ข้ามไปเนื้อหา

บานพับกงสุล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บานพับกงสุล
Consular diptych

“บานพับกงสุล” แผ่นหนึ่งของOne of the consular diptychs of อโรบินดัส ดากาลาอิฟัส อโรบินดัส, กงสุลปี ค.ศ. 506 เป็นภาพเหมือนล้อมกรอบ (พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส)

บานพับกงสุล (อังกฤษ: Consular diptych) เป็นบานพับภาพสอง (ซึ่งเป็นแผงเชื่อมต่อกัน) ชนิดหนึ่ง ที่มักจะทำด้วยงาช้าง, ไม้ หรือ โลหะ และตกแต่งด้วยการแกะสลักอย่างดงาม บานพับกงสุลใช้ในการรองเขียนและเป็นสิ่งของที่จ้างให้สร้างขึ้นเนื่องในวาระการเฉลิมฉลองโดยกงสุลโรมัน และใช้แจกจ่ายเป็นรางวัลให้แก่ผู้สนับสนุนการได้รับเลือกให้เข้ารับหน้าที่ หรือ อาจจเป็นการออกเมื่อได้รับตำแหน่ง

ประวัติ

[แก้]
บานพับกงสุลของแม็กนัสผู้เป็นกงสุลแห่งเมืองคอนสแตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 518 แม็กนัสนั่งอยู่ระหว่างบุคลาธิษฐานของโรมและคอนสแตนติโนเปิล, (พิพิธภัณฑ์ลูฟร์, ปารีส)

ลำดับเหตุการณ์ของการสร้างบานพับกงสุลเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 384 เมื่อจักรพรรดิธีโอโดเซียสที่ 1 ทรงตัดสินพระทัยให้เป็นวัตถุที่ใช้สำหรับผู้มีตำแหน่งเป็นกงสุลเท่านั้น นอกเสียจากว่าจะเป็นผู้ที่ได้รับพระราชทานสิทธิพิเศษ และมายุติลงเมื่อตำแหน่งกงสุลหายไปในรัชสมัยของจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 ในปี ค.ศ. 541 แต่กระนั้นชนชั้นสูงและข้าราชสำนักบางคนก็ยังขัดขืนพระบรมราชโองการห้ามของจักรพรรดิธีโอโดเซียส และสร้าง บานพับกงสุลขึ้นเพื่อฉลองโอกาสอันไม่สำคัญเท่ากับโอกาสการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุล เช่นเมื่อควินทัส ออเรลิอัส ซิมมาคัสแจกจ่ายบานพับกงสุลเนื่องในโอกาสการกีฬาที่จัดขึ้นโดยบุตรชายในปี ค.ศ. 393 และปี ค.ศ. 401

บานพับที่เก่าแก่ที่สุดที่ควรจะเรียกว่าเป็นบานพับกงสุลที่รักษาไว้ในสังฆทรัพยคูหาของมหาวิหารที่อาออสตาเป็นชิ้นที่จ้างโดยอนิชิอัส เพโทรนิอัส โพรบัสกงสุลของจักวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 406 – ไม่แต่จะเป็นงานชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นงานชิ้นเดียวที่มีภาพเหมือนของจักรพรรดิโฮโนริอัส ซึ่งเป็นผู้ที่บานพับอุทิศให้โดยมีคำจารึกที่เต็มไปด้วยความถ่อมตน โดยโพรบัสกล่าวถึงตนเองว่าเป็น “famulus” หรือ “ทาส” แทนที่จะเป็นกงสุล

ต่อมาบานพับกงสุลก็จะมีภาพเหมือนอันหรูหราของตัวกงสุลเองหรือคำจารึกอุทิศแก่ตนเอง หรือภายในลวดลายตกแต่งแบบเรขาคณิตหรือพืชพันธุ์ งานบานพับกงสุลที่ไม่หรูหราอาจจะสร้างจากแบบจำลองที่ทำไว้ล่วงหน้า และ อันที่สร้างอย่างวิจิตรจะจำกัดใช้เฉพาะในวงของขุนนางชั้นสูงของโรมัน ห้องสร้างงานบานพับกงสุลตั้งอยู่ที่เมืองหลวงของจักรวรรดิที่โรมและคอนสแตนติโนเปิล การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 อาจจะเป็นสาเหตุของการหยุดชะงักการผลิตบานพับกงสุลทางตะวันตกเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 ฉะนั้นงานที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จึงเป็นงานที่ทำขึ้นที่คอนสแตนติโนเปิล ลวดลายบานพับกงสุลที่เป็นที่นิยมกันของคริสต์ศตวรรษที่ 6 ของคอนสแตนติโนเปิลเป็นภาพกงสุลยืนเป็นประธานกีฬากงสุล ที่เป็นโอกาสงานเฉลิมฉลองการได้รับตำแหน่งเป็นกงสุล

คุณสมบัติดังกล่าวทำให้บานพับกงสุลเป็นเครื่องมืออันมีค่าในการศึกษาชีวประวัติของบุคคลจากหลักฐานข้างเคียง (prosopography) ในปลายสมัยโรมัน และ ในการศึกษาศิลปะในช่วงเดียวกันนี้ บานพับกงสุลยังคงมีเหลืออยู่เป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบันนี้ อาจจะเป็นเพราะได้รับการนำมาใช้เป็นหน้าปกหนังสือของหนังสือศาสนาของยุคกลาง หรือหนังสือรายชื่อพระสังฆราชหรือหลักฐานประเภทเดียวกัน[1]บานพับกงสุลงาช้างบาร์แบรินี” เป็นงานหลวงชิ้นที่หายากที่อาจจะเป็นภาพของจักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 เอง

ระเบียงภาพ

[แก้]

ตามลำดับเวลาที่สร้าง:

อ้างอิง

[แก้]
  1. Google books Medieval Italy, an Encyclopedia, p. 566, Christopher Kleinhenz ed. Routledge, 2004, ISBN 0415939305, 9780415939300
  • Alexander Kazhdan (editor), The Oxford Dictionary of Byzantium, 3 vols., Oxford University Press, 1991 (ISBN 0195046528), s. v. "Diptych", vol. 1, 636-637.
  • Bente Kiilerich, Late Fourth Century Classicism in the plastic Arts : studies in the so-called Theodosian Renaissance, Odense University Classical Studies 18, Odense University Press, 1993.
  • (ฝรั่งเศส) Danièle Gaborit-Chopin, "Les ivoires du Ve au VIIIe siècle" in J. Durant (éd.), Byzance, l'art byzantin dans les collections publiques françaises (catalogue of an exhibition at the Louvre, 3 November 1992-1 February 1993), Paris, 1993, 42-45.
  • (เยอรมัน) Richard Delbrück, Die Consulardiptychen : und verwandte Denkmäler, Berlin, 1929.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ บานพับกงสุล