ป่าซีกา

พิกัด: 0°7′27″N 32°31′32″E / 0.12417°N 32.52556°E / 0.12417; 32.52556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นทางผ่านป่าซีกาซึ่งนำไปสู่หอสังเกตการณ์เหล็กที่สถาบันวิจัยไวรัสยูกันดาเป็นผู้ดำเนินการ

ป่าซีกา (อังกฤษ: Ziika Forest, Zika Forest, ออกเสียง: /ˈziːkə/) เป็นป่าเขตร้อนใกล้เอ็นเท็บเบ ประเทศยูกันดา[1] ในภาษาลูกันดา ซีกา แปลว่า "รก" เนื่องจากเป็นทรัพย์สินของสถาบันวิจัยไวรัสยูกันดา (ยูวีอาร์ไอ) แห่งเอ็นเท็บเบ บริเวณนี้จึงถูกสงวนไว้สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น[1]

ป่าซีกากินพื้นที่ประมาณ 25 เฮกตาร์ (62 เอเคอร์) ถัดจากบึงของอ่าวไวยา ปากทางของทะเลสาบวิกตอเรีย ป่านี้มีความเหมาะสมสำหรับการวิจัยยุงเนื่องจากเข้าถึงได้ง่ายและมีระบบนิเวศหลากหลาย[1] ยูวีอาร์ไอรายงานว่าพื้นที่วิจัยในป่ามีขนาดประมาณ 12 เฮกตาร์ (30 เอเคอร์)[2]

คำว่า ซีกา กลายเป็นที่โด่งดังจากไวรัสซิกา ซึ่งทำให้เกิดการระบาดทั่วโลกตั้งแต่ ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา[3] นอกจากนี้ ผีเสื้อกลางคืนชนิด Sidisca zika และ Milocera zika ก็ตั้งชื่อตามชื่อป่านี้ด้วย

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Kaddumukasa, M. A.; Mutebi, J.-P.; Lutwama, J. J.; Masembe, C.; Akol, A. M. (26 December 2015). "Mosquitoes of Zika Forest, Uganda: Species Composition and Relative Abundance". Journal of Medical Entomology. 51 (1): 104–113. doi:10.1603/ME12269. ISSN 0022-2585. PMID 24605459.
  2. "Resources and Facilities". Department of Entomology. Uganda Virus Research Institute. 4 February 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 21 April 2016.
  3. Sikka, Veronica; Chattu, Vijay Kumar; Popli, Raaj K.; Galwankar, Sagar C.; Kelkar, Dhanashree; Sawicki, Stanley G.; Stawicki, Stanislaw P.; Papadimos, Thomas J. (11 February 2016). "The emergence of zika virus as a global health security threat: A review and a consensus statement of the INDUSEM Joint working Group (JWG)". Journal of Global Infectious Diseases. 8 (1): 3–15. doi:10.4103/0974-777X.176140. ISSN 0974-8245. PMC 4785754. PMID 27013839.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

0°7′27″N 32°31′32″E / 0.12417°N 32.52556°E / 0.12417; 32.52556