ข้ามไปเนื้อหา

นิวสปีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นิวสปีก (อังกฤษ: Newspeak) เป็นภาษาในนวนิยายเรื่อง หนึ่งเก้าแปดสี่ (Nineteen Eighty-Four) ของ จอร์จ ออร์เวลล์ นวนิยายดังกล่าวอธิบายนิวสปีกว่าเป็น "ภาษาเพียงหนึ่งเดียวในโลก ที่จำนวนคำศัพท์ลดลงทุกปี"

ออร์เวลล์ได้รวมข้อความเกี่ยวกับนิวสปีกไว้ในภาคผนวก (เขียนโดยใช้รูปกริยาอดีตกาล)[1] โดยในนั้นได้อธิบายหลักการพื้นฐานของภาษาเอาไว้

นิวสปีกนั้นมีพื้นฐานใกล้ชิดจากภาษาอังกฤษ แต่ได้ลดจำนวนและความซับซ้อนของคำศัพท์และไวยากรณ์ลงอย่างมาก ซึ่งการทำเช่นนี้ เหมาะเจาะกับระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จของพรรค ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะทำให้ความคิดทางเลือก ("thoughtcrime") หรือคำพูดเกี่ยวกับมันนั้นเป็นไปไม่ได้ โดยการกำจัดคำหรือวิธีผูกเรื่องใด ๆ ที่สามารถอธิบายแนวคิดเรื่อง เสรีภาพ การปฏิวัติ ฯลฯ ได้ออกไป

คำในนิวสปีกสำหรับเรียกภาษาอังกฤษคือ "Oldspeak" มีความตั้งใจที่จะแทน Oldspeak ด้วย Newspeak โดยสมบูรณ์ภายใน ค.ศ. 2050

อ้างอิง

[แก้]
  1. Orwell, George (1949). Nineteen Eighty-Four, "Appendix: The Principles of Newspeak", นน. 309-323. New York: Plume, 2003.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
พจนานุกรม
ในประวัติศาสตร์
  • Young, John Wesley . Totalitarian Language: Orwell's Newspeak and Its Nazi and Communist Antecedents. Charlottesville: University Press of Virginia, 1991. ISBN 0-8139-1324-1. งานวิชาการเกี่ยวกับนิวสปีก และตัวอย่างการควบคุมภาษาในประวัติศาสตร์ (อังกฤษ)
  • Klemperer, Victor & Brady, Martin (tr.). The language of the Third Reich: LTI - Lingua Tertii Imperii: A Philologist's Notebook. London, UK; New Brunswick, NJ: Athlone Press, 2000. ISBN 0-485-11526-3 (alk. paper). พูดถึง Lingua Tertii Imperii (LTI) ภาษาของอาณาจักรที่สาม (นาซีเยอรมนี) แปลโดย by Martin Brady. (อังกฤษ)
  • Klemperer, Victor & Watt, Roderick H. LTI - Lingua Tertii Imperii: A Philologist's Notebook. Lewiston: E. Mellen Press, 1997. ISBN 0-7734-8681-X. ฉบับพร้อมหมายเหตุประกอบของ LTI, Notizbuch eines Philologen พร้อมหมายเหตุและบทวิจารณ์ภาษาอังกฤษ โดย Roderick H. Watt. (อังกฤษ)
  • Klemperer, Victor. LTI - Lingua Tertii Imperii: Notizbuch eines Philologen.. ต้นฉบับ LTI ภาษาเยอรมัน (เยอรมัน)