บ้านแถว
บ้านแถว (อังกฤษ: terraced house, terrace house, row houses, linked houses) เป็นศัพท์ทางสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง หมายถึงที่อยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นปานกลางรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะเป็นบ้านที่มีผนังเชื่อมต่อกัน โดยบ้านแต่ละหลังมักมีมากกว่าหนึ่งชั้น และมักมีโครงสร้างและการตกแต่งคล้ายคลึงกับบ้านหลังอื่นที่อยู่ติดกัน สิ่งปลูกสร้างประเภทนี้มีต้นกำเนิดในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16
สิ่งปลูกสร้างแบบบ้านแถวสามารถพบได้ทั่วโลก แต่มีให้เห็นอยู่มากในยุโรปและลาตินอเมริกา และสามารถพบตัวอย่างที่หลากหลายในอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย อาคารรอบจัตุรัสปลัสเดอโวฌ (Place des Vosges) ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นตัวอย่างหนึ่งของบ้านแถวยุคเริ่มแรก ในปัจจุบัน บ้านแถวทั้งที่มีมาแต่เดิมและที่สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมยุคเก่าได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปรับพื้นที่ในใจกลางเมืองเพื่อให้คนนอกถิ่นที่มีฐานะดีเข้ามาอยู่อาศัยแทน หรือที่เรียกว่า การแปลงพื้นที่เพื่อเปลี่ยนชนชั้น (gentrification) โดยในบางครั้งก็ถูกนำไปเชื่อมโยงกับชั้นชนผู้ใช้แรงงานด้วย[1]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ William, Logan (1985). The Gentrification of inner Melbourne - a political geography of inner city housing. University of Queensland Press. p. 36. ISBN 0-7022-1729-8.
บรรณานุกรม
[แก้]- Summerson, John (1947). "John Wood and the English town-planning tradition" collected in Heavenly Mansions (1963).
- Summerson, Georgian London.
- Howells, T. Morris, C. Terrace houses in Australia. The Rocks, N.S.W. : Lansdowne, 1999. ISBN 1863026495