ปลาขี้ยอก
ปลาขี้ยอก | |
---|---|
ปลาหนามหลัง (M. marginatus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
สกุล: | Mystacoleucus Günther, 1868 |
ชนิด | |
|
ปลาขี้ยอก หรือ ปลาหนามไผ่ เป็นสกุลของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ที่ใช้ชื่อสกุลว่า Mystacoleucus (/มีส-ทา-โค-ลิว-คัส/) เป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)
มีรูปร่างโดยรวมเหมือนปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่ โดยมีรูปร่าวยาวปานกลาง ลำตัวค่อนข้างแบนมาก ท้องกลม หัวมีขนาดเล็ก นัยน์ตามีขนาดโต บนจะงอยปากมีรูพรุนเล็ก ๆ เรียงเป็นแถว ๆ ปากอยู่เกือบปลายสุด ริมฝีปากบาง บางชนิดมีหนวด 2 คู่ (จะงอยปาก 1 คู่ และมุมปาก 1 คู่) บางชนิดมีหนวด 1 คู่ (มุมปาก) บางชนิดไม่มีหนวด มีฟันที่ลำคอ 3 แถว เกล็ดมีขนาดปานกลาง เส้นข้างลำตัวสมบูรณ์และส่วนปลายไปสิ้นสุดที่กึ่งกลางของฐานครีบหาง หน้าครีบหลังมีก้านกระดูกเป็นหนามแหลม 1 ก้าน ครีบหลังอยู่ตรงข้ามฐานครีบท้อง ก้านครีบเดี่ยวก้านก้านสุดท้ายของครีบหลังเป็นหนามแข็ง และมีขอบจักเป็นฟันเลื่อย ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของสกุล อันเป็นที่มาของชื่อเรียก หรือในบางชนิดก็มีก้านครีบเดี่ยวนี้ไม่เป็นหนามแข็งและขอบเรียบ ก้านครีบแขนงของครีบหลังมี 8 หรือ 9 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบแขนง 6-10 ก้าน[1]
การจำแนก
[แก้]- Mystacoleucus argenteus (Day, 1888)
- Mystacoleucus atridorsalis Fowler, 1937
- Mystacoleucus chilopterus Fowler, 1935
- Mystacoleucus ectypus Kottelat, 2000
- Mystacoleucus greenwayi Pellegrin & Fang, 1940
- Mystacoleucus lepturus Huang, 1979
- Mystacoleucus marginatus (Valenciennes, 1842)
- Mystacoleucus padangensis (Bleeker, 1852)[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 265 หน้า. หน้า 111. ISBN 974-00-8701-9
- ↑ "จาก ITIS.gov". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Mystacoleucus ที่วิกิสปีชีส์