นครมัสยิดวาเครหาฏ

พิกัด: 22°39′39.5″N 89°45′30.8″E / 22.660972°N 89.758556°E / 22.660972; 89.758556
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครมัสยิดประวัติศาสตร์ วาเครหาฏ
แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ตามเข็มจากบน: มัสยิดหกสิบโดม, มัสยิดเก้าโดม, มัสยิดจูนาโขลา (Chuna Khola), มัสยิดรณวิชัยปุระ (Ronvijoypur), มัสยิดบีบี เบกนี (Bibi Begni) และมัสยิดสินไคร์
ที่ตั้งประเทศบังกลาเทศ
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: (iv)
อ้างอิง321
ขึ้นทะเบียน1985 (สมัยที่ 9)
พิกัด22°39′39.5″N 89°45′30.8″E / 22.660972°N 89.758556°E / 22.660972; 89.758556
นครมัสยิดวาเครหาฏตั้งอยู่ในประเทศบังกลาเทศ
นครมัสยิดวาเครหาฏ
ที่ตั้งนครมัสยิดวาเครหาฏ ในประเทศบังกลาเทศ

นครมัสยิดวาเครหาฏ (เบงกอล: মসজিদের শহর বাগেরহাট; Mosque City of Bagerhat, ชื่อเดิม คาลีฟาตาบาด; Khalifatabad) เป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกในอำเภอวาเครหาฏ ประเทศบังกลาเทศ ซึ่งประกอบด้วยมัสยิด, อาคารสาธารณะ, อนุสรณ์ศพ, สะพาน ถนน และที่เก็บน้ำจำนวนกว่า 360 หลัง ที่สร้างมาจากอิฐ[1] บรรดามัสยิดแห่งวาเครหาฏสร้างขึ้นในสมัยของรัฐสุลต่านเบงกอลในศตวรรษที่ 15 โดยมีมัสยิดหกสิบโดมที่มีขนาดใหญ่สุด มัสยิดหลังอื่น ๆ ยังรวมถึงมัสยิดสีนคาร และ มัสยิดเก้าโดม มัสยิดเหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยของอูลุก ข่าย ชหัน เจ้าหน้าที่กองทัพชาวเติร์ก ซึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ดูแลแคว้นในสุนทรพันส์โดยสุลต่าน มะห์มูด ชะห์ แห่งเบงกอล

วาเครหาฏเป็น "นครโรงกษาปณ์" ของรัฐสุลต่านเบงกอล และยังมีความหนาแน่นของมัสยิดยุครัฐสุลต่านสูงที่สุดบริเวณหนึ่งของประเทศบังกลาเทศ ในบรรดาโบราณสถานของเมือง มี 50 กว่าหลังที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบรัฐสุลต่านเบงกอลอันเป็นรูปแบบพื้นถิ่นของสถาปัตยกรรมอินโด-อิสลาม ซึ่งบางครั้งเรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบ 'ข่าน ชหัน' (Khan Jahan Style) ยูเนสโกให้การรับรองพื้นที่นี้เป็นแหล่งมรดกโลกในปี 1985[1] ในบรรดาสิ่งปลูกสร้างของวาเหคาฏ มัสยิดหกสิบโดมเป็นที่รู้จักมากที่สุด ทั้งนี้มัสยิดนี้จริง ๆ แล้วมีเสา 60 ต้น กับ 77 โดม[2][1][3][4][5][6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Historic Mosque City of Bagerhat". UNESCO. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2010. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
  2. Reza, Mohammad Habib; Hossain, Md Shajjad (2017). Documentation of Islamic Heritage of Bangladesh (ภาษาอังกฤษ). Dhaka: Brac University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 June 2022. สืบค้นเมื่อ 31 January 2021.
  3. "Evaluation Report: Historic Mosque City of Bagerhat" (pdf). UNESCO. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2 November 2012. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
  4. "Buildings and Recommendations" (PDF). Practical Survey of Individual Historic for Their Repair: a) Bagerhat and its environs. UNESCO. 1980. pp. 16–22. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2017. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
  5. Mikey Leung; Belinda Meggitt (1 November 2009). Bangladesh. Bradt Travel Guides. pp. 261–. ISBN 978-1-84162-293-4. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.
  6. "Historic Mosque City of Bagerhat". Official plaque of the World Heritage Patrimone Mondal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 November 2016. สืบค้นเมื่อ 15 May 2011.