ผู้กล้าพระอาทิตย์ ไฟร์เบิร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้กล้าพระอาทิตย์ ไฟร์เบิร์ด
太陽の勇者ファイバード
(Taiyō no Yūsha Faibādo)
แนวเมคา
สร้างโดยฮาจิเมะ ยาตาเตะ
อนิเมะโทรทัศน์
กำกับโดยคัตสึโยชิ ยาตาเบะ
อำนวยการโดย
  • Shin Imai (นาโงยะทีวี)
  • Yōichi Honna (Tokyu Agency)
  • Takayuki Yoshii (ซันไรส์)
เขียนบทโดยYasushi Hirano
ดนตรีโดยโทชิยูกิ วาตานาเบะ
สตูดิโอซันไรส์
เครือข่ายANN (นาโงยะทีวี)
ฉาย 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992
ตอน48

ผู้กล้าพระอาทิตย์ ไฟร์เบิร์ด (ญี่ปุ่น: 太陽の勇者ファイバードโรมาจิTaiyō no Yūsha Faibādoทับศัพท์: ไทโย โนะ ยูฉะ ไฟร์เบิร์ด; อังกฤษ: Hero of the Sun, Firebird) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวหุ่นยนต์ ผลงานเรื่องที่ 2 ในกลุ่มยูฉะซีรีส์ (Brave series) ของซันไรส์ ออกอากาศทางสถานีนาโงยะทีวี ทุกวันเสาร์ เวลา 17.00-17.30 น. ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 ถึง 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 รวมออกอากาศทั้งหมด 48 ตอน

เนื้อเรื่อง[แก้]

ตัวละคร[แก้]

  • คาโทริ ยูทาโร่ (火鳥勇太郎) / ไฟร์เบิร์ด (ファイバード) แอนดรอยด์ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ เมื่อมีเหตุจะมาสามารถรวมร่างกับยานรบเพื่อเปลี่ยนร่างเป็นไฟร์เบิร์ดได้
  • อามาโนะ ฮิโรชิ (天野博士)
  • อามาโนะ เคนตะ (天野ケンタ)
  • อามาโนะ ฮารุกะ (天野ハルカ)
  • คุนิเอดะ โยชิโกะ (国枝美子)
  • แชมป์ (チャンプ)

ตัวละครอื่น ๆ[แก้]

  • ซาสึดะ เคจิ (佐津田刑事)
  • ยามะซากิ โมโมโกะ (山咲モモコ)

ไดรอัส[แก้]

  • ดร.จาโก (Dr.ジャンゴ)

หุ่นยนต์[แก้]

หน่วยป้องกันอวกาศ[แก้]

ไฟเยอร์ทีม[แก้]

  • ไฟร์เบิร์ด (ファイバード) หุ่นยนต์ที่แปลงร่างมาจากเครื่องบิน F-16 สีน้ำเงินขาว ไฟเยอร์เจ็ท
  • ไฟเยอร์เจ็ท (ファイヤージェット)
  • ไฟร์เบิร์ด (ร่างรวม) (ファイバード(融合))
  • เฟรมเบรสเตอร์ (フレイムブレスター)
  • บุโซกัตไท ไฟร์เบิร์ด (武装合体ファイバード, ไฟร์เบิร์ด ติดตั้งอาวุธหนัก) หุ่นที่เกิดจากการรวมร่างของ ไฟร์เบิร์ดและยานเฟรมเบรสเตอร์ มีอาวุธเป็นดาบ "เฟรมซอร์ด"
  • ไฟเยอร์ชัตเทิล
  • แกรนเบิร์ด (グランバード) หุ่นยนต์ที่แปลงร่างมาจาก กระสวยอวกาศสีขาว ไฟเยอร์ชัตเทิ้ล
  • เบรสเตอร์เจ็ท (ブレスタージェット)
  • เจ็ทกัตไท แกรนเบิร์ด (ジェット合体グランバード) หุ่นยนต์ที่เกิดจาการรวมร่างของ แกรนเบิร์ดและยานเบรสเตอร์เจ็ท มีอาวุธเป็นปืนใหญ่ "แกรนแคนนอน" และมิซไซส์ที่หัวไหล่ทั้ง 2 ข้าง
  • เกรท ไฟร์เบิร์ด (グレートファイバード) เกิดจากการรวมร่างของ ไฟร์เบิร์ด และ แกรนเบิร์ด เข้าด้วยกัน โดยที่มีดาบที่แปลงมาจากยานเฟรมเบรสเตอร์และโล่ที่แปลงมาจากยานเบรสเตอร์เจ็ต เป็นอาวุธหลัก และมีปืนที่หัวไหล่ทั้ง2ข้าง

การ์เดี้ยนทีม[แก้]

  • การ์เดี้ยน หุ่นยนต์ที่เกิดจากการรวมร่างของพาหนะทั้ง 3 ลำ เข้าไว้ด้วยกัน ประกอบไปด้วย
    • การ์ดสตาร์ หัวหน้าทีมการ์เดี้ยน สามารถแปลงเป็นรถตำรวจสีน้ำเงิน-ขาว ได้ ทำหน้าที่เป็นส่วนหัวและเกราะของหุ่น
    • การ์ดไฟเยอร์ สมาชิกคนที่ 2 สามารถแปลงเป็นรถดับเพลิงได้ ทำหน้าที่เป็นลำตัว ช่วงต้นขา และแขนทั้ง 2 ข้างของหุ่น
    • การ์ดเรสคิว สมาชิกคนที่ 3 สามารถแปลงเป็นรถพยายาลได้ ทำหน้าที่เป็นส่วนขาของหุ่น
    • การ์ดวิงค์ สมาชิกคนที่ 4 ที่มาเสริมทีมให้แกร่งขึ้น สามารถแปลงร่างเป็นเครื่องบินบรรทุกสีแดง - ขาว ได้ เมื่อรวมร่างกับหุ่นการ์เดี้ยน จะทำหน้าที่ส่วนเท้าเสริม เกราะหน้าอกเสริม ส่วนหัว และปีก ของหุ่น
  • ซูเปอร์ การ์เดี้ยน หุ่นยนต์ที่เกิดจาการรวมร่างของการ์เดี้ยน และสมาชิกคนที่ 4 การ์ดวิงค์ ทำให้มีพลังมากขึ้นและบินได้เร็วขึ้น

บารอนทีม[แก้]

  • ธันเดอร์ บารอน หุ่นยนต์ที่เกิดจากการรวมร่างพาหนะทั้ง 5 ลำ ประกอบไปด้วย
    • เอช บารอน หัวหน้าทีมบารอน สามารถแปลงร่างเป็นรถถังขนาดยักษ์สีดำติดตั้งปืนใหญ่ 2 กระบอก และเมื่อรวมร่างจะทำหน้าที่เป็นส่วนลำตัว หัว และ ต้นขาของหุ่น
    • ดริล บารอน สมาชิกคนที่ 2 ของบารอนทีม สามารถแปลงเป็นรถสว่านสีดำ - เขียว ได้ และ เมื่อรวมร่างจะทำหน้าที่เป็นแขนซ้ายของหุ่น (มือซ้ายของธันเดอร์บารอน สามารถแปลงเป็นมือสว่านได้)
    • โรด บารอน สมาชิกคนที่ 3 ของบารอนทีม สามารถแปลงเป็นรถบรรทุกสีขาว และ เมื่อรวมร่างจะทำหน้าที่เป็นแขนขวาของหุ่น
    • อควา บารอน สมาชิกคนที่ 4 ของบารอนทีม สามารถแปลงเป็นเรือดำน้ำสีส้ม (สามารถบินบนอากาศได้) และ เมื่อรวมร่างจะทำหน้าที่เป็นขาขวาของหุ่น
    • สกาย บารอน สมาชิกคนที่ 5 ของบารอนทีม สามารถแปลงเป็นเครื่องบินรบสีน้ำเงิน และ เมื่อรวมร่างจะทำหน้าที่เป็นขาซ้ายของหุ่น

รายชื่อตอน[แก้]

อินเทอร์เน็ตมีม[แก้]

ใน ค.ศ. 2011 มีผู้อัปโหลดฉากจากตอนที่ 3 ที่ Fighbird พรางตัวเป็นคาโตริ ดูผีเสื้อขณะพูดคุยกับสารวัตรซัตสึดะว่า โดยพูดว่า "นี่คือนกพิราบหรือเปล่า?" (is this a pigeon?) ลงในทัมเบลอร์ ทำให้เกิดภาพรูปแบบอื่นและกลายเป็ยมีมยอดนิยมใน ค.ศ. 2018[1][2][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Shamsian, Jacob (May 7, 2018). "The 'is this a pigeon?' meme is super relatable for people who have no idea what they're doing". Insider. สืบค้นเมื่อ May 10, 2018.
  2. Gerken, Tom (May 15, 2018). "How a 2011 meme took over Twitter in 2018". BBC News. สืบค้นเมื่อ May 18, 2018.
  3. Romano, Aja (May 15, 2018). ""Is this a meme?": the confused anime guy and his butterfly, explained". Vox. สืบค้นเมื่อ May 18, 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]