บาร์บิคันเอสเตท
บาร์บิคันเอสเตท | |
---|---|
บาร์บิคันทาวเวอส์ | |
ข้อมูลทั่วไป | |
ประเภท | โครงการมิกซ์ยูส |
สถาปัตยกรรม | บรูทัลลิสท์/ฟอร์เทรส |
เมือง | ลอนดอน EC2 |
ประเทศ | อังกฤษ |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
บริษัทออกแบบ | แชมเบอร์ลิน, พาเวลล์ แอนด์ บอน |
วิศวกรโครงสร้าง | โอเวอารูพ แอนด์ พาร์ทเนอส์ |
วิศวกรโยธา | โอเวอารูพ แอนด์ พาร์ทเนอส์ |
กำหนดให้เป็น | ขึ้นทะเบียน เกรด II |
เว็บไซต์ | |
เว็บทางการของรัฐบาล |
บาร์บิคันเอสเตท (อังกฤษ: Barbican Estate) เป็นชุดอาคารที่อยู่อาศัยที่ประกอบด้วยแฟลท, เมซงเนท (maisonettes) และบ้านราว 2000 หน่วย ตั้งอยู่ในนครหลวงลอนดอนในภูมิภาคตอนกลางของลอนดอน ที่ตั้งของเอสเตทในอดีตเป็นจุดที่ถูกทำลายอย่างหนักระหว่างสวครามโลกครั้งที่สองและเคยเต็มไปด้วยสถาบันทางการเงินมาก่อน แรกเริ่มเดิมที บาร์บิคันเอสเตทสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับเช่าให้กับผู้มีวิชาชีพชนชั้นกลางและกลางตอนบน และในปัจจุบันยังคงสถานะเป็นชุดที่อยู่อาศัยสำหรับตลาดบน บริเวฯชณภายในและรอบข้างประกอบด้วยศูนย์ศิลปะบาร์บิคัน, พิพิธภัณฑ์ลอนดอน, โรงเรียนดนตรีและการแสดงกิลด์ฮอลล์, หอสมุดสาธารณะบาร์บิคัน, โรงเรียนสตรีนครหลวงลอนดอน และอดีตศูนย์วายเอ็มซีเอ[1] ทั้งหมดเรียกรวมกันเป็น บาร์บิคุนคอมเพลกซ์ (Barbican Complex)
บาร์บิคันคอมเพลกซ์เป็นตัวอย่างชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมบรูทัลลิสต์แบบอังกฤษ และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารเกรด II[2]
ผู้อยู่อาศัยที่มีชื่อเสียง
[แก้]- คณะรัฐมนตรีพรรคอนุรักษนิยม นอร์แมน เทบบิท - อยู่อาศัยในบ้านหลังหนึ่งในฝั่งวอลล์ไซด์ (Wallside) กับภรรยาจนกระทั่งเหตุการณ์วางระเบิดโรงแรมไบรทัน 1984[3]
- หัวหน้าพรรคเลเบอร์ จอห์น สมิธ - อาศัยในครอมเวลล์ทาวเวอร์ (Cromwell Tower) กับครอบครัวกระทั่งเสียชีวิตในปี 1994[3]
- อดีตผู้นำสมัชชาคนงานเหมืองแห่งชาติ อาร์เธอร์ สคาร์กิลล์[3]
- อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศปากีสถาน เบนาซีร์ ภุตโต[3]
- แอนดรูว์ บรูซ เอิรล์ที่ 11 แห่งเอลกิน[ต้องการอ้างอิง]
- นักเขียนและผู้ประกาศข่าว ไคลฟ์ เจมส์[3] ที่ซึ่งนวนิยายปี 1987 ของเขาเรื่อง The Remake มีฉากหลังที่นี่เป็นหลัก
- ผู้กำกับภาพยนตร์และละครเวที เซอร์พีเทอร์ ฮอลล์[3]
- นักฟุตบอล จอร์จ เบสท์[4]
- นักให้คำปรึกษาด้านการลงทุน บ็อบ เบคแมน[5]
- นักให้คำปรึกษาด้านการเมือง เบริล โกลด์สมิธ[6]
- นักเขียนและนักข่าว ไบรอัน เรดเฮด[6]
- ตุลาการอาวุโสและมาสเตอร์ออฟเดอะโรลส์ บารอนจอห์น ดอนัลด์ซัน[6] และภรรยา ลอร์ดเมเยอร์นครลอนดอนคนแรกที่เป็นสตรี บารอเนสแมรี ดอนัลด์ซัน[6]
- ซิลปิน เซอร์ไมเคิล เครกมาร์ทิน[7][8]
- นักเขียนการ์ตูนหนังสือพิมพ์ แฟรงก์ ดิกเคินส์[9]
- นักข่าวและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง เอส ดับเบิลยู อะเล็กซานเดอร์[10]
- นักเขียนอนุรักษนิยม รอเบิร์ท เอรแมน อาศัยที่วิลโลบายเฮาส์ (Willoughby House) ถึงปี 1977[11][12]
ระเบียงภาพ
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Finsbury Hostel Closure". Islington Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-04. สืบค้นเมื่อ 2 February 2012.
- ↑ Historic England. "Details from listed building database (1352667)". National Heritage List for England. สืบค้นเมื่อ 12 June 2011.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "Meet the Barbican's original residents". สืบค้นเมื่อ 24 April 2020.
- ↑ Robert Humphreys, The Rough Guide to London (London: Rough Guides, 2003) ISBN 9781843530930
- ↑ "The sound of money", Pearson Phillips, The Times, 29 April 1987, p. 14.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 "Barbican comes of age", Jon Stock, The Times, 23 February 1991, p. 17.
- ↑ "Sir Michael Craig-Martin on creativity under coronavirus lockdown: 'Art doesn't have parameters'". inews.co.uk. สืบค้นเมื่อ 30 June 2020.
- ↑ "What is Michael Craig-Martin, the godfather of Brit Art, doing at Chatsworth House?". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 30 June 2020.
- ↑ "Frank Dickens, creator of Bristow comic strip – obituary". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 6 September 2020.
- ↑ "S.W. Alexander in the Spectator". สืบค้นเมื่อ 13 October 2020.
- ↑ "Robert Aickman's cult horror books are being resurrected for the centenary of his birth". The Independent. 7 April 2014.
- ↑ "Jean Richardson. "Memories of a Friend", Afterword to Robert Aickman, Cold Hand in Mine, London: Faber, 2014, pp. 346–47.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- The history of the Barbican Estate
- Corporation of London:Barbican Estate
- Barbican Life magazine
- "Secret bits of the Barbican", Londonist
แม่แบบ:City of London แม่แบบ:London landmarks 51°31′09″N 0°05′38″W / 51.51917°N 0.09389°W