ปูราเกอเฮิน

พิกัด: 8°26′31″S 115°21′36″E / 8.441827°S 115.359902°E / -8.441827; 115.359902
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปูราเกอเฮิน
ทางเข้าของปูราเกอเฮิน
แผนที่
ชื่อเดิมปูราฮียังอาปี (Pura Hyang Api), ปูราฮียังเกอเฮิน (Pura Hyang Kehen)
ที่มาเปลวเพลิง
ข้อมูลทั่วไป
สถานะกำลังก่อสร้าง
ประเภทปูรา
สถาปัตยกรรมบาหลี
ที่ตั้งเจิมปากา บังกลี เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัด8°26′31″S 115°21′36″E / 8.441827°S 115.359902°E / -8.441827; 115.359902
คาดว่าจะแล้วเสร็จศตวรรษที่ 13

ปูราเกอเฮิน (อักษรโรมัน: Pura Kehen) เป็นปูราในเกิมปากา อำเภอบังกลี จังหวัดบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บนเชิงเขา ราว 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) ทางเหนือของใจกลางเมือง สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 13 โดยราชวงศ์บังกลี

ปูราเกอเฮินเป็นโบสถ์พราหมณ์หลักของอำเภอบังกลี ซึ่งในอดีตเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรบังกลี หนึ่งในเก้าอาณาจักรบนเกาะบาหลี ชื่อบังกลี (Bangli) มาจากคำว่า bang giri แปลว่า "เขาแดง" แคว้นบังกลีก่อตั้งขึ้นโดยอาณาจักรเกลเกลแห่งราชวงศ์มัชปาหิต[1]

ปูราเกอเฮินปรากฏอยู่สามครั้งในจารึกทองแดงสามชิ้นที่อายุราวปลายศตวรรษที่ 9, ต้นศตวรรษที่ 11 และศตวรรษที่ 13 จารึกสามชิ้นเรียกชื่อปูราแตกต่างกันไป โดยในจารึกชิ้นศตวรรษที่ 9 ตอนปลาย ระบุชื่อว่า "ฮียังอาปี" (Hyang Api; "เจ้าแห้งไฟ") ซึ่งเรียกโดยพราหมณ์ที่ดูแลโบสถ์ ส่วนในจานึกยุคต้นศตวรรษที่ 11 เรียกชื่อว่า "ฮียังเกอเฮิน" (Hyang Kehen; โดย Kehen มาจากคำบาหลี keren แปลว่า "เปลวเพลิง") ในยุคเดียวกันนี้ ปูราฮียังเกอเฮินเป็นโบสถ์หลักที่ซึ่งพิธีกรรมสำคัญเช่นพิธีสาบานตนของข้าราชบริพารจัดขึ้นที่นี่ หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามที่สาบานตนจะต้องเจอกับ sapata ("คำสาป") ซึ่งกระทบแก่ตนเอง ครอบครัว และลูกหลาน พิธีนี้กระทำต่อหน้ารูปเคารพของฮียังอาปี (Hyang Api) หรือ ฮียังเกอเฮิน (Hyang Kehen) ซึ่งคือพระอัคนี เทพแห่งไฟ[2]

ส่วนขื่อ "ปูราเกอเฮิน" ปรากฏในจารึกจากศตวรรษที่ 13[1] ในทุกจารึกที่กล่าวมานี้ระบุความสัมพันธ์ระหว่างปูราเกอเฮินกับหมู่บ้านบังกลี[3]

พิธีกรรมอื่น ๆ ที่จัดที่ปูราเกอเฮิน ยังรวมถึงพิธีบูชาเทพเจ้าฮินดูองค์อื่น ๆ เช่น ซารัสวาตี (พระสรัสวตี), อูเลียนซูกีมานิก (Ulian Sugimanik), ปูร์นามา (Purnama), ตีเลิม (Tilem), กาเจิงกลีโวน (Kajeng Kliwon) และ บูดากลีโวน (Buda Kliwon)[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Kehen Temple". Individual Bali Hospitality. Individual Bali Hospitality. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-06-09. สืบค้นเมื่อ November 22, 2017.
  2. Mercury 2017.
  3. Suarsana 2003.
  4. "Pura Kehen Bangli, Wisata Religi Pura dengan Keunikan dan Nilai Sejarah Tinggi". Kintamani. Kintamani. 2018. สืบค้นเมื่อ April 28, 2018.

บรรณานุกรม[แก้]