ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม

ประเทศจีนมีปัญหาสิ่งแวดล้อมอยู่หลายด้าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางชีวกายภาพอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับสุขภาพของมนุษย์ การทำให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วตลอดจนการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมที่หละหลวมได้ส่งผลให้เกิดปัญหา โดยโธมัส วี ฮาร์วูด ที่สาม ได้กล่าวว่า มี 16 เมืองที่มีมลพิษเป็นอย่างมาก จากที่มีอยู่ทั้งหมด 20 เมืองในประเทศจีน[1][2][3] รัฐบาลจีนรับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและทำการตอบสนองต่าง ๆ ส่งผลให้มีการปรับปรุงในบางส่วน แต่การตอบสนองดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำได้ไม่เพียงพอ[4] ส่วนปี ค.ศ. 2012 ได้มีการเคลื่อนไหวของประชาชนเพิ่มขึ้นในเรื่องการตัดสินใจของรัฐบาล ที่ได้รับการมองว่าเป็นการสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม[5] และเจ้าหน้าที่พรรคคอมมิวนิสต์ที่เกษียณแล้วได้เผยว่ามีผู้ทำการประท้วงด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า 50,000 รายในประเทศจีนเมื่อช่วงปี ค.ศ. 2012 [6]

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม[แก้]

ศูนย์กลางเพื่อความก้าวหน้าของอเมริกา ได้อธิบายถึงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของจีนว่า เป็นแบบเดียวกับของสหรัฐอเมริกาในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1970 กล่าวคือ กฎระเบียบของรัฐบาลกลางมีความเข้มงวดและเป็นธรรม แต่การตรวจสอบที่เกิดขึ้นจริงและการบังคับใช้ส่วนใหญ่ จะดำเนินการโดยรัฐบาลท้องถิ่นที่มีความสนใจต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เนื่องจากการดำเนินการที่เข้มงวดที่ไม่ใช่ระบบประชาธิปไตยของจีน ส่งผลให้การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มที่ไม่ใช่ภาครัฐ เช่น นักกฎหมาย, นักข่าว และองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ ต่างได้รับการขัดขวางอย่างหนัก[7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The 10 Most Polluted Cities in the World | iamgreen™". Sayiamgreen.com. 2009-09-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-09-03. สืบค้นเมื่อ 2013-09-08.
  2. "The Most Polluted Places On Earth". CBS News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-23. สืบค้นเมื่อ 2013-09-08.
  3. "Air Pollution Grows in Tandem with China's Economy". NPR. สืบค้นเมื่อ 2013-09-08.
  4. China Weighs Environmental Costs; Beijing Tries to Emphasize Cleaner Industry Over Unbridled Growth After Signs Mount of Damage Done July 23, 2013
  5. Keith Bradsher (July 4, 2012). "Bolder Protests Against Pollution Win Project's Defeat in China". The New York Times. สืบค้นเมื่อ July 5, 2012.
  6. John Upton (8 March 2013). "Pollution spurs more Chinese protests than any other issue". Grist.org. Grist Magazine, Inc. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.
  7. Melanie Hart; Jeffrey Cavanagh (20 April 2012). "Environmental Standards Give the United States an Edge Over China". Center for American Progress. Center for American Progress. สืบค้นเมื่อ 28 July 2013.

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

องค์กร
บทความ
วิดีโอ