บุกคนโท
บุกคนโท | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Monocots |
อันดับ: | Alismatales |
วงศ์: | Araceae |
วงศ์ย่อย: | Aroideae |
เผ่า: | Thomsonieae |
สกุล: | Amorphophallus |
สปีชีส์: | A. muelleri |
ชื่อทวินาม | |
Amorphophallus muelleri |
บุกคนโท ชื่อวิทยาศาสตร์: Amorphophallus muelleri เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Araceae มีหัวใต้ดิน หัวโตเต็มที่ขนาดใหญ่ กลมแบน ใบเดี่ยว ก้านใบทรงกระบอก แข็งแรง มีผิวด่างหรือมีแต้มสีสดใส ผิวเรียบหรือหยาบแผ่นใบแบ่งเป็นสามส่วน แต่ละส่วนแตกเป็นหลายแฉก ดอกออกเป็นช่อเดียวหนา มีกาบหุ้มขนาดใหญ่ ผลมีเนื้อ 1-3 เมล็ด กลมหรือกลมยาว สีแดงสด ผลด้านบนสุกก่อน หัวสีน้ำตาลเข้ม เนื้อสีเหลือง ไม่แตกเหง้า ก้านใบผิวเรียบ สีเขียวหรือเขียวอมน้ำตาล หรือสีเขียวแกมเทา ด้านในสีม่วงหรือสีน้ำตาล จุดประสีน้ำตาลหรือสีเขียว แต่ละช่อมีผลถึง 1,000 ผล
พบมากในหมู่เกาะอันดามัน พม่า ภาคเหนือของไทย ไปจนถึงอินโดนีเซีย หัวนำมาล้างน้ำและต้มหลายๆครั้งให้หมดสารพิษ จากนั้นนำมารับประทานได้ ใบอ่อนและผลใช้เป็นผักได้ ในฟิลิปปินส์และอินเดียใช้เป็นอาหารสัตว์ บุกชนิดนี้มีแมนแนนในหัวมาก หัวมีกลิ่นเหม็นฉุนเพราะมีผลึกแคลเซียมออกซาเลตและอัลคาลอยด์
อ้างอิง
[แก้]- พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 9: พืชให้คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่เมล็ด. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544. หน้า 53 – 56