ข้ามไปเนื้อหา

ปิอาสเตอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
10 Egyptian piastres (copper-nickel alloy composition and silver color); coin’s obverse depicts Muhammad Ali Mosque from a flat perspective, coin reverse contains a Kufic font inscription of “Jumhuriyat Masr Al-Arabia”, translating to the Arab Republic of Egypt, below which the denomination of 10 piastres is written as number hovering over the word “qurush”, translating to piastres, which bends with the curvature of the coins edge, which is surrounded by the Gregorian (1984) and Hijra (1404) dates.
ภาพของเหรียญมูลค่า 10 ปิอาสเตอร์อียิปต์ (ปัจจุบันไม่มีมูลค่าแล้ว และไม่มีใช้หมุนเวียนอีกต่อไป)
ธนบัตรมูลค่า 100 ปิอาสเตอร์ ของ อินโดจีนของฝรั่งเศส ประมาณปี 1954
ปิอาสเตอร์อินโดจีนของฝรั่งเศส, ปี 1885 (พ.ศ. 2428)

ปิอาสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Piastre หรือ Piaster) เป็นสกุลเงินตราของหลายประเทศในอดีต คำว่าปิอาสเตอร์มีที่มาจากคำในภาษาอิตาลีที่แปลว่า "แผ่นเงินบาง ๆ" เดิมทีเป็นชื่อที่พ่อค้าชาวเวนิสในตะวันออกกลางในศตวรรษที่ 16 ใช้เรียกขานสกุลเงินเปโซของสเปน หรือเปโซของอาณานิคมสเปนในทวีปอเมริกา

สกุลเงินเปโซซึ่งมีการผลิตใช้อย่างต่อเนื่องมายาวนานหลายศตวรรษและได้รับการยอมรับจากพ่อค้าในหลายภูมิภาคของโลก ต่อมาภายหลังจากที่ประเทศในละตินอเมริกาได้รับเอกราช เงินเปโซของเม็กซิโกก็เริ่มหลั่งไหลไปตามเส้นทางการค้าต่าง ๆ และกลายเป็นสกุลเงินหลักในภูมิภาคตะวันออกไกล โดยเข้ามาแทนที่สกุลเงินเปโซของสเปนซึ่งมีใช้มาก่อนโดยชาวสเปนในมะนิลาและชาวโปรตุเกสในดินแดนมะละกา เมื่อภูมิภาคอินโดจีนตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศสจึงประกาศใช้สกุลเงินใหม่เรียกว่าสกุลเงินปิอาสเตอร์อินโดจีนของฝรั่งเศส (piastre de commerce) ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับสกุลเงินเปโซของสเปนและเปโซของเม็กซิโกซึ่งมีใช้มาก่อน

ในจักรวรรดิออตโตมัน คำว่าปิอาสเตอร์เป็นชื่ออย่างลำลองที่ชาวยุโรปใช้เรียกสกุลเงิน กุรุส ของจักรวรรดิออตโตมัน การปฏิรูปสกุลเงินอย่างต่อเนื่องช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ได้ลดมูลค่าของปิอาสเตอร์ออตโตมันลง จนมีมูลค่าเหลือเพียงประมาณสองเพนนี (2d) ของสกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง ดังนั้นชื่อสกุลเงิน ปิอาสเตอร์ จึงมีความหมายถึงสกุลเงินสองสกุลที่แตกต่างกันและใช้อยู่ในสองภูมิภาคที่ห่างไกลกันอย่างสิ้นเชิง แต่กระทั้งทั้งสองสกุลเงินก็มีที่มาจากสกุลเงินเปโซของสเปน

เนื่องจากมูลค่าของค่าเงินปิอาสเตอร์ในตะวันออกกลางตกต่ำลง ปิอาสเตอร์เหล่านี้จึงกลายเป็นหน่วยย่อยสำหรับสกุลเงินปอนด์ในตุรกี เลบานอน ไซปรัส และ อียิปต์ [1] ในขณะเดียวกัน ในอินโดจีน สกุลเงินปิอาสเตอร์ยังมีการใช้ต่อไปจนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 1950 และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นสกุลเงินเรียลของกัมพูชา, สกุลเงินกีบของลาว, และสกุลเงินดองของเวียดนาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. Thimm, Carl Albert. "Egyptian Money". Egyptian Self-Taught. William Brown & Co., Ltd., St. Mary Axe, London, E.C.