ข้ามไปเนื้อหา

นโยบายไวต์ออสเตรเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพการ์ตูนใน ค.ศ. 1886 แสดงให้เห็นถึงสิ่งเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นหากชาวจีนได้รับการอนุญาตให้เข้ามาในประเทศออสเตรเลีย
ข้อความ "White Australia" บนเหรียญตราที่ผลิตใน ค.ศ. 1906

นโยบายไวต์ออสเตรเลีย (อังกฤษ: White Australia policy) เป็นนโยบายของรัฐบาลออสเตรเลียในอดีตระหว่าง ค.ศ. 1901 - ค.ศ. 1973 ที่ปิดกั้นไม่ให้คนสีผิวอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลีย

บรรยากาศการแข่งขันในยุคตื่นทอง ปัญหาแรงงาน และความเป็นชาตินิยมของออสเตรเลีย สร้างบรรยากาศของการกีดกันทางสีผิวในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งนำมาสู่การออก Immigration Restriction Act 1901 อันเป็นกฎหมายฉบับแรกๆ ของรัฐสภาออสเตรเลีย ภายหลังการรวมรัฐต่างๆ ขึ้นเป็นประเทศออสเตรเลีย กฎหมายฉบับนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของนโยบายไวต์ออสเตรเลียโดยรัฐบาลกลาง จนถึงสงครามโลกครั้งที่สองได้มีกฎหมายฉบับอื่นที่รัฐสภาออกมาเพิ่มเติมอีกเพื่อสนับสนุนนโยบายนี้

นโยบายไวต์ออสเตรเลียค่อยเสื่อมคลายลงไปเป็นลำดับหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง เริ่มต้นจากการสนับสนุนการอพยพให้ชาวยุโรปผิวขาวที่มิใช่ชาวอังกฤษมาตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลีย และตามด้วยคนที่มิได้มีผิวขาวในที่สุด ตั้งแต่ ค.ศ. 1973 นโยบายนโยบายไวต์ออสเตรเลียได้หมดสภาพในทางปฏิบัติไปโดยสมบูรณ์ และใน ค.ศ. 1975 รัฐบาลได้ออกกฎหมาย Racial Discrimination Act 1975 อันทำให้การกีดกันคนโดยอาศัยเกณฑ์ทางเชื้อชาติเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

นโยบายคนเข้าเมืองก่อนการก่อตั้งประเทศออสเตรเลีย

[แก้]

ยุคตื่นทอง

[แก้]

การค้นพบทองในออสเตรลียเมื่อ ค.ศ. 1851 ทำให้มีผู้คนจำนวนจากทั่วโลกหลั่งไหลกันเข้ามาในประเทศ ในช่วงเวลา 20 ปีหลังการค้นพบทอง ชายชาวจีนราว 40,000 คน และหญิงกว่า 9,000 คน (ส่วนใหญ่เป็นขาวกวางตุ้ง) ได้อพยพเข้ามาในออสเตรเลียเพื่อแสวงโชค [1] การแข่งขันเข้าพื้นที่ขุดทองทำให้เกิดความตึงเครียด การประท้วง และการจลาจลในที่สุด ทั้ง Buckland Riot ค.ศ. 1857 และ Lambing Flat Riots ระหว่าง ค.ศ. 1860 ถึง ค.ศ. 1861 Hotham ผู้ว่าการรัฐในขณะนั้นจึงได้ตั้งคณะกรรมการ Royal Commission on Victorian goldfields problems and grievances เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1854 ซึ่งนำไปสู่ข้อจำกัดในการเข้าเมืองของคนจีนและมีการเรียกเก็บภาษีการอยู่อาศัยจากชาวจีนในรัฐวิคตอเรีย เมื่อ ค.ศ. 1855 ซึ่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ก็ทำตามใน ค.ศ. 1861 ระบบนี้มีผลบังคับใช้จนถึงงต้นคริสต์ทศวรรษ 1870[2]

การสนับสนุนจากกลุ่มแรงงานออสเตรเลีย

[แก้]

การเติบโตของอุตสาหกรรมน้ำตาลในควีนส์แลนด์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 นำไปสู่ความต้องการแรงงานที่สามารถทำงานในสภาพอากาศเขตร้อนชื้นได้ ในช่วงเวลานี้ "Kanakas" (ชาวพื้นเมืองในหมู่เกาะแปซิฟิก) นับพันคนถูกนำเข้ามาในออสเตรเลียภายใต้สัญญาจ้าง [3] การนำคนที่มิได้มีผิวขาวเข้ามาใช้เป็นแรงงานราคาถูกถูกเรียกว่า "blackbirding" และหมายความถึงการล่อลวงและลักพาตัวคนเหล่านี้เข้ามาใช้แรงงานในภาคการเกษตรด้วย โดยเฉพาะในการปลูกอ้อยเพื่อทำน้ำตาลในควีนส์แลนด์และฟิจิ [4] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870s และ 1880s กลุ่มสหภาพแรงงานได้ประท้วงต่อต้านแรงงานต่างชาติ โดยกล่าวว่าชาวเอเขียและชาวจีนแย่งงานคนผิวขาวไป ทำงานที่ค่าจ้างและเงื่อนไขที่ต่ำกว่ามาตรฐาน และปฏิเสธที่จะเข้าร่วมสหภาพแรงงาน[1]

ผู้ถือครองที่ดินที่ร่ำรวยในชนบทปฏิเสธข้อกล่าวอ้างนี้[1] กลุ่มเจ้าของที่ดินเชื่อว่าหากปราศจากชาวเอเชียเหล่านี้มาทำงานในเขตร้อนชื้นของนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีและควีนส์แลนด์จะไม่มีใครเข้ามาอยู่ในเขตดังกล่าวได้ [3] แม้จะมีข้อโต้แย้งจากผู้ถือครองที่ดินเหล่านี้ ระหว่าง ค.ศ. 1875-1888 กลุ่มรัฐและดินแดนที่ยังไม่รวมกันเป็นประเทศออสเตรเลีย ได้ออกกฎหมายห้ามการเข้าเมืองของคนจีน[3] ส่วนชาวเอเชียที่ได้ตั้งรกรากในดินแดนออสเตรเลียก่อนกฎหมายออกมานั้นยังคงได้รับสิทธิ์เท่าเทียมกับพลเมืองผิวขาวอื่นๆ

ได้มีความพยายามในการเพิ่มข้อจำกัดคนเข้าเมืองนี้ไปสู่คนสีผิวทั้งหมดใน ค.ศ. 1895 ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุม Inter-colonial Premier's Conference เมื่อมีความพยายามออกกฎหมายบังคับใช้ ปรากฏว่า Governors of New South Wales, South Australia และ Tasmania ขอสงวนสิทธิ์ในกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากพันธะกรณีที่รัฐเหล่านี้มีต่อญี่ปุ่น อย่างไรก็ดีได้มีการออกใช้ Natal Act of 1897 ขึ้นมาแทนซึ่งแทนที่จะระบุเชื่อชาติให้แน่ชัด ก็ใช้คำว่า "ผู้ไม่เป็นที่พึงประสงค์" แทน [1]

รัฐบาลอังกฤษที่ลอนดอนไม่พอใจกับกฎหมายที่แบ่งแยกและกีดกันพลเมืองบางกลุ่มของจักรวรรดิ์อังกฤษ แต่ตัดสินใจไม่คัดค้าน เป็นผลให้กฎหมายผ่านไปและมีผลบังคับใช้ Colonial Secretary Joseph Chamberlain กล่าวใน ค.ศ. 1897 ว่า "เราเห็นใจอย่างมากกับความตั้งใจ... ของกลุ่มดินแดนเหล่านี้... ที่ไม่ควรให้มีการเข้ามาของคนที่มีอารยธรรมต่างกัน มีศาสนาต่างกัน มีประเพณีปฏิบัติต่างกัน ซึ่งการเข้ามาของคนคนเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิทธิ์อันชอบด้วยกฎหมายของประชากรที่ทำงานของในปัจจุบัน" [5]

ช่วงรวมชาติออสเตรเลียถึงสงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้]

การเลิกล้มนโยบาย

[แก้]

สิ่งสืบทอด

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Markey, Raymond (1 January 1996). "Race and organized labor in Australia, 1850–1901". Highbeam Research. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-19. สืบค้นเมื่อ 14 June 2006.
  2. R. Lockwood, "British Imperial Influences in the Foundation of the White Australia Policy," Labour History, No. 7 (Nov. 1964), pp. 23–33 in JSTOR
  3. 3.0 3.1 3.2 Griffiths, Phil (4 July 2002). "Towards White Australia: The shadow of Mill and the spectre of slavery in the 1880s debates on Chinese immigration". 11th Biennial National Conference of the Australian Historical Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (RTF)เมื่อ 2003-06-29. สืบค้นเมื่อ 14 June 2006.
  4. Willoughby, Emma. "Our Federation Journey 1901–2001" (PDF). Museum Victoria. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-06-25. สืบค้นเมื่อ 14 June 2006.
  5. Speech to Colonial Conference of 1897, quoted in J. Holland Rose et al., eds. The Cambridge History of the British Empire: Volume VII: Part I: Australia (1933) p 411; full text

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • Stefanie Affeldt: A Paroxysm of Whiteness. 'White' Labour, 'White' Nation and 'White' Sugar in Australia. In: Wages of Whiteness & Racist Symbolic Capital, ed. by Wulf D. Hund, Jeremy Krikler, David Roediger. Berlin: Lit 2010, pp. 99 - 131. ISBN 978-3-643-10949-1
  • John Bailey (2001). The White Divers of Broome. Sydney, MacMillan. ISBN 0-7329-1078-1.
  • Jane Doulman and David Lee (2008). Every Assistance & Protection: a History of the Australian Passport. Australian Government, Department of Foreign Affairs and Trade / Federation Press.
  • Ian Duffield (1993). Skilled Workers or Marginalised Poor? The African Population of the United Kingdom, 1812–1852. Immigrants and Minorities Vol. 12, No. 3; Frank Cass.
  • John Fitzgerald (2007). Big White Lie: Chinese Australians in White Australia. Sydney.
  • Wulf D. Hund (2006) : White Australia oder der Krieg der Historiker. In: Blätter für deutsche und internationale Politik, 3.
  • Laksiri Jayasuriya, David Walker, Jan Gothard (Eds.) (2003) : Legacies of White Australia. Crawley, University of Western Australia Press.
  • James Jupp and Maria Kabala (1993). The Politics of Australian Immigration. Australian Government Publishing Service.
  • Gwenda Tavan (2005). The Long, Slow Death of White Australia. Scribe.
  • Myra Willard (1923). History of the White Australia Policy to 1920. Melbourne University Press.
  • Keith Windschuttle (2004). The White Australia Policy. Macleay Press.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]