เป็นตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จที่สุดของโลกจ้าวหนึ่งเลยในการพัฒนาระบบ CRM ที่ต้องโจทย์ความต้องการของลูกค้า เนื่องจากระบบ CRM นั้นทำงานอยู่บน Cloud (เปรียบเปรยว่าอยู่บนกลุ่มเมฆซึ่งเป็นศัพท์เทคนิค แท้จริงแล้วระบบทำงานงานเครือข่ายอินเทอร์เนต) การให้บริการใในรูปแบบนี้ทำให้ลูกค้าต้องไปง้อนักพัฒนาโปรแกรมอีกต่อไป เพราะว่าลูกค้าสามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลงทั้ง หน้าตา รูปแบบการใช้งานได้เอง โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ไขระบบ CRM เพื่อตอบสนองธุรกิจ

Oracle ออราเคิลมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ที่แข็งแกร่งในด้านแอพพลิเคชั่นองค์กร ซึ่งนับเป็นรากฐานที่มั่นคงสำหรับการนำเสนอบริการคลาวด์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ โดยจะช่วยให้ลูกค้าจัดการค่าใช้จ่ายโดยรวม (TCO) ได้ดีขึ้น ด้วยการปรับแต่งบริการที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์กรให้เป็นไปตามมาตรฐานและรวมไว้ในชุดโซลูชั่นที่สามารถนำไปปรับใช้โดยแยกเป็นส่วนๆ นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถเลือกระหว่างระบบคลาวด์แบบสาธารณะ ระบบคลาวด์ภายในองค์กร หรือระบบคลาวด์แบบผสมผสาน สำหรับลูกค้าที่ติดตั้งแอพพลิเคชั่นของออราเคิลไว้ภายในองค์กร ก็จะสามารถใช้ Oracle SaaS ควบคู่ไปกับระบบที่มีอยู่ เพื่อใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมใหม่ๆ ในบริการคลาวด์ โดยไม่จำเป็นต้องรื้อระบบเก่าทิ้งไปและติดตั้งระบบใหม่แทนที่ หรือเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือใหม่ๆ

Evernote หากใครกำลังมองหาตัวจัดการ Note (บันทึก) แล้วหล่ะก็ขอแนะนำให้ใช้ Evernote เลยเพราะว่ามันฟรี ใช้งานได้ทุกที่ที่มีอินเตอร์เนตตามคอนเซ็ป Saas นั่นเอง รวมทั้งยังมีเครื่องมือจัดการ Note ให้เป็นที่เป็นทางค้นหาสะดวก ลองใช้งานที่นี่ [7]


ประโยชน์ของ Software as a Service (SaaS)


ประโยชน์สำหรับผู้ใช้ :

- สามารถเข้าใช้ข้อมูลได้จากทุกที่ จากคอมพิวเตอร์แพลตฟอร์มใดก็ได้

- พื้นที่เก็บข้อมูลในกล่อง จดหมายอีเมลขนาด 25 กิกะไบต์ต่อผู้ใช้หนึ่งราย พร้อมด้วยความสามารถในการค้นหาที่มีประสิทธิภาพ

- เป็นเครื่องมือเพื่อความร่วมมือ และการส่งข้อความที่ใช้งานง่ายและรวดเร็ว

- ข้อมูลไม่มีทางสูญหาย แม้ว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กของคุณจะเสียหรือถูกขโมย


ประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอที :

- ไม่ต้องติดตั้งหรือซ่อมบำรุง ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์

- ต้นทุนคงที่ในราคาต่ำต่อผู้ใช้แต่ละราย

- แอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย ซึ่งผู้ใช้คุ้นเคยแล้ว - แค่ฝึกอบรมเพิ่มอีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

- สามารถย้ายผู้ใช้ได้จำนวนมาก

- ประหยัดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต รวมถึงประหยัดต้นทุนฮาร์ดแวร์และศูนย์ข้อมูล

- แพลตฟอร์มเปิดสำหรับการผสาน รวม


ประโยชน์สำหรับทางธุรกิจ :

- ต้นทุนที่ลดลง

- ประสิทธิผลของพนักงานเพิ่มขึ้น ช่วยให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น

- ยืดหยุ่น มากขึ้นในการใช้งานสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมได้อย่างรวดเร็ว และเริ่มดำเนินธุรกิจ

- สภาพแวดล้อมทางไอทีที่น่าสนใจสำหรับพนักงานรุ่นใหม่ [8]


ข้อจำกัดด้านการใช้งาน

1.ไม่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ เช่น หากองค์กรนั้นๆ มีระบบภายในแต่เดิมที่ซับซ้อน หรือ หากองค์กรนั้นๆ มีระบบ SaaS อื่นที่ใช้อยู่ การให้ทุกระบบนั้นเชื่อมโยงกันได้อย่างสมบูรณ์เป็นไปได้ยาก เพราถูกพัฒนากันคนละแพลตฟอร์ม

2.การปรับแต่ง (Customization) ยังต้องอาศัยโปรแกรมเมอร์ในการปรับคุณสมบัติให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนนี้ เพราะบางองค์กรอาจจะมีกระบวนการดำเนินธุรกิจที่ซับซ้อน [9]


แนวโน้มของ Cloud Computing ในปี 2015

1) ตลาด Cloud Computing ของทั่วโลกกำลังโตขึ้น (Global cloud computing is growing)

ตลาดด้านไอทีกำลังเปลี่ยนจากภาคฮาร์ดแวร์สู่ภาคบริการ (Service) ซึ่งก็สอดคล้องกับเทคโนโลยี Cloud Computing ซึ่งทาง Gartner คาดว่าตลาดจะโตถึง 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2017 ทั้งนี้ถ้ามองเฉพาะตลาดหลักอย่างบริการ IaaS, SaaS และ PaaS โดยไม่รวมบริการอย่าง Consulting หรือ Cloud Advertising ทาง IDC คาดว่าตลาดจะโตถึง 107,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2017 โดยตลาดส่วนใหญ่จะเป็น SaaS ทั้งนี้ผู้ให้บริการรายใหญ่ยังเป็น Amazon Web Services ที่ยังโตต่อเนื่องโดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีรายได้สูงถึง 9,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2015 และสำหรับตลาดในเอเซียนิตยสาร Forbes คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 31,982 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 โดยตลาดส่วนใหญ่เกือบ 50% อยู่ในญี่ปุ่นและเป็นมูลค่า SaaS ถึง 16,405 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

2) จะมีบริการใหม่ๆบน Cloud Computing ที่ทำให้การใช้งานเติบโตมาก (New services make cloud more than mature)

การบริการของ Cloud Computing จะมีมากกว่าแค่ IaaS, PaaS และ SaaS ผู้ให้บริการจะแข่งกันออก Service ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง และทำให้เราสามารถที่จะใช้บริการ Cloud แทนที่จะต้องมาสร้าง IT Infrastructure ขนาดใหญ่ในองค์กร อาทิเช่น Service ที่หลากหลายของ Amazon Web Services ทำให้เราสามารถที่จะสร้าง Larger Scale Web Application Architecture ได้อย่างน้อย นอกจากนี้ผู้ให้บริการแต่ละรายก็จะมีตลาด App Store ของตัวเองอาทิเช่น AWS Application Market และ Salesforce App Exchange

3) ยังจะมีผู้ให้บริการ Cloud ในแต่ละประเทศแต่จะเป็นขนาดเล็กกว่าหรือบริการเฉพาะ (Regional/Local cloud smaller or boutique cloud)

แม้ผู้ให้บริการรายใหญ่ระดับโลกจะมีคุณภาพและราคาที่ถูกกว่า และการเป็นผู้ให้บริการ IaaS จำเป็นต้องมีการลงทุน Data Center ที่สูงมากและเน้นมีลูกค้าจำนวนมาก แต่ความต้องการของหน่วยงานรัฐบาลหรือบริษัทหลายๆประเทศยังจะให้ความสำคัญกับตำแหน่งที่ตั้งของ Data Center ในการเก็บข้อมูล ดังนั้นก็ยังจะมีผู้ให้บริการ IaaS ขนาดเล็กที่จะคอยให้บริการกลุ่มองค์กรเหล่านี้อยู่ และก็อาจจะมีบริการเฉพาะด้านทีี่อาจเรียกว่า Boutique cloud สำหรับรายเล็กๆที่อาจแข่งขันกับรายใหญ่ได้เช่นการพัฒนา NoSQL as a Service หรือการทำ SaaS เฉพาะด้านของแต่ละภูมิภาค

4) ตลาดโมบายและ Internet of Things จะกระตุ้นตลาด Cloud (Mobile Devices & IoT booth cloud market)

มีการคาดการณ์ว่าจะมี smartphone ถึง 4,000 ล้านเครื่อง และจะมีอุปกรณ์ Internet of Things ถึง 50,000 ล้านเครื่องในปี 2020 จำนวนที่มากขึ้นเหล่านี้หมายถึงการที่จะมีข้อมูลมากขึ้น มีการใช้ Personal Cloud และ Cloud Applications ที่มากขึ้น เพราะจะมีความต้องการให้ข้อมูลตามผู้ใช้ไปได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์

5) องค์กรจะมีการพัฒนา Hybrid Cloud มากขึ้น (More hybrid cloud adoption)

การจะ Migrate ทุกอย่างขึ้นสู่ Cloud ย่อมเป็นเรื่องที่ยาก ดังนั้นเราจะเห็นว่าองค์กรใหญ่ๆจะมีการใช้งาน Public/Private Cloud ผสมกับระบบที่เป็น on-Premise ดังนั้น IT Architecture ก็จะถูกออกแบบให้ทำงานทั้งสองระบบร่วมกันได้ ทาง Gartner เองก็คาดการณ์ว่า 50% ของหน่วยงานต่างๆทั่วโลกจะมี Hybrid Cloud ในปี 2017

6) SaaS จะกลายเป็นรูปแบบหลักในการซื้อ ซอฟต์แวร์ (SaaS becomes de facto for buying new applications)

ซอฟต์แวร์แบบเดิมจะขึ้น Cloud โดยมีรูปแบบของ License และการซื้อขายที่เปลี่ยนเป็น Pay per use โดยทาง IDC คาดการณ์ว่าในปี 2016 รายได้ของบริษัทซอฟต์แวร์ทั่วโลกถึง 21.3% จะเป็น SaaS โดยทาง PwC ก็มีรายงานที่ชี้ให้เห็นว่่าบริษัทต่างๆก็เริ่มสัดส่วนรายได้จาก SaaS ที่สูงขึ้น หลายบริษัทมีรายได้มากกว่า 80% จาก SaaS เช่น Salesforce, Google หรือ Amazon

7) การพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่ๆจะมุ่งสู่ Cloud (New SW development will be mainly on cloud)

เนื่องจากจะมีผู้ใช้ซอฟต์แวร์ในอนาคตที่มากขึ้น ทำให้ซอฟต์แวร์แต่ละตัวจะต้องอยู่บน IT Infrastructure ขนาดใหญ่ จึงทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องเรียนรู้การพัฒนาซอฟต์แวร์บน PaaS หรือ IaaS ซึ่งทาง IDC คาดการณ์ว่าตลาด PaaS จะมีมูลค่าสูงถึง 14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2017 และ 85% ของซอฟต์แวร์ในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาบน Cloud แล้ว นอกจากนี้ทาง Evans Data ระบุว่า 1 ใน 4 ของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลกจำนวน 18 ล้านคนกำลังพัฒนาซอฟต์แวร์บน Cloud

8) ราคาการให้บริการ Cloud จะลดลง (Cloud pricing is decreased)

ผู้ให้บริการ Cloud ส่วนใหญ่ก็จะลดราคาการให้บริการ Cloud อย่างต่อเนื่อง โดยเราจะเห็น Amazon เป็นผู้นำในการตัดราคาลง โดยในปี 2013 Amazon ลดราคาบริการต่างๆถึง 12 รายการ ทำให้รายอื่นๆต้องลดราคาแข่งตาม ทำให้ในปัจจุบันราคา Computing Service หรือ Storage Service มีราคาถูกลงมาก อาทิเช่นราคา Storage ของ Amazon S3 มีราคาเพียง $0.03 ต่อ GB ต่อเดือน

9) Big Data as a Service (BDaaS)

ประเด็นสำคัญหนึ่งในการประมวลผลข้อมูล Big Data คือการลงทุนจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ Server จำนวนมากเข้าใช้งาน ซึ่งต้องลงทุนสูงและอาจไม่คุ้มค่า จึงเริ่มมีการให้บริการการประมวลผลบน Cloud Service มากขึ้น ตัวอย่างเช่นการใช้ Hadoop บน Cloud ที่ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการรายหลายอาทิเช่น Amazon EMR, Microsoft Azure HDInsight, IBM Bluemix และ Qubole นอกจากนี้ก็อาจจะมีบริการ Analytics as a Service อย่างเช่น Jaspersoft BI หรือ Birst

10) จะมีการยอมรับระบบความปลอดภัยบน Cloud มากขึ้น (Cloud security is more acceptable)

แม้ผู้คนจำนวนมากจะมีความกังวลเรื่องระบบความปลอดภัยบน Cloud ซึ่งข้อมูลสำรวจจาก Rightscale หรือของ IMC Institute ก็พบว่าความเห็นที่สอดคล้องกันว่า องค์กรส่วนใหญ่ยังคงกังวลเรื่องความปลอดภัย แต่ถ้าเป็นองค์กรที่ใช้บริการ Cloud แล้วการสำรวจพบว่าจะกังวลน้อยลง และในปัจจุบันผู้ให้บริการส่วนใหญ่ก็มีระบบความปลอดภัยที่ดีขึ้น และมีมาตรฐานหลายด้านเกี่ยวกับ Cloud Security ที่ออกมาใหญ่ <ref>http://thanachart.org/2014/11/13/cloud-computing-trends-2015/

  1. http://www.fujitsu.com/th/th/cloud/understanding/
  2. http://www.fujitsu.com/th/th/cloud/benefits/
  3. http://www.vcharkarn.com/varticle/41705
  4. http://www.onlinesoft.co.th/ArticleInfo.aspx?ArticleTypeID=1211&ArticleID=3796#sthash.pTbjAfNd.dpuf
  5. http://suntos.wordpress.com/2009/12/30/saas%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C/
  6. http://www.fujitsu.com/th/th/cloud/understanding/
  7. http://blog.bossturteam.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-saas/
  8. https://sites.google.com/a/simplextive.com/simplextive-solution/What-is-google-apps/what-is-saas-thai
  9. http://www.onlinesoft.co.th/ArticleInfo.aspx?ArticleTypeID=1211&ArticleID=3796