ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย
ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย[ก] (อังกฤษ: colony collapse disorder, ย่อ: CCD) เป็นปรากฏการณ์ที่ผึ้งงานจากรังหรือนิคมผึ้งพันธุ์ (Western honey bee) หายไปอย่างฉับพลัน การหายไปดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์การเลี้ยงผึ้ง และรู้จักกันในหลายชื่อ[ข] ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อ "colony collapse disorder" ในปลายปี 2549[1] พร้อมกับการหายไปของนิคมผึ้งพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นมากในขณะนั้น[2] ผู้เลี้ยงผึ้งสังเกตปรากฏการณ์ที่คล้ายกันในเบลเยียม ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ กรีซ อิตาลี โปรตุเกสและสเปน[3] และยังมีรายงานเบื้องต้นมาจากสวิตเซอร์แลนด์และเยอรมนี แม้ว่าจะรุนแรงน้อยกว่า[4] ขณะที่สมัชชาไอร์แลนด์เหนือได้รับรายงานการลดจำนวนกว่า 50%[5]
การใช้ยาฆ่าแมลงกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (neonicotinoid) เช่น อะเซทามิปริด (acetamiprid) โคลไธอานิดิน (clothianidin) และอิมิดาโคลไพรด์ (imidacloprid) ซึ่งเป็นหนึ่งในสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ที่เพิ่มขึ้น ตามติดการตายของผึ้งที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2548[6] ในปี 2555 การศึกษาอิสระที่ผ่านการกลั่นกรองจำนวนมากได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งแสดงว่านีโอนิโคตินอยด์มีช่องทางการสัมผัสซึ่งตรวจจับไม่ได้ที่กระทบต่อผึ้ง เช่น ผ่านฝุ่น เรณู และน้ำต้อย[7] ว่าความเป็นพิษต่ำกว่านาโนกรัมส่งผลให้ผึ้งไม่สามารถบินกลับรังโดยไม่ทำให้ถึงตายทันที[8] ซึ่งเป็นอาการหลักของปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย[9] และบ่งชี้ว่ามีนีโอนิโคตินอยด์ในสิ่งแวดล้อมในเหมืองฝายและดิน[10] การศึกษาเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการทบทวนอย่างเป็นทางการในปี 2556 โดยองค์การความปลอดภัยอาหารยุโรป ที่ระบุว่า นีโอนิโคตินอยด์ก่อความเสี่ยงสูงอย่างยอมรับไม่ได้แก่ผึ้ง และว่าการอ้างความปลอดภัยของหน่วยงานกำกับดูแลที่ขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์ที่อุตสาหกรรมเป็นผู้อุปถัมภ์นั้นมีข้อบกพร่อง[11] ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลายอาจเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน[12][13][14][15] ในปี 2550 บางหน่วยงานให้เหตุผลว่าปัญหาเกิดจากปัจจัยชีวนะ เช่น เห็บ Varroa[16] ปรสิต Nosema apis และไวรัสอัมพาตฉับพลันอิสราเอล[17][18] ปัจจัยส่งเสริมอื่นอาจรวมความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม[19] ทุพโภชนาการ และการเลี้ยงผึ้งแบบย้ายถิ่น อีกการศึกษาหนึ่งในปี 2555 ยังชี้หลายสาเหตุ ซึ่งระบุรายการสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ไว้หลังเห็บ Varroa พันธุกรรม การสูญเสียถิ่นที่อยู่ และโภชนาการที่เลว[20]
การล่มสลายของรังผึ้งนั้นมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะพืชผลการเกษตรหลายชนิดทั่วโลกต้องอาศัยผึ้งพันธุ์ถ่ายเรณู ในเดือนเมษายน 2556 สหภาพยุโรปประกาศแผนจำกัดการใช้สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดเพื่อกันมิให้ประชากรผึ้งลดลงกว่านี้[21] และเมื่อสิ้นเดือนนั้น ได้ผ่านกฎหมายซึ่งห้ามการใช้นีโอนิโคตินอยด์หลายชนิดเป็นเวลาสองปี[22] การขาดแคลนผึ้งในสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่จะต้องเช่าผึ้งมาถ่ายเรณูสูงสุดถึง 20%
เชิงอรรถ
[แก้]ก. ^ มิใช่ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน
ข. ^ ได้แก่ disappearing disease, spring dwindle, May disease, autumn collapse และ fall dwindle disease[23]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dennis vanEngelsdorp, Diana Cox-Foster, Maryann Frazier, Nancy Ostiguy, and Jerry Hayes (5 January 2006). "Colony Collapse Disorder Preliminary Report" (PDF). Mid-Atlantic Apiculture Research and Extension Consortium (MAAREC) — CCD Working Group. p. 22. สืบค้นเมื่อ 2007-04-24.
{{cite news}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Honey Bee Die-Off Alarms Beekeepers, Crop Growers and Researchers". Pennsylvania State University College of Agricultural Sciences. 29 January 2007.
- ↑ Gaëlle Dupont, Les abeilles malades de l'homme[ลิงก์เสีย], Le Monde, 29 August 2007 (ฝรั่งเศส).
- ↑ Petra Steinberger (12 March 2007). "Das spurlose Sterben" (ภาษาเยอรมัน). sueddeutsche.de. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
- ↑ "Minutes of Northern Ireland Assembly". Theyworkforyou.com. 8 June 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
- ↑ Wines, Michael (28 March 2013). "Mystery Malady Kills More Bees, Heightening Worry on Farms". New York Times. สืบค้นเมื่อ 31 March 2013.
- ↑ Tapparo, Andrea (31 January 2012). "Assessment of the Environmental Exposure of Honeybees to Particulate Matter Containing Neonicotinoid Insecticides Coming from Corn Coated Seeds" (PDF). Environmental Science and Technology. 46 (5): 2592–9. doi:10.1021/es2035152. PMID 22292570. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 27 March 2013.
{{cite journal}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Schneider, Christof W. (11 January 2012). Chaline, Nicolas (บ.ก.). "RFID Tracking of Sublethal Effects of Two Neonicotinoid Insecticides on the Foraging Behavior of Apis mellifera" (PDF). PLOS One. 7 (1): e30023. doi:10.1371/journal.pone.0030023. PMC 3256199. PMID 22253863. สืบค้นเมื่อ 27 March 2013.
- ↑ Pettis, Jeffery S. (February 2012). "Pesticide exposure in honey bees results in increased levels of the gut pathogen Nosema" (PDF). Naturwissenschaften. 99 (2): 153–8. doi:10.1007/s00114-011-0881-1. PMC 3264871. PMID 22246149. สืบค้นเมื่อ 27 March 2013.
- ↑ Krupke, Christian H. (3 January 2012). Smagghe, Guy (บ.ก.). "Multiple Routes of Pesticide Exposure for Honey Bees Living Near Agricultural Fields". PLOS One. 7 (1): e29268. doi:10.1371/journal.pone.0029268. PMC 3250423. PMID 22235278.
- ↑ European Food Safety Authority (16 January 2013) "Conclusion on the peer review of the pesticide risk assessment for bees for the active substance clothianidin" EFSA Journal 11(1):3066.
- ↑ Honeybees under attack on all fronts.
- ↑ 'No proof' of bee killer theory.
- ↑ Ratnieks, F. L. W.; Carreck, N. L. (2010). "Clarity on Honey Bee Collapse?". Science. 327 (5962): 152–3. Bibcode:2010Sci...327..152R. doi:10.1126/science.1185563. PMID 20056879.
- ↑ "Colony Collapse Disorder Progress Report" (PDF). United States Department of Agriculture. June 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-05-24.
- ↑ "Colony Collapse Disorder Working Group". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-14. สืบค้นเมื่อ 2013-05-05.
- ↑ Andrew C. Refkin (7 September 2007). "Virus Is Seen as Suspect in Death of Honeybees". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-09-07.
- ↑ JR Minkel (7 September 2007). "Mysterious Honeybee Disappearance Linked to Rare Virus". Science News. Scientific American. สืบค้นเมื่อ 2007-09-07.
- ↑ Amy Sahba (29 March 2007). "The mysterious deaths of the honeybees". CNN Money. สืบค้นเมื่อ 2007-04-04.
- ↑ "Multiple causes for colony collapse - report". 3 News NZ. May 3, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2013-05-05.
- ↑ "EU moves to protect bees". 3 News NZ. 30 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-29. สืบค้นเมื่อ 2013-05-05.
{{cite news}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ McDonald-Gibson, Charlotte (4/29/2013). "'Victory for bees' as European Union bans neonicotinoid pesticides blamed for destroying bee population". The Independent. สืบค้นเมื่อ 5/2/2013.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ Oldroyd, Benjamin P. (2007). "What's Killing American Honey Bees?". PLoS Biology. 5 (6): e168. doi:10.1371/journal.pbio.0050168. PMC 1892840. PMID 17564497.