ปฏิทินเท็มโป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปฏิทินเท็มโป (天保暦, てんぽうれき) เป็นปฏิทินสุริยจันทรคติที่เคยใช้ในญี่ปุ่น ปฏิทินสุรยจันทรคตินั้นได้ถูกนำมาใช้หลายครั้งในญี่ปุ่นโดยมีการปฏิรูปเปลี่ยนปฏิทินซ้ำ ๆ กันไปมาแต่ปฏิทินเท็มโปเป็นปฏิทินสุดท้ายที่ถูกนำมาใช้

ในปี 1873 หลังจากการเปลี่ยนปฏิทินเป็นปฏิทินเกรกอเรียน ปฏิทินเท็มโปได้กลายมาเป็นปฏิทินเก่า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาที่ญี่ปุ่นเมื่อพูดว่า "ปฏิทินเก่า" (旧暦) โดยทั่วไปก็จะหมายถึงปฏิทินเท็มโปนี้

ระยะเวลาการใช้งาน[แก้]

ปฏิทินดังกล่าวได้รับการปรับปรุงจากปฏิทินคันเซในวันที่ 1 มกราคม ปีเท็มโปที่ 15 (18 กุมภาพันธ์ 1844) และใช้เป็นเวลาประมาณ 29 ปีจนถึงวันที่ 2 ธันวาคม ปีเมจิที่ 5 (31 ธันวาคม 1872)

แม้ว่าปฏิทินจะเปลี่ยนเป็นปฏิทินเกรกอเรียน (ปฏิทินสุริยคติ) แล้วในวันที่ 1 มกราคม 1873 (ปีเมจิที่ 6) แต่ปฏิทินดังกล่าวก็ยังถูกระบุไว้ในปฏิทินของรัฐบาลจนถึงปี 1909 (ปีเมจิที่ 42)[1]

แปลงเป็นปฏิทินสุริยคติ[แก้]

ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ปีเมจิที่ 5 (9 ธันวาคม 1872) ได้ประกาศให้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นปฏิทินสุริยคติโดยคำสั่งของจักรพรรดิเมจิและไดโจกังฉบับที่ 337

การประกาศอย่างกะทันหันทำให้เกิดความสับสนในหมู่ประชาชนเมื่อได้รับแจ้งว่าเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนถัดจากการประกาศมีเพียงสองวันและวันรุ่งขึ้นจะเป็นวันที่ 1 มกราคม 1873 (ตามปฏิทินสุริยคติ)

อ้างอิง[แก้]

  1. 岡田芳朗 著『暦に見る日本人の知恵』