บรรยากาศศาสตร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |

บรรยากาศศาสตร์ (อังกฤษ: Atmospheric sciences) เป็นคำศัพท์กลางๆ ใช้เรียกการศึกษาด้านบรรยากาศ ซึ่งได้แก่กระบวนการ ผลของระบบอื่นๆ ที่มีต่อบรรยากาศ และ ผลของบรรยากาศที่มีต่อระบบอื่นๆ อุตุนิยม ซึ่งรวมถึง "เคมีบรรยากาศ" และ "ฟิสิกส์บรรยากาศ" ที่หลักๆ เน้นไปที่การพยากรณ์อากาศ ภูมิอากาศวิทยา (Climatology) ได้แก่ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศ (ทั้งระยะยาวและระยะสั้น) ที่จะบ่งชี้ภูมิอากาศเฉลี่ยและการเปลี่ยนไปตามเวลาที่เนื่องมาจากทั้งภูมิอากาศที่ผันแปรตามธรรมชาติ และภูมิอากาศที่ผันแปรตามกิจกรรมของมนุษย์ สาขาวิชาด้านบรรยากาศศาสตร์ได้ขยายตรอบคลุมถึงสาขาศาสตร์แห่งดาวเคราะห์และการศึกษาบรรยากาศของดาวเคราะห์ในระบบสุริยจักรวาล
เคมีบรรยากาศ[แก้]
เคมีบรรยากาศ (Atmospheric chemistry) เป็นสาขาหนึ่งของบรรยากาศศาสตร์ที่ศึกษาถึงเคมีในบรรยากาศของโลกหรือของดาวเคราะห์อื่น เคมีบรรยากาศเป็นการวิจัยเชิงสหสาขาวิชาที่ครอบคลุมถึงเคมีสิ่งแวดล้อม ฟิสิกส์ อุตุนิยมวิทยา แบบจำลองคอมพิวเตอร์ สมุทรศาสตร์ ธรณีวิทยา และ วิทยาภูเขาไฟ และวิชาสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง การวิจัยได้เพิ่มความเข้มในการเชื่อมโยงกับสาขาวิชาอื่นๆ เช่น ภูมิอากาศวิทยามากขึ้น
ส่วนประกอบและเคมีของบรรยากาศมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ ซึ่งในเบื้องต้นเนื่องมาจากปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างบรรยากาศกับสิ่งมีชีวิต ส่วนประกอบของบรรยากาศถูกเปลี่ยนแปลงโดยกิจกรรมของมนุษย์ซึ่งการเปลี่ยนบางอย่างมีอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ พืชผลและระบบนิเวศ ตัวอย่างของปัญหาที่แสดงให้เห็นโดยเคมีบรรยกาศได้แก่ฝนกรด หมอกปนควันแบบโฟโตเคมี และ การอุ่นขึ้นของโลก เคมีบรรยากาศมุ่งที่จะแสวงหาความเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาเหล่านี้ และด้วยการค้นหาเพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจทางทฤษฎีนี้ จะช่วยให้เราสามารถทดลองวิธีการแก้ไขและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและการประเมินนโยบายของรัฐบาล
พลวัตบรรยากาศ[แก้]
พลวัตบรรยากาศ (Atmospheric dynamics) เกี่ยวข้องกับการศึกษาการสังเกตการณ์และทฤษฎีที่เกี่ยวกับระบบการเคลื่อนที่ทั้งปวงที่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งของอุตุนิยมวิทยา ซึ่งรวมถึงปรากฏการณ์ที่หลากหลาย เช่น พายุ พายุทอร์นาโด คลื่นแรงโน้มถ่วง พายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนนอกเขตร้อน กระแสลมกรดหรือเจ็ทสตรีม และการไหลเวียนระดับโลก เป้าหมายของการศึกษาพลวัตบรรยากาศก็เพื่อนำมาใช้สำหรับอธิบายการไหลเวียนที่สังเกตเห็น โดยอาศัยพื้นฐานของหลักการหลักของฟิสิกส์ วัตถุประสงค์ของการศึกษาดังกล่าวรวมถึงการเพิ่มความแม่นยำในการพยากรณ์อากาศ การพัฒนากรรมวิธีสำหรับพยากรณ์ความแปรปรวนของลมฟ้าอากาศตามฤดูกาลและตามรายหลายปีและเพื่อทำความเข้าใจในการรบกวนสร้างความผิดปรกติให้กับบรรยกาศโดยมนุษย์ เช่นการเพิ่มความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ หรือการลดความหนาของชั้นโอโซนที่มีต่อภูมิอากาศของโลก
ฟิสิกส์บรรยากาศ[แก้]
ฟิสิกส์บรรยากาศ (Atmospheric physics) เป็นการประยุกต์ฟิสิกส์เข้ากับการศึกษาบรรยากาศ นักฟิสิกส์บรรยากาศ พยายามสร้างแบบจำลองบรรยากาศของโลกและบรรยากาศของดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ด้วยสมการของไหล แบบจำลองเคมี การดุลการแผ่รังสี และกระบวนการถ่ายโอนพลังงานในบรรยากาศและเน้นหนักเรื่องมหาสมุทร ในการทำแบบจำลองระบบลมฟ้าอากาศ นักฟิสิกส์บรรยากาศ จะใช้องค์ประกอบของทฤษฎีการกระจาย แบบจำลองการเกิดคลื่น ฟิสิกส์ก้อนเมฆ สถิติเชิงกล และสถิติเชิงปริภูมิซึ่งเป็นคณิตศาสตร์ขั้นสูงที่สัมพันธ์กับฟิสิกส์ ฟิสิกส์บรรยากาศมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับอุตุนิยมวิทยาและภูมิอากาศวิทยาและยังครอบคลุมถึงการออกแบบและการก่อสร้างเครื่องมือสำหรับใช้ในการศึกษาบรรยากาศและใช้แปลข้อมูลที่ได้ รวมทั้งด้านโทรสัมผัส
ภูมิอากาศวิทยา[แก้]
ภูมิอากาศวิทยา (Climatology) ต่างกับอุตุนิยมวิทยาตรงที่เป็นการศึกษาระบบ "ลมฟ้าอากาศ" (weather) ช่วงสั้นที่มีช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์ ส่วนภูมิอากาศวิทยาศึกษาถึงความถี่และแนวโน้มของระบบเหล่านั้น เป็นการศึกษาถึงยุคของลมฟ้าอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่กี่ปีถึงพันๆ ปี รวมทั้งศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบเฉลี่ยของลมฟ้าอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงยาวที่สัมพันธ์กับสภาพบรรยากาศ
อ้างอิง[แก้]
- พลวัตบรรยากาศ Retrieved on 2007-06-01.
ดูเพิ่ม[แก้]
- วิทยาศาสตร์โลก
- อุตุนิยมวิทยาอุทก (อังกฤษ)
- ลมฟ้าอากาศ (อังกฤษ)