ปลากินยุง
ปลากินยุง | |
---|---|
ปลาตัวผู้ (♂) | |
ปลาตัวเมีย (♀) | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cyprinodontiformes |
วงศ์: | Poeciliidae |
สกุล: | Gambusia |
สปีชีส์: | G. affinis |
ชื่อทวินาม | |
Gambusia affinis (Baird & Girard, 1853) | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
ปลากินยุง, ปลาแกมบูเซีย (อังกฤษ: Mosquitofish) (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gambusia affinis) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสอด (Poeciliidae)
มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาหางนกยูง ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน แต่ปลากินยุงมีขนาดที่ใหญ่กว่า ปากแหลมกว่าและปลายปากจะเชิดขึ้นด้านบน ที่ตามีเส้นสีเข้มพาดในแนวดิ่งผ่านรูม่านตาลงมาถึงใต้ตา ลำตัวกลม ครีบหลังมีก้านครีบ 7 ซี่ ครีบก้นและครีบท้องมีก้านครีบ 6 ซี่ มีเกล็ดที่เส้นข้างลำตัว 27-30 อัน
ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ เมื่อโตเต็มที่อาจจะมีขนาดยาวได้ถึง 3 นิ้ว ในขณะที่ตัวผู้มีขนาดยาวเพียง 1.5 นิ้ว ทั้งนี้ปลาตัวเมียและตัวผู้มีจุดสีเข้ม ซึ่งมักเห็นได้ชัดเจนเมื่อยังเล็ก ต่อเมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวมักจางลง หากดูด้านข้างของปลาตัวเมียในที่สว่างจ้าจะเห็นสีเหลือบของสีเขียว, สีฟ้า และสีเหลือง
ปลากินยุงเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ แถบรัฐเท็กซัส โดยมีพฤติกรรมเหมือนเช่นปลาในวงศ์ปลาสอดชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ เป็นปลาที่หากินอยู่บริเวณผิวน้ำ อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง สามารถปรับตัวอยู่ได้ทุกสภาพแหล่งน้ำ ทั้งห้วย, หนอง, คลอง, บึง หรือในที่ ๆ ที่แหล่งน้ำไม่สะอาด มีออกซิเจนต่ำ
ปลากินยุง มีอายุขัยตลอดชีวิตอยู่ได้ราว 12 เดือน จนอาจถึง 15 เดือน กินอาหารหลากหลาย ทั้งตัวอ่อนของแมลง แพลงก์ตอนพืช, แพลงก์ตอนสัตว์ และ ตะไคร่น้ำ ลูกปลาที่เกิดใหม่มีขนาดยาวประมาณ 7-10 มิลลิเมตร และสามารถกินลูกน้ำได้ทันที เฉลี่ยแล้วในหนึ่งวัน ปลากินยุงตัวหนึ่งอาจกินลูกน้ำได้เป็นร้อยตัว ซึ่งนับได้ว่ากินเก่งกว่าปลาหางนกยูงมาก ปลาตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 6-8 สัปดาห์ ปลาตัวเมียมีถุงพิเศษใช้เก็บน้ำเชื้อของตัวผู้ ซึ่งการผสมพันธุ์หนึ่งครั้งจะมีน้ำเชื้อมากพอสำหรับใช้ผสมกับไข่ได้หลายท้อง ปลากินยุงออกลูกเป็นตัวโดยจะออกลูกท้องละ 40-100 ตัว (ใช้เวลาออกลูก 21-28 วันต่อหนึ่งท้อง) แต่ละท้องห่างกันประมาณ 6 สัปดาห์ และตลอดชีวิตของปลากินยุงจะตั้งท้องได้ 3-4 ครั้ง [3] [4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Whiteside, Bobby; Bonner, Timothy; Thomas, Chad; Whiteside, Carolyn. "Gambusia affinis western mosquitofish". Texas State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-25. สืบค้นเมื่อ 25 October 2011.
- ↑ จาก itis.gov (อังกฤษ)
- ↑ ยกม.แม่โจ้ เป็น มหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "แกมบูเซีย..ปลาจอมตะกละ เลี้ยงสวยงามช่วยกำจัดไข่ยุง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-09.