นิหาล จันท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Bani Thani as Radha, ca. 1750
บานีถานี โดยนิหาล จันท์, พิพิธภัณฑ์แห่งชาตินิวเดลี

นิหาล จันท์ (อักษรโรมัน: Nihâl Chand, 1710–1782) เป็นจิตรกรและกวีชาวอินเดียที่สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นตัวอย่างชิ้นสำคัญของจิตรกรรมราชปุต นิหาลเป็นหัวหน้าช่างจิตรกรรมประจำราชสำนักที่กิศนคฤห์และเป็นช่างเขียนภาพบางส่วนของราชสกุลในรัชสมัยของนครีทาส (Nagri Das หรือ สวันต์ สิงห์; Savant Singh) นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเขาเป็นผู้สร้างสรรค์ภาพเขียนจุลศิลป์ (miniature painting) แสดงภาพของราชาสวันต์ สิงห์ เคียงข้างพระมเหสี บานี ถานี ในรูปแบบเดียวกับพระกฤษณะ เคียงข้างพระแม่ราธา ผลงานเหล่านี้ "ยกย่องกันไปทั่วว่าเป็นภาพเขียนจุลศิลป์ที่ดีที่สุดของราชสถาน" กระนั้นภาพเขียนจุลทรรศน์ของนิหาลถือว่ามีขนาดใหญ่ (ได้ถึง 48 x 36 ซม) เมื่อเทียบกับภาพเขียนจุลศิลป์อื่น ๆ[1] นิหาลเป็นสาวกที่เคร่งครัดของวัลลภผู้ริเริ่มปรัชญาฮินดูสายพระกฤษณะ ลักษณะนี้พบได้ทั่วไปในงานของนิศาลที่ยกให้ราชาประดุจเทพเจ้าด้วยการทาสีกายเป็นสีน้ำเงิย[2] เหมือนพระกฤษณะ เชื่อว่านิศาลอยู่ที่กิศนคฤห์ระหว่างปี 1719 ถึง 1726[3]

ระเบียงภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Harle, 395-396 (395 quoted); Kossak, 21, 113
  2. "Radha and Krishna in the boat of love - Nihal Chand". Google Arts & Culture (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-24.
  3. Kossak, 21

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]