ข้ามไปเนื้อหา

บานไม่รู้โรย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บานไม่รู้โรย
ดอกสีม่วง
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
อันดับ: คาร์เนชัน
Caryophyllales
วงศ์: วงศ์บานไม่รู้โรย
Amaranthaceae
สกุล: สกุลบานไม่รู้โรย
Gomphrena
L.
สปีชีส์: Gomphrena globosa
ชื่อทวินาม
Gomphrena globosa
L.

บานไม่รู้โรย[1] (Globe Amaranth หรือ Bachelor Button) เป็นพืชล้มลุกในสกุลบานไม่รู้โรย ดอกมีสีม่วง แดง ขาว ชมพู และม่วงอ่อน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง แถบประเทศปานามา และประเทศกัวเตมาลา ปัจจุบันกลายเป็นพืชประจำถิ่นทั่วโลก[2] ในประเทศไทยมีชื่อพื้นเมืองอื่นคือ กะล่อม (เหนือ) ดอกสามปีบ่เหี่ยว (อีสาน) ดอกสามเดือน (เชียงใหม่,ใต้) ตะล่อม (เหนือ) และกุนหยี (ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ไม้ล้มลุก (ExH) สูงประมาณ 15-60 ซม. ลำต้นตั้งตรงหรือโคนต้นอาจจะเอนราบกับดิน ที่ข้อของต้นจะพอกออกเล็กน้อย และเกิดรากตามข้อ ลำต้นมักจะมีข้อสีแดงหรือบางต้นมีสีเขียว กิ่งอ่อน ๆ มีขนอยู่ทั่วไป[3]

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะใบรูปใบหอก หรือรูปขอบขนานหรือ รูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ตัวใบมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบกว้าง ก้านใบยาว แต่ใบคู่ยอดที่ติดกับดอกจะไม่มีก้าน

ดอก ออกเป็นกระจุกกลม ๆ ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ มากมาย อยู่บนก้านช่อดอก ออกเดี่ยว ๆ หรือ บางครั้งก็ออกเป็นกลุ่ม 2-4 กระจุก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.75-2.25 ซม. มี 3 สี คือ ขาว ชมพู ส้ม และม่วงแดงเข้ม ออกดอกตามซอกใบใกล้ยอด แต่ละดอกมีใบประดับ 2 ใบ กลีบรวมมี 5 กลีบ ออกดอกตลอดปี

ผล ลักษณะรูปไข่แกมขอบขนาน มีเปลือกบาง ขนาดเล็ก ยาวเพียง 2-5 มม. เมล็ดแบน สีน้ำตาล เป็นมัน

นิเวศวิทยา

[แก้]

เป็นไม้ถิ่นเดิมของอเมริกากลางและอเมริกาใต้หรืออเมริกาเขตร้อน ปัจจุบันนิยมปลูกกันแพร่หลายเป็นไม้ประดับ ตามบ้านเรือนหรือตามสวนสาธารณะ

การปลูกและขยายพันธุ์

[แก้]

เจริญเติบโตได้ในดินทุกสภาพ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ หรือการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ทางยา

[แก้]

รสและสรรพคุณในตำรายา แพทย์แผนไทยใช้ชนิดดอกสีขาวเป็นยา

ราก รสเย็นขื่น แก้โรคระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดู รักษาโรคบิดและอาการไอ

ทั้งต้น รสขื่นเล็กน้อย ต้มเอาน้ำดื่มแก้หนองใน กามโรค ขับปัสสาวะ นิ่ว และแก้ระดูขาว

ช่อดอก รสจืด สุขุม ใช้กล่อมตับ แก้ตาเจ็บ แก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้ปวดศีรษะ

วิธีและปริมาณที่ใช้

[แก้]
  • แก้หอบหืด บิดมูก โดยใช้ดอกสด 15-20 ดอก ล้างให้สะอาดต้มในน้ำเดือด 1 ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง แล้วกรองเอาน้ำดื่มครั้งละ 1 แก้ว หรือ 200 ซีซี
  • ขับปัสสาวะ นิ่ว แก้โรคหนองใน โดยใช้ต้นสดชนิดดอกสีขาวทั้งต้น 100 กรัม ล้างให้สะอาดต้มในน้ำเดือด 1 ลิตร นานประมาณ 10-15 นาที กรองเอาน้ำดื่ม วันละ 3 เวลาก่อนอาหาร

ข้อควรทราบ

[แก้]
  • ดอกสามารถใช้ทำดอกไม้ประดิษฐ์ และในหมู่เกาะชวาใช้เป็นอาหารจำพวกผักชนิดหนึ่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  2. Roriz, Custódio Lobo; Barros, Lillian; Carvalho, Ana Maria; Santos-Buelga, Celestino; Ferreira, Isabel C.F.R. (2014). "Pterospartum tridentatum, Gomphrena globosa and Cymbopogon citratus: A phytochemical study focused on antioxidant compounds" (PDF). Food Research International (ภาษาอังกฤษ). 62: 684–693. doi:10.1016/j.foodres.2014.04.036. hdl:10198/10145.
  3. "บานไม่รู้โรย".