ข้ามไปเนื้อหา

พัฒนาการความต้องการทางเพศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในจิตวิทยาของฟรอยด์ พัฒนาการความต้องการทางเพศ (อังกฤษ: psychosexual development) เป็นองค์ประกอบใจกลางของทฤษฎีแรงขับทางเพศของสำนักคิดจิตวิเคราะห์ ที่ว่ามนุษย์มีความต้องการทางเพศตามสัญชาตญาณตั้งแต่เกิดซึ่งพัฒนาในห้าขั้น ได้แก่ ขั้นปาก ขั้นทวารหนัก ขั้นอวัยวะเพศ ขั้นแฝงและขั้นสนใจเพศตรงข้าม ซึ่งแบ่งตามลักษณะของอีโรจีเนียสโซน ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของแรงขับความต้องการทางเพศ ซิกมุนด์ ฟรอยด์เสนอว่า หากเด็กประสบความคับข้องใจทางเพศสัมพันธ์กับขั้นพัฒนาการความต้องการทางเพศขั้นใด เด็กจะประสบความวิตกกังวลซึ่งจะติดตัวไปถึงวัยผู้ใหญ่เป็นโรคประสาท ซึ่งเป็นความผิดปกติของจิตอย่างหนึ่ง[1][2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-11. สืบค้นเมื่อ 2012-09-22.
  2. Bullock, A., Trombley, S. (1999) The New Fontana Dictionary of Modern Thought Harper Collins:London pp. 643, 705