ปมเอดิเพิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปมเอดิปุส)
ภาพ "เอดิเพิสกับสฟิงห์" โดย กุสตาฟ มอโร เมื่อ ค.ศ. 1864 รักษา ณ พิพิธภัณฑสถานทางศิลปะเมโทรโพลิแทน

คำว่า ปมเอดิเพิส (อังกฤษ: Oedipus complex; เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈɛdəpəs/) อธิบายอารมณ์และความคิดซึ่งจิตเก็บไว้ในจิตไร้สำนึกโดยการกดเก็บพลวัต (dynamic repression) ซึ่งสนใจความปรารถนาของเด็กในการใฝ่ใจเชิงสังวาสกับบิดามารดาเพศตรงข้ามกับตน คือ ชายดึงดูดกับมารดาของตน หญิงดึงดูดกับบิดาของตน ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ผู้ประดิษฐ์คำว่า "ปมเอดิเพิส" เชื่อว่าปมเอดิเพิสเป็นความปรารถนาบิดามารดาทั้งในชายและหญิง ฟรอยด์คัดค้านคำว่า "ปมอิเล็กตรา" ที่คาร์ล ยุงเสนออธิบายปมเอดิเพิสที่ปรากฏในเด็กหญิง ปมเอดิเพิสปรากฏในพัฒนาการความต้องการทางเพศขั้นที่สาม คือ ขั้นอวัยวะเพศ (อายุ 3–6 ปี) จากทั้งหมดห้าขั้น ได้แก่ (1) ขั้นปาก (2) ขั้นทวารหนัก (3) ขั้นอวัยวะเพศ (4) ขั้นแฝง และ (5) ขั้นสนใจเพศตรงข้าม ซึ่งเป็นแหล่งของความพึงพอใจของลิบิโด (libido) อยู่ในอีโรจีเนียสโซน (erogenous zone) ต่าง ๆ ของกายเด็ก

ในทฤษฎีจิตวิเคราะห์สำนักฟรอยด์คลาสสิก การเลียนแบบบิดามารดาเพศเดียวกันของเด็ก (identification) เป็นการแก้ปมเอดิเพิสและปมอิเล็กตราที่สำเร็จ เป็นประสบการณ์ทางจิตวิทยาสำคัญซึ่งจำเป็นต่อการพัฒนาบทบาทและอัตลักษณ์ทางเพศผู้ใหญ่ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ยังเสนอว่า เด็กชายและเด็กหญิงเผชิญปมนี้ต่างกัน เด็กชายในรูปของความวิตกกังวลการตอน (castration anxiety) เด็กหญิงในรูปของความอิจฉาองคชาต (penis envy) และการแก้ไขปมที่ไม่สำเร็จอาจนำไปสู่โรคประสาท โรคใคร่เด็กและรักร่วมเพศ ชายและหญิงที่ติดอยู่ในขั้นเอดิเพิสและอิเล็กตราในพัฒนาการความต้องการทางเพศนั้นอาจถือว่า "ยึดติดมารดา" และ "ยึดติดบิดา" ในชีวิตผู้ใหญ่ ประสบการณ์นี้อาจนำให้เลือกคู่ครองที่เหมือนบิดาหรือมารดาของตน

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]