ปลาตองแอฟริกา
หน้าตา
ปลาตองแอฟริกา | |
---|---|
ปลากรายคองโก (P. congoensis) | |
ปลาตองลายแอฟริกา (P. afer) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Osteoglossiformes |
วงศ์: | Notopteridae |
สกุล: | Papyrocranus Greenwood, 1963 |
ชนิดต้นแบบ | |
Notopterus afer Günther, 1868 | |
ชนิด | |
|
ปลาตองแอฟริกา เป็นสกุลของปลากระดูกแข็งน้ำจืดในวงศ์ปลากราย (Notopridae) ในอันดับปลาลิ้นกระดูก (Osteoglossiformes) ใช้ชืิ่อสกุลว่า Papyrocranus
เป็นปลาที่พบได้เฉพาะทวีปแอฟริกาเท่านั้น มีรูปร่างโดยรวมคือ มีลำตัวเพรียวยาวและแบนข้างมาก ส่วนหัวกลมมน ตาโต ปากกว้าง มีครีบหลังเช่นเดียวกับปลากรายในสกุล Chitala ที่พบในทวีปเอเชีย
พบเพียงแค่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ
- Papyrocranus afer มีความยาวเต็มที่ 80 เซนติเมตร มีจุดกลมสีเหลืองทั้งตัว นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม พบเฉพาะในแถบประเทศแอฟริกาตะวันตก
- Papyrocranus congoensis มีความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำคองโกในแอฟริกาตอนกลางเท่านั้น
เป็นปลาที่มีอุปนิสัยชอบอาศัยอยู่บริเวณพื้นน้ำ และยังไม่สามารถแบ่งเพศได้ชัดเจนในระหว่างตัวผู้และตัวเมีย
อนึ่ง ในทวีปแอฟริกานี้ ยังสามารถพบปลากรายอีกสกุลหนึ่ง นั่นคือ Xenomystus nigri แต่อีกความแตกต่างกันพอสมควร กล่าวคือ ในสกุล Xenomystus นั้น ใต้คางจะมีหนวดหนึ่งคู่ และไม่มีครีบหลัง อีกทั้งยังสามารถปล่อยเสียงออกมาเพื่อหาอาหารได้อีกด้วย [1][2]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Greenwood, P.H. 1963: The swimbladder in African Notopteridae (Pisces) and its bearing on the taxonomy of the family. Bulletin of the British Museum (Natural History), Zoology, 11 (5): 377-412, Pls. 1-4. BHL
- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 22-23. ISBN 974-00-8701-9
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Papyrocranus ที่วิกิสปีชีส์